การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหมายถึงอะไร

“โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย

วันที่เผยแพร่ : 12/02/2019 | เผยแพร่โดย : rattanatat

“โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย

          คำว่า " โลจิสติกส์ " ในปัจจุบันค่อนข้างเป็นที่คุ้นเคยของทุกท่านเป็นอย่างดี เนื่องจาก ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะพบคำว่าโลจิสติกส์ ท่านทราบหรือไม่ว่า "โลจิสติกส์" คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจของท่าน

          ความหมายตามศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หมวดศัพท์เศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2558) บัญญัติศัพท์ “โลจิสติกส์” หมายถึง การจัดระบบการดำเนินงาน

          APICS The Association for Operations Management ได้ให้ความหมายของ Logistics ว่า “In an industrial context, the art and science of obtaining, producing, and distributing material and product in the proper place and in proper quantities” ในบริบทอุตสาหกรรม หมายถึงศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการรับ ผลิต และกระจาย วัสดุและผลิตภัณฑ์ ไปยังสถานที่ที่เหมาะสมและในปริมาณที่เหมาะสม

          Council of Supply Chain Management Professionals (CSCMP)  ได้ให้ความหมายของคำว่า Logistics management ดังนี้ “Logistics management is that part of supply chain management that plans, implements, and controls the efficient, effective forward and reverses flow and storage of goods, services and related information between the point of origin and the point of consumption in order to meet customers' requirements” การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน ตั้งแต่การวางแผน ดำเนินการและควบคุม การจัดเก็บ การขนส่งสินค้าทั้งไปและกลับ ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมถึงการบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงจุดบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

          การดำเนินกิจกรรมต่างๆ นี้ มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม อ้างอิงตามรายงานผลการศึกษา Fundamental of Logistics Management โดย Grant et. al., 2006 สรุปเป็นกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม ดังนี้

  • การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Support)
  • การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning)
  • การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
  • การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
  • การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order Processing)
  • การจัดการวัสดุ และบรรจุภัณฑ์ (Materials Handling and Packaging)
  • การขนส่ง (Transportation)
  • การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Facilities Site Selection, Warehousing, and Storage)
  • โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

          " โลจิสติกส์ " ซึ่งได้รับการนิยามโดยกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการวางแผน ดำเนินการ และควบคุม การเคลื่อนไหลทั้งไปและกลับและการจัดเก็บ วัสดุ สินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากจุดผลิตไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยความถูกต้องและเหมาะสมตามจังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน และสถานที่ที่กำหนด

          นิยามของ " โลจิสติกส์ " นี้ กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากบทบาทความรับผิดชอบและพันธกิจที่เกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับภารกิจในส่วนของอุตสาหกรรมภาคการผลิต ที่ครอบคลุมการพัฒนาส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ การวางแผน การคาดการณ์ การจัดซื้อจัดหา การผลิต การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม การขนส่ง และการกระจาย ทั้งขาเข้าและขาออก ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานสากล ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพิ่มความปลอดภัย และความเชื่อถือได้ในกระบวนการนำส่งสินค้าและบริการ

          และทั้งหมดนี้ Sense of Logistics มีความมุ่งหมายที่ตรงกัน นั่นคือ ยกระดับศักยภาพกระบวนการผลิต และการกระจายสินค้า/บริการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพ

อ้างอิง

Blackstone. APICS Dictionary Thirteenth Edition , 2010 : 82

https://cscmp.org/

Grant et. al. Fundamental of Logistics Management Berkshire : McGraw, 2006: 17-19

ระบบโลจิสติกส์ (Logistic) กับ โซ่อุปทาน supply chain เป็นสองคำที่เราเคยได้ยินกันมานาน แต่หลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีว่ามันคืออะไร ระบบโลจิสติกส์ นี่มันก็คือ supply chain หรือโซ่อุปทานใช่รึเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้ว โลจิสติกส์เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นของโซ่อุปทาน

โดยที่โลจิสติกส์นั้นจะครอบคลุมถึงการวางแผนการใช้ทรัพยากรขององค์กร การควบคุมให้ใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด และการลำเลียงสินค้าและบริการจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่สินค้าและบริการนั้นๆจะถูกใช้โดยผู้บริโภค

ในขณะที่โซ่อุปทานนั้นจะครอบคลุมในเรื่องของโลจิสติกส์ไปจนถึงการสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภค กระบวนการผลิต รวมไปถึงกระบวนการอื่นๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่ซัพพลายเออร์ผลิตสินค้าจนถึงการที่สินค้าถูกวางจำหน่ายตามห้างร้านต่างๆ เพราะฉะนั้นสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างมาก

การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหมายถึงอะไร

สำหรับระบบโลจิสติกส์จะมีกระบวนการใหญ่ๆ อยู่ 2 แบบ ก็คือ กระบวนการไหลเวียนของวัตถุดิบ และ กระบวนการไหลเวียนของข้อมูล ซึ่งองค์กรจะประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดต้นทุนการผลิตถ้าสามารถทำให้สองกระบวนการนนี้ทำงานไปด้วยกันได้

สำหรับกระบวนการผลิตนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่การลำเลียงหรือกักเก็บวัตถุดิบในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ที่เป็นเพียงวัตถุดิบธรรมดายังไม่เป็นรูปเป็นร่าง วัตถุดิบที่ได้รับการแปรสภาพแล้ว และวัตถุดิบที่แปรสภาพทุกอย่างจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบที่ยังไม่ได้รับการแปรสภาพก็ไม่มีคุณภาพหรือมีความสำคัญเท่ากับวัตถุดิบที่ได้รับการแปรสภาพเป็นสินค้าส่งถึงมือผู้บริโภค คุณค่าของโลจิสติกส์นั้นอยู่ที่การเพิ่มคุณภาพของสินค้าโดยการลำเลียงสินค้าไปในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ ระบบโลจิสติกส์จึงมีความสำคัญต่อองค์กร

ที่มา : 
factoryguideline.com
www.tpa.or.th

การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานคืออะไร

การจัดการซัพพลายเซนและโลจิสติกส์ (Supply Chain and Logistics Management) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจำหน่าย การจัดเก็บสินค้า การขนส่งหรือการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า โดยเชื่อมโยงกระบวนการทุกขั้นตอนเข้าด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ธุรกิจ ...

การจัดการโลจิสติกส์หมายถึงอะไร

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) คืออะไร ? การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ สินค้าและบริการ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ จากจุด เริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งานโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค

อะไรคือเป้าหมายที่สำคัญของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

เป้าหมายของโลจิสติกส์คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและคุ้มค่า การจัดการโลจิสติกส์ จึงเป็นการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการของลูกค้ามีความพึงพอใจกับการจัดการและบริการ ซึ่งหากองค์กรมีการจัดการด้านโลจิสติกส์ที่ดี จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความภักดีของลูกค้า อีกทั้งสามารถลด ...

เหตุใดการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจึงต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า

การขนส่งหรือโลจิสติกส์ สามารถอำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ เพราะโดยปกติเมื่อลูกค้าจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่ง อาจต้องเสียเวลาออกไปเลือกหาสินค้าข้างนอกและรับสินค้านั้นกลับด้วยตัวเอง แต่การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้ผ่านหน้าร้านออนไลน์ หลังจากนั้นก็แค่รอให้สินค้ามาส่งถึงหน้าบ้าน