ประกันสังคมจ่ายค่าคลอดบุตรอะไรบ้าง

ทั่วไป

27 มิ.ย. 2565 เวลา 9:29 น.43.5k

เช็กเลย พ่อต้องรู้! ม.33 ม.39 สิทธิประกันสังคม เบิกค่าคลอด 15,000 เงินสงเคราะห์บุตร 800 รายละเอียดและเงื่อนไขครบจบที่นี่

ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ที่เป็นคุณพ่อลูกอ่อน เช็กสิทธิประกันสังคม ซึ่งทาง สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งให้ทราบเรื่องสิทธิของผู้ประกันตนสำหรับครอบครัวมือใหม่

ค่าคลอดบุตรก็ใช้สิทธิประกันสังคมได้
- เหมาจ่าย 15,000 บาท / ครั้ง 
 - ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท 
ตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

หลักเกณฑ์มีดังนี้
- ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 
- เป็นผู้ประกันตนม. 33 และ 39 เท่านั้น 
- ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน
ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนภรรยาคลอดบุตร
- ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

ประกันสังคมจ่ายค่าคลอดบุตรอะไรบ้าง

ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน  
-หากใช้สิทธิของแม่ที่เป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิเพิ่มในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายใน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.thหรือโทรสายด่วน 1506 

"สิทธิประกันสังคม" ที่ต้องรู้! ผู้ประกันตนที่อุ้มท้องอยู่ สามารถเบิกค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ 1,500 บาท พร้อมจ่ายค่าคลอดบุตรเพิ่มเป็น 15,000 บาท

ผู้ประกันตนอุ้มท้อง ประกันสังคมเพิ่มค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,500 บาท พร้อมจ่ายค่าคลอดบุตรเพิ่มเป็น 15,000 บาท ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ โดยปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท (เดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) ดังนี้

เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม ได้กี่บาท

- อายุครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท

- อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท

- อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท

- อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท

- อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท

*หมายเหตุ ค่าฝากครรภ์ผู้ประกันตนสามารถยื่นเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน หรือคู่สมรสที่ตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น 

พร้อมกันนี้ ยังมีการปรับเพิ่มค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 บาท (เดิม 13,000 บาท) ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยผู้ประกันตนไปคลอดบุตร ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราใหม่จำนวน 15,000 บาท 

อีกทั้ง เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนชายที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรสจะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้แล้ว ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไป ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th 

เอกสารประกอบการเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2565

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.บัตรประจำตัวประชาชน ( ฉบับจริง )

3. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

4. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ดังนี้

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ประกันสังคมจ่ายค่าคลอดบุตรอะไรบ้าง

เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม มีเงื่อนไขดังนี้

1.จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 

2.จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

3.กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

เอกสารเบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม 2565

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 

3.สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             

- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            

- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                

- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP