สื่อบันทึกข้อมูล หมายถึงข้อใด

ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-บันทึกข้อมูล-

   
สื่อบันทึกข้อมูล หมายถึงข้อใด

ภาษา

ภาษาที่แสดง

ญี่ปุ่น (JP) จีน (CN)
เยอรมัน (DE) ฝรั่งเศส (FR)
ไทย (TH) อังกฤษ (EN)

พินอิน (拼音;pinyin)
จู้อิน (注音;zhuyin)

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Data entry บันทึกข้อมูล, Example: กระบวนการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกหรือในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้แป้นพิมพ์บันทึกข้อมูลเก็บ [คอมพิวเตอร์]
hard disk หน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึก, อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นซ้อนอยู่บนแกนหมุนเดียวกัน [คอมพิวเตอร์]
Remote sensing การสำรวจระยะทางไกล, การบันทึกหรือการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่เป้าหมายด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูล (sensor) จากระยะไกล โดยทั่วไปมักจะหมายถึงดาวเทียมถ่ายภาพวัตถุบนพื้นโลกซึ่งจะสามารถวัดสี ความร้อน ความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้ [Assistive Technology]
Data disk drives หน่วยขับจานบันทึกข้อมูล [TU Subject Heading]
Data disk drives industry อุตสาหกรรมหน่วยขับจานบันทึกข้อมูล [TU Subject Heading]
Data entry การบันทึกข้อมูล [TU Subject Heading]
Disc, Floppy แผ่นบันทึกข้อมูล [การแพทย์]
Disc, Optical แผ่นบันทึกข้อมูล [การแพทย์]
boring log boring log, ตารางบันทึกข้อมูลการเจาะ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]
blog บล็อก, ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Digital Versatile Disc Drive( DVD Drive) ดีวีดีไดร์ฟ, ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ใช้อ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
hard disk ฮาร์ดดิสก์, อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งเคลือบด้วยสารแม่เหล็กที่ผิวทั้งสองด้านหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน มีหัวอ่านข้อมูลติดอยู่บนแขนที่เลื่อนเข้าออกได้ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ถูกบรรจุในกล่องที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันฝุ่นและการกระทบกระเทือน สามารถเก็บข้อมูลไ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
key-logger คีย์ล็อกเกอร์, สปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
spyware สปายแวร์, โปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมบราวเซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )
ชื่อโครงการ โปรแกรมร้านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ร้านโชกุน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จั (n, vi, adj, adv) ชื่อโครงการ โปรแกรมร้านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ร้านโชกุน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ชื่อผู้จัดทำ นายวุฒิการ เพ็งแก่นแท้ นางสาวสุรางค์รัตน์ วงศ์แก้ว ปีการศึกษา 2561 บทคัดย่อ โครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อสร้าง และออกแบบระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการข้อมูลร้านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ร้านโชกุน ตำบลในเวียงอำเภอเมือง จังหวัดน่าน (2) เพื่อออกแบบรายงาน รายได้ค่าเช่าบริการอินเทอร์เน็ต รายได้ปะจำวัน รายได้ประจำเดือน และรายได้ประจำปี และ (3) เพื่อสร้าง และออกแบบรายงานค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ประจำเดือน และใบเสร็จรับเงิน ผู้จัดทำได้ดำเนินการโครงการโดยสรุปตามลำดับ คือ (1) ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง (2) ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินโครงการ (3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ (4) การวางแผนการประเมินโครงการ (5) การดำเนินการประเมินโครงการ (6) วิเคราะห์ข้อมูล และ (7) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลการศึกษา ผลการดำเนินโครงการ (1) สรุปได้ว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน โปรแกรมร้านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ร้านโชกุน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (x ̅ = 3.90, S.D.= 0.690) และ (2) สรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมร้านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ร้านโชกุน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (x ̅ = 0.86, S.D.= 0.674) ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านการออกแบบฐานข้อมูล และจัดการฐานข้อมูล ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 3.64, S.D.= 0.397) ด้านที่ 2 ด้านการคำนวณ ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.00, S.D.= 0.000) ด้านที่ 3 ด้านการบันทึกข้อมูล ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 4.00, S.D.= 0.298) และด้านที่ 4 ด้านการคำนวณรายงาน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 3.88, S.D.= 0.602)
Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
บัตรอิเล็กทรอนิกส์ น. บัตรที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ในบัตรด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็ก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด.
อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
data entry การบันทึกข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
data entry การบันทึกข้อมูล [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
data logging การลงบันทึกข้อมูล [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
data entry การบันทึกข้อมูล [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
data entry operator พนักงานบันทึกข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
data logger ตัวลงบันทึกข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
data logger ตัวลงบันทึกข้อมูล [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
data logging การลงบันทึกข้อมูล [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
gamma-ray log แถบบันทึกข้อมูลรังสีแกมมา [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
English-Thai: Longdo Dictionary
PDA (n, abbrev) ย่อมาจากคำว่า Personal Digital Assistant หมายถึงอุปกรณ์ผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว มักมีขนาดเล็กพกพาสะดวก สามารถใช้บันทึกข้อมูลนัดหมาย หมายเลขโทรศัพท์ รับส่งข้อมูล หรือใช้เล่นเกมส์เพื่อความบันเทิงต่างๆได้, See also: Palm, Visor, Handheld, PocketPC
save (vt) บันทึก เก็บรักษา เช่น save data บันทึกข้อมูล
blog (n) เว็บไซด์ที่ให้บริการบันทึกข้อมูลส่วนตัว โดยอาจจะเป็นข้อความ, ความเห็น, ข้อคิด, อักษรประดิษฐ์, รูปภาพ, เสียงเพลง ก็ได้ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาเยี่ยมชมตลอดจนสามารถใส่ความเห็นส่วนตัวต่อเจ้าของบันทึกได้, See also: weblog, web diary, Syn. online diary
English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
almanac (n) หนังสือที่บันทึกข้อมูลสถิติ, Syn. statistical almanac, record, register of the year
disc (n) แผ่นดิสค์ (ทางคอมพิวเตอร์), See also: แผ่นบันทึกข้อมูล, Syn. disk
document (vt) บันทึกข้อมูลใส่ฟิล์ม เทป หรือเขียน
entry (n) การกรอกข้อมูล, See also: การบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์
hard disk (n) จานแม่เหล็กเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่มากกว่าแผ่นแม่เหล็กบันทึกข้อมูลแบบบาง (floppy disk) (คอมพิวเตอร์), See also: ฮาร์ดดิสก์
log (n) บันทึกข้อมูลในการเดินทางของเรือหรือเครื่องบิน, See also: บันทึก, Syn. record of journey
English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
access arm ก้านเข้าถึง <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง
access mechanism กลไกการเข้าถึง <คำแปล>หมายถึง กลไกของอุปกรณ์ที่ใช้รองรับ และเคลื่อนย้ายก้านเข้าถึง (access arm) ของหน่วยจานบันทึก (disk drive) ไปบนพื้นผิวของจาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงจานบันทึก
bad sectors ส่วนวงเสียหมายถึงส่วนวงในร่องที่ใช้บันทึกข้อมูลบนแผ่นจานบันทึกเสีย ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงไปเก็บได้ คอมพิวเตอร์จะแสดงข้อความนี้บนจอภาพเมื่อสั่งให้อ่านหรือบันทึกข้อมูล แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดกรณีนี้ขึ้น
begin of tape จุดเริ่มต้นเทป <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BOT หมายถึง จุดบนแถบบันทึกหรือเทป (tape) ที่กำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นให้มีการบันทึกข้อมูลลงได้ ปกติจะทำเป็นจุดสะท้อนแสงบนแถบบันทึก ซึ่งจะทำให้เกิดสัญญาณ บังคับให้เริ่มมีการอ่านข้อมูลบนแถบบันทึกโดยเริ่มจากจุดนั้นเป็นต้นไป
blocking factor จำนวนระเบียนต่อกลุ่มหมายถึง จำนวนระเบียนในหนึ่งบล็อก (block) ในการบันทึกข้อมูลลงแถบบันทึก (tape) นั้น จะบันทึก 1 ระเบียน (record) ต่อ 1 บล็อก หรือหลายระเบียนต่อ 1 บล็อกก็ได้ดู block ประกอบ
ccd memory หน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก
cd abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่)
cd-rom (ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง
cd-rom drive หน่วยขับซีดีรอมหมายถึง หน่วยบันทึกที่ใช้อ่านจานบันทึกอัดแน่น หรือซีดี ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากมีหน่วยบันทึกที่สามารถอ่านข้อมูลจากสื่อชนิดนี้ได้ แต่ยังคงบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้ ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างสูงจนดูภาพเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนดูภาพยนตร์ ในปัจจุบัน จานซีดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที ทำให้ราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจึงมักจะมีหน่วยบันทึกชนิดนี้ติดตั้งไว้ด้วย
channel (แชน'เนิล) n. ช่องแคบ, ช่อง, ทางน้ำไหล, ทางเดินเรือ, ราง, วิถีทาง, แนวทาง, ทางผ่าน, ท่อ -vi. นำผ่านทาง, บุกเบิกทาง, ขุดทาง, ขุดทางน้ำ, นำทาง, See also: channeler, channeller n. ร่องข้อมูลช่องหมายถึงร่องข้อมูลหรือแถวสำหรับบันทึกข้อมูลตามยาวลงบนกระดาษหรือแถบบันทึกแม่เหล็ก magnetic tape หรืออาจหมายถึงช่องทางเข้าออกของหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล input/output channel ซึ่งติดต่อกับตัวประมวลผล processor
compact disk ใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง
computer virus ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส
ctrl key เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระที่มีตัว Ctrl อยู่บนแป้น คำ Ctrl นี้ย่อมาจาก Control แป้นนี้ต้องกดพร้อมกับแป้นใดแป้นหนึ่ง จึงจะใช้เป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ เช่นถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับ S จะเป็นการสั่งบันทึกข้อมูล เป็นต้น
data entry การบันทึกข้อมูลหมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าไปเก็บในสื่อ (medium) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) ฯลฯ โดยผ่านทางแผงแป้นอักขระ (keyboard) หรืออาจหมายถึงการส่งข้อมูลเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
dd 1. abbr. differential diagnosis, discharge diagnosis 2. (ดีดี) ย่อมาจาก double density (แปลว่า ความหนาแน่นสองเท่า) ใช้บอกขนาดความจุของจานบันทึก (diskette) ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้เป็นสองเท่า ถ้าเป็นขนาดปกติ เรียกว่า ความหนาแน่นเท่าเดียว (single density)
defrag นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ
disk drive หน่วยจานบันทึกหน่วยขับจานบันทึกหน่วยขับแผ่นบันทึกหมายถึง กลไกส่วนที่ใช้หมุนจานบันทึกให้ผ่านหัวอ่านหรือหัวบันทึก (read/write head) ทำให้ สามารถนำข้อมูลที่บันทึกอยู่ในจานบันทึกมาประมวลผลได้ หากต้องการจะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไป ก็ สามารถบันทึกได้เช่นเดียวกัน
disk operating system ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7
double sided double densi จานบันทึกสองหน้าและจุสองเท่าใช้ตัวย่อว่า DS/DD หมายถึงจานบันทึกข้อมูลที่ใช้บันทึกได้ทั้งสองหน้าและมีความจุสองเท่า ดู DS/DD
drive (ไดรฟว) { drove, driving, drives } vt. ขับ, ขับไล่, ไล่, ผลัก, ไส, ผลักดัน, ขับขี่, ต้อน (สัตว์เลี้ยง) , ลอย (ซุง) vi. แล่น, พุ่ง, ขับรถ, ตี (ลูกกอล์ฟ, ตะปู) , มุ่งหมาย n. การขับ, การขับขี่, ทางรถ, สัตว์ที่ไล่ตาม, สัตว์ (ที่ต้อน) , การรุกทางทหาร, พลังงาน, แรงกระตุ้น, กลไกในการขับ, หน่วยขับหน่วยบันทึกไดร์ฟ <คำอ่าน>อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่อ่านและบันทึกข้อมูล เช่น หน่วยขับแถบบันทึก (tape drive) หน่วยขับจานบันทึก (disk drive)
dumb terminal เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ
erasable storage หน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง
erase head หัวลบเป็นกลไกส่วนหนึ่งในหน่วยบันทึกข้อมูล (drive) อยู่ติดกับก้านเข้าถึง (access arm) ใช้ลบข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลออกจากจานบันทึก ดู read/write head
ferric oxide (เฟอร์ริกออกไซด์) หมายถึง สารแม่เหล็กที่ใช้เคลือบจานบันทึก (disk) ก็ดี แถบบันทึก (tape) ก็ดี ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้
firmware เฟิร์มแวร์หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่บรรจุไว้ในชิปแทนที่จะบรรจุไว้ในจาน บันทึกข้อมูลตามปกติ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในตอนเริ่มต้น เพราะจะต้องทำงานทันทีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
flexible disk หมายถึง แผ่นบันทึกที่ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่เรียกว่า floppy disk เป็นจานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
floppy disk จานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette
format (ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ, แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan, layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้
head crash หัวพังหมายถึง การที่หัวอ่านและบันทึกข้อมูลไม่อาจทำงานได้อย่างปกติ มักจะเกิดขึ้น เมื่อมีฝุ่นละอองจับเกาะ หรือจานบันทึกเป็นรอย ซึ่งอาจจะทำให้หัวอ่านพังไปด้วย
hollerith, dr. herman เป็นชาวอเมริกัน เกิด ค.ศ.1860 ตาย ค.ศ.1929 เป็นผู้คิดเอาวิธีนำเอาระบบบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูลลงในบัตร โดยเลียนแบบจากบัตรของแจ็กการ์ด (Jacquard) ซึ่งเคยใช้วิธีการนี้ควบคุมการให้ลายและพิมพ์สีลงบนผ้า ฮอลเลอริทได้สร้างรหัสสำหรับบัตรเจาะรูขึ้น แล้วจึงนำข้อมูลถ่ายลงบนบัตรเพื่อนำไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่าน เครื่องมือประดิษฐ์ของฮอลเลอริทนี้ได้นำมาใช้ในงาประมวลผลและรายงานผลสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1890 ซึ่งทำให้ทราบผลลัพธ์เร็วขึ้นมาก โดยสามารถทำเสร็จภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น ในปัจจุบัน การเจาะบัตรเพื่อส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์นั้นเกือบจะไม่มีแล้ว เพราะล้าสมัย
interleaving แทรกสลับสลับหมายถึง อัตราส่วนของการบันทึกข้อมูลลงในแต่ละเซ็กเตอร์ (sector) กับเซ็กเตอร์ ที่ข้ามไปของจานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) เช่น ถ้าจานแข็งยี่ห้อหนึ่งกำหนดไว้ 3:1 หมายความว่า จานนี้บันทึกข้อมูลหนึ่งเซ็กเตอร์แล้วข้ามไปสามเซ็กเตอร์ จึงจะบันทึกข้อมูลใหม่
low-level format จัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้
magnetic core วงแหวนแม่เหล็กมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนทำด้วยเหล็ก เหล็กออกไซด์หรือเฟอไรต์ มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟผ่าน ใช้ประโยชน์ในการเก็บบันทึกข้อมูล แต่เดิมมาแกนแม่เหล็กนี้เป็นส่วนเล็ก ๆ อยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งถือเป็นหน่วยสมองหลัก ใช้เป็นที่ประมวลผล เรียกว่า magnetic core memory หรือ หน่วยความจำวงแหวนแม่เหล็ก ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว หันมาใช้สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นแทน
magnetic disk จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ
magnetic drum ดรัมแม่เหล็กหมายถึง วัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอก ฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ในการบันทึกข้อมูลลงบนพื้นผิวของดรัม จะบันทึกผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) ดรัมจึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าแถบบันทึก (tape) แต่ยังช้ากว่าจานบันทึก (disk)
magnetic tape แถบบันทึกแม่เหล็กหมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มีลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึกเสียง ม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2, 400 ฟุต 1, 200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง ? นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800-1, 600 ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทป เรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) เราสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัติ ข้อเสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป ก็จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access) ของจานบันทึก
off line processing การประมวลผลแบบไม่เชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำขึ้นโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) เช่น การแปลงข้อมูลจากบัตรแล้วบันทึกข้อมูลลงในแถบบันทึก หรือจานบันทึก เป็นต้นดู on line processing เปรียบเทียบ
optical disk จานแสงหมายถึง จานที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลโดยใช้ลำแสงเลเซอร์ที่ส่งออกมาเป็นช่วง ๆ มีความจุสูงถึงประมาณ 600- 1, 300 ล้านตัวอักษร ราคายังค่อนข้างแพงและทำงาน ค่อนข้างช้า โดยปกติ จะต้องเก็บอยู่ในกล่อง หัวอ่านและบันทึกจะต้องเป็นวัตถุที่ใช้แสง
overwrite บันทึกทับหมายถึง การบันทึกแฟ้มข้อมูลลงเก็บในหน่วยบันทึก โดยใช้ชื่อซ้ำกับชื่อแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือบันทึกข้อมูลทับลงไปในที่อยู่ (address) เดิม การทำดังกล่าวจะมีผลให้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดิมหายไป (มีความหมายเหมือน replace) ส่วนมาก คอมพิวเตอร์มักจะมีคำเตือนย้ำให้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้คำสั่ง "save as" เพื่อสั่งเก็บข้อมูลลงในหน่วยบันทึก
paper tape แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที
pcmcia (พีซีเอ็มซีไอเอ) ย่อมาจาก Personal Computer Memory Card International Association (สมาคมระหว่างประเทศเพื่อบัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน
pdl (พีดีแอล) 1. ย่อมาจาก page description language เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีดีแอลนั้น จะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) 2. ย่อมาจาก personal digital assistant (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบสินค้า แผนที่เส้นทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูล ต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯ
personal computer memory Personal Computer Memory Card International Association สมาคมระหว่างประเทศเพื่อ บัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ตัวย่อว่า PCMCIA (อ่านว่า พีซีเอ็มซีไอเอ) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน
personal digital assistan เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอลหมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบเสื้อ แผนที่ทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯลฯ
read only memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ
rom รอมย่อมาจาก read only memory (แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอมก็จะไม่ศูนย์หายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ
root directory สารบบรากหมายถึง สารบบแรกสุด ซึ่งโดยปกติจะเป็นสารบบเดียวเท่านั้นที่มีอยู่ในจานบันทึกข้อมูล ในระบบปฏิบัติการดอส จะแยกระหว่างสารบบและสารบบย่อยด้วยเครื่องหมาย \ (back slash) จากตัวอย่างข้างล่างนี้ C จะเป็นสารบบราก C:\windows\pict\tartan.bmp
sector (เซค'เทอะ) n. รูปตัด, รูปตัดที่อยู่ระหว่างเส้นรัศมี2เส้นกับส่วนของเส้นรอบวง, อุปกรณ์คณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยไม้บรรทัด2อันที่ติดกันที่ปลายหนึ่งและมีขีดแบ่งมาตราส่วน vt. แบ่งออกเป็นส่วน ๆ เซ็กเตอร์วิธีการจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูลลงบนจานบันทึกนั้น จะต้องมีการกำหนดให้เป็นวง เรียกว่า แทร็ก (track) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับลู่วิ่งวนเป็นวงกลม แล้วแบ่งแต่ละแทร็กนี้ออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า "ส่วนวง" หรือที่ยังนิยมเรียกทับศัพท์กันว่า "เซ็กเตอร์" ก็มีมาก แต่ละส่วนวงนี้จะเก็บข้อมูลได้ 1 ระเบียน (record) ไม่ว่าส่วนวงจะกว้างหรือแคบ (ด้านในที่ติดกับจุดศูนย์กลางจะแคบกว่าด้านนอก), See also: sectoral adj., Syn. class, ca
single-sided disk จานบันทึกหน้าเดียวหมายถึง จานบันทึกที่สามารถนำมาใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงหน้าเดียว สมัยปัจจุบัน คงจะหาไม่ได้เพราะเลิกใช้ไปหมดแล้ว
ss/dd เอส-เอส/ดี-ดี <คำอ่าน>ย่อมาจาก single sided / double density เป็นจานบันทึกข้อมูลรุ่นเก่าซึ่งไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้วในปัจจุบัน จานแบบนี้จะบันทึกข้อมูลลงได้เพียงด้านเดียว (single sided) แม้จะอัดให้แน่นได้ถึงสองเท่าตัวของความอัดแน่นอย่างปรกติก็ตาม (double density) จานบันทึกขนาด 51/4 นิ้ว จุได้เพียง 180 เค (180, 000 ตัวอักขระ) ปัจจุบันจานบันทึกที่ใช้ทั่วไป จะเป็นประเภท DS/DD (double sided/double density) หรือ HD (high density) เพราะมีความจุมากกว่ามาก
English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )
encode (vt) Accounting. ทำการบันทึก บันทึกข้อมูล, See also: Save, Record, Syn. Record
global positioning system (n) GPS (global positioning system) จีพีเอส (ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลตำแหน่งโลก คือ จีพีเอส ที่ทำให้เราทราบค่าตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของโลก โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณคือ อุปกรณ์จีพีเอส ดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนโลก มีอยู่สามค่ายคือ 1. NAVSTAR เป็นของประเทศอเมริกา 2. GLONASS เป็นของประเทศรัสเซีย 3. GALILEO เป็นของยุโรป แต่ที่เราใช้สัญญาณในปัจจุบันด้วย จีพีเอสที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดนั้นใช้ของ NAVSTAR แต่เรานิยมเรียกของค่ายนี้ว่า ดาวเทียมจีพีเอส
SASD (jargon, slang) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบเรียงลำดับ ไม่สามารถเข้าถึงโดยตรงได้ เช่น สายเทปบันทึกเสียง
German-Thai: Longdo Dictionary
speichern (vt) |speicherte, hat gespeichert| เก็บหรือบันทึกข้อมูล ส่วนใหญ่หมายถึงในคอมพิวเตอร์ เช่น Telefondaten dürfen zwei Jahre gespeichert werden.

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ



Are you satisfied with the result?


Discussions