ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย

การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มว่าคืออะไรเป็นการอ่านในระดับต้น  และเป็นพื้นฐานการอ่านระดับสูงต่อไป  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนดังนี้

                     - ส่วนใจความสำคัญ

                     -  ส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่องหรือส่วนประกอบ  เพื่อให้เรื่องชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ใจความสำคัญของเรื่อง

คือข้อความที่เป็นแก่นของเรื่อง  โดยจะมีเนื้อหาสำคัญที่สุดใจความเดียว  แล้วมีเนื้อเรื่องอื่นมาประกอบหรือขยายใจความให้ชัดเจนมากขึ้น

กลวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง     ควรเริ่มต้นจากการอ่านจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้าให้ได้ถูกต้องแม่นยำเสียก่อน เพราะข้อความตอนหนึ่งหรือย่อหน้าหนึ่ง  แม้มีใจความหลายอย่าง แต่จะมีใจความสำคัญที่สุดในย่อหน้านั้นเพียงอย่างเดียว ถ้าเรื่องหนึ่งมีหลายย่อหน้า  ย่อมแสดงว่าจะมีใจความสำคัญหลายประเด็น  เมื่อนำประเด็นสำคัญในแต่ละย่อหน้ามาพิจารณาร่วมกันแล้ว   จะทำให้สามารถจับแก่นเรื่องหรือแนวคิดสำคัญที่สุดของเรื่องทั้งหมดได้ง่ายขึ้น

ใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า ส่วนมากมักอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง โดยมีข้อสังเกตได้ดังนี้

              ๑. ประโยคตอนต้นย่อหน้า เป็นจุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้า

มากที่สุดเพราะผู้เขียนมักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อนแล้วขยายรายละเอียดเพื่อให้ชัดเจนขึ้นใน

ภายหลัง ตัวอย่างเช่น

                   คนไม่อ่านหนังสือ คือคนถอยหลังอยู่ในสังคม เพราะทุกวันนี้โลกเจริญขึ้นอย่าง

ไม่หยุดหย่อน มีเหตุการณ์ใหม่ ๆ ปรากฏสืบเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย ทุกคนที่หวังความก้าวหน้า

จึงต้องตามเรื่องเหล่านี้ด้วยการอ่านอย่างมิหยุดยั้ง มิฉะนั้นเขาจะได้นามว่าเป็นผู้ถอยหลัง

ใจความสำคัญ : คนไม่อ่านหนังสือคือคนถอยหลังอยู่ในสังคม

              ๒. ประโยคตอนท้ายย่อหน้า เป็นจุดที่พบใจความสำคัญมากรองลงมาจากประโยค

ตอนต้นย่อหน้า โดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียด หรือประเด็นย่อยมาก่อน แล้วสรุปด้วยประโยคที่

เก็บประเด็นสำคัญไว้ภายหลัง ตัวอย่างเช่น

               บางคนอ่านหนังสือเพียงเฉพาะเรื่องราว คืออ่านแต่เรื่องในวงอาชีพของตนถ้าทำ

อย่างนั้นก็นับว่ายังไม่ได้ผลเต็มที่เพราะขาดความรู้ในวงการทั่วไป ทางที่ดีเขาควรขยายขอบเขตการ

อ่านให้กว้างขวางออกไปอีก

                    ใจความสำคัญ : ควรขยายขอบเขตการอ่านให้กว้างขวางออกไปอีก

              ๓. ประโยคตอนกลางย่อหน้า เป็นจุดที่ค้นหาใจความสำคัญได้ยากขึ้น เพราะนักเรียน

ต้องพิจารณาเปรียบเทียบให้ได้ว่า สาระสำคัญที่สุดอยู่ที่ประโยคใด ตัวอย่างเช่น  ขณะนี้ไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใด ที่ในบ้าน บนรถไฟ รถเมล์ ในห้องทำงานบนสถานที่ราชการหรือที่ใดก็ตาม ท่านจะต้องใช้สายตา “อ่าน” อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่ละเราต้องยกเว้นในกรณีที่ท่านตาบอดเพราะท่านย่อมจะอ่านหนังสือในเล่มนี้ไม่ได้แน่ยกเว้นแต่จะมีใครอ่านให้ท่านฟัง

                        ใจความสำคัญ : ท่านจะต้องใช้สายตา “อ่าน” อยู่ตลอดเวลา

               ๔. ไม่ปรากฏในประโยคใดอย่างชัดเจน อาจอยู่ในหลายประโยคหรืออยู่รวม ๆ ใน

ย่อหน้าซึ่งผู้อ่านจะต้องสรุปออกมาเอง นับเป็นการจับใจความสำคัญที่ยากกว่าอย่างอื่น อาจจะใช้

วิธีการตั้งคำถามแล้วตอบตัวเองให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม ซึ่งจะทำให้

มองเห็นส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญ และส่วนที่เป็นประเด็นเสริม หรือการขยายความได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น

                     ต้นจากเป็นพืชที่ขึ้นอยู่เฉพาะในป่าชายเลนเท่านั้น ใบของต้นจากมีลักษณะคล้ายกับใบมะพร้าว ชาวบ้านจะนำใบจากมาพับครึ่งตรึงกับไม้ไผ่ขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๑ เมตร เย็บตรึงด้วยหวายซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามป่า ปัจจุบันบางคนใช้เชือกพลาสติกแทนเนื่องจากหวายหายากและ มีราคาแพง เมื่อเย็บเป็นตับแล้วจะนำตับจากเหล่านั้นมามุงหลังคาบ้าน  นอกจากนี้การเย็บจากยังช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กเพราะไม่ต้องใช้แรงงานมาก

                     ใจความสำคัญ :   ประโยชน์ของต้นจาก

                     การอ่านจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า นอกจากการพยายามค้นหาประโยค

หรือข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าไว้ทั้งหมดแล้ว ยังอาจใช้กลวิธีการจับใจความ

สำคัญอย่างง่าย ๆ ด้วยการตัดประโยค หรือข้อความที่เป็นส่วนขยายหรือไม่จำเป็นในแต่ละย่อหน้า

ออกไปให้หมด ในที่สุดก็จะเหลือส่วนที่เป็นใจความสำคัญของย่อหน้าได้เช่นกัน ส่วนที่ควร

ตัดออกเช่น ส่วนขยายหรือรายละเอียดต่าง ๆ ข้อเปรียบเทียบต่าง ๆ ตัวอย่างประกอบ คำศัพท์

สำนวนหรือโวหารที่ยกมาประกอบ ตัวเลข สถิติที่เป็นรายละเอียด คำถามและคำอธิบายของ

ผู้เขียน ชื่อบุคคลที่ผู้เขียนอ้างอิงโดยไม่เน้นความสำคัญ เป็นต้น

หลักการอ่านจับใจความสำคัญ

        ๑. อ่านผ่าน ๆ โดยตลอด เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่อ่านว่าด้วยเรื่องอะไร จุดใดเป็นจุดสำคัญ

ของเรื่อง

        ๒. อ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่ควรหยุดอ่านระหว่างเรื่องเพราะ

จะทำให้ความเข้าใจไม่ติดต่อกัน และพยายามตั้งคำถามกับตนเองว่าเรื่องนี้ใคร ทำอะไร ที่ไหน

เมื่อไร อย่างไร ทำไม

        ๓.  อ่านซ้ำตอนที่ไม่เข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจบางตอนให้แน่นอนถูกต้อง

        ๔.  เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่องด้วยภาษาของตนเอง

การพิจารณาว่านักเรียนอ่านจับใจความได้หรือไม่พิจารณาได้จากทักษะต่อไปนี้

            ๑. การจัดลำดับเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง

            ๒. การบอกเล่าความทรงจำจากการอ่าน เช่น  ข้อเท็จจริง  ชื่อ  สถานที่

            ๓. การรู้จักแยกแยะข้อเท็จจริง  ความคิดเห็น

            ๔. การรวบรวมความรู้เดิมกับความรู้ใหม่

           ๕. การเลือกความหมายและการนำไปใช้

           ๖. การให้ตัวอย่างประกอบ

           ๗. การจำแนกใจความสำคัญและส่วนขยายใจความสำคัญ

           ๘. การกล่าวสรุปเรื่อง

ที่มา : แววมยุรา เหมือนนิล, การอ่านจับใจความ (กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์ , ๒๕๔๑),

๒๖-๓๒.

ใบความรู้เรื่อง “ข่าว”

ข่าว ( News )คือการรายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น  ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน  ข่าวที่ดีต้องมีความสำคัญ มีความน่าสนใจ  โครงสร้างสำคัญของข่าวแบ่งเป็น ๓ ส่วน มีพาดหัวข่าว  ความนำ  เนื้อข่าว   การนำเสนอข่าวต้องตรงไปตรงมา  ประเภทของข่าวโดยทั่วไป แบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่มดังนี้

                 ๑. ข่าวหนัก ( Hard news ) คือ ข่าวที่มีเนื้อหาสาระหนักสมองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่  เช่น  ข่าวการเมือง   ข่าวเศรษฐกิจและสังคม  ข่าวการศึกษา ฯลฯ

                 ๒. ข่าวเบา ( Soft  news ) คือ ข่าวที่มีเนื้อหาสาระเบาสมองมุ่งให้ความตื่นเต้นเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าอย่างอื่น  แม้จะมีความสำคัญและผลกระทบต่อวิถีชีวิตของตนส่วนใหญ่น้อยกว่าข่าวหนัก

แต่ชาวบ้านสนใจมากกว่า เช่น  ข่าวอาชญากรรม  ข่าวบันเทิง  ข่าวกีฬา ฯลฯ

                 โครงสร้างของข่าวโดยทั่วไปแบ่งได้  ๓  ส่วน  ดังนี้

                  ๑. พาดหัวข่าว ( Headline) เป็นจุดดึงดูดความสนใจและบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าประเด็นสำคัญที่สุดของข่าวนั้นคืออะไร  ข่าวที่หนังสือพิมพ์เห็นว่าสำคัญจะพาดหัวข่าวด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าข่าวที่มีความสำคัญน้อย

                  ๒. ความนำหรือวรรคนำ (Lead ) เป็นส่วนที่อยู่ต่อเนื่องจากพาดหัวข่าวและพาดหัวข่าวรอง  โดยผู้เขียนข่าวจะจับประเด็นสำคัญของเหตุการณ์ทั้งหมดมารายงานให้ผู้อ่านรับรู้ทันทีอย่างสั้นๆ มีอะไรขึ้นบ้าง

                  ๓. เนื้อข่าว ( Body) เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น  โดยมีรูปแบบการนำเสนอได้หลายอย่าง ที่นิยมมากที่สุดคือ  การรายงานข่าวโดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์สำคัญมากไปยังเหตุการณ์สำคัญน้อย     

ที่มา : แววมยุรา  เหมือนนิล . การอ่านจับใจความ ( กรุงเทพมหานคร :  สุวีริยาสาสน์, ๒๕๔๑),  

๖๖-๖๗.                                                                                       

                                      ใบความรู้เรื่อง “ การอ่านจับใจความสำคัญข่าว ”

การรายงานข่าวโดยทั่วไปมุ่งเสนอสาระสำคัญอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้อ่านจับใจความ

ได้รวดเร็วที่สุด โครงสร้างและรูปแบบของการเขียนข่าวจะมีส่วนชี้แนะการจับใจความให้ถูกต้อง

และรวดเร็วได้มาก แนวทางการอ่านจับใจความข่าวอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรพิจารณาดังนี้

       ๑. พาดหัวข่าว เป็นจุดบอกใจความสำคัญที่สุดของข่าวได้ชัดเจนและรวดเร็ว เพราะ

จะประมวลหัวใจของข่าวทั้งหมดมาเสนอไว้อย่างสั้น ๆ เป็นอันดับแรก หากได้ใจความสำคัญ

ชัดเจนเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ไม่ต้องอ่านส่วนอื่นอีกก็ได้

       ๒. ความนำหรือวรรคนำ เป็นส่วนต่อเนื่องจากพาดหัวข่าว ความนำหรือวรรคนำจะ

เป็นการสรุปใจความสำคัญของข่าวทั้งหมดไว้อย่างสั้น ๆ และชัดเจนที่สุด ฉะนั้นถ้ามีเวลาใน

การอ่านข่าวน้อยหรือไม่ต้องการรายละเอียดของข่าว เพียงการอ่านพาดหัวข่าวและความนำ หรือ

วรรคนำก็สามารถจับใจความสำคัญของข่าวได้แล้ว

๓. เนื้อข่าว นับเป็นรายละเอียดที่ขยายใจความสำคัญของข่าวเท่านั้น แต่ถ้าต้องการ

เพียงใจความสำคัญของข่าวโดยไม่สนใจรายละเอียดมากนัก ไม่ต้องอ่านเนื้อข่าวเลยก็ได้ อย่างไร

ก็ตามในบางครั้งการพาดหัวข่าวและการเขียนความนำหรือวรรคนำมุ่งเรียกร้องความสนใจของ

ผู้อ่านเกินไป จนทำให้ประเด็นข่าวเปลี่ยนไป หากได้ตรวจสอบจากเนื้อข่าวทั้งหมดอีกครั้งก็จะทำ

ให้สามารถจับใจความข่าวได้อย่างแม่นยำขึ้น

ที่มา : แววมยุรา เหมือนนิล, การอ่านจับใจความ (กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์, ๒๕๔๑),

๖๖-๖๗.

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย
ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย
ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย

        ใบความรู้ ข่าวเรื่อง “น.ร.หญิงวัย ๑๓ ปวดท้องครูส่งโรงหมอ ช็อกท้องแก่ใกล้คลอด”

น.ร.หญิงวัย ๑๓ ปวดท้องครูส่งโรงหมอ ช็อกท้องแก่ใกล้คลอด  เด็กเผยถูกเพื่อนบ้านวางยาข่มขืนจนท้อง น.ร.หญิงวัย ๑๓ ปี ปวดท้องอย่างรุนแรงในห้องเรียน ครูพาส่งโรงหมอตะลึง ตั้งครรภ์แก่พร้อมคลอด แพทย์ช่วยชีวิตไว้ได้ทั้งแม่และลูก เด็กเผยโดนเพื่อนบ้านวางยาสลบข่มขืนจนท้อง ถูกขู่บอกใครโดนฆ่ายกครัว ตร.บุกจับทันควันสารภาพหมดเปลือก   เหตุนักเรียนหญิงมีอาการปวดท้องใกล้คลอดในห้องเรียนครั้งนี้ถูกเปิดเผยขึ้น หลังจากที่อาจารย์หญิงในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.เมืองกระบี่ เห็น ด.ญ.นก (นามสมมุติ) อายุ ๑๓ ปี นักเรียนชั้น ม.๑ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ขณะนั่งเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน จึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดกระบี่ ปรากฏว่า แพทย์ตรวจอาการจึงพบว่า ด.ญ.นก ตั้งครรภ์ใกล้คลอด จึงรีบนำเข้าห้องคลอด ไม่ถึงชั่วโมงก็คลอดบุตรออกมาปลอดภัยทั้งแม่และลูก จากนั้น จึงติดต่อผู้ปกครองมาโรงพยาบาลกลางดึกเมื่อเวลา ๐๑.๓๐ น. วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ต่อมานายทอง (นามสมมุติ) อายุ ๓๗ ปี บิดาของ ด.ญ.นก ได้สอบถามลูกสาวจนทราบรายละเอียด แล้วเข้าแจ้งความกับ ร.ต.ท.จีรพล ถิรินทวพงษ์ ร้อยเวร สภ.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายนคร อินบุตร อายุ ๔๓ ปี เพื่อนบ้าน โดยกล่าวหาว่า นายนครหลอกให้

ด.ญ.นกดื่มน้ำส้มที่ใส่ยานอนหลับ แล้วนำตัวไปข่มขืนกระทำชำเราในโรงเรียนร้างใกล้บ้าน เมื่อสำเร็จความใคร่แล้วได้ข่มขู่ไม่ให้บอกใคร ไม่เช่นนั้นจะฆ่าทิ้งยกครัว

นายทองกล่าวว่า อยากให้ทางภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ เพราะหลังจากแพทย์ให้ลูกสาวออกจากโรงพยาบาล ก็ไม่กล้าที่จะนำลูกสาวและหลานกลับไปอยู่ที่บ้าน เนื่องจากบ้านตนและผู้กระทำผิดอยู่ใกล้กัน ตอนนี้ต่างก็เป็นศัตรูกันหมด ไม่สามารถรับกับสังคมตรงนั้นได้ ยอมรับว่าสภาพจิตใจของลูกสาวนั้นต้องการจิตแพทย์ในการฟื้นฟูเป็นอย่างมาก  อาจารย์ที่ปรึกษาของ ด.ญ.นก กล่าวว่า เด็กที่คลอดออกมาเป็นหญิงสมบูรณ์ทุกอย่าง ขณะนี้ทั้งอาจารย์ และนักการในโรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือ ซื้อผ้าอ้อม สิ่งของเครื่องใช้ และให้เงินช่วยเหลือกันคนละ ๓๐๐-๕๐๐ บาท เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น

ขณะที่ผู้อำนวยการโรงเรียน (ขอสงวนนาม) กล่าวว่า ได้เรียกอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าประชุมด่วน เพราะแปลกใจทำไมพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมทั้งอาจารย์ไม่ได้สังเกต และไม่รู้เรื่องนี้เลย และได้ดูผลการเรียนของเด็กหญิงคนนี้ ปรากฏว่า เป็นเด็กที่เรียนดี เรียบร้อย ไม่เกเร และยังเป็นนักกีฬาเปตองของโรงเรียนไปแข่งขันที่ต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนมากมาย เมื่อเกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้น ทางโรงเรียนก็หาทางแก้ปัญหา ช่วยเหลือทั้งด้านการเรียน และค่าใช้จ่ายในขณะที่พักอยู่ในโรงพยาบาล และจะหาทางช่วยเหลือให้เด็กได้เรียนจบมัธยมปลายจากที่นี้ เพราะฐานะครอบครัวทางบ้านยากจน

ด้าน น.ส.เกศิณี สรรพวีระวงศ์ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.กระบี่ กล่าวว่า ได้รับทราบเรื่องนี้จากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งจากส่วนกลางโทรศัพท์มาแจ้ง จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปที่โรงพยาบาลกระบี่แล้ว ขณะนี้ทำได้แค่ ๒ อย่าง คือ สอบถามหาข้อมูลกับผู้ถูกกระทำ ประการต่อมา ก็ประสานทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เร่งจับกุมผู้กระทำเท่านั้นเอง

ล่าสุด เวลา ๑๑.00 น. วันเดียวกันนี้ ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก พล.ต.ต.พศิน นกสกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ ว่า สั่งให้ร้อยเวรเร่งดำเนินการขอหมายจับ และให้จับกุมผู้กระทำผิดมาสอบปากคำทันที หลังจากที่ได้นำตัวมาสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาก็ได้รับสารภาพหมด ขณะนี้ได้ขออำนาจศาลฝากขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดกระบี่

                                                    (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑) 


ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย
ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย
ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทย

                                            แบบบันทึกการอ่านข่าวตามขั้นตอนการอ่านแบบSQ4R

                            เรื่อง “น.ร.หญิงวัย ๑๓ ปวดท้องครูส่งโรงหมอ ช็อกท้องแก่ใกล้คลอด”

ขั้นที่ ๑ Survey ( S ) นักเรียนอ่านเรื่องอย่างคร่าวๆ บอกชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งประเภทของสารที่อ่าน..................................................................................................................................................

ใจความสำคัญอยู่ตรงไหน

ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งต้นของย่อหน้าและมีรายละเอียดวางอยู่ในตำแหน่ง [カ คลุมๆ ไว้ก่อนในตอนต้น ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งท้ายของย่อหน้า โดยกล่าวถึงรายละเอียดต่างๆ อย่าง

ใจความสําคัญของเรื่องคืออะไร

ใจความสำคัญ หมายถึงใจความที่เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในย่อหน้านั้น จะเป็นใจความหรือประโยคเดี่ยว ๆ ได้โดยไม่ต้องมีประโยคอื่นประกอบ ในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคใจความ สำคัญเพียงประโยคเดียว อย่างมากไม่เกิน ๒ ประโยคเป็นใจความสำคัญและเด่นที่สุดในย่อหน้า

จุดมุ่งหมายและลักษณะของการจับใจความสำคัญคืออะไร

การอ่านจับใจความสำคัญ คือ การอ่านโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บสาระสำคัญ ความรู้ข้อมูล ที่น่าสนใจ และแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียนของเรื่องที่อ่าน อีกทั้งยังเป็นการอ่านที่ต้องการแยกแยะเรื่องที่อ่านให้ได้ว่าส่วนใดเป็นใจความหรือข้อความที่สำคัญที่สุด และส่วนใด เป็นข้อความประกอบ การจับใจความจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผู้เขียน ...

ใจความรอง มีลักษณะอย่างไร

ใจความรอง คือ ข้อความที่เป็นส่วนขยายหรือสนับสนุนใจความหลักให้ชัดเจนขึ้น ในหนึ่งย่อหน้าอาจมีใจความรองมากกว่า ๑ ประเด็น แต่ทุกประเด็นต่างสนับสนุนใจความหลักเดียวกัน เช่น ใจความรองที่เป็นสาเหตุ ผลที่ตามมา รายละเอียด ลักษณะ อาการ วิธีการ ประโยชน์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อขยายใจความหลักนั้น ๆ ให้ชัดเจนหรือหนักแน่นยิ่งขึ้น