เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

สวัสดีครับ หลังจากไม่ได้โพสท์นาน ก็อยากจะทำให้บอร์ดมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง กำลังจะไปเที่ยวศรีสัชนาลัยปลายเดือนนี้หลังคริสต์มาส เลยเกิดอยากทราบขึ้นมาว่าเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ ที่เขาถือกันว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยมีที่ไหนบ้าง จะได้รวบรวมให้เป็นหลักเป็นฐานเสียที เผื่อใครอยากทราบมาค้นจะได้ตามได้ง่ายๆครับ

อันเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงยอดดอกบัวตูมนี้ มีทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆกล่าวถึงไว้มากมาย ถึงที่มาที่ไป เนื่องจากไม่เคยปรากฏเจดีย์ลักษณะเช่นนี้มาก่อน

บางท่านก็ว่ามาจากการรวมลักษณะของเจดีย์ในศิลปะต่างๆไว้ในที่เดียวกัน ทั้งปราสาทแบบเขมร การไม่มีบัลลังก์ที่องค์ระฆังแบบพม่า เป็นต้น

บางท่านก็ว่า เป็นการสร้างสัญลักษณ์ใหม่ให้กับรัฐใหม่ คือสุโขทัย ที่เกี่ยวข้องกับความพยายามสร้างศูนย์กลางการปกครอง (ทั้งทางโลกและทางธรรม) ขึ้นใหม่ โดยพญาลิไท

ส่วนตัวผมเอง เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการพยายามทำองค์ระฆังให้เป็นรูปดอกบัว ซึ่งเกิดขึ้นในศิลปะอยุธยาด้วย เช่น วัดอโยธยา และวัดไก่เตี้ย เป็นต้น อาจจะเป็นความคิดร่วมกันของรัฐในดินแดนไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 -20

เนื่องจากมีผู้ทำวิจัยไว้มากแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดมากครับ ถ้าอยากทราบข้อมูลโดยละเอียด สามารถหาอ่านได้จากหนังสือเรื่องเจดีย์ ของศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม หรือวิทยานิพนธ์ เรื่อง
"การศึกษาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยสุโขทัย" โดยคฑา จันทลักขณา และ ของมณฑล ทิพยทัศน์ เรื่อง เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์สุโขทัยครับ

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้าKurukula

ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ธ.ค. 10, 14:22


ลายเส้นของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ครับ อาจารย์สันติ เล็กสุขุม เสนอไว้ว่ามาจากส่วนประกอบของหลายๆศิลปะผสมกัน เช่น ฐานเขียงซ้อนกันแบบสุโขทัยเอง ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ท้องไม้สูง แบบล้านนา

ถัดขึุ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักสามฐานแบบเขมร พร้อมเรือนธาตุ

ส่วนยอดเป็นกระุพุ่มคล้ายดอกบัวตูม ไม่มีบัลลังก์ อาจมาจากพม่า หรือไม่ก็เป็นการลบเส้นนอกที่เกะกะออก ต้องการให้องค์ระฆังออกมาเป็นรูปดอกบัว


เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้าKurukula

ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ธ.ค. 10, 14:34


เจดีย์ประธานวัดเจ็ดแถวครับ คล้ายกับเป็นมหาธาตุประจำเมืองศรีสัชนาลัย แหล่งรวมเจดีย์ที่งามที่สุดแห่งหนึ่งในไทย

ช่างมีฝีมือเท่าไรก็มาแสดงออกที่นี่ เจดีย์แต่ละองค์จึงไม่ซ้ำกันเลย คล้ายกับวัดมหาธาตุ ลพบุรี หรือวัดมหาธาตุ ชัยนาท

ว่ากันว่าอาจเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายศรีสัชนาัลัย วงศ์วานหลวงศรียศ จึงได้มีเจดีย์น้อยใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก


เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้าKurukula

ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ธ.ค. 10, 14:37


อีกภาพหนึ่งครับ เป็นวัดหนึ่งที่น่าประทับใจมากๆในประเทศไทย ยังสวยสมบูรณ์และไม่มีผู้คนเข้าไปรบกวนมากนัก (เมื่อเทียบกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร


เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้าKurukula

ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ธ.ค. 10, 14:44


วัดเจ็ดแถวมีเจดีย์น้อยใหญ่เป็นจำนวนมากเรียงต่อๆกัน อาจเป็นที่มาของชื่อวัด และใช้เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์หรือยอดดอกบัวตูมเป็นประธาน ซึ่งเจดีย์รูปทรงนี้มีข้อเสียคือ รูปทรงชะลูดเพรียว แม้จะสร้างให้ใหญ่โตก็ไม่ให้ความรู้สึกอลังการอย่างปรางค์หรือปราสาทเขมร อย่างไรก็ตาม อาจเป็นความพยายามจากเหตุผลบางประการของชาวสุโขทัยที่เลือกใช้เจดีย์ทรงนี้เป็นประธานในหลายๆวัด

เมื่อกล่าวถึง “เจดีย์” บางท่านมักนึกถึง “เจดีย์ทรงระฆัง” โดยลืมหรือนึกไม่ถึงว่า “ปรางค์” ก็เป็นเจดีย์ชนิดหนึ่งด้วย 

คำว่าเจดีย์หมายถึงปูชนียสถานในพระพุทธศาสนา โดยมิได้บ่งชี้ไปถึงลักษณะรูปทรงแต่อย่างใด เจดีย์ที่มียอดทรงดอกบัวตูมอันเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะสุโขทัย เรียกกันโดยบ่งบอกรูปทรง คือ เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม บ้างก็เรียกว่า เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงทะนาน ก็เรียก

คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเจดีย์ คือ สถูป ใช้ปะปนกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีก

สถูปบ่งชี้ความหมายของสิ่งที่ก่อสร้างไว้สำหรับประดิษฐานพระบรมอัฐิ หรือบรรจุอัฐิของผู้ควรแก่การเคารพบูชา รูปทรงของสถูปมีทรงโอคว่ำเป็นสำคัญ คงเลียนลักษณะของกองพูนดินเหมือนหลุมฝังศพ เจดีย์มีความหมายพ้องกับสถูปโดยมีความหมายอื่นอยู่ด้วย คือสิ่งก่อสร้างสำหรับเป็นที่ระลึกหรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ความหมายที่พ้องกันของเจดีย์กับสถูปทำให้เกิดใช้ปะปนกัน คนไทยคุ้นเคยกับคำว่าเจดีย์มากกว่า ใช้เรียกกันจนติดปาก

อย่างไรก็ดี คำว่าเจดีย์ใช้คู่กับคำว่าสถูป เป็น สถูปเจดีย์ ก็มีผู้ใช้เพื่อระบุว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีพระบรมอัฐิของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ ซึ่งตรงกับที่เรียกว่า พระธาตุ พระบรมธาตุ หรือพระศรีรัตนมหาธาตุ

ในสมัยโบราณการสร้างเจดีย์ทรงระฆังแพร่หลายพร้อมพุทธศาสนาจากอินเดียไปเป็นที่นิยมในประเทศศรีลังกา รูปทรงและองค์ประกอบสำคัญของสถูปยังคงอยู่โดยมีการปรับเปลี่ยน จนมีแบบเฉพาะเรียกว่า เจดีย์แบบลังกา (รูปที่ 1)

ทรงโอคว่ำก็ยังเป็นลักษณะสำคัญเรียกว่า อัณฑะ ส่วนนี้เทียบกับเจดีย์ทรงระฆังของไทยก็คือ องค์ระฆัง หรือทรงระฆังเหนือขึ้นไปจากอัณฑะมีทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า หรรมิกา หมายความกันไปหลายอย่างว่าเป็นรูปจำลองของอาคารที่ซ้อนกันเป็นชั้นก็มี หรือหมายถึงรั้วที่กั้นล้อมพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็มี และยังความหมายอื่นอีก ชาวไทยเรียกทรงสี่เหลี่ยมนี้ว่า บัลลังก์

เหนือจากหรรมิกาคือ ฉัตราวลี ในศิลปะอินเดียเป็นแผ่นวงกลมมีความหมายแทนร่ม หรือฉัตรของพระมหากษัตริย์ เมื่อทำแผ่นวงกลมหลายแผ่นซ้อนเรียงลดขนาดเป็นลำดับคล้ายฉัตรที่มีหลายชั้นจึงมีทรงเป็นรูปทรวกรวย ลักษณะที่พัฒนาไปมากแล้วของฉัตราวลีในศิลปะลังกาเมื่อแพร่หลายเข้ามาในดินแดนไทยก็ปรับเปลี่ยนไปอีก แผ่นวงกลมเรียงซ้อนติดกัน รูปนอกเป็นทรงกรวย ดูคล้ายวงแหวนซ้อนเรียงกันเป็นชุดโบราณ ท่านคงเห็นว่าคล้ายปล้องของ ปี่ไฉน จึงเรียกส่วนนี้ว่า ปล้องไฉน

เนื่องจากส่วนสำคัญทั้งสามดังกล่าวข้างต้น มีอยู่ที่เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะไทย เค้าโครงก็คล้ายคลึงกับเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะลังกา และคงประกอบกับทราบกันว่าพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 19 แพร่หลายมาจากประเทศศีลังกาจึงนิยมเรียกเจดีย์ทรงระฆังว่า เจดีย์ทรงลังกา แต่นอกเหนือจากอิทธิพลของศิลปะลังกาแล้ว ยังมีที่แพร่หลายมาจากประเทศพม่าสมัยเมืองพุกามซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18

แรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และศิลปกรรมที่มีอยู่ในสมัยเมืองพุกามมีที่มาทั้งจากศิลปะอินเดีย และศิลปะลังกา ผ่านการปรับปรุงจนมีลักษณะเฉพาะ ช่วงเวลาที่ศิลปะของไทยแห่งราชธานีสุโขทัย และ ราชธานีเชียงใหม่เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นนั้นอยู่ในสมัยปลายหรือแรกสิ้นสุดของอาณาจักรพุกาม อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนาและศิลปกรรมของไทย โดยเฉพาะที่แคว้นล้านนาและสุโขทัย ก็ยังเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพุทธศาสนาและศิลปกรรมแห่งอาณาจักรพุกามในอดีต

เจดีย์ทรงระฆังของล้านนา

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
2. เจดีย์ฉบัต เมืองนยอง-อู ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองพุกาม ประเทศพม่า

ราชธานีทางเหนือ คือเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางแห่งศิลปกรรมล้านนามีความเจริญอย่างยิ่ง เรียกกันว่ายุคทองของล้านนาตั้งแต่ราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20

ศิลปกรรมของล้านนาที่มีพัฒนาการมาจนถึงช่วงเวลานั้น มีรูปแบบสำคัญของเจดีย์ทรงระฆังอยู่ด้วยก่อนที่จะมีรูปแบบและแบบแผนเฉพาะ เจดีย์ทรงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเจดีย์ทรงระฆังแบบหนึ่งของศิลปะพุกาม เช่น เจดีย์ที่ชื่อว่า ฉปัต (พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “เจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองเชียงแสน” โบราณคดี ปีที่ 2/1.2511: 115) ชื่อเรียกเจดีย์ตามชื่อพระเถระชาวมอญผู้สร้าง ท่านเคยไปบวชเรียนพุทธศาสนาที่ประเทศลังกาอยู่หลายปี ครั้นกลับสู่บ้านเกิดจึงได้สร้างเจดีย์องค์นี้ (ในราวกลางพุทธศตรรษที่ 18) โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะลังกา ระเบียบสำคัญของเจดีย์องค์นี้ที่ควรกล่าวถึง คือฐานกลมซ้อนกันรองรับทรงระฆัง (รูปที่ 2)

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
3. เจดีย์ทรงระฆัง พระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน (ภาพจากหนังสือพระธาตุเจดีย์มรดกล้ำค่าของเมืองไทย,โดย ทศพล จังพานิชย์กุล, )

เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาอาจเริ่มรับอิทธิพลจากเจดีย์แบบดังกล่าวของศิลปะพุกามตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ภายหลังจากคลี่คลายอยู่ระยะหนึ่ง ก็กลายมามีลักษณะใหม่โดยเพิ่มฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ ทรงของฐานข้างสูงฐานแบบพิเศษนี้ รองรับชุดวงแหวนเรียงซ้อนประกอบกันเป็นจังหวะคล้ายรูปฐานกลมสามฐาน ตั้งซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ซึ่งคลี่คลายมาจากระเบียบที่มีอยู่ของเจดีย์ฉปัต ทำให้ความสูงขององค์เจดีย์เพิ่มมากยิ่งขึ้นขนาดของทรงระฆังที่ตั้งซ้อนขึ้นไปจึงย่อมมีขนาดเล็กตามลำดับไปด้วย เหนือทรงระฆังมักมีบัลลังก์รับส่วนยอดทรงกรวยที่มีขนาดเล็กตามไปอีก

เจดีย์ทรงนี้เป็นสักษณะเฉพาะของศิลปะล้านนา ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ และมีชื่อเสียงคือเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลําพูน (รูปที่ 3) สําหรับในเมืองเชียงใหม่ มีอยู่หลายแห่ง เป็นต้นว่าที่วัดร้างปัจจุบันอยู่ในบริเวณหอประชุมติโลกราช วัดกิติ ซึ่งเป็นวัดร้างเช่นกัน อยู่ภายใน บริเวณของโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
4. เจดีย์ทรงระฆัง วัดตระกวน สุโขทัย (ภาพจาก Sukhothai Its History, Culture and Art, Oxford University Press,1991)

ทรวดทรงสูงเพรียวของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา เมื่อมองโดยรวม เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมของส่วนฐาน รองรับองค์เจดีย์ทรงกรวย ขนาดใหญ่ที่มีความสูงเพรียว แตกต่างจากแบบแผน และรูปทรงที่ป้อมเตี้ยกว่าของเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย (รูปที่ 4) และแบบของกรุงศรีอยุธยา

ศิลปกรรมจากต่างเมืองต่างท้องถิ่นที่มีลักษณะบางประการ คล้ายคลึงกัน มักเกิดจากที่มีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากกว่าคล้ายกันโดยบังเอิญ ยิ่งเขตแดนใกล้กันการถ่าย-รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมก็เป็นไปอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

เจดีย์ซึ่งเป็นศิลปะสาขาสถาปัตยกรรมจึงบอกเล่าความเป็นไปในประวัติศาสตร์บางด้าน แนวความเชื่อทางศาสนาอันเป็นแรงบันดาลใจสําคัญในการสร้างศิลปกรรมในอดีต เมื่อเผยแพร่จากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งก็นําเอาศิลปกรรมอันเป็นอุปกรณ์สําคัญที่ช่วยสื่อถึงแนวความคิด คําสอนไปด้วย ศิลปกรรมจึงควบคู่กับศาสนา คล้ายกับเป็นสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งของศาสนา สัญลักษณ์ประเภทนี้แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขเพาะของท้องถิ่น และเงื่อนไขนี้เอง คือแนวทางสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมอย่างหนึ่งด้วย รูปแบบเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังของล้านนาใช้เวลาเกินกว่าครึ่งศตวรรษ หากเทียบกับช่วงเวลาสำหรับการมีรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมของศิปละสุโขทัยอาจเป็นไปได้ว่าช่างสุโขทัยใช้เวลาในการพัฒนารูปแบบเจดีย์ของตนน้อยกว่า

เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมของสุโขทัย

เจดีย์ทรงออกดอกบัวตูมของศิลปะสุโขทัยแสดงให้เห็นว่า เกี่ยวข้องกับรูปแบบศิลปะมากแหล่งกว่าเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะล้านนา

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงตั้งข้อสังเกตไว้ เมื่อ พ.ศ. 2444 พิมพ์อยู่ในหนังสือ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก (2506/65) ดังนี้ “ฐานเป็นแว่นฟ้าสามชั้น ชั้น 4 โกลนที่เป็นองค์ปรางค์… ยอดคล้ายพระเจดีย์ลังกา” พระเจดีย์ลังกาตามความหมายของพระองค์คือเจดีย์ทรงระฆัง

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
5. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่วัดตระพังเงิน สุโขทัย (ภาพจาก Sukhothai Its History, Culture and Art, Oxford University Press,1991)

ข้อสังเกตของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ น่าจะเป็นจริง กล่าวคือ ส่วนสําคัญที่เรียกว่า เรือนธาตุ (ชั้น 4) เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมหยักมุมตั้งอยู่เหนือฐานสูง ทรงกลีบขนุน ตั้งประดับอยู่บนหยักมุมของทรงแท่ง เรือนธาตุและการประดับดังกล่าวจึงปรับปรุงมาจากที่มีอยู่ส่วนเดียวกันอันเป็น ลักษณะเฉพาะของปรางค์ (โกลนที่เป็นองค์ปรางค์) เหนือขึ้นไปคือทรงดอกบัวตูมซึ่งตอนบนสอบเรียว ต่อเนื่องขึ้นไปด้วยชุดวงแหวนและทรงกรวยขนาดเล็ก องค์ประกอบส่วนนี้ที่มีอยู่เป็นประจําที่ส่วนยอดของเจดีย์ทรงระฆัง (ยอดคล้ายพระเจดีย์ทรงลังกา) คือ ชุดวงแหวนเทียบกับปล้องไฉน ทรงกรวยเทียบกับปลี (รูปที่ 5)

การที่ปล้องไฉนและปลี ต่อขึ้นเป็นยอดของทรงดอกบัวตูมเลยทีเดียวโดยไม่มีบัลลังก์สี่เหลี่ยมคั่นอยู่นั้น ผิดไปจากแบบแผนของเจดีย์ทรงระฆังของลังกา แต่เจดีย์ทรงระฆังแบบหนึ่งของสมัยเมืองพุกาม ก็ไม่ทําบัลลังก์ทรงสี่เหลี่ยมเหนือทรงระฆัง อนึ่ง หากนึกภาพว่ายอดทรงดอกบัวตูมที่สอบขึ้นบนอย่างรวดเร็ว เกิดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมตั้งอยู่ และต่อยอดด้วยปล้องไฉน กับปลี ส่วนนี้คงมีรูปนอกและปริมาตรที่ขัดแย้งทําให้ดูประหลาด ช่างของสมัยสุโขทัยคงคำนึงถึงเรื่องนี้ เพราะศิลปะสุโขทัยดังเช่นพระพุทธรูปซึ่งมีเอกลักษณ์ที่รู้จักกันทั่วไปในด้านของความประสานกลมกลืนทั้งเส้น รูปนอก และปริมาตรของรูปทรงสุนทรียภาพเช่นนี้ คือภาพรวมของศิลปสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยที่รู้จักกันโดยทั่วไป

ทรงดอกบัวตูมเป็นข้อขบคิดกันมานานว่ามีแรงบันดาลใจจากที่ใด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.สุริยว สุขสวัสดิ์ มีความเห็นว่าคงมาจาก ทรงของยอดปราสาทแบบขอม (“เจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 11/8, 2533 : 31-35) อนึ่ง หากจะพิจารณาว่าการกลายมาเป็นทรงดอกบัวตูมเกิดจากแรงบันดาลใจ จากทรงระฆังหรือรวมทั้งทรงศิขรที่เป็นส่วนยอดของเจดีย์-วิหารสมัย เมืองพุกามเพราะมีปริมาตรและรูปทรงใกล้เคียงกัน ก็อาจเป็นได้เช่นกัน

การพิจารณาเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมข้างต้น ทําให้เชื่อว่าสุโขทัยมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งอิทธิพลศิลปะขอม และอิทธิพลศิลปะพุกามเป็นสําคัญ ทั้งนี้แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ที่สังเกตได้เพียงแบบแผนบางประการ ที่คลี่คลายจากศิลปะพุกามเพียงแหล่งเดียว แหล่งบันดาลใจทางศิลปะที่มีมากกว่าแหล่งเดียวของศิลปะสุโขทัย และอาจจะประกอบจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสุโขทัย ราวไม่ก่อนรัชกาลของพระเจ้าเลอไทที่คงมีส่วนผลักดันให้คิดหารูปแบบเฉพาะของเจดีย์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์สําหรับราชธานี หากเป็นดังข้อสันนิษฐานนี้ เจตนาจะให้มีเจดีย์อย่างที่คิดไว้โดยปรับปรุงจากรูปแบบที่รู้จักกันอยู่ก่อน ก็น่าจะทําให้เกิดรูปแบบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมิใช่การเกิดตามขบวนการของวิวัฒนาการโดยตรงที่ต้องมีระยะเวลาเป็นเงื่อนไขสําคัญ

เจดีย์ทรงปรางค์ของกรุงศรีอยุธยา

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
6.เจดีย์ทรงปรางค์ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา (ภาพจากหนังสือพระธาตุเจดีย์มรดกล้ำค่าของเมืองไทย,โดย ทศพล จังพานิชย์กุล, )

กรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนา เมื่อราชธานีทางเหนือเจริญรุ่งเรืองขึ้นแล้ว ราชธานีของภาคกลางแห่งนี้ อยู่ในแหล่งที่สืบทอดความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งจากศิลปวัฒนธรรมขอมสมัยเมืองพระนคร จึงมีการปรับปรุงลักษณะของปราสาทแบบขอมในศิลปะลพบุรี (บางท่านเรียกว่าปรางค์ขอม) โดยมีวิวัฒนาการมานานร่วมศตวรรษ หรือกว่านั้นก่อนที่มีรูปแบบเฉพาะของปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (รูปที่ 6) ต่อจากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาอีกอย่างต่อเนื่อง ผ่านสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมาเป็นปรางค์แบบรัตนโกสินทร์

การเกี่ยวข้องของรูปแบบเจดีย์ศรีอยุธยาจากสามราชธานี

เจดีย์ทรงปรางค์แบบของกรุงอยุธยาเป็นทรงแท่งเหลี่ยมหยักมุมคล้ายทรงฝักข้าวโพด เจดีย์ที่มียอดทรงดอกบัวตูมของสุโขทัย มีฐานสี่เหลี่ยมหลายชั้น ตั้งซ้อนลดหลั่นรองรับทรงแท่งหยักมุม โดยมีทรงดอกบัวตูมเป็นยอดเจดีย์ทรงระฆังของเชียงใหม่ หรือเรียกรวมว่าแบบล้านนา มีทรงแท่งหยักมุม รองรับทรงกรวยสูง ดังนี้สะท้อนสุทรียภาพที่แตกต่างของศิลปะแต่ละราชธานี

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเป็นอย่างไร
เจดีย์ทรงปรางค์แบบกรุงศรีอยุธยา มีสร้างอยู่ในดินแดนที่เคยเป็นของสุโขทัยคือพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก สร้างขึ้นในคราวบูรณะวัด เมื่อสุโขทัยตกอยู่ใต้อํานาจของกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์ ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่เคยพบว่ามีเจดีย์ทรงปรางค์แบบกรุงศรีอยุธยาที่เมืองเชียงใหม่ ขณะที่ได้พบเจดีย์ทรงระฆังตามแบบแผนล้านนาในพุทธศตวรรษเดียวกันนั้นที่กรุงศรีอยุธยา ดังที่ วัดท่าแค ริมคลองสระบัว (รูปที่ 7) เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่กรุงศรีอยุธยาไม่เคยตกอยู่ใต้อํานาจปกครองของเชียงใหม่

สุโขทัยก่อนตกอยู่ใต้อํานาจของกรุงศรีอยุธยามีความใกล้ชิดกับเชียงใหม่ จึงมีการแลกเปลี่ยนถ่ายเททางด้านพุทธศาสนาและศิลปกรรมซึ่งกันและกันดังที่ทราบกันอยู่ เช่นมีการสร้างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดสวนดอกเมืองเชียงใหม่ (รูปถ่ายเก่าในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แสง มนวิทูร ผู้แปล. 2501 รูปที่ 2) ลักษณะบางประการของเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงอื่นของล้านนา ก็เข้าปะปนอยู่กับเจดีย์รายบางองค์ ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย และในวัดมหาธาตุ สุโขทัย อนึ่ง เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมก็ยังไม่เคย พบในกรุงศรีอยุธยาเลย

รูปแบบที่แตกต่างกันของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมแบบสุโขทัย และเจดีย์ทรงปรางค์แบบกรุงศรีอยุธยา ย่อมเกิดจากเงื่อนไขนานาประการที่แตกต่างกันของท้องถิ่น

การเกิดรูปแบบเฉพาะของเจดีย์ มิได้เกิดขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานใด ๆ มาก่อน ตรงกันข้ามรูปแบบศิลปะที่มีอยู่ก่อนย่อมเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงที่จะกลายเป็นแนวของวิวัฒนาการสายใหม่ หากเมื่อมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ผิดปกติไปจากความนิยม หรือจากแนววิวัฒนาการย่อมเกิดจากผลกระทบที่มาจากทางใดทางหนึ่ง เช่น แนวความเชื่อทางศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น

รูปทรงเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะเด่นอย่างไร

ลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เกิดจากการที่นำเอาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชนิดต่าง ๆ มาปรับปรุงเข้าด้วยกันให้เป็นเจดีย์ทรงใหม่ ส่วนล่างประกอบด้วยฐาน 2 ชนิด คือ ฐานเขียงซ้อนลดหลั่นเป็นชุด สอบขึ้นรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ซึ่งปรับทรงให้สูงขึ้น ต่อจากนั้นไปเป็นส่วนกลางหรือเรือนธาตุ ประกอบด้วยฐานทำซ้อน 2 ฐาน โดยปรับปรุง ...

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มาจากไหน

เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ถือเป็นสถาปัตยกรรมสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งของสุโขทัยและมีรูปแบบเฉพาะเกิดขึ้นในศิลปะสุโขทัยเท่านั้นไม่พบในศิลปะอื่น บางองค์ มียอดที่มีร่องรอยปูนปั้นประดับโดยรอบเป็นรูปกลีบบัว คือที่มาของชื่อเรียก "ทรงยอดดอกบัวตูม"7 มีองค์ประกอบของรูปแบบที่มีที่มาจากแหล่งต่างๆและช่างสุโขทัยได้ ...

เจดีย์ทรงดอกบัวพุ่มข้าวบิณฑ์มีลักษณะอย่างไรและอยู่ที่ใด

วัดเจดีย์ยอดทอง หรือวัดยอดทอง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 โดยมีหลักฐานสำคัญ คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม อันเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ในศิลปะสุโขทัย ...

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีที่ไหนบ้าง

พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม (พุ่มข้าวบิณฑ์) พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเท่าที่มีหลักฐานปรากฏมีอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยหลายองค์ด้วยกัน เช่น วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงิน วัดซ่อนข้าว วัดทักษิณาราม วัดอ้อมรอบ วัดอโศการาม และที่อำเภอศรีสัชนาลัย มีปรากฏที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยายน้อย วัดราหู วัดน้อย