พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร

7.   ละวางความชั่วความทุจริต   ถ้าสามารถประพฤติปฏิบัติมาได้ถึงขั้นสุดท้าย  จนบรรลุเป้าหมายตามปณิธานที่กำหนดไว้ ในแต่ละเรื่อง  ความชั่วความทุจริตก็จะถูกสำรอกกำจัดให้หมดไปเป็นลำดับ ๆ  เหมือนความมืดกับ ความสว่างที่เป็น  2  ด้านของสิ่งเดียวกัน  ถ้าสามารถทำให้ความสว่างเกิดขึ้นได้มากเท่าใด  ความมืดก็จะลดลงไปเองมากเท่านั้น  สุดท้ายเมื่อสามารถคลี่คลายแก้ปัญหาของชีวิตตนเองหรือชุมชนได้ลดน้อยลง ได้แล้ว  เราก็จะมีเวลา  แรงงาน  เงินทอง  หรือสติปัญญาเหลือสำหรับการช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่นได้มากขึ้น

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2541

…คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอย่างอื่นแต่ไม่มีคำนี้ ปีที่แล้วพูดเศรษกิจพอเพียง เพราะว่าหาคำอย่างอื่นไม่ได้ และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียวไม่ต้องทำหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ นี้ในคราวนั้นเมื่อปีที่แล้ว นึกว่าเข้าใจกัน แต่เมื่อมีไม่นานเดือนที่แล้วมีผู้ที่ควรจะรู้ เพราะว่า ไปปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการพัฒนามาเวลาช้านาน มาพูด และบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่า ทำ ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ในพื้นที่ ในประเทศ ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอ

…ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ อันนี้ถึงที่พูดต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะว่า หนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นด๊อกเตอร์ ก็ไม่เข้าใจ อาจจะพูดไม่ชัด แต่ก็กลับไปดูที่เขียนที่จากที่พูดมันก็ชัดแล้วว่า ควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด ครึ่งหนึ่งก็ใช้ได้ แม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ หมายความว่า วิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่า ถ้าทำทั้งหมด ทำไม่ได้ ไม่มีทาง (นาทีที่ 12.36 – 15.47)

…แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่เขาแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ คนบางคนมีเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ แต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็หกล้ม อันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่า ยืนบนขาของตัวเอง หมายความสองขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมขาคนอื่น ๆ มาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่

แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่า พอก็เพียง พอเพียงเนี่ยก็พอเท่านั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง (นาทีที่ 23.36 – 26.35 )

…ความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ร่างกาย ความคิด ถ้ามีใครมีความคิดอย่างหนึ่ง และต้องการให้คนอื่น มีความคิดอย่างเดียวกับตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูก อันนี้ก็ไม่พอเพียง การพอเพียงในความคิด ก็คือแสดงความคิดของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง และมาพิจารณาว่า ที่เขาพูด กับที่เราพูดอันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้เรื่องกัน มันก็เป็นการทะเลาะ จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแกคนสองคนที่เป็นตัวการ เป็นตัวละครที่สองคน ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน ฉะนั้นความพอเพียงนี้ ก็แปลว่า ความพอประมาณ และความมีเหตุผล (นาทีที่ 27.12 – 29.06)

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก We love Thai Royal Family ได้เผยข้อมูลว่า วันที่ 4 ธันวาคม ถ้าย้อนอดีตเมื่อหลายปีก่อน ราวประมาณปีพุทธศักราช 2520 เป็นต้นมา จนถึงปี 2550 วันมหามงคลอีกวันหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้พสกนิกรชาวไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมพระบารมี และมีพระราชดำรัส เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม

โดยทุกปีประชาชนชาวไทย จะได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสในช่วงหัวค่ำ ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม

หลังจากนั้นปี 2551 ก็มิได้เสด็จลง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร) และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เสด็จออกแทนพระองค์ ซึ่งขณะนั้นคำอธิบายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระประชวร เป็นความทรงจำที่ได้ชื่นชมพระบารมี

" ...การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง......"
— พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 --

“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : จากวารสารชัยพัฒนา)

“เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy
คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)

พระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชดำรัส ชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากพระราชดำรัส ซึ่งพระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคม องค์การเกี่ยวกับศาสนา ครู นักเรียนโรงเรียนต่างๆนักศึกษามหาวิทยาลัยในโอกาส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 4 ธันวาคม 2517 ดังความตอนหนึ่งว่า
"...คนอื่นจะว่าอย่างไร ก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัยว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่ไร พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษา ความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ประเทศต่างๆในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่ กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวด ทั้งในอำนาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้น ถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิดและมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล..."

และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ประกอบกับพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม 2540 ดังความว่า
"....ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่ง บางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขาย ในที่ไม่ห่าง ไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยคนอื่นเขาต้อง มีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็น เศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้...."

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริมีลักษณะอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง ความไม่ประมาท ไม่ฟุ่มเฟือย คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ...

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริของใคร

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

พระราชดํารัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มีจุดมุ่งหมายให้คนไทยเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำให้พอเพียงถ้าไม่พอเพียงไปไม่ได้ แต่ถ้าพอเพียงสามารถนำพาประเทศได้ดี ก็ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จพอเพียงและเพื่อให้บ้านเมืองบรรลุความสำเร็จที่แท้จริง...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2548.

หลักสําคัญของเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี