ต่อมไทรอยด์ ทําหน้าที่อะไร

 ����ѡ������秵������´�㹻Ѩ�غѹ���Ŵ��ҡ ������͡��㹡����¢Ҵ�٧ ��੾�����ҧ��觶�������������´쪹Դỻ���������п���Ԥ��� ���ͧ�ҡ����ѡ�Ҩеͺʹͧ�աѺ��ü�ҵѴ������ѧ�����ʹչ �·������¨����ѵ�ҡ���ʹ���Ե�ҡ���� 95% ��ѧ�ҡ��ҹ����� 10 ��
   เนื่องจากว่าสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมนไทรอยด์ การให้สารไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี (Radioactive Iodine) จะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การ รักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานสารไอโอดีนรังสี ซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลายหรือแคปซูล I-131 นี้จะไป จับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลเต็มที่ ใช้เวลา 4-6 เดือน ก่อนได้รับสารนี้ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้ง

โรคต่อมไทรอยด์ เป็นอีกกลุ่มโรคที่มักถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่จริงๆ แล้ว โรคต่อมไทรอยด์สามารถพบได้บ่อยในประเทศไทย และเมื่อไทรอยด์เกิดภาวะผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหนื่อย หรืออารมณ์ที่แปรปรวน เราจึงควรให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตความผิดปกติ... และตรวจเช็คไทรอยด์ฮอร์โมน เพราะหากรู้เร็วก็สามารถรับมือกับโรคต่อมไทรอยด์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ต่อมไทรอยด์...สำคัญกับร่างกายเรายังไงบ้าง?

ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่อยู่ตรงบริเวณคอ และเป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงาน หากร่างกายมีภาวะที่ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายได้ รวมทั้งยังส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง หรือแม้แต่ความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ หรือผม ก็มีผลเช่นกัน ซึ่งโรคของต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งได้หลักๆ ดังนี้

  • โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)
  • เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ส่งผลให้ฮอร์โมนไทโรซีนและฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีนถูกผลิตออกมามากเกินไปจนกลายเป็นพิษ และด้วยหน้าที่ของฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ มีส่วนช่วยควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย และควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในระบบไหลเวียนเลือด เมื่อฮอร์โมนเกิดผลิตออกมามาก...ก็ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนักขึ้น น้ำหนักจึงลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ รวมถึงการมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ในสั่น เหงื่อออกง่าย ขี้ร้อน และมีอารมณ์ฉุนเฉียว

  • โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (hypothyroidism)
  • เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ อาการแสดงจึงมักจะตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น รู้สึกเฉื่อยชา ขี้เกียจ หายใจไม่เต็มที่ คิดช้า พูดช้า ขี้หนาว น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป กว่าแพทย์จะวินิจฉัยได้... ผู้ป่วยก็อาจเป็นมาแล้วหลายปี “การตรวจฮฮร์โมนต่อมไทรอยด์” จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้แพทย์พบความผิดปกติได้เร็วขึ้น

  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis)
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือแบบอักเสบกึ่งเฉียบพลันและแบบอักเสบเรื้อรัง ซึ่งต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลันนั้น จะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เป็นหวัด มีไข้ หรือมีภาวะต่อมไทรอยด์โต คนไข้จะรู้สึกเจ็บเมื่อคลำที่ก้อน สามารถรักษาได้ด้วยการทานยากลุ่มสเตียรอยด์ และมักจะหายขาดได้ภายใน 3-6 เดือน

    ส่วนต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดเรื้อรังนั้น จะมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยมักมีอาการคอโตแต่กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาไทรอยด์ฮอร์โมน

  • โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule)
  • ภาวะต่อมไทรอยด์โตจะมี 2 ชนิด คือ แบบเป็นพิษและไม่เป็นพิษ ซึ่งภาวะต่อมไทรอยโตแบบไม่เป็นพิษนั้นจะคลำพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์... แต่ไม่มีอาการ! ทำให้คนไข้หลายๆ รายมักสับสนกับภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โดยภาวะต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษจะมีทั้งแบบโตก้อนเดียว (Single thyroid nodule) และแบบโตหลายก้อน (Multinodular goiter)

  • โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer)
  • ในกรณีที่ตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ หากลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีขอบไม่เรียบ มีหินปูนในก้อน แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์หรือไม่ ซึ่งการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ที่เหมาะสมที่สุด คือ การผ่าตัด อาจผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดหรือผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

เพราะหน้าที่ของต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างมาก หากสังเกตถึงสัญญาณผิดปกติก็อย่ารอช้า ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจไทรอยด์ฮอร์โมน ค้นหาความเสี่ยงโรคต่อมไทรอยด์...และเริ่มต้นรักษาอย่างถูกวิธี

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ทําอะไร

ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ทำหน้าที่รักษาระดับเมตาบอลิสมของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และน้ำหนัก ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณลำคอหน้าต่อหลอดลมบริเวณคอ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชนิดใด

ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ.
ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4).
ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3).
แคลซิโทนิน (Calcitonin).

การทํางานของไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid hormone) มีผลอย่างไรต่อร่างกาย

ไทรอยด์ฮอร์โมนมีความสำคัญในการกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายทำงาน โดยเฉพาะหัวใจและสมอง นอกจากนี้ยังควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่มีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ ด้วย ดังนั้นหากมีความผิดปกติของไทรอยด์ ก็จะส่งผลกระทบต่อ ...

ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น อาการที่พบบ่อย เช่น ผอมลงทั้งที่รับประทานเยอะ หัวใจเต้นเร็วและแรง มือสั่นใจสั่น หงุดหงิดง่าย เหงื่อออกง่าย ทนอากาศร้อนไม่ค่อยได้ นอนไม่หลับ ตาโปน ผมร่วง