ศักราชใดบ้างที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

     การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ 1 จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

พุทธศักราช          มากกว่า         คริสต์ศักราช               543  ปี 

พุทธศักราช          มากกว่า         มหาศักราช                 621  ปี 

พุทธศักราช          มากกว่า         จุลศักราช                  1181  ปี

พุทธศักราช          มากกว่า         รัตนโกสินทร์ศก           2324  ปี

พุทธศักราช          มากกว่า         ฮิจเราะห์ศักราช            1122  ปี

การเทียบศักราชในระบบต่างๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้ 

ในปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมากคือข้อใด

การนับช่วงเวลาในประเทศไทยปัจจุบันนี้ ใช้ปีพุทธศักราชเป็นเครื่องก าหนดนับ แต่ในหนังสือ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อนประวัติศาสตร์ของไทยมักจะใช้ศักราชที่แตกต่างกันไป โดยบางครั้งก็ใช้ มหาศักราช บางครั้งก็ใช้จุลศักราช บางครั้งก็ใช้คริสต์ศักราช และบางครั้งก็ใช้รัตนโกสินทร์ศก อีกทั้ง ในสวนของชาวมุสลิมนั้นก็ใช้ฮิจเราะห์ศักราช ...

ศักราชแบบใดที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด

ศักราชสากลที่นิยมใช้กันแพร่หลายที่สุด คือ คริสต์ศักราช เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับในปีที่พระเยซูถือก าเนิดเป็นปีที่ ๑ หรือ A.D. ๑ หรือ ค.ศ. ๑ เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Christian Era และ Anno Domini ในภาษาละติน แปลว่า ปีแห่งพระเจ้า เขียนเป็นตัวย่อว่า A.D.

ประเทศไทยยังใช้ศักราชใดบ้างในการบันทึกประวัติศาสตร์

ศักราชแบบไทยที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย เช่น พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช และรัตนโกสินทรศก (๑) พุทธศักราช (พ.ศ.) พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่นับถือพระพุทธ- ศาสนาเป็นศาสนาหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่มีวิธีการ

ประเทศไทยใช้ปีศักราชใดบ้าง

ปัจจุบัน มีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้พุทธศักราชในราชการ โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันแรกของเดือนมกราคม ศรีลังกา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางพุทธศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา เมียนม่า ใช้จุลศักราชเป็นปีราชกาล และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชาเช่นกัน