นักวิชาการสาธารณสุข ต้องสอบ อะไรบ้าง

ข้อ 16. ท่านอ่านพบคำว่า การแพร่ มาหลายครั้งแล้ว เช่น ก๊าซออกซิเจนแพร่ เข้าสู่เส้นเลือดฝอย คำว่า แพร่ นี้มีความหมายอย่างไร ถ้ามีการแพร่ของสารเกิดขึ้น

ก. จากบริเวณที่มีสารมากไปสู่บริเวณที่มีสารอยู่น้อย

ข. จากบริเวณที่มีสารอยู่น้อย ไปสู่บริเวณที่มีสารอยู่มาก

ค. จากบริเวณที่มีสารขนาดใหญ่ไปสู่บริเวณที่มีสารขนาดเล็ก

ง. จากบริเวณที่มีสารขนาดเล็กไปสู่บริเวณที่มีสารขนาดใหญ่

ข้อ 17. การหายใจเขียนเป็นสมการได้

C6 H12 O6 + O2     H2O + C2O + พลังงาน

ในสมการนั้น  CO2  และ H2O  คืออะไรตามลำดับ

ก. น้ำและก๊าซออกซิเจน

ข. น้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ค. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน

ข้อ 18. ปริมาณความเข้มข้นของอะไรในเลือดที่กำหนดอัตราเร็วของการหายใจ

ก. ไอน้ำ

ข. ก๊าซออกซิเจน

ค. ก๊าซไนโตรเจน

ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ข้อ 19. เครื่องบินเมื่อบินในระดับสูง นักบินจะหายใจไม่สะดวก  เพราะอะไร

ก. ที่ระดับสูงมีไอน้ำน้อย

ข. ที่ระดับสูงมีออกซิเจนน้อย

ค. ที่ระดับสูงมีฝุ่นละอองมาก

ง. ที่ระดับสูงมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก

ข้อ 20. เมื่อเป่าลมหายใจลงในน้ำปูนใส น้ำปูนใสจะขุ่นแสดงว่าลมหายใจออกมีอะไร

ก. ก๊าซมีเทน

ข. ก๊าซออกซิเจน

ค. ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์

ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ข้อ 21. เมื่อนำลมหายใจออกมาตรวจวิเคราะห์จะพบว่าลมหายใจออกไม่ใช่จะมีแต่ก๊าซ

คาร์บอนไดออกไซด์ ยังมีก๊าซอะไรออกมาด้วย

ก. ออกซิเจน,ไนโตรเจน

ข. คาร์บอนไดซัลไฟด์,ไอน้ำ

ค. คาร์บอนมอนอกไซด์,ไอน้ำ

ง. คาร์บอนมอนอกไซด์,แอมโนเมีย

ข้อ 22. นักดำน้ำจะต้องโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำหลังจากดำไปประมาณ 2 นาที เพราะเหตุใด

ก. สำลักน้ำ

ข. เพื่อให้ตาชินกับแสง

ค. เพื่อรับก๊าซออกซิเจนไปชดเชย

ง. เพื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทิ้งไป

ข้อ 23. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อรวมกับน้ำจะได้อะไร

ก. กรดเกลือ

ข. กรดแอซิติก

ค. กรดซัลฟุริก

ง. กรดคาร์บอนิก

ข้อ 24. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ที่ผ่านการหายใจมาแล้ว ส่วนใหญ่มากับอะไรในเส้นเลือดฝอย

ก. พลาสมา

ข. เม็ดเลือดขาว

ค. เม็ดเลือดแดง

ง. เม็ดน้ำเหลือง

ข้อ 25. เพราะเหตุใดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ของเสียจากการหายใจที่เซลล์) จึงไม่มากับพลาสมาทั้งหมด

ก. เพราะพลาสมาเข้มข้นเกินไป

ข. เพราะพลาสมาไม่มีน้ำมากพอ

ค. เพราะก๊าซดังกล่าวไม่ละลายน้ำ

ง. เพราะจะทำให้เกิดกรดเป็นอันตราย

ข้อ 26. การไหลเวียนของเลือดผ่านไตเป็นอย่างไร

ก. เส้นเลือดแดงใหญ่  –   ไต   –  เส้นเลือดดำใหญ่

ข. เส้นเลือดดำใหญ่ –  ไต – เส้นเลือดแดงใหญ่

ค. เส้นเลือดดำใหญ่ – เส้นเลือดแดงใหญ่ – ไต

ง. เส้นเลือดแดงใหญ่ – เส้นเลือดดำใหญ่ – ไต

ข้อ 27. ร่างกายจะดูดสารกลับคืนในกรณีต้องการใช้สารนั้น การดูดสารกลับคืนนี้เกิดตอนไหน

ก. ตอนเป็นเลือด

ข. ก่อนผ่านหน่วยไต

ค. ผ่านหน่วยไตมาแล้วมาถึงท่อหน่วยไต

ง. ตอนเป็นน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ

ข้อ 28. ปริมาณสารในปัสสาวะเกิดขึ้นจาก การกรองที่หน่วยไตและอะไรอีกอย่างหนึ่ง เมื่อผ่านการกรองแล้ว

ก. การย่อย

ข. การดื่มน้ำ

ค. การเติมน้ำ

ง. การดูดกลับคืน

ข้อ 29. หน่วยไตสามารถกรองสารโปรตีนออกจาดกเลือดได้ 20 กรัม ต่อ 100 cm3  แต่ในน้ำปัสสาวะกลับไม่มีสารโปรตีน  สารดังกล่าวหายไปไหน

คณะสาธารณสุขศาสตร์เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ วางแผน ป้องกันโรค และแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลเริ่มตั้งแต่ผู้คนใกล้ชิดอย่างครอบครัวไปจนถึงชุมชน เพื่อจะได้ส่งเสริมสุขภาพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมอย่างยั่งยืน  

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ส่วนใหญ่มีการแตกแขนงออกไปหลายสาขามาก แต่มหาวิทยาลัยบางแห่ง อาจเรียกเป็นสาขารวมว่า “สาธารณสุขศาสตร์” แล้วไปแยกวิชาเอกในภายหลังตอนชั้นปีสูง เช่น ม.มหิดล แบ่งวิชาเอกเป็น 5 สาขาคือ โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร วิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ วิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ อนามัยชุมชน เป็นต้น พี่เมก้าจะสรุปสั้นๆ ให้ว่า “สาขา/วิชาเอกของสาธารณสุขศาสตร์มีอะไรบ้างและเรียนอะไรกัน”  

สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ  เน้นประยุกต์ความรู้ทางสาธารณสุขร่วมกับการบริหารงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุขเอง ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อจะพัฒนาพฤติกรรมและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและสุขศึกษาได้  

การสร้างเสริมสุขภาพเชิงนวัตกรรม เน้นพัฒนาศักยภาพด้านการคิด การแก้ปัญหาเชิงระบบ และการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการประเมินและติดตามสถานการณ์สถานะสุขภาพของประชากรในชุมชน มีการทำงานร่วมกับชุมชนและสหวิชาชีพ  

การดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ เน้นพัฒนาสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในการดูแลและจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม/ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ตอบโจทย์กำลังคนด้านการดูแลผู้สูงอายุที่ยังขาดแคลน  

วิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม/อนามัยสิ่งแวดล้อม เน้นจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมืองและชนบท ผู้เรียนต้องสามารถวางแผน ประเมินผล และวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  

อนามัยชุมชน/การสาธารณสุขชุมชน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาปัจจัยและสาเหตุของปัญหาสุขภาพ การเฝ้าระวังปัญหา วางแผนแก้ไข และพัฒนาระบบบริการอนามัยชุมชน มีการประเมินผลที่ชัดเจนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย/สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย เน้นการส่งเสริม ป้องกัน พัฒนา และควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมการทำงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ  

โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร เน้นเรียนทักษะด้านโภชนาการ โภชนบำบัด และการกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับการเจ็บป่วย ผู้เรียนจะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารได้ เพื่อจะได้ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาโภชนาการ และทำให้ชุมชนมีภาวะโภชนาการที่ดี  

วิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เพื่อวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่ขั้นตอนควบคุมการผลิต ตรวจวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้มาตรฐาน  

คณะนี้เหมาะกับใคร

  1. ใจรักวิทยาศาสตร์ เพราะคณะนี้ต้องผ่านการเรียนวิทย์แบบครอบคลุมรอบด้าน ไม่ว่าจะฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เจอเนื้อหาเชิงลึกตั้งแต่ปี 1 ปีต่อๆ ไปก็เจอวิชาแนววิทย์สุขภาพล้วนๆ เตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้ดีเลย
  2. ไม่ทิ้งคณิตศาสตร์ อย่าเพิ่งโล่งใจว่าเน้นวิทยาศาสตร์แล้วจะลืมคณิตศาสตร์ได้ลงคอ เพราะสาธารณสุขยังต้องเรียนวิชาเลขอยู่ ส่วนใหญ่เจอ calculus และ stat แน่ๆ แว่วมาว่าความยากขั้นเทพและค่อนข้างทิ้งห่างจาก ม.ปลาย
  3. ใจกว้าง สาธารณสุขค่อนข้างทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ ลงชุมชนบ่อย ดังนั้น ต้องมีใจที่อยากจะช่วยทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง

  • สาธารณสุขศาสตร์ (วท.บ. / ส.บ.)
  • อนามัยชุมชน (สบ.)
  • อนามัยสิ่งแวดล้อม (วท.บ.)
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (วท.บ.)
  • การส่งเสริมสุขภาพ (วท.บ.)
  • การสร้างเสริมสุขภาพเชิงนวัตกรรม (วท.บ.)
  • สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ (วท.บ.)
  • สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย (วท.บ.)
  • การสาธารณสุขชุมชน (ส.บ.)
  • โภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย (วท.บ.)
  • การดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ (ส.บ.)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์

  • ม.เกษตรศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.ขอนแก่น (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.พะเยา (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.ธรรมศาสตร์ (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.นเรศวร (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.มหิดล (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.มหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.มหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.บูรพา (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.มหาสารคาม (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.กาฬสินธุ์ (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ)
  • ม.เทคโนโลยีสุรนารี (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (คณะพลศึกษา)
  • ม.แม่ฟ้าหลวง (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
  • ม.วลัยลักษณ์ (สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์)
  • ม.อุบลราชธานี (วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข)
  • ม.ทักษิณ (คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา)
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่น มรภ.อุบลราชธานี (คณะสาธารณสุขศาสตร์) , มรภ.สวนสุนันทา (วิทยาลัยสหเวชศาสตร์) , มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นต้น
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม) , ม.เวสเทิร์น (คณะสาธารณสุขศาสตร์) , ม.ชินวัตร (คณะสาธารณสุขศาสตร์) เป็นต้น
  • กลุ่มสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี , จ.ตรัง , จ.ยะลา , จ.สุพรรณบุรี , จ.อุบลราชธานี , จ.ขอนแก่น , จ.พิษณุโลก

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ม.ธรรมศาสตร์ 16,500 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.ขอนแก่น 18,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.นเรศวร 20,000 บาท/ภาคการศึกษา
  • ม.มหิดล (สาธารณสุขศาสตร์) 18,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.มหิดล (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) 21,000 บาท / ภาคการศึกษา

ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับแต่ละรอบ (อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS64)

 

รอบมหาวิทยาลัย/โครงการเกณฑ์คัดเลือกคะแนนต่ำสุดปี 64รอบ 1 
Portfolioม.แม่ฟ้าหลวง (สาธารณสุขศาสตร์)  
โครงการเด็กดีมีที่เรียน GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.50 + GPA (อังกฤษ, วิทย์) ไม่ต่ำกว่า 2.50 + Portfolio -ม.นเรศวร  (สาธารณสุขศาสตร์)  
โครงการพิเศษสำหรับบุตรเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านGPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 + เป็นบุตรของอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน + ใบรับรองความประพฤติจากโรงเรียน + ร่วมกิจกรรมวิชาการ/ส่งเสริมสุขภาพ + Portfolio + สอบสัมภาษณ์-ม.เทคโนโลยีสุรนารี (สาธารณสุขศาสตร์) 
โครงการเด็กดีมีคุณธรรมGPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 + ผลงานระดับประเทศตามคุณธรรม 3 ด้านที่กำหนด + สอบสัมภาษณ์ -ม.มหาสารคาม (สาธารณสุขศาสตร์) 
โครงการเด็กดีมีที่เรียนGPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรมและหนังสือรับรองจากทางโรงเรียน + แบบรายงานการทำความดีมีคุณธรรม + Portfolio + สอบสัมภาษณ์ -    รอบ 2 
Quotaม.เกษตรศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร (สาธารณสุขศาสตร์) 
โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและโรงเรียนเครือข่ายGPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00 + GAT + PAT2 + วิชาสามัญ (คณิต1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา)-ม.มหิดล (สาธารณสุขศาสตร์) 
โควตา รอบ 2GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + GPA (วิทย์, คณิต, อังกฤษ)       ไม่ต่ำกว่า 3.00 + วิชาสามัญ (คณิต1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, อังกฤษ, ไทย, สังคม)-ม.วลัยลักษณ์ (สาธารณสุขศาสตร์) 
โควตา 14 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์มีภูมิลำเนาหรือโรงเรียนอยู่ใน 14 จ.ภาคใต้/ประจวบคีรีขันธ์ + O-NET 
(TCAS65 ยกเลิกการใช้ O-NET รอติดตามเกณฑ์ปีนี้)-ม.ธรรมศาสตร์ (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
โครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.50 + อยู่ในพื้นที่ 38 จ.ภาคกลาง ตะวันออก เหนือ อีสาน ใต้ และ กทม. + O-NET + GAT  
(TCAS65 ยกเลิกการใช้ O-NET รอติดตามเกณฑ์ปีนี้)-    รอบ 3 Admissionม.มหิดล (สาธารณสุขศาสตร์) 
 GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + GPA (คณิต, วิทย์, อังกฤษ)      ไม่ต่ำกว่า 3.00 + วิชาสามัญ (คณิต1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, อังกฤษ, ไทย, สังคม)32.0750ม.ขอนแก่น (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
 วิชาสามัญ (คณิต1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, อังกฤษ, ไทย, สังคม)30.3500ม.บูรพา (การสาธารณสุขชุมชน)
 GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00 + GAT + PAT2   57.8100 ม.นเรศวร (อนามัยชุมชน)
 GPAX ไม่ต่ำกว่า 1.95 + GAT + PAT2 + O-NET
(TCAS65 ยกเลิกการใช้ O-NET รอติดตามเกณฑ์ปีนี้)50.6043

อาชีพหลังจบการศึกษา

ปัจจุบันมีการจัดตั้งสภาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีจรรยาบรรณวิชาชีพเข้ามาทำงานด้านสาธารณสุข โดยผู้ที่มีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขคือผู้ที่เรียนจบหรือคาดว่าจะจบทันเทอมสุดท้ายในวุฒิด้านสาธารณสุขที่สภารับรอง น้องๆ สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์                    สภาการสาธารณสุขชุมชน  

สาขาการสร้างเสริมสุขภาพเชิงนวัตกรรม ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข, นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ช่วยนักวิจัย, นักวิจัยภาคสนามตามองค์กรนอกภาครัฐ  (NGOs) และหน่วยงานภาครัฐ  

การส่งเสริมสุขภาพ/สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข,  นักวิชาการสุขศึกษา, นักส่งเสริมสุขภาพ, นักวิจัย, ผู้ให้คำปรึกษา, ผู้ฝึกอบรม, วิทยากรประจำหน่วยงานภาครัฐ องค์กรนอกภาครัฐ (NGOs) และประกอบอาชีพอิสระด้านสุขภาพ

วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม/อนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข, นักวิชาการสุขาภิบาล, นักวิชาการสิ่งแวดล้อม, ผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม, ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ อากาศ กากของเสียอันตราย, ผู้ชำนาญการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, ผู้ตรวจประเมินระบบประกันคุณภาพ  

อนามัยชุมชน/การสาธารณสุขชุมชน ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข, พนักงานกระทรวงสาธารณสุข, นักวิเคราะห์ด้านสุขภาพ, นักวิจัยด้านสุขภาพ, นักวิชาการด้านสุขภาพ, ที่ปรึกษาหน่วยงานทางด้านสุขภาพ, ผู้ประเมินสภาวะสุขภาพชุมชน, เจ้าหน้าที่บริหารงานด้านสุขภาพ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย/สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.วิชาชีพ ), นักความปลอดภัยวิชาชีพ,  พนักงานตรวจความปลอดภัย, นักอาชีวอนามัย, นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์การแพทย์, นักวิชาการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย  

โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข, นักกำหนดอาหารในฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน, นักวิชาการด้านโภชนาการในงานส่งเสริมสุขภาพและการจัดการอาหารในสถาบันต่างๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน

วิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ, เจ้าหน้าที่ในสายงานการผลิต การประกันคุณภาพ การวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

การดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล โรงพยาบาล ศูนย์วิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของภาครัฐและเอกชน  
 

ต้องบอกว่า “สาธารณสุขศาสตร์” เป็นอีกหนึ่งคณะที่น่าเรียน มีหลายสาขาให้เลือกตามความสนใจ และอีกสิ่งที่เห็นได้ชัดคือคนเรียนคณะนี้จิตใจงามมาก มีความฝันที่อยากทำให้คนในสังคมมีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี พี่เมก้าก็ขอเอาใจช่วยน้องๆ ทุกคนที่อยากเข้าคณะนี้ ให้สอบติดสมใจเลยค่ะ เตรียม PAT2 เตรียมวิชาสายวิทย์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) เยอะๆ ผ่านฉลุยแน่นอน! 

นักวิชาการสาธารณสุขต้องเรียนอะไรบ้าง

ตอบ : คณะสาธารณสุขศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งหมดของชุมชน ตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร เพื่อการมีสภาพชีวิตทั้งทางกายภาพ จิตใจและทางสังคมที่สมบูรณ์ แข็งแรง โดยจะศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข และศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป

นักวิชาการสาธารณสุข ต้องสอบ ก พ ไหม

ถ้าสอบรับราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องผ่าน ภาค ก กพ. ถ้าเป็นท้องถื่นก็ต้องสอบท้องถิ่น ภาค / ข ของท้องถิ่น

นักวิชาการสาธารณสุข ทํางานที่ไหน

ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ สามารถทำงานได้ในกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมควบคุมโรคติดต่อ ทำงานในสถานบริการของรัฐ เช่น สำนักงานสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ตำบล จนไปถึงระดับจังหวัด สถานพยาบาล โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัด หรือหน่วยงานในส่วนกลางและภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุขจะมีความรู้ความสามารถในการ ...

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เรียนกี่ปี

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต - 4 ปี ภาคปกติ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (สายวิทย์-คณิต/สายศิลป์) ปวช. /ปวส. /กศน. อาชีพที่รองรับ