ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู

เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ จะเริ่มผลิตดอกไม้เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธุ์ในการขยายพันธุ์ต่อไป ภายในดอกจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเกสรตัวผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือละอองเรณูเก็บไว้ในอับละอองเรณู (Pollen) ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ ซึ่งภายในมีไข่ (Ovule) ทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมียไว้ (เพิ่มเติม: โครงสร้างของดอกไม้) การปฏิสนธิของพืชดอก มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. การถ่ายละอองเรณู (Pollination) คือ กระบวนการที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ละอองเรณูปลิวไปตามแรงลมแล้วไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย หรืออาจเกิดการที่ตัวกลางในการผสมเกสร เช่น แมลงผสมเกสรชนิดต่างๆ สัตว์ปีก หรือเกิดจากความตั้งใจของมนุษย์ การถ่ายละอองเรณูเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน (Self Pollination) และการถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (Cross Pollination)

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู
แมลงผสมเกสรมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยถ่ายละอองเรณูของดอกไม้

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน: การถ่ายละอองเรณูภายในต้นเดียวกัน เช่น การถ่าย ละอองเรณุในดอกกล้วยไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายผึ้งตัวเมีย ทำให้ผึ้งตัวผู้ มาดูดกินน้ำหวานและได้ถ่ายละอองเรณูให้ดอกอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีผึ้งมา เกสรตัวผู้ก็อาจจะโค้งลงมา และมีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันได้

การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก: การถ่ายละอองเรณูข้ามต้นเป็นการถ่ายละออง เรณูจากพืชต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งที่ชนิดเดียวกัน ถ้าเป็นพืชต่างชนิดกันจะไม่ สร้างหลอดละอองเรณู ละอองเรณูถูกพาไปโดยลม หรือแมลงที่ไปกินน้ำหวาน ในดอกไม้

(อ่านเพิ่มเติม: 9 วิธีที่คุณจะช่วยรักษาแมลงผสมเกสรไว้ในสวนของคุณ)

2. การปฏิสนธิ (Fertilization) คือกระบวนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (ละอองเรณู) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่อ่อน) เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูจะตกอยู่ที่บริเวณ stigma ซึ่งจะมีสารกึ่งเหลวคอยดักจับเรณูไว้ เมื่อมีสภาพที่เหมาะสม ละอองเรณูจะงอกและมีการเจริญของท่อเรณูเพื่อเข้าไปผสมกับเซลไข่ (egg cell) โดยภายในท่อเรณูจะมีสเปิร์มอยู่ 2 ชนิด ทำ ให้เกิดการผสม 2 ครั้ง (double fertilization) คือสเปิร์ม 1 อันจะผสมกับไข่ได้เป็น zygote ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นต้นอ่อน (embryo) ส่วนสเปิร์มอีกหนึ่งชนิดจะผสมกับ polar nuclei ได้เป็น endosperm ทำหน้าที่เป็นอาหารสะสมให้กับต้นอ่อน แต่ในพืชบางชนิดอาหารสะสมให้ต้นอ่อนเกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่ในรังไข่ (nucellus) หรือ perisperm

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู

การผสมซึ่งเกิดจากการผสม 2 ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) ซึ่งพบเฉพาะในพืชดอกเท่านั้น หลังจากปฏิสนธิแล้วนิวเคลียสที่ได้รับผสมจะเกิดส่วนประกอบต่างๆ ของพืชดังนี้

รังไข่ (ovary) เจริญเป็น ผล
ผนังรังไข่ (ovary wall ) เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้
ออวุล (ovule) เจริญเป็น เมล็ด
ไข่ (egg ) เจริญเป็น ต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ด
โพลาร์นิวเคลียส (polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์ม
เยื่อหุ้มออวุล (integument ) เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด

สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไป การปฏิสนธิซ้อนของพืชดอกมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เราใช้รับประทานก็เกิดมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกข้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโดสเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอของถั่ว

    ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู (Pollination agent) เชน ลม แมลง น้ำหรือสัตว์อื่นๆ จะเป็นสื่อพาละอองเรณูไปด้วยเหตุนี้โครงสร้างของดอกทั่วไปจึงมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละอย่าง เพื่อทำให้การถ่ายละอองเรณูและการปฏิสนธิมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้แก่

1. ลม ดอกไม้ที่มีลมเป็นสื่อพาละอองเรณูไปจะมีละอองเรณูจำนวนมาก แห้งและเบา สามารถปลิวไปกับลมได้ง่ายและไปได้ไกลๆ ดอกมักมีขนาดเล็ก ไม่มีกลิ่นหอม ไม่มีน้ำหวานสำหรับล่อแมลง เช่น ดอกข้าวและดอกพืชตระกูลหญ้าต่างๆ ละหุ่ง พวกสนเกี๊ยะ ละองเรณูยังมีปีก 2 ข้าง ช่วยให้ปลิวได้ง่ายและดีขึ้นสำหรับยอดเกสรตัวเมียของพืชพวกที่มีลมเป็นสื่อพาไปมักจะมีการแตกเป็นฝอยคล้ายขนนกหรือมียางเหนียวๆ เพื่อจับละอองเรณู การใช้ลมพาไปเรียกว่า”แอนีโมฟีลี” (anemophily)

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู

2. แมลง ดอกไม้ที่มีแมลงเป็นสื่อพาละอองเรณูไปมักเป็นดอกไม้ที่มีสีสันสวย กลิ่นหอม และมีต่อมน้ำหวานเพื่อล่อแมลงให้มาหาอาหาร ซึ่งทำให้ละอองเรณูติดไปตามปีก ขา ลำตัว ปากของแมลง ละอองเรณูของดอกพวกนี้มักจะเหนียวทำให้ติดกับแมลงได้ง่ายเมื่อแมลงบินไปที่ดอกอื่นก็จะพาเอาละอองเรณูไปผสมได้ง่าย แมลงพวกนี้ได้แก่ ผีเสื้อ ผึ้ง แมลงภู่ การใช้แมลงเป็นสื่อในการนำละอองเรณูไปแบบนี้เรียกว่า        “เอนโทโมฟรลี” (entomophily)

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู

3. สัตว์อื่นๆ เช่น นกซึ่งชอบกินเกสรดอกไม้ ซึ่งมีอยู่ค่อนข้างน้อย เช่น นกฮัมมิ่ง (Humming bird) การใช้นกเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปเรียกว่า “ออร์นิโทฟีลี” (ornithophily)

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการถ่ายละอองเรณู

4. น้ำ พืชที่ใช้น้ำเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปก็ คือ พวกพืชน้ำเป็นส่วนใหญ่ การใช้น้ำเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปเรียกว่า “ไฮโดรฟีลี” (hydrophily)

การถ่ายละอองเรณูมีอะไรบ้าง

1. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน 2. การถ่ายละอองเรณูข้ามดอกในต้นเดียวกัน 3. การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น

Abiotic pollination คืออะไร

วิธีการผสมเกสรดอกไม้สามารถใช้ได้สองวิธีหลักคือ วิธีการผสม เกสรแบบอาศัยสิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Pollination) เป็นวิธีการผสม เกสรโดยใช้สิ่งรอบ ๆ ตัวที่ไม่มีชีวิต เช่น ใช้ลมในการแพร่กระจาย เกสรยกตัวอย่างเช่น ดอกหญ้าที่ปลิวตามลม เพื่อแพร่กระจายเกสร ไปในที่ต่าง ๆ ถือว่าเป็นการผสมเกสรแบบท้องถิ่น (Local) และอีก วิธีคือการผสม ...

การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นที่ส่วนใด

การถ่ายเรณูอาจจะเกิดภายในดอกเดียวกัน (ในกรณีนี้คือดอกสมบูรณ์) หรือคนละดอก แต่อยู่บนต้นเดียวกัน เรียกว่าการถ่ายเรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination หรือ autogamy) หากเกิดการถ่ายเรณูระหว่างพืชคนละต้น ซึ่งแน่นอนว่าเกิดระหว่างดอกสองดอก เรียกว่าการถ่ายเรณูข้าม (cross-pollination)

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันมีผลดีอย่างไร

การถ่ายเรณูในดอกเดียวกันมีผลดีหรือผลเสียต่อพืชอย่างไร มีผลดีคือ ถ้าต้นพันธุ์เป็นพันธุ์แท้รุ่นลูกที่ได้จะมีพันธุกรรมเหมือนเดิม ผลเสียคือ ทำ ให้รุ่นลูกมี ความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยกว่าการผสมข้ามต้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้การต้านทานโรค ลดลง และลักษณะด้อยปรากฏในรุ่นต่อๆ ไปได้ง่าย