สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาใดบ้าง

     สำหรับคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  นี้มีนักเรียนไทยเรียนต่ออยู่ไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่นักเรียนไทยจะต่อยอดจากระดับปริญญาตรีที่ได้เรียนในเมืองไทย และต้องการต่อยอดต่อไปในสายนี้ ให้เฉพาะมากขึ้น แน่นอนเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีภาคค่อนข้างใหญ่ นักเรียนจะได้ศึกษาเรื่องราวปัญหาจากทั่วโลก ความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่าง ๆ ซึ่งต้องเรียนรู้ผ่านประวัติศาตร์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นองค์ประกอบเพื่อเข้าใจของแหล่งที่มาความขัดแย้ง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนบทบาทของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และแนวคิดในการเมืองโลก แนวคิดทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ในปัจจุบันโลกด้วยเช่นกัน

     คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  นี้ก็จะเรียนคลอบคลุมเรื่องทางด้าน ชาตินิยม การเมือง ความรุ่นแรงทางการเมือง ความมั่นคง การอพยพ และการพลัดถิ่น ประวัติศาสตร์การเมือง ภูมิปัญญา  ความยุติธรรมในระยะปรับเปลี่ยนผ่าน การเมืองของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทฏษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพศ เศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน การเมืองเชิงเปรียบเทียบ

     ส่วนใหญ่คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางเลือกเส้นทางเรียนต่อปริญญาโท ต่อยอดจากที่เรียนในระดับปริญญาตรี แล้ว มีคณะที่เกี่ยวข้องสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะคณะนี้การเรียนต่อต่างประเทศ ถือว่าอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเพราะว่าในต่างประเทศการศึกษาเรื่องราวการเมือง การต่างประเทศมักได้รับความนิยมมาก และจะเห็นนักเรียนต่างชาติหลากหลายประเทศอยู่ในห้องเรียนพอสมควร

สาขาที่น่าสนใจเรียนต่อทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น

  • International Politics
  • International Relations
  • Middle East Politics
  • Politics and International Relations
  • Middle East Studies
  • Arab and Islamic Studies
  • International Defence and Security
  • State, Society and Development
  • Asian Politics

Careers

     หลังจากเรียนจบทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือ International Relations นักเรียนสามารถทำงานองค์กรต่างๆ  เช่น สถานทูต องค์กรนาโต The World Bank เป็นอาจารย์สาขานี้ต่อ ที่ปรึกษา นักสื่อสารมวลชน นักวิเคราะห์ นักวิจัย UN สำนักข่าวต่างประเทศ  World Economic Forum เป็นต้น

บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international relations) หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ

  • รายละเอียด
  • คุณสมบัติ
  • แผนการศึกษา

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย:  หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
     ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Political Science Program

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม  (ภาษาไทย):  รัฐศาสตรบัณฑิต
     ชื่อย่อ  (ภาษาไทย):  ร.บ.
     ชื่อเต็ม  (ภาษาอังกฤษ):  Bachelor of Political Science
     ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ):  B.Pol.Sc.

วิชาเอก/แขนงวิชา  (ถ้ามี)
     ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  (International Relations)
     รัฐประศาสนศาสตร์  (Public Administration)
     การเมืองการปกครอง  (Politics and Governments)

จุดเด่นของหลักสูตร
     เน้นการสร้างความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยทั้งในภาพรวมของรัฐศาสตร์ และเฉพาะสาขาอย่างลึกซึ้งยึดหลักจริยธรรมทางวิชาการ

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ภาครัฐ  ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้  เช่น  พนักงานสอบสวนและสืบสวน  พนักงานปราบปรามยาเสพติด  ปลัดอำเภอ  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง  พนักงานการเลือกตั้ง  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  นักวิเคราะห์และประเมินโครงการ  นักสังคมสงเคราะห์  นักวิจัย  นักปกครอง  นักบริหารงานบุคคล  นักพัฒนาสังคม  นักพัฒนาชุมชน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนราษฎร์  เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์  พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นต้น
  2. รัฐวิสาหกิจ  ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้  เช่น  พนักงานการท่องเที่ยว  พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  พนักงานการไฟฟ้านครหลวง  พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  พนักงานการประปานครหลวง  พนักงานการประปาส่วนภูมิภาค  พนักงานองค์การโทรศัพท์  พนักงานท่าเรือแห่งประเทศไทย  พนักงานทางพิเศษแห่งประเทศไทย  เป็นต้น
  3. หน่วยงานภาคเอกชน  ได้แก่  บริษัทและห้างหุ้นส่วนต่างๆ  ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้  เช่น  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  นักวิเคราะห์และประเมินโครงการ  นักสังคมสงเคราะห์  นักวิจัย  นักบริหารงานบุคคล  พนักงานบริการ  พนักงานขาย  พนักงานลูกค้าสัมพันธ์  พนักงานฝึกอบรม  พนักงานติดต่อประสานงาน  เป็นต้น
  4. องค์กรสาธารณประโยชน์  ได้แก่  องค์การพัฒนาเอกชนและมูลนิธิต่างๆ  โดยมีตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้  เช่น  งานสืบค้นข้อมูล  งานวิจัยและพัฒนา  งานบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมงานรณรงค์และเผยแพร่  ประชาสัมพันธ์  เป็นต้น
  5. องค์การระหว่างประเทศ  ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้  เช่น  สถานทูตของประเทศต่างๆ  องค์กรสังกัดองค์การสหประชาชาติ  เป็นต้น
  6. งานอิสระ  เช่น  งานแปล  งานเขียนบทความและหนังสือ  วิทยากร  เป็นต้น 

  1. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา  เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ว่าด้วย  การศึกษาระดับปริญญาตรี 
    พ.ศ. 2548
  2. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  3. คุณสมบัติอื่นๆ  ตามประกาศของมหาวิทยาลัย