แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

  • สาระบทเรียน
  • ลวดเชื่อมแกนฟลั๊กซ์ตามมาตรฐาน AWS
  • ลวดเชื่อมแกนฟลั๊กซ์ตามมาตรฐาน JIS
  • สื่อ Powerpoint

หัวข้อเรื่อง ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS  (American Welding Society)
         5.1  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนตามมาตรฐาน AWS A 5.20-79   
         5.2  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมตามมาตรฐาน AWS A 5.22 – 80
         5.3  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กหล่อตามมาตรฐาน AWS A 5.15-90

สาระสำคัญ 
          ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS  (American Welding Society) แบ่งตามประเภทของโลหะงานเชื่อม ประกอบด้วยลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน เหล็กกล้าไร้สนิมและเหล็กหล่อ
ลวดเชื่อมแต่ละประเภทยังแบ่งตามส่วนผสมทางเคมีและลักษณะการนำไปใช้งานได้หลายชนิด ลวดเชื่อมแต่ละประเภทจะมีสัญลักษณ์ลวดเชื่อมที่แตกต่างกันตามประเภทของลวดเชื่อม  โดยสัญลักษณ์จะกำหนดเป็นตัวเลขและตัวอักษร  ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเชื่อมจึงมีความจำเป็นต้องอ่านสัญลักษณ์ลวดเชื่อมได้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง

จุดประสงค์ทั่วไป
          ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐานAWS

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
          1.  อธิบายรายละเอียดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอนตามมาตรฐานAWSA5.20-79ได้
          2.  อธิบายรายละเอียดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน AWSA5.22-80ได้
          3.  อธิบายรายละเอียดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กหล่อ ตามมาตรฐาน AWSA5.15-90 ได้
          4.  ระบุประเภทของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน ตามมาตรฐานAWSA5.20-79ได้
          5.  ระบุประเภทของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐานAWSA5.22-80 ได้
          6.  ระบุประเภทของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กหล่อ ตามมาตรฐานAWSA5.15-90 ได้
          7.  เลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน ตามมาตรฐาน AWS ได้เหมาะสมกับชนิดของโลหะงานและสมบัติการนำไปใช้งาน
          8.  เลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน  AWS ได้เหมาะสมกับชนิดของโลหะงานและสมบัติการนำไปใช้งาน
          9. เลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กหล่อ ตามมาตรฐาน  AWS ได้เหมาะสมกับชนิดของโลหะงานและสมบัติการนำไปใช้งาน
        10. เขียนแผนภูมิแสดงสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน ตามมาตรฐานAWSA5.20-79ได้     
        11.  เขียนแผนภูมิแสดงสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ เหล็กกล้าไร้สนิมตามมาตรฐาน AWSA5.22-80ได้
        12.  เขียนแผนภูมิแสดงสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กหล่อตามมาตรฐาน AWSA5.15-90 ได้
        13.  เปรียบเทียบข้อแตกต่างของสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอนตามมาตรฐานAWS A5.20-79  เหล็กกล้าไร้สนิม AWSA5.22-80 และเหล็กหล่อ AWSA5.15-90 ได้
        14.  มีความสนใจใฝ่รู้  มีวินัยในการเรียน  มีความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้

    
  1. ศึกษาหัวข้อเรื่อง  สาระสำคัญ จุดประสงค์ทั่วไปและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  2. ศึกษาเนื้อหาสาระ เรื่องลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS
  3. ปฏิบัติตามใบกิจกรรม 5.1-5.3 
  4. ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้  ประเมินผลงานที่มอบหมาย  และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนโดยใช้ Power Point นำเสนอ
  6. ผู้ที่ได้คะแนนกิจกรรมใดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ให้ปฏิบัติกิจกรรมใหม่จนกว่าจะผ่านเกณฑ์การประเมิน
  7. รับใบมอบหมายงานครั้งที่  9 

สื่อการเรียนรู้

  1. เนื้อหาสาระหน่วยการเรียนที่  5  เรื่อง ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS
  2. ใบกิจกรรมที่ 5.1- 5.3  และแนวเฉลยใบกิจกรรมที่ 5.1- 5.3
  3. ใบมอบหมายงานครั้งที่  9 และแนวเฉลยงานที่มอบหมาย ครั้งที่  9
  4.  แบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้  ประเมินผลงานที่มอบหมาย  และประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์
  5. สื่อ  Power Point นำเสนอ  เรื่องลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS
  6. สื่อของจริง ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน

การประเมินผลการเรียนรู้

  1. ประเมินจากแบบทดสอบหลังเรียนโดยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  2. ประเมินจากกิจกรรมและงานที่มอบหมาย  ตามเกณฑ์การประเมิน ในแบบประเมินผลกิจกรรม การเรียนรู้ และแบบประเมินผลงานที่มอบหมาย
  3. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

หัวข้อเรื่อง  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน  JIS    (Japanese Industrial Standard)
         5.1  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงตามมาตรฐาน  JIS Z3313-1993
         5.2  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมตามมาตรฐาน JIS Z 3323-1989

สาระสำคัญ 
          ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน  JIS    (Japanese  Industrial  Standard)  แบ่งตามประเภทของโลหะงานเชื่อม ประกอบด้วยลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอนและลวดเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม ลวดเชื่อมแต่ละประเภทยังแบ่งตามสมบัติทางกลและลักษณะการนำไปใช้งานได้หลายชนิด  ลวดเชื่อมแต่ละประเภทจะมีสัญลักษณ์ลวดเชื่อมที่แตกต่างกันตามประเภทของลวดเชื่อม  โดยสัญลักษณ์จะกำหนดเป็นตัวเลขและตัวอักษร  ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเชื่อมจึงมีความจำเป็นต้องอ่านสัญลักษณ์ลวดเชื่อมได้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง

จุดประสงค์ทั่วไป
          ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน JIS

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
          1.  อธิบายรายละเอียดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าละมุน เหล็กกล้าความแข็งแรงสูง ตามมาตรฐาน  JIS  Z 3313-1993 ได้
          2.  อธิบายรายละเอียดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน JIS Z 3323-1989ได้
          3.  ระบุประเภทของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าละมุน เหล็กกล้าความแข็งแรงสูง ตามมาตรฐาน  JIS  Z 3313-1993 ได้
          4.  ระบุประเภทของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน  JIS Z 3323-1989 ได้
          5.  เลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าละมุน เหล็กกล้าความแข็งแรงสูง ตามมาตรฐาน  JIS  Z 3313-1993 ได้เหมาะสมกับชนิดของโลหะงานและลักษณะงานเชื่อม
          6.  เลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน  JIS Z 3323-1989 ได้เหมาะสมกับชนิดของโลหะงานและลักษณะงานเชื่อม
          7. จัดหมวดหมู่แสดงสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน ตามมาตรฐานAWS และ JIS ได้
        
 8.  จัดหมวดหมู่แสดงสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐานAWS และ JIS ได้
          9.  เปรียบเทียบข้อแตกต่างของสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าคาร์บอน  เหล็กกล้าไร้สนิมและเหล็กหล่อ ตามมาตรฐานAWS และ JIS ได้
         10.  มีความสนใจใฝ่รู้  มีวินัยในการเรียน  มีความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้

     
  1. ศึกษาหัวข้อเรื่อง  สาระสำคัญ จุดประสงค์ทั่วไปและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  2. ศึกษาเนื้อหาสาระ  เรื่องลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ ตามมาตรฐาน JIS
  3. ปฏิบัติตามใบกิจกรรมที่ 5.4-5.6 
  4. ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้  ประเมินผลงานที่มอบหมาย  และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนโดยใช้ Power Point นำเสนอ
  6. ผู้ที่ได้คะแนนกิจกรรมใดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ให้ปฏิบัติกิจกรรมใหม่จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ การประเมิน
  7. รับใบมอบหมายงานครั้งที่ 10
  8. ทำแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจแบบทดสอบหลังเรียนจากแบบเฉลย   ถ้าได้คะแนนต่ำกว่า เกณฑ์การประเมิน ควรศึกษาเนื้อหาสาระเพิ่มเติมและทำแบบทดสอบหลังเรียนใหม่จนกว่าจะ  
    ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    สื่อการเรียนรู้
  1. เนื้อหาสาระหน่วยการเรียนที่ 5 เรื่อง ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน JIS
  2. ใบกิจกรรมที่ 5.4-5.6  และแนวเฉลยใบกิจกรรมที่ 5.4-5.6
  3. ใบมอบหมายงานครั้งที่ 10 และแนวเฉลยงานที่มอบหมาย ครั้งที่  10
  4. แบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้  ประเมินผลงานที่มอบหมาย  และประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์
  5. สื่อPower Point นำเสนอ  เรื่อง ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ ตามมาตรฐาน JIS
  6. แบบทดสอบหลังเรียน และแบบเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

การประเมินผลการเรียนรู้

  1. ประเมินจากแบบทดสอบหลังเรียนโดยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  2. ประเมินจากกิจกรรมและงานที่มอบหมาย  ตามเกณฑ์การประเมิน ในแบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินผลงานที่มอบหมาย
  3. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

5.1  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน  AWS (American Welding Society)
       5.1.1  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนตามมาตรฐาน AWS A 5.20-79   
                 (Carbon  Steel  Electrodes for Flux Cored Arc Welding)
                  มาตรฐานลวดเชื่อมนี้จะกล่าวถึงลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน สำหรับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ 
        1 ) สัญลักษณ์ลวดเชื่อม
             มาตรฐานนี้จะกำหนดสัญลักษณ์เป็นตัวเลขและตัวอักษร ดังนี้

                

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์
                   

                                                                              

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

รูปที่ 5.1 แสดงลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอน ชนิด E71T-1

ตารางที่ 5.1 แสดงประเภทของลวดเชื่อมและการนำไปใช้งาน

ประเภทลวดเชื่อม(a)

แก๊สคลุมภายนอก

กระแสและขั้วไฟเชื่อม

EXXT-1   (เชื่อมซ้อนแนว)

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-2   (เชื่อมแนวเดียว)

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-3   (เชื่อมแนวเดียว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-4   (เชื่อมซ้อนแนว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-5   (เชื่อมซ้อนแนว)

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-6   (เชื่อมซ้อนแนว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วบวก

EXXT-7   (เชื่อมซ้อนแนว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วลบ

EXXT-8   (เชื่อมซ้อนแนว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วลบ

EXXT-10  (เชื่อมแนวเดียว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วลบ

EXXT-11  (เชื่อมซ้อนแนว)

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสตรงลวดเชื่อมขั้วลบ

EXXT-G   (เชื่อมซ้อนแนว)

b

b

EXXT-GS (เชื่อมแนวเดียว)

b

b

หมายเหตุ   a.  ยกเว้น  EXXT -9
               b.  ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต

          2) ประเภทของลวดเชื่อม
              การแบ่งประเภทของลวดเชื่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  ต่อไปนี้
              (1)  ลักษณะการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ปกคลุมรอยเชื่อม
              (2)  ความเหมาะสมในการเชื่อมแนวเดียวหรือเชื่อมซ้อนแนว
              (3)  ชนิดของกระแสไฟเชื่อม
              (4)  ตำแหน่งท่าเชื่อม
               (5) สมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม  ซึ่งแสดงรายละเอียด ดังแสดงในตารางที่ 5.2

ตารางที่ 5.2   แสดงส่วนผสมเคมีของลวดเชื่อม 

ส่วนผสมทางเคมี (%โดยน้ำหนัก)a, b

ประเภทลวดเชื่อมc

C

P

S

Vad

Si

Ni

Cr

Mo

Mn

Ale

EXXT-1

EXXT-4

EXXT-5

EXXT-6

f

0.04

0.03

0.08

0.90

0.50

0.20

0.30

1.75

1.8

EXXT-7

EXXT-8

EXXT-11

EXXT-G

EXXT-GS
EXXT-2, EXXT-3
EXXT-10

ไม่กำหนดส่วนผสมขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต

หมายเหตุ   a.  ค่าที่ให้เป็นค่าสูงสุดสำหรับเหล็กกล้าคาร์บอน       b.  ส่วนผสมทางเคมีหาได้จากเนื้อเชื่อม
               c.  EXXT – 9  ไม่ได้รวมไว้ด้วย                    d.  เมื่อต้องการเติมธาตุเหล่านี้  ให้รายงานจำนวนเอาไว้ด้วย
               e.  สำหรับลวดเชื่อมที่มีแก๊สปกคลุมในตัวเอง  (Self-shielded Electrodes)
               f.  จะต้องหาปริมาณของธาตุนี้

                                                                                                ตารางที่  5.3  แสดงสมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม

ประเภท
ลวดเชื่อม

แก๊สคลุม

ชนิดกระแสไฟ
เชื่อม

ความเค้นแรงดึง
ต่ำสุด (psi)

ความแข็งแรงจุดคราก
ต่ำสุด (psi)

การยืดตัว
(%)

E60T-7

ไม่ต้อง

DCEN

67,000

55,000

22

E60T-8

DCEP

62,000

50,000

22

E70T-1

CO2

72,000

60,000

22

E70T-2

72,000

ไม่แนะนำ

E70T-3

ไม่ต้อง

72,000

E70T-4

72,000

60,000

22

E70T-5

CO2
หรือไม่

72,000

60,000

22

E70T-6

ไม่ต้อง

72,000

ไม่แนะนำ

E60T-G

ไม่กำหนด

72,000

60,000

22

           3)  รายละเอียดและการนำไปใช้ของลวดเชื่อม                                 
                 ความเหนียวหยุ่นที่อุณหภูมิต่ำของเนื้อเชื่อมก็เป็นแนวทางในการเลือกใช้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์  ที่แตกต่างกันที่รหัสท้ายมีอยู่  12  ชนิดได้แก่  T-1- T-8,T-10-T-11, T-G  และ  T-GS
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-1
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้กำหนดให้ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สคลุมและแก๊สผสมระหว่างอาร์กอนกับคาร์บอนไดออกไซด์ ก็สามารถนำมาใช้ได้เพื่อปรับปรุงสมบัติในการเชื่อม โดยเฉพาะให้สามารถเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมที่ยาก   การลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในแก๊สผสมอาร์กอนกับคาร์บอนไดออกไซด์ จะทำให้ปริมาณแมงกานีสและซิลิคอนในเนื้อเชื่อมเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นการปรับปรุงสมบัติด้านแรงกระแทก  และให้สามารถเชื่อมได้ทั้งแนวเชื่อมเดียวและเชื่อมซ้อนแนว ลวดเชื่อมขนาดโต กว่า 2.0 มม.ใช้สำหรับเชื่อมท่าราบและฟิลเลทท่าระดับ ส่วนลวดเชื่อมขนาดเล็กกว่า 1.6  มม.ใช้ในการเชื่อมทุกท่าเชื่อม ลวดเชื่อมชนิดนี้ให้การถ่ายเทน้ำโลหะแบบสเปรย์   เกิดสะเก็ดเชื่อมกระเด็นน้อยมาก
รอยเชื่อมนูนเล็กน้อย ปริมาณสแลกปกคลุมปานกลางและปกคลุมรอยเชื่อมได้ทั่วถึง ลวดเชื่อมในกลุ่มนี้ทั้งหมดมีสแลกเป็นรูไทล์
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-2
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้เป็นลวดเชื่อมที่สมบัติหลักเหมือนกับลวดเชื่อม  T-1  มีแมงกานีสหรือซิลิคอน หรือทั้งสองอย่างผสมอยู่สูง ออกแบบไว้สำหรับการเชื่อมแนวเดียวในท่าราบและฟิลเลทท่าระดับ ลวดเชื่อม ชนิดนี้มีธาตุออกซิเจนปริมาณสูง  จึงทำให้สามารถเชื่อมแนวเดียวบนเหล็กที่มีผิวที่เป็นสเกลหรือเหล็กที่มีออกซิเจนเจือปนสูง  (Rimmed Steel) ได้ ธาตุผสมของลวดเชื่อม  T-2  ไม่ได้ระบุไว้  ธาตุลดออกซิเจนที่ใช้เป็นแมงกานีสซึ่งช่วยปรับปรุงสมบัติทางกล    ลวดเชื่อม T-2  สามารถใช้กับการเชื่อมวัสดุที่มีสเกลจากการรีดที่หนามีสนิมหรือวัสดุอื่นอยู่บนผิวงานได้ดีกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อม T-1 เนื้อเชื่อมมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบ ด้วยรังสี    ส่วนสมบัติการอาร์กและอัตราการเติมลวดคล้ายกับลวดเชื่อม  T-1
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-3
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้เป็นลวดเชื่อมที่ใช้แก๊สคลุมในตัว ใช้กับกระแสไฟตรงลวดเชื่อมต่อขั้วบวก(DCEP) และการส่งถ่ายน้ำโลหะเป็นแบบสเปรย์ (Spray)  สแลกได้ออกแบบให้สามารถเชื่อมด้วยความเร็วสูง   สำหรับการเชื่อมแนวเดียว ท่าราบ ท่าระดับและเชื่อมลง โดยงานเอียงเป็นมุมไม่เกิน  20 องศา  บนแผ่นเหล็กหนาไม่เกิน 4.8 มม.  และไม่ควรนำไปเชื่อมวัสดุที่หนาเกินกว่า 4.8 มม. หรือการเชื่อมซ้อนแนว
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-4
                 ลวดเชื่อมชนิดนี้ใช้แก๊สคลุมและกระแสไฟเชื่อมเหมือนลวดเชื่อม T-3    แต่การส่งถ่ายน้ำโลหะ เป็นแบบโกลบูลาร์(Globular)  สแลกออกแบบให้สามารถเชื่อมด้วยอัตราการหลอมเหลวสูง ให้การหลอมลึกต่ำ และทำหน้าที่ลดปริมาณของกำมะถันซึ่งช่วยให้เนื้อเชื่อมมีความต้านทานต่อการแตกร้าว สามารถนำไปใช้กับงานเชื่อมแนวเดียว  หรือเชื่อมซ้อนแนวในตำแหน่งท่าราบและท่าระดับ
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-5
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ได้ออกแบบไว้สำหรับปกคลุมด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือแก๊สผสมอาร์กอนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์   ซึ่งเหมือนกับแก๊สที่ใช้สำหรับลวดเชื่อมชนิด T-1ใช้กับการเชื่อม แนวเชื่อมเดียวและแนวเชื่อมซ้อนแนวในตำแหน่งท่าราบและฟิลเลทท่าระดับ สมบัติของลวดเชื่อมนี้ให้การส่งถ่ายน้ำโลหะแบบโกลบูลาร์  รูปร่างรอยเชื่อมนูนเล็กน้อย สแลกบาง ซึ่งอาจจะปกคลุมรอยเชื่อมได้ไม่สมบูรณ์  ลวดเชื่อมกลุ่มนี้สแลกเป็นชนิดหินปูน ฟลูออไรด์ เนื้อโลหะเชื่อมที่ได้มีสมบัติทางด้านต้านทานแรงกระแทกและการแตกร้าวได้ดี
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-6
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ใช้แก๊สปกคลุมในตัว     ใช้กับกระแสไฟตรงต่อลวดเชื่อมขั้วบวก  (DCEP)   การถ่ายโอนน้ำโลหะแบบสเปรย์ สแลกให้สมบัติความเหนียวที่อุณหภูมิต่ำ ให้การหลอมลึกดี และสแลกสามารถกำจัดออกได้ง่ายจากร่องลึก  นำไปใช้กับการเชื่อมรอยเดียวและการเชื่อมซ้อนแนวในตำแหน่งท่าราบและท่าระดับ
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-7
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ใช้แก๊สปกคลุมในตัว  ใช้กับกระแสไฟตรงต่อลวดเชื่อมขั้วลบ (DCEN)  ออกแบบสแลกให้สามารถใช้กับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมขนาดใหญ่ ในอัตราการหลอมเหลวสูงและลวดเชื่อม ขนาดเล็กสามารถทำการเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม   สแลกออกแบบให้กำจัดกำมะถันในเนื้อเชื่อมอีกด้วยเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการแตกร้าวของเนื้อเชื่อม   ลวดเชื่อมชนิดนี้ใช้สำหรับการเชื่อมแนวเดียวและการเชื่อมซ้อนแนว
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-8
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ใช้แก๊สปกคลุมในตัว ใช้กับกระแสไฟตรงต่อลวดเชื่อมขั้วลบสแลกได้ ออกแบบให้สามารถเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม และให้เนื้อโลหะเชื่อมที่ได้มีสมบัติรับแรงกระแทกดีที่อุณหภูมิต่ำอีกด้วย  พร้อมทั้งลดปริมาณกำมะถันในเนื้อเชื่อมเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการแตกร้าว  ลวดเชื่อมชนิดนี้ใช้สำหรับการเชื่อมแนวเดียวและเชื่อมซ้อนแนว
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-10
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ใช้แก๊สปกคลุมในตัว  ใช้กับกระแสไฟตรงต่อลวดเชื่อมขั้วลบ  สแลกได้ ออกแบบให้ลวดเชื่อมสามารถเชื่อมด้วยความเร็วสูง  ใช้สำหรับการเชื่อมรอยเชื่อมเดียวทุก ๆ ความหนาของวัสดุในตำแหน่งท่าราบ  ท่าระดับ และท่าเชื่อมลงที่งานเอียงไม่เกิน 20 องศา
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-11
                 ลวดเชื่อมกลุ่มนี้ใช้แก๊สคลุมในตัว  ใช้กับกระแสไฟตรงต่อลวดเชื่อมขั้วลบ  และให้สเปรย์อาร์กที่สม่ำเสมอ  สแลกออกแบบให้สามารถทำการเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม และเชื่อมด้วยความเร็วสูง ลวดเชื่อมนี้ใช้เป็นลวดเชื่อมเอนกประสงค์ที่สามารถเชื่อมแนวเดียวและเชื่อมซ้อนแนวในทุกท่าเชื่อม
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-G
                 ลวดเชื่อมชนิด  EXXT-G  เป็นลวดเชื่อมสำหรับเชื่อมซ้อนแนวที่ใหม่  รายละเอียดต่าง ๆ เช่น  สแลก สมบัติการอาร์ก รูปร่างรอยเชื่อมและชนิดของขั้วไฟเชื่อม  ไม่ได้กำหนดไว้
                 ลวดเชื่อมชนิด  T-GS
                 ลวดเชื่อมชนิด  EXXT-GS  เป็นลวดเชื่อมสำหรับเชื่อมรอยเชื่อมเดี่ยว รายละเอียดต่าง ๆ เช่น  สแลก สมบัติการอาร์ก  รูปร่างรอยเชื่อมและชนิดของขั้วไฟเชื่อม  ไม่ได้กำหนดไว้

         5.1.2   ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน AWS A 5.22 – 80

                    (Specification for Stainless Steel Electrode for Flux Cored Arc  Welding)                    
         1)  สัญลักษณ์ลวดเชื่อม
               มาตรฐานนี้จะกำหนดสัญลักษณ์เป็นตัวเลขและตัวอักษร ดังนี้
     

  

รูปที่ 5.2 แสดงลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม  E308LT-1

           2)  การแบ่งประเภทของลวดเชื่อม
                การแบ่งประเภทของลวดเชื่อมขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมีของเนื้อเชื่อม และแก๊สคลุมขณะเชื่อม รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 5.4 และ 5.5 ตามลำดับ

                                                                                           ตารางที่ 5.4  แสดงประเภทของลวดเชื่อมและแก๊สคลุม

รหัสประเภท a
ลวดเชื่อมทุกชนิด

ชนิดของแก๊สคลุมb

กระแสและ

ขั้วไฟเชื่อม

EXXXT-1

คาร์บอนไดออกไซด์

กระแสตรงลวดเชื่อมต่อขั้วบวก

EXXXT-2

อาร์กอน+2%ออกซิเจน

EXXXT-3

ใช้แก๊สคลุมในตัว

EXXXT-G

ไม่กำหนด

ไม่กำหนด

หมายเหตุ
            a.   รหัส  XXX  คือ  ส่วนผสมทางเคมี ดังแสดงในตารางที่ 5.5
            b. การใช้แก๊สคลุมภายนอกจะถูกกำหนดไว้ดังแสดงในตารางที่ 5.4  ถ้าจะใช้นอกเหนือที่กำหนดต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ผลิต

                                                                                   ตารางที่ 5.5   แสดงส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อม          

    แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์


                                                                                      ตารางที่ 5.5   แสดงส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อม
    (ต่อ)

              

    แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

    หมายเหตุ  a.  คาร์บอนผสมสูงสุด  0.04%   เมื่อ  X = 1  ถ้า  X = 2  คาร์บอนสูงสุด  0.03%
                  b.  ไทเทเนียม  -  10 x C  ต่ำสุด  ถึง  สูงสุด  1.5%     
                  1.  อักษร X  ต่อท้ายคือ  แก๊สคลุม ดังแสดงในตารางที่ 5.4
                  2.  การวิเคราะห์ธาตุ  ธาตุผสมอื่น ๆ รวมกันแล้วจะไม่เกิน  0.50%  ยกเว้นเหล็ก
                  3.  ค่าที่มีค่าเดียว  คือ  ค่าสูงสุด
                  Rem.  หมายถึง ส่วนที่เหลือ

           5.1.3  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กหล่อตามมาตรฐาน  AWS A 5.15 - 90
                    (Specificattion for Welding Electrodes For Cast Iron)
                     มาตรฐานลวดเชื่อมนี้  แบ่งลวดเชื่อมตามกระบวนการเชื่อมออกได้หลายประเภท  ในหน่วยการเรียนนี้จะกล่าวเฉพาะ ลวดเชื่อมไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ เท่านั้น
           1) สัญลักษณ์ลวดเชื่อม
                มาตรฐานนี้จะกำหนดสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เป็นตัวเลขและตัวอักษร ดังนี้

               

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

            2) ประเภทลวดเชื่อม
                ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กหล่อมีเพียงชนิดเดียวโดยมีส่วนผสมทางเคมี  ดังแสดงในตารางที่ 5.6

                                                                ตารางที่ 5.6  แสดงส่วนผสมเคมีของลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ (Flux Cored Wire)

                                           

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

หมายเหตุ   a. จากตารางได้แสดงการวิเคราะห์ธาตุในแกนลวดและเนื้อเชื่อม สำหรับธาตุอื่น ๆ จะรวมอยู่ในช่วงสุดท้าย
               b. ค่าที่แสดงค่าเดียวเป็นค่าสูงสุด                                       
               c. “Rem” หมายถึงปริมาณที่เหลือจนครบ 100 %
               d.  SAE-ASTM Unified System for Metals and Alloys    
               e. นิกเกิลรวมกับโคบอลต์                                                 
               f. ทองแดงรวมกับเงิน

           3) รายละเอียดและการใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้า
               ลวดเชื่อม ENiFeT3-CI  ออกแบบไว้สำหรับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ โดยใช้แก๊สคลุมในตัว แต่ก็สามารถใช้แก๊สคลุมภายนอกได้ถ้าผู้ผลิตแนะนำ  ส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อมชนิดนี้คล้ายกับ  ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ENiFe-CI   แต่มีข้อแตกต่างกันคือมีแมงกานีสผสมอยู่สูงกว่า  การนำไปใช้งาน ก็เหมือนกับลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์  ENiFe-CI   นิยมนำไปเชื่อมงานหนา  ปริมาณแมงกานีสที่ผสมสูง  3-5%   เพื่อเพิ่มสมบัติด้านต้านทานการแตกร้าวร้อน ปรับปรุงความแข็งแรงและความเหนียวของเนื้อเชื่อม

5.2  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ตามมาตรฐาน  JIS (Japanese Industrial Standard)
         5.2.1 ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงตามมาตรฐาน JIS Z 3313-1993
                (Flux Cored  Wires for Gas Shielded and Self-Shield Metal Arc Welding of Mild Steel, High Strength Steel) 
                
มาตรฐานนี้กำหนดให้ลวดเชื่อมชนิดนี้ใช้กับกระบวนการเชื่อมทั้งใช้แก๊สคลุมและไม่ใช้แก๊สคลุมจากภายนอก สำหรับเชื่อมเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง ชนิดความเค้นแรงดึง  490 N/mm2 และ 590 N/ mm2

       1)  สัญลักษณ์ลวดเชื่อม                         
               มาตรฐานนี้จะกำหนดสัญลักษณ์เป็นตัวเลขและอักษร ดังนี้

           

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

           (2)  รหัสแก๊สคลุม  ดังนี้
                  C: แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ A: แก๊สผสมอาร์กอนกับคาร์บอนไดออกไซด์ 
                  S : แก๊สคลุมในตัว
           (3)  รหัสค่าความเค้นแรงดึงต่ำสุดของเนื้อเชื่อม  มีดังนี้
                 43 :  420 N/mm2                     50 :  490 N/mm2                  60 :  590 N/mm2 
           (4)  แสดงอุณหภูมิและพลังงานการทดสอบแรงกระแทกเนื้อเชื่อม  ดังแสดงในตารางที่ 5.7

                                                      ตารางที่ 5.7 แสดงอุณหภูมิและพลังงานของการทดสอบแรงกระแทกของเนื้อเชื่อม 

รหัส

อุณหภูมิทดสอบ  (0C)

พลังงานการทดสอบ  (J)

O

0

27

D

0

47

E

-5

27

F

-5

47

2

-20

27

G

ไม่ได้กำหนด

           (5)  ชนิดของฟลักซ์หุ้ม  มีดังนี้
                  ชนิดรูไทล์ R   :  ฟลักซ์ที่มีรูไทล์  (TiO2)  เป็นส่วนผสมหลัก
                  ชนิดด่าง B      :  ฟลักซ์ที่มีด่างเป็นส่วนผสมหลัก  ได้แก่  ฟลูออไรด์
                  ชนิดโลหะ M  :  ฟลักซ์ที่มีโลหะเป็นส่วนผสมหลัก ได้แก่ผงเหล็กและผงของธาตุผสม                                      
                  ชนิดอื่น ๆ G   :  ฟลักซ์ที่ไม่ใช่ชนิด  R  B และ M

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

รูปที่ 5.3 แสดงลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงYFW-C50DR

         

2) ประเภทของลวดเชื่อม  แบ่งออกเป็น 3  กลุ่ม ตามชนิดของแก๊สคลุม ดังแสดงในตารางที่ 5.8

ตารางที่ 5.8   ประเภทของลวดสำหรับเชื่อมเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง

ประเภทลวดเชื่อม

แก๊สปกคลุม

เกรดของเหล็กกล้า

YFW-C430X

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

เหล็กกล้าละมุน

YFW-C500X

เหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงชั้น
490 N/mm 2

YFW-C50DX

YFW-C502X

YFW-C50GX

YFW-C60EX

เหล็กกล้าความแข็งแรงสูงชั้น 590 N/ mm 2

YFW-C60FX

YFW-C602X

YFW-C60GX

ตารางที่ 5.8   ประเภทของลวดสำหรับเชื่อมเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง

ประเภทลวดเชื่อม

แก๊สปกคลุม

เกรดของเหล็กกล้า

YFW-A430X

แก๊สผสมระหว่าง อาร์กอนกับ
คาร์บอนไดออกไซด์
(Ar – CO2)

เหล็กกล้าละมุน

YFW-A500X

เหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงชั้น
490 N/mm 2

YFW-A50DX

YFW-A502X

YFW-A50GX

YFW-A60EX

เหล็กกล้าความแข็งแรงสูงชั้น 590 N/ mm 2

YFW-A60FX

YFW-A602X

YFW-A60GX

YFW-S430X

ไม่ใช้แก๊สคลุม

เหล็กกล้าละมุน

YFW-S500X

เหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงระดับ
490 N/mm 2

YFW-S50DX

YFW-S502X
YFW-S50GX

           3)  คุณภาพลวดเชื่อม
                (1) ลักษณะลวดเชื่อมจะต้องมีผิวเรียบปราศจากตำหนิที่เป็นอันตรายต่อการใช้งาน
                (2) ส่วนผสมทางเคมีของเนื้อเชื่อมที่ต้องการ ดังแสดงในตารางที่ 5.9

                                            ตารางที่ 5.9  แสดงส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อม เหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง

                                   

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

                                         ตารางที่ 5.9  แสดงส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อม เหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง (ต่อ)

                     

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

หมายเหตุ  ตารางที่ 5.9   (1)    ทองแดงที่เคลือบลวดเชื่อมจะรวมอยู่ในค่านี้ด้วย
              (3)    สมบัติทางกล  ได้แก่ ความเค้นแรงดึงจุดคราก หรือ ความเค้นพิสูจน์(Proof Stress)  0

.2 %   การยืดตัวและค่าการทดสอบ แรงกระแทกของเนื้อเชื่อมที่ต้องการ  ดังแสดงในตารางที่  5.10

                                                                ตารางที่ 5.10  แสดงสมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม ลวดเชื่อมเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง

ประเภท
ลวดเชื่อม

ความเค้น
แรงดึงต่ำสุด
(N/mm2)

ความเค้นพิสูจน์
0.2 %
(N/mm2)

การยืดตัว
ต่ำสุด
(%)

อุณหภูมิ
การทดสอบ
(0C)

พลังงาน
การทดสอบ
แบบชาร์ปี (J)

YFW-C430X

420 

340 

22 

0

47 

YFW-C500X

490 

390 

-

22 

-

0

27
47

YFW-C50DX

YFW-C502X

-20

27

YFW-C50GX

-

-

-

-

YFW-C60EX

590 

490 

-

19 

-

-5

27
47

YFW-C60FX

YFW-C602X

-20

27

YFW-C60GX

-

-

-

-

YFW-A430X

420 

340 

22 

0

27 
27

YFW-A500X

490

390 

22

-

0

YFW-A50DX

-

47

YFW-A502X

-20

27

YFW-A50GX

-

-

-

-


ตารางที่ 5.10  แสดงสมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม ลวดเชื่อมเหล็กกล้าละมุนและเหล็กกล้าความแข็งแรงสูง (ต่อ)

ประเภท
ลวดเชื่อม

ความเค้น
แรงดึงต่ำสุด
(N/mm2)

ความเค้นพิสูจน์
0.2 %
(N/mm2)

การยืดตัว
ต่ำสุด
(%)

อุณหภูมิ
การทดสอบ
(0C)

พลังงาน
การทดสอบ
แบบชาร์ปี (J)

YFW-A60EX

590

490

-

19

-

-5

27

YFW-A60FX

47

YFW-A602X

-20

27

YFW-A60GX

-

-

-

-

YFW-S430X

420 

340 

22 

0

27

YFW-S500X

490

390

22 

0

27

YFW-S50DX

47

YFW-S502X

-

-

-20

27

YFW-S50GX

-

-

-

-

           5.2.2  ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม ตามมาตรฐาน JIS Z 3323-1989
                    (Stainless steel  Flux  Cored Wires  for Arc Welding)
                     มาตรฐานนี้  กำหนดให้ลวดเชื่อมแกนฟลักซ์เหล็กกล้าไร้สนิม  ให้เนื้อเชื่อมมีส่วนผสมของโครเมียมไม่ต่ำกว่า 11%  และนิกเกิลไม่เกิน16 % ใช้สำหรับการเชื่อมทั้งแบบใช้แก๊สคลุมและไม่ใช้แก๊สคลุม     

           1)  สัญลักษณ์ลวดเชื่อม
                  มาตรฐานนี้จะกำหนดสัญลักษณ์เป็นตัวเลขและอักษร ดังนี้
                  

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

             2) ประเภทของลวดเชื่อม
                 ลวดเชื่อมสามารถแบ่งได้ตามชนิดของแก๊สคลุมและชนิดของกระแสไฟเชื่อม ดังแสดงในตารางที่ 5.11

                                                                                                       ตารางที่ 5.11  แสดงประเภทของลวดเชื่อม

ประเภทลวดเชื่อม

แก๊สคลุม

ชนิดกระแสเชื่อม

YFxxxC

คาร์บอนไดออกไซด์หรือแก๊สผสม  อาร์กอน + คาร์บอนไดออกไซด์ 
อย่างน้อย  20%

กระแสตรงลวดเชื่อมต่อขั้วบวก
(DCEP)

YFxxxS

ใช้แก๊สคลุมในตัว

กระแสสลับหรือกระแสตรงลวดเชื่อมต่อขั้วบวก
(AC/DCEP)

YFxxxG

ไม่กำหนด

ไม่กำหนด

หมายเหตุ
            1)  รหัส  xxx  แสดงส่วนผสมเคมีของเนื้อเชื่อม  ดังแสดงในตารางที่ 5.12
            2)  รหัสสำหรับกระแสไฟเชื่อม

                  AC  :  กระแสไฟสลับ
                  DCEP :  กระแสไฟตรงลวดเชื่อมต่อขั้วบวก

                                                                         

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

รูปที่ 5.4  แสดงลวดเชื่อมแกนฟลักซ์สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม  YFW308LC

แก๊สผสมชนิดใดที่ใช้กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์

หมายเหตุ ตารางที่ 5.12
             1)  การเตรียมงานทดสอบจะต้องอบที่อุณหภูมิ 840-870 0C  เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และให้เย็นตัวในเตาจนถึงอุณหภูมิ  5900C ด้วยอัตราการเย็นตัว 550C ต่อชั่วโมงและให้เย็นตัวในอากาศ
             2)  การเตรียมงานทดสอบจะต้องอบที่อุณหภูมิ  760-785 0C  เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และให้เย็นตัวในเตาจนถึงอุณหภูมิ  5900C ด้วยอัตราการเย็นตัว  550C ต่อชั่วโมงและให้เย็นตัวในอากาศ
             *  ค่าที่แสดงค่าเดียวคือค่าสูงสุด

     สื่อ Powerpoint  หน่วยที่ 5 ลวดเชื่อมแกนฟลั๊กซ์