หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชากรในชาติให้มีภูมิรู้ มีความเข้มแข็ง โดยรัฐบาลระบุไว้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ต้องจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษาได้แบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ 
  1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานี้อาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็ก ศูนย์เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาล หรือจัดเป็นชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา
  2. การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณ ได้มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ ดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การจัดสถานศึกษาระดับประถมศึกษา พึงจัดเป็นตอนเดียวตลอดใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดอายุเข้าเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และความพร้อมของเด็ก แต่ต้องไม่บังคับเด็ก เข้าเรียนก่อนอายุครบ 6 ปี บริบูรณ์ และไม่ช้ากว่าอายุครบ 8 ปี บริบูรณ์
  3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อให้บุคคลเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี นับว่าเป็นการศึกษาระดับกลาง ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ 12 - 17 ปี ให้ได้เรียนหลังจากจบประถมศึกษาและเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป ผู้ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา อาจจะออกไป ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาการ วิชาชีพตามความถนัด และความสนใจ ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พึงให้ผู้เรียนได้เน้นการเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนจะยึดเป็นอาชีพต่อไป

องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในระบบ 

องค์ประกอบของการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้ 

  1. สาระเนื้อหาในการศึกษา

    การจัดการศึกษาในระบบ จะจัดทำหลักสูตรเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระหลักสูตรในหลักสูตรกลางแต่ละระดับ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับท้องถิ่นได้ด้วย โดยมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ทั้งนี้ต้องทบทวนเนื้อหาสาระ เพื่อปรับแก้ไขให้ถูกต้องทันสมัย และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน

  2. ครู ผู้สอน หรือผู้ให้การเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ

    ได้แก่ ครู และอาจารย์ ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีการถ่ายทอด เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ และสาระวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา

    เช่น อาคารสถานที่ โต๊ะเก้าอี้ กระดานเขียน หนังสือ แบบเรียน สมุด ดินสอ ตลอดทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีราคาแพงทั้งหลาย เช่น อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา

  4. รูปแบบวิธีการเรียนการสอน

    การศึกษาในระบบยุคปฏิรูปการศึกษา เน้นความสำคัญที่ตัวผู้เรียน รูปแบบวิธีการเรียนการสอนใหม่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การระดมความคิด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำชมนอกสถานที่เรียน การใช้อุปกรณ์เครื่องมือประกอบ

  5. สถานศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม

    การจัดการศึกษาในระบบ ยังต้องอาศัยชั้นเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นอาคารสถานที่ห้องเรียน และบรรยากาศแวดล้อมที่ใช้ในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะต้องจัดบรรยากาศแวดล้อมที่เอื้อการเรียนรู้

  6. ผู้เรียน

    ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะผู้เรียนคือผู้รับการศึกษาและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา การปรับเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาจึงครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ตั้งแต่ การเตรียมความพร้อม สำหรับการเรียนรู้ การให้การศึกษาอบรมการประเมินและการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง


องค์ประกอบทั้ง 6 เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนมาตลอด จากชั้นเรียนที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ พร้อมสื่อประกอบการเรียนรู้ต่างๆ พัฒนาการของสื่อประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้วยสิ่งจำลอง แผนภูมิ เทปเสียง วิทยุ เครื่องฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง โทรทัศน์ และอื่นๆอีกมาก 


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร

Analog ได้สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาสื่ออื่นๆตามมามากมาย สิ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการศึกษานั่นคือการมาของระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเสมือนจริงในลโลกของการเรียนรู้ขยายขอบเขตกว้างไกลไปอีก จากยุค CAI ที่ยืนยง แต่ด้วยวิวัฒนาการส่งผลให้ Analog ต้องเสื่อมสลาย CAI ก็ถูกแทนที่ด้วยการออนไลน์ผ่าน e-learning โลกของ Digital ก้าวมาแทนที่ Analog เกือบหมดสิ้น


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร


และด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงเทคโนโลยีเครือข่าย ส่งผลต่อวงการศึกษา รวมถึงการศึกษาออนไลน์ในยุคแรก ต้องมาสู่การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อเทคโนโลยีของ Mobile Device โดยเฉพาะ Smartphone เติบโตจนมีความสามารถเข้าถึงเว็บไซต์รวมถึงเหล่าข้อมูลต่างๆที่ออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการก้าวเข้ามาของอีกช่องทางเลือกของการศึกษาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี Mobile 


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร


สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษาทั่วโลก ต่างตื่นตัว มุ่งพัฒนาเพิ่มช่องทางในการศึกษาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย ทั้งออกแบบหรือสร้างระบบเอง หรือการใช้ Web Applications ที่มีให้บริการ ทั้งแบบเสียเงิน แบบสมาชิก หรือ แบบให้บริการฟรี หนึ่งใน Web Application ที่นับได้ว่าสมบูรณ์ที่สุดก็คือ G-Suite for Education 


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร



ซึ่ง G-Suite for Education  มีคุณสมบัติที่เด่นๆหลายประการ


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คืออะไร


หลักการจัดการศึกษาออนไลน์





การขับเคลื่อนเพื่อดำเนินการจัดการศึกษาออนไลน์โดยเฉพาะในระดับขั้นพื้นฐาน ประเด็นจะอยู่ที่


1.ทิศทาง นโยบายในการจัดการศึกษาออนไลน์ในแต่ละระดับของการศึกษา


2.พื้นฐานความเข้าใจ ความพร้อม ความจริงจังของครู และบุคลากรทางการศึกษา 
3.สถานศึกษามีความพร้อมและการให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษาออนไลน์


4.เกณฑ์มาตรฐานหรือคุณภาพของการศึกษาออนไลน์ คืออะไร






สรุป 
การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโทและปริญญาเอก

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดเป็นหลักสูตรระดับใด

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรที่กำหนดให้ใช้ในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกรูปแบบการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้จัดให้มีหลักสูตรไว้โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1หลักสูตร ...

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกี่ระดับ

ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3.

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จัดเป็นหลักสูตรชนิดใด

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

การศึกษาขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา