คําถามระดับพื้นฐาน คือข้อใด

IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม from Ploykarn Lamdual

การตั้งประเด็นปัญหา

การตั้งประเด็นปัญหา

การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ
การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
และปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามเป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนสร้างความรู้ ความ
เข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ

ระดับของการตั้งคำถาม

01 คำถามระดับพื้นฐาน
02 คำถามระดับสูง

01 คำถามระดับพื้นฐาน

เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ความคิดทั่วไป หรือ
ความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ในการตอบ
เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบคำถามใน
ระดับนี้เป็นกรประเมินความพร้อมของนักเรียนก่อนเรียน วินิจฉัยจุด
อ่อน จุดแข็ง และสรุปเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว คำถามระดับพื้นฐาน ได้แก่

01 คำถามระดับพื้นฐาน

คำถามให้สังเกต

เป็นคำถามที่ให้นักเรียนคิดตอบจากการสังเกต เป็นคำถามที่ต้องการให้
นักเรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสิบค้นหาคำตอบ คือ ใช้ตาดู มือสัมผัส
จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และหูฟังเสียง ตัวอย่างคำถาม เช่น

เมื่อนักเรียนอ่านบทประพันธ์นี้แล้วรู้สึกอย่างไร

คำถามทบทวนความจำ

เป็นคำถามที่ใช้ทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อใช้เชื่อมโยงไปสู่ความ
รู้ใหม่ก่อนเริ่มบทเรียน ตัวอย่างคำถาม เช่น

ใครเป็นผู้แต่งเรื่องอิเหนา
ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

01 คำถามระดับพื้นฐาน

คำถามที่ให้บอกความหมายหรือคำจัดความ

เป็นการถามความเข้าใจ โดยการให้บอกความหมายของข้อมูลต่าง ๆ
ตัวอย่างคำถาม เช่น

คำว่าสิทธิมนุษยชนหมายความว่าอย่างไร
สถิติ (Statistics) หมายความว่าอย่างไร

คำถามบ่งชี้หรือระบุ

เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนบ่งชี้หรือระบุคำตอบจากคำถามให้ถูกต้อง ตัวอย่าง
คำถามเช่น

คำใดต่อไปนี้เป็นคำควบกล้ำไม่แท้
ระบุชื่อสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

02 คำถามระดับสูง

เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่นักเรียนตอบต้องใช้
ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้
นักเรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ
โดยอาจใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานในการคิดและ
ตอบคำถาม ตัวอย่างคำถามระดับสูง ได้แก่

02 คำถามระดับสูง

คำถามให้อธิบาย

เป็นการถามโดยให้นักเรียนตีความหมาย ขยายความ โดยการให้อธิบาย
แนวคิดของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคำถาม เช่น

นักเรียนควรมีบทบาทหน้าที่ในโรงเรียนอย่างไร
นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงทำให้ร่างกายแข็งแรง

คำถามให้เปรียบเทียบ

เป็นการตั้งคำถามให้นักเรียนสามารถจำแนกความเหมือน ความแตกต่าง
ของข้อมูลได้ ตัวอย่างคำถาม เช่น

DNA กับ RNA แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
สังคมเมืองกับสังคมชนบทเหมือนและต่างกันอย่างไร

02 คำถามระดับสูง

คำถามให้วิเคราะห์

เป็นคำถามให้นักเรียนวิเคราะห์ แยกแยะปัญหา จัดหมวดหมู่ วิจารณ์
แนวคิด หรือบอกความสัมพันธ์และเกตุผล ตัวอย่างคำถาม เช่น

วัฒนธรรมแย่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโรคร้อน

คำถามให้ยกตัวอย่าง

เป็นการถามให้นักเรียนใช้ความสามารถในการคิด นำมายกตัวอย่าง
ตังอย่างคำถาม เช่น

ร่างกายขับของเสียออกจากส่วนใดบ้าง
หินอัคนีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

02 คำถามระดับสูง

คำถามให้สรุป

เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบาเรียน เพื่อให้ทราบว่านักเรียนได้รับความรู้หรือ
มีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ได้
เรียนแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น

เมื่อนักเรียนอ่านบทความเรื่องนี้แล้วนักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง
จงสรุปแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด

คำถามเพื่อให้ประเมินและเลือกทางเลือก

เป็นการใช้คำถามที่ให้นักเรียนเปรียบเทียบหรือใช้วิจารณญาณใน
การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างคำถามเช่น

การว่ายน้ำกับการวิ่งเหยาะอย่างไหนเป็นการออกกำลังกายที่ดีกว่ากัน
ไก่ทอดกับสลัดไก่ นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารชนิดใด เพราะเหตุใด

02 คำถามระดับสูง

คำถามให้ประยุกต์

เป็นการถามให้นักเรียนใช้พื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ใน
สถานการณ์ใหม่หรือในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างคำถามเช่น

นักเรียนมีวิธีการประหยัดพลังงานอย่างไรบ้าง
เมื่อนักเรียนเห็นเพื่อนในห้องขาแพลงนักเรียนจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไร

คำถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ

เป็นลักษณะการถามให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น
หรือที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างคำถามเช่น

กล่องหรือลังไม้เก่าๆ สามารถดัดแปลงกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว นักเรียนจะนำไปดัดแปลงเป็นสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์

แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. เทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิด
การเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด คือ

2. จากที่กล่าวว่า “การตั้งปัญหานั้นสำคัญกว่าการแก้ปัญหา” นักเรียนเห็นด้วยกับคำ
กล่าวข้างต้นหรือไม่เพราะเหตุใด
3. ระดับของการตั้งคำถามมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

4. คำถามระดับพื้นฐาน หมายถึง

แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

5. คำถามระกับพื้นฐาน ได้แก่

6. คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง

7. จงยกตัวอย่างคำถามระดับสูง ได้แก่

8. นักเรียนคิดว่าการตั้งประเด็นปัญหา หรือประเด็นคำถามมีความสำคัญอย่างไร
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ทบทวนบทเรียนกัน


ข้อใดคือระดับของการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามมี ๒ ระดับ คือ คำถามระดับพื้นฐานและคำถามระดับสูง ซึ่ง มีรายละเอียดดังนี้ ๑. คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ใน การตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ

การตั้งคําถามมีความสําคัญอย่างไร

การตั้งคำถาม สำคัญกว่าการหาคำตอบ เพื่อที่จะให้เราได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้ตรงจุด ไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับคำตอบที่ผิดพลาด ต้องเริ่มจากการ กล้าที่จะตั้งคำถาม และคำถามนั้นควรเป็น คำถามที่ทำให้เราสามารถรู้ความต้องการได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างคําถามระดับสูงได้แก่อะไรบ้าง

จากประเภทของคำถามดังกล่าว การถามคำถามระดับสูง ได้แก่ การถาม การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่าเป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่าง มีเหตุผล และคิดนำไปใช้ได้ดี ครูจึงควรใช้คำถามประเภทนี้ให้มาก

คําถามเชิงเหตุผล มีอะไรบ้าง

คำถามที่ดีควรเป็นคำถามเชิงเหตุผลและคิดวิเคราะห์ มักใช้คำว่า “เพราะเหตุใด เพราะอะไร ทำไม อะไร อย่างไร สาเหตุใด” เพื่อเป็นการใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รู้จักวิเคราะห์ข้อความ และคิดหาหลักฐานและ เหตุผลมาเขียนประกอบ