ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาอาหารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

เทรนด์อาหารในอนาคตที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่

1. อาหารพืชแบบธรรมชาติ (Plant-Based Food)

เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการขัดสีหรือกระบวนการเก็บถนอมอาหารใดๆ ทั้งผักผลไม้ รวมไปถึงวัถุดิบอื่นๆ คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการบริโภคอาหารบางกลุ่ม เช่น ไขมัน น้ำตาล เป็นต้น

โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารพืชแบบธรรมชาติ

– ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าพืชเกษตรในรูปแบบออร์แกนิค (ที่มีการรับรองมาตรฐานการผลิต) ธัญพืชกลุ่มที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ หรือ Super Food

– ต้องมีการพัฒนาและมองหาวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสกัดเป็นน้ำมัน/ผง ตลอดจนนำมาแปรรูปเพื่อทดแทนอาหารแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังสามารถขยายกิจการสู่การส่งออกได้อีกด้วย

– กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ คือ กลุ่มผู้บริโภค Vegan และกลุ่มร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

2. อาหารจากแมลง (Insect Food)

ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้แมลงเป็น Super Food ที่มีประโยชน์และสารอาหารสูง โดยในหลายประเทศเริ่มยอมรับการใช้แมลงเป็นอาหารโปรตีนสำรอง และมีประชากรโลกราว 2,000 ล้านคนที่รับประทานแมลงเป็นอาหาร แมลงจึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าในกลุ่มอาหารศักยภาพที่น่าสนใจในการเจาะตลาดผู้บริโภค การส่งออกแมลงไปจำหน่ายทั่วโลก สามารถผลิตได้ง่ายในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงได้อีกด้วย

โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารจากแมลง

– นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีอากาศที่เหมาะสม

– แมลงที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ จิ้งหรีด รถด่วน ตั๊กแตน ดักแด้ ฯลฯ

– ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ กลุ่มแมลงทอดหรืออบ แมลงแช่แข็ง

– ช่องทางการจำหน่ายที่มีศักยภาพในระยะต่อไป คือ ตลาดส่งออก โดยตลาดที่มีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้สูงได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

3. อาหารจากท้องถิ่น (Localisation)

คืออาหารที่มาจากท้องถิ่น หรืออาหารที่มีความสดใหม่จากธรรมชาติ ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ใช้กำลังการผลิตในปริมาณไม่มาก และมีเรื่องราวที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ โดยอาหารกลุ่มนี้เริ่มมีความต้องการจากตลาดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรายใหญ่เริ่มหันมานำเสนอสินค้าที่มีความเป็นท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งจะเลือกผลิตหรือจำหน่ายในช่วงเวลาและปริมาณที่จำกัด เพื่อนำเสนอให้ผู้บริโภคเห็นถึงความพิเศษและมีคุณภาพสูงของสินค้า

โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารท้องถิ่น

– วัตถุดิบอาหารและอาหารในไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะประเทศไทยมีเอกลักษณ์และความเป็นพื้นถิ่นสูง ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น

– กลุ่มสินค้าที่ตลาดต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยได้ขึ้นทะเบียนตราสัญลักษณ์ GI เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุเรียนนนท์ สับปะรดภูแล มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ฯลฯ

– ผลิตภัณฑ์จากผลไม้และสมุนไพรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน/ขนุนแปรรูป (ทอดกรอบ) น้ำผึ้งดอกลำไย รวมถึงเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงรสไทย

– การเพิ่มนวัตกรรมอาหารเข้าไปในผลิตภัณฑ์ หรือสร้างเรื่องราวของสินค้าให้น่าดึงดูดหรือให้แบรนด์ดูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

จากเทรนด์อาหารในอนาคตและโอกาสทางการตลาด ที่ได้กล่าวไป ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมอาหารมาปรับใช้ในการผลิตให้มากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพด้านการผลิต และที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ก็คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ (Traceability) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค

การปรับธุรกิจให้ทันเทรนด์อาหารยุคใหม่นี้อาจไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะเป็นการผลิตอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีความสลับซับซ้อน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาหาข้อมูลและมองหาลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหาแนวร่วมจากองค์กรภาครัฐที่สนับสนุน เช่น

– เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่ส่งเสริมหรือเชื่อมโยงความช่วยเหลือเกี่ยวกับเครือข่ายผู้ประกอบการ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ http://foodinnopolis.or.th/

– สถาบันอาหาร (National Food Institute) บริการด้านการตรวจ วิเคราะห์การทดสอบ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ

– อาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจ-ต่างธุรกิจ สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่ามีธุรกิจ SME เกิดใหม่ขึ้นทุก ๆ ปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในแต่ละปีมีธุรกิจซึ่งไม่สามารถไปต่อได้จากปีแรกกว่า 50% ดังนั้นการวางแผนที่ดีและจับเทรนด์ธุรกิจให้ทัน เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด และสร้างความได้เปรียบอย่างมาก

ในโอกาสที่ปี 2565 กำลังจะผ่านไป finbiz by ttb ได้จับเทรนด์ที่มาแรงในปี 2566 เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถวางแผน และเตรียมตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบ เพื่อนำไปสู่ความแข็งแกร่งและโอกาสในอนาคต

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ธุรกิจที่ยังไปได้สวยต่อเนื่องจากปี 2565

จากปีที่แล้ว แชมป์ธุรกิจตั้งแต่ปี 2564 อย่าง ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม และ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ครองแชมป์ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2565 และก็ยังคงไปได้สวย ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มาแรงเมื่อปีที่แล้ว และยังคงน่าสนใจต่อเนื่อง ได้แก่

1. นวัตกรรมประหยัดพลังงาน

2. E-Commerce & Digital Services

3. Health & Wellness

4. อาหาร Organic Vegan โปรตีนทางเลือก

ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุว่า ในกลุ่มของ Health & Wellness นับตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา จากการที่ภาครัฐผ่อนคลายเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยได้ รวมถึงแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายในระบบประกันสังคมที่อยู่กับโรงพยาบาลเอกชน จำนวนกว่า 9.6 แสนคน ทำให้รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในตลาดชาวต่างชาติฟื้นตัวขึ้น และคาดการณ์ว่าจากปัจจัยต่าง ๆ จะทำให้ในปี 2566 รายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนโดยภาพรวม จะเติบโตได้ 8-10%

ส่วนกลุ่มของนวัตกรรมประหยัดพลังงานต่าง ๆ อย่างโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเมื่อกลางปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) เพิ่มขึ้นอีก 68.66 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยในงวดเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2565 ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2558

ผู้ประกอบการจึงหันมาทำธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับภาคครัวเรือนและธุรกิจ SME หลังค่าไฟยังมีแนวโน้มพุ่งสูงต่อเนื่อง และระยะเวลาคืนทุนเร็วขึ้น ส่งผลให้ตลาดโซลาร์รูฟท็อปในประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด เฉลี่ยปีละ 22% หรือ แตะระดับ 6.7 หมื่นล้านบาทในปี 2568

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

 

เทรนด์มาแรง ปี 2566 ที่ SME ควรเกาะติดไว้ โอกาสไม่ไกลเกินเอื้อม

จากเทรนด์ธุรกิจปี 2565 จะพบว่าในปี 2566 ก็ยังคงมีความแรงต่อเนื่อง โดยจะมีมุมในเรื่องของความยั่งยืน การรักษ์โลก และการรวมกันของธุรกิจซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้แล้ว เช่น เราไม่สามารถแยกการค้าปลีกออกจาก e-commerce ได้อีกต่อไป  ไม่สามารถแยกนวัตกรรมการประหยัดพลังงานออกจากชีวิตประจำวันได้ รวมถึงเรื่องราวของการกลับมาของการใช้ชีวิตอีกครั้งของผู้คน สำหรับเทรนด์ที่จะมาแรงในปี 2566 นี้ ได้แก่

1. สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี อาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งก็คือกลุ่ม Health & Wellness

2. การค้าปลีก รวมถึง e-commerce นี่คือเทรนด์ที่แน่นอนว่า การค้าปลีก และ e-commerce แทบไม่ สามารถแยกออกจากกันได้แล้ว

3. นวัตกรรมประหยัดพลังงาน การประหยัดพลังงานยังคงมาแรง เนื่องจากความต้องการใช้พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของราคาทรัพยากร

4. Petriarchy หรือที่เรียกกันว่า “ทาสหมา ทาสแมว” ชัดเจนขึ้นต่อเนื่องเรื่อย ๆ จากในระยะ 2-3 ปีหลังมานี้ ซึ่งในปี 2566 นี้ จะมีความชัดเจนมากขึ้นอีก

5. การดำเนินชีวิตแบบอิสระ หลุดจากการที่ถูกจำกัดอยู่นาน เช่น การท่องเที่ยว และธุรกิจบริการอื่น ๆ เป็นเทรนด์พฤติกรรมต่อเนื่องจากการหลุดพ้นจากพันธนาการด้วยความกลัวต่อความไม่รู้ทันโรคอุบัติใหม่

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

6 โอกาสทางธุรกิจจากเทรนด์ปี 2566

จากเทรนด์ปี 2566 จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นช่องทางในการประกอบธุรกิจ ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์โดยตรง หรือ โอกาสจากธุรกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์นั้น ๆ ได้แก่

1. ธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม ที่เป็นดาวเด่นอยู่ก่อน จากที่สินค้าได้รับการตอบรับที่ดีอยู่แล้ว เพราะผู้บริโภคสามารถจับจ่ายสินค้าเพื่อนำไปใช้ดูแลสุขภาพตัวเองที่บ้าน สำหรับในปี 2566 ธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่ต้องเอาตัวออกมานอกบ้านก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นอีก

เช่น สปา นวดไทย นวดหน้า บริการด้านส่งเสริมรูปร่างและความงาม คลินิกศัลยกรรม ฟิตเนส เพราะผู้คนเชื่อว่า สามารถดูแลตัวเองให้ลดความเสี่ยงและจัดการกับโควิดได้ เข้าใจความเป็นไปของโรคมากขึ้นจึงกล้าที่จะใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างเต็มรูปแบบ แต่มีความระมัดระวัง

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

2. ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งรวมถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและประโยชน์ต่อโลก กลุ่มร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องปรุงคุณภาพ เช่น กลุ่มโซเดียมต่ำหรืออื่น ๆ โปรตีนจากพืช อาหารสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมไปถึงอาหารที่ไม่ทำร้ายโลก เช่น ธุรกิจอาหารที่มีการเลี้ยงสัตว์ที่นำมาผลิตอาหารที่ลดก๊าซมีเทน ธุรกิจอาหารที่ได้มาจากการปลูกพืชที่ไม่ได้เกิดจากการเผาไร่ หรือทำลายผิวดิน อาหารที่ลดการใช้สารเคมีทั้งในอาหาร และไม่ทิ้งสารเคมีไว้ให้สิ่งแวดล้อม

3. ธุรกิจการค้าปลีกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การใช้แพลตฟอร์มเพื่อการค้าออนไลน์ร่วมกับการมีหน้าร้านแบบออฟไลน์ แบบ Omni Channel จากการแพร่ระบาดของโควิดอย่างยาวนาน จนติดเป็นนิสัยที่ผู้บริโภคจะค้นหาสินค้าแบบออนไลน์ และจากการศึกษา Journey ผู้บริโภคสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าในทันที ยังจะออกมาสัมผัสสินค้าตัวจริงที่อยู่บนหน้าร้านแบบออฟไลน์ก่อนจะไปตัดสินใจซื้ออีกครั้งบนออนไลน์ หรือจำนวนหนึ่งก็ตัดสินใจซื้อที่หน้าร้านแบบออฟไลน์ ดังนั้นในปี 2566 ธุรกิจร้านค้าปลีกต่าง ๆ ต้องพร้อมที่รองรับการจับจ่ายของลูกค้าทุกรูปแบบ

4. ธุรกิจกลุ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น แบตเตอรี่ เหล็ก กลุ่มนวัตกรรมประหยัดพลังงานอื่น ๆ เช่น แผงโซลาร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เซ็นเซอร์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่น เซ็นเซอร์เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฟน เพื่อสร้างความเหมาะสมในการใช้พลังงานในบ้าน เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเป็น Smart Home รวมไปถึงงานบริการที่เกี่ยวกับการออกแบบติดตั้งระบบนวัตกรรมประหยัดพลังงานเพื่อโลกและคุณภาพชีวิต

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

5. ธุรกิจสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยง จากการสำรวจของ Morgan Stanley Research ระบุว่า เกือบ 70% ของผู้เลี้ยงให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงของตัวเองเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว

ดังนั้น ธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงจึงมีโอกาสที่จะเติบโต ซึ่งรวมการกิน อยู่ นอน ขับถ่าย พักผ่อน ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ธุรกิจอาหารสัตว์คุณภาพสูง อุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง แชมพูดูแลขน ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพฟัน ของเล่น เสื้อผ้า ที่นอน ที่ให้อาหารอัตโนมัติ บริการสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร แบบ Pet Friendly รวมถึงกิจกรรมสัตว์เลี้ยง เช่น สถานที่สำหรับสัตว์ได้วิ่งเล่น สระว่ายน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

6. ธุรกิจท่องเที่ยว ขนส่งผู้โดยสาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจเพื่อความบันเทิง จากการคาดการณ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่คาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเกือบเหมือนปกติก่อนโควิด ดังนั้น กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับการออกไปนอกบ้านของผู้คนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางออกไปท่องเที่ยวใกล้ หรือไกล การขนส่ง ธุรกิจรถเช่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรมบันเทิงและสันทนาการใด ๆ การพักผ่อน การรับประทานอาหาร กลุ่มนี้ล้วนมีโอกาสในปี 2566 ที่กำลังจะมาถึง

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

SME ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อโอกาสมาถึง

เมื่อผู้ประกอบการเห็นโอกาสในการทำธุรกิจจากเทรนด์ที่กำลังจะมาถึงแล้ว การเตรียมความพร้อมสำหรับการขายในทุก Touchpoint เป็นเรื่องสำคัญ เราจะพบว่าปัจจุบันลูกค้าตัดสินใจที่จะจับจ่ายใช้สอยทั้งบนโลกจริงและโลกออนไลน์แบบไร้รอยต่อ สามารถตัดสินใจซื้อได้ทั้งบนโลกออนไลน์และหน้าร้าน พฤติกรรมลูกค้าที่หลากหลายและต้องการตอบสนองได้อย่างดีในทุก Touchpoint

ดังนั้น ร้านค้าหรือธุรกิจที่มีความพร้อมกว่าก็จะสร้างความได้เปรียบในการปิดการขายได้มากกว่าเมื่อลูกค้าตัดสินใจ ทีทีบี เอสเอ็มอี มีโซลูชันทางการเงินที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างไร้รอยต่อบนโลกยุคดิจิทัล และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่พลาดโอกาสในการเดินหน้าต่อยอดธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนแข็งแกร่งได้

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ คืออะไร

ธุรกิจด้านสุขภาพ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลและจากหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ โดยครอบคลุมถึงกิจกรรมดูแลสุขภาพ ตลอดจนการจัดหาที่พัก สาหรับการดูแลสุขภาพ การสังคมสงเคราะห์โดยไม่ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงการจัดบริการการดูแลรักษา ในสถานที่ที่มีที่พักและมีคนดูแลประจ าร่วมกับการให้ ...

Wellness ต้องมีอะไรบ้าง

8 รูปแบบ Wellness Tech.
1. อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ... .
2. วิตามินและอาหารเสริม (Vitamins & Supplement) ... .
3. โภชนาการอาหารเพื่อการออกกำลังกาย (Active Nutrition) ... .
4. เทคโนโลยีทางโภชนาการ (Nutrition Tech) ... .
5. ฟิตเนส (Fitness) ... .
6. การนอนหลับ (Sleep) ... .
7. สุขภาพจิต (Mental Wellness).

Health Care มีอะไรบ้าง

1.ธุรกิจ Pharmaceutical (บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยา : ยาที่จดสิทธิบัตร และยาสามัญที่หมดสิทธิบัตรแล้ว).
2.กลุ่มธุรกิจ Biotechnology (เทคโนโลยีชีวภาพ) มีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม (Genomics).
3. กลุ่มธุรกิจ Healthcare Equipment & Supplies (ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ).