เกษตรกรรมในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ในปีที่ผ่าน GPD ภาคเกษตรประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 0.5% จากปี 2561อ้างอิงสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 ส่วนปี 2563 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่าในปีนี้ GDP ภาคการเกษตรอาจติดลบ 5%จากภัยแล้งที่เกิดขึ้น

ในปัจจุบันข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อัปเดต 21 เมษายน 2563 พบว่า ประเทศไทย มีเกษตรกรทั้งสิ้น 8,094,954 ครัวเรือน 9,368,245 ราย  มีเกษตรกรมากถึง4,900,875 ราย เป็นเกษตรกรที่หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกพืช เป็นหลัก

เกษตรกรรมในประเทศไทยมีอะไรบ้าง
เกษตรกรรมในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

แต่อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังพบว่าในวันนี้เกษตรกรในประเทศไทย มีการทำเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ หรือไร่นาสวนผสมมากกว่า 37% ของเกษตรกรทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงจากการทำเกษตรเป็นอย่างเดียว

 

จำนวนเกษตรกร

8,094,954 ครัวเรือน

9,368,245 ราย

 

ปลูกพืช

4,809,026 ครัวเรือน (59.41%)

4,900,875 ราย (52.31%)

 

เลี้ยงสัตว์

835,485 ครัวเรือน (10.32%)

853,381 ราย (9.11%)

 

เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

63,033 ครัวเรือน (0.78%)

66,636 ราย (0.71%)

 

ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์

1,897,439 ครัวเรือน (23.44%)

2,901,546 ราย (30.97%)

 

ปลูกพืช และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

279,400 ครัวเรือน (3.45%)

339,160 ราย (3.62%)

 

เลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

16,825 ครัวเรือน (0.21%)

22,379 ราย (0.24%)

 

ไร่นาสวนผสม

193,746 ครัวเรือน (2.39%)

284,268 ราย (3.03%)

 

ที่มา :กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 21 เมษายน 2563

 

ที่ผ่านมาเกษตรกรไทยมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในปี 2557 มีเกษตรกรไทย 6,047,824 ครัวเรือน เพิ่มเป็น 7,271,759 ครัวเรือน ในปี 2561

เกษตรกรในประเทศไทย

 2557  6,047,824 ครัวเรือน

2558 6,516,347 ครัวเรือน   

2559  6,813,995 ครัวเรือน      

2560 7,010,191 ครัวเรือน                 

2561 7,271,759 ครัวเรือน

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ในปี 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเป็นภาคที่มีเกษตรกรไทยมาที่สุดถึง 46.6% เนื่องจากเป็นภาคที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เหมาะกับการเกษตร โดยอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเกษตรไทยมากที่สุด จำนวน  311,630 ครัวเรือน และภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรน้อยที่สุด เพียง 9,247 ครัวเรือน

 

เกษตรไทยอยู่ที่ไหนกัน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46.6%

ภาคเหนือ 22.2%

ภาคใต้ 17.1%

ภาคกลาง 14.1%

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

5 จังหวัดเกษตรกรสูงสุด

อุบลราชธานี        311,630 ครัวเรือน

นครราชสีมา         307,510 ครัวเรือน

ขอนแก่น               244,060 ครัวเรือน

ศรีสะเกษ               244,002 ครัวเรือน

ร้อยเอ็ด                  235,092 ครัวเรือน

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรน้อยที่สุด เพียง 9,247ครัวเรือน

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำหรับพื้นที่ถือครองการเกษตรในประเทศไทยในปี 2561 มี ประมาณ 112.8 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52.4 ล้านไร่

ภาคเหนือ 26.7 ล้านไร่ ภาคกลาง19.1 ล้านไร่ ภาคใต้ 14.6 ล้านไร่

 

ผู้ถือครองที่การเกษตร มีเนื้อที่ถือครองขนาด 10 – 39 ไร่ 50.9%  ต่ำกว่า 6 ไร่ 23.6% มากกว่า 140 ไร่ ขึ้นไป  0.7%

          ในปัจจุบันเมื่อความต้องการข้าวมีมากขึ้น มีการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีบทบาทในการผลิต พิธีกรรมเหล่านี้ค่อยๆ ลดบทบาทลงจากการอ้อนวอน เพื่อขอฝนจากเทวดา เปลี่ยนเป็นการทําฝนเทียม หรือใช้เทคโนโลยี การชลประทานจากการใช้แรงงานวัวควายเปลี่ยนมาเป็นใช้แรงงานเครื่องจักรกล จากการอ้อนวอนขอความเมตตาจากเทวดาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เปลี่ยนเป็นการใส่ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลง ฯลฯ เทคโนโลยีทันสมัยเหล่านี้ได้เข้ามาแทนที่พิธีกรรมดั้งเดิม จึงปรากฏว่าพิธีกรรมในการเพาะปลูกของคนไทยเป็นพิธีกรรมที่หมดไปเร็วที่สุดก่อนพิธีกรรมประเภทอื่นๆ

เกษตรสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร

ภาคเกษตรนับว่ามีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก เพราะมีการจ้างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ ครอบคลุมถึง 6.4 ล้านครัวเรือน และที่ดินทำการเกษตรครอบคลุมถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ภาคเกษตรกลับมีสัดส่วนในมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพียงร้อยละ 10 มีอัตราการเติบโตช้าและมี ...

ภาคการเกษตร มีอะไรบ้าง

ประเภทของเกษตรกรรม.
กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำไร่ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นต้น.
ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น การทำฟาร์มปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม การทำฟาร์มหมู การทำฟาร์มสัตว์ปีก การทำฟาร์มแกะ เป็นต้น.

ผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีอะไรบ้าง

พืชไร่.
กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี.
กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน, อ้อย.
กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย.
กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย, ปอ, ป่าน, กล้วย, มะพร้าว.
กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง, มันแกว, มันเทศ, เผือก.
กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง, หญ้ากีนี.

ความสําคัญของการเกษตรมีอะไรบ้าง

1. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ 2. สร้างความยั่งยืนให้กับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอ 3. อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืช และสัตว์ 4. การอยู่รวมกันของพื้นที่ป่ากับการเกษตร เพื่อลดปัญหาการบุกรุกป่า