พิพิธภัณฑ์ บ้านเชียง มี อะไร บ้าง

               ����ǡѺ��á�˹��������¢ͧ��ҹ��§��� ����ش�ҡ��ú���������ͧ��ѡ�ҹ�ҧ��ҳ��բͧ��ҹ��§�������͹�Զع�¹ �ط��ѡ�Ҫ ���� ��.��«� �� �Ƿ� (Dr. Joyce C. White) ���ʹ͢�������������ǡѺ�š�á�˹������Թ������ѵ�ط����������Ҫ�дԹ�������á�ش�ͧ��ҹ��§��������ػ���ҳ �,��� �������� �֧���������Դ��ͤԴ�������������ҡ������������ؤ��͹����ѵ���ʵ������á�ش����ҹ��§����Ҩ�Դ����������� �,��� �������� ��ǹ�ؤ��͹����ѵ���ʵ�������ش���·���ҹ��§�����������ҧ �,��� – �,��� �������� ���ҧ�á��� ����ͧ�������¢ͧ�������������á���������ҹ��§����ѧ���ա�ö���§�ѹ�����ѧ����繷���ص�       (��ҧ�ԧ: ��þ� �ҶоԹ��, �ҡ�˧�Һ�þ������: �Ѳ�ҡ�÷ҧ�Ѳ�������͹����ѵ���ʵ��, ����)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประเภทแหล่งอนุสรณ์สถาน จัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อันเป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงหลักฐานที่ได้จากการสำรวจขุดค้นที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง ประกอบด้วยภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้เข้าชมจะได้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี


ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ก่อตั้งหลังการเสด็จประพาสเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2515 การเสด็จประพาสดังกล่าวได้ปลุกจิตสำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งกำลังประสบปัญหาเรื่องการลักลอบค้าโบราณวัตถุในขณะนั้น
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ นับได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งแห่งแรกของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2526 มูลนิธิจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้มอบทุนสนับสนุนในการสร้างอาคารหลังที่ 2 ซึ่งถูกสถาปนาชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
          ในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณตามโครงการปรับปรุงแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในภูมิภาคอินโดจีน ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลังใหม่ เพื่อปรับปรุง และขยายพื้นที่การจัดแสดงนิทรรศการหลัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามของอาคารนี้ว่า อาคารกัลยาณิวัฒนา และโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ลักษณะเด่น
การจัดแสดงนิทรรศการ และ ส่วนการบริการ

  1. อาคาร ‘สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นอาคารศูนย์รวมส่วนบริการต่างๆ ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์และจำหน่ายบัตรเข้าชม ห้องประชุม และห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
  2. อาคาร ‘กัลยาณิวัฒนา’ เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก ประกอบไปด้วยส่วนจัดแสดงย่อยจำนวน 9 ส่วน
    • ส่วนจัดแสดงที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับบ้านเชียง ส่วนจัดแสดงนี้บอกเล่าถึงการเสด็จประพาสในปีพ.ศ. 2515 ซึ่งนำพาความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ในการศึกษาและการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และแหล่งอื่นๆ ในประเทศไทย พระราชปุจฉาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามเมื่อคราวเสด็จนั้นถูกนำมาจัดแสดงในส่วนนี้เพื่อเกริ่นนำถึงขั้นตอนการศึกษาทางด้านโบราณคดีเบื้องต้น
    • ส่วนจัดแสดงที่ 2 การดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง นำเสนอลำดับเวลาการศึกษาทางด้านโบราณคดีในบ้านเชียง โดยเน้นเหตุการณ์สำคัญ รวมถึงบุคลากรที่มีส่วนสำคัญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
    • ส่วนจัดแสดงที่ 3 การปฏิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง แสดงถึงขั้นตอนการทำงานและการศึกษาระหว่างการขุดค้นโดยนักโบราณคดีระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2518 เช่น การแบ่งประเภทและวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบ รวมถึงวีดีทัศน์บทสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องถิ่น
    • ส่วนจัดแสดงที่ 4 บ้านเชียง: หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ฉากและบรรยากาศจำลองแสดงสภาพหลุมขุดค้นระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2518 โดยผู้เข้าชมสามารถเยี่ยมชมและสังเกตขั้นตอนการทำงานภายในหลุมขุดค้นจำลองอย่างใกล้ชิด
    • ส่วนจัดแสดงที่ 5 โบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีในโบราณวัตถุที่ถูกพบในหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในถูกนำมาจัดแสดงในส่วนจัดแสดงนี้ โดยแบ่งออกตามสมัยของวัฒนธรรมบ้านเชียง ทั้ง 3 สมัย เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ แก้ว หิน และโลหะ
    • ส่วนจัดแสดงที่ 6 วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงฉากจำลองและโบราณวัตถุเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง โดยจำลองบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในช่วงสมัยดังกล่าว
    • ส่วนจัดแสดงที่ 7 บ้านเชียง: การค้นพบยุคสำริดที่หายสาบสูญ นิทรรศการนี้ถูกดัดแปลงมาจากนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเพื่อการจัดแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ โดยมีอธิบายการศึกษาทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปโดยสังเขปจนถึงการค้นพบวัฒนธรรมในยุคสำริดที่แหล่งบ้านเชียง
    • ส่วนจัดแสดงที่ 8 บ้านเชียง: มรดกโลก จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2535 ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่ 3 “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”
    • ส่วนจัดแสดงที่ 9 การกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียง จัดแสดงโบราณวัตถุที่ถูกพบระหว่างการสำรวจจากแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับพื้นที่แหล่งบ้านเชียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อศึกษาการกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียงในบริเวณแอ่งสกลนคร ปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมบ้านเชียงจำนวน 127 แหล่งกระจายตามลุ่มน้ำสำคัญในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และหนองคาย 
  3. อาคารนิทรรศการไทพวน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของชาวไทพวนซึ่งเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในปัจจุบัน

หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ตั้งอยู่ในวัดโพธิ์ศรีในห่างออกไปจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงทางทิศตะวันออกราว 500 เมตร หลังจากการเสด็จประพาสวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2515 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นภายในวัดโพธิ์ศรีในเพื่อจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศ
เรือนไทพวนอนุสรณ์ เดิมเป็นบ้านของคุณพจน์ มนตรีพิทักษ์ ซึ่งอนุญาตให้กรมศิลปากรทำการขุดค้นฯ ในปีพ.ศ. 2515 หลังจากการเสด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ คุณพจน์ผู้เป็นเจ้าของจึงบริจาคบ้านหลังนี้รวมถึงที่ดินให้กับกรมศิลปากรเพื่อสงวนรักษา เป็นอนุสรณ์สถานการเสด็จประพาสครั้งนั้น


เรือนไทพวนอนุสรณ์ได้รับพระราชทานรางวัลด้านการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปีพ.ศ. 2550 โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 55 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) เลยสี่แยกเข้าอำเภอบ้านดุงเล็กน้อย จะเป็นเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ ตรงไปประมาณ 8.2 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ข้อมูลเพิ่มเติม

อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 55 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) เลยสี่แยกเข้าอำเภอบ้านดุงเล็กน้อย จะเป็นเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ ตรงไปประมาณ 8.2 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

การเดินทางโดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้า ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์จะตั้งอยู่ตรงข้าม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ติดสำนักงานที่ดินอุดรธานี ถ.ศรีสุข ด้านหลังติดหนองประจักษ์

รถโดยสารประจำทาง - มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร (หมอชิต 2)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

  • บริษัท ขนส่ง จำกัด
    โทร.1490, 0 2936 – 2852 - 66
  • สถานีขนส่งอุดรธานี (มีรถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00 – 23.00 น.)
    โทร. 0 4222 1489 www.transport.co.th

การเดินทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 www.railway.co.th

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียงมีอะไรบ้าง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงประกอบไปด้วยนิทรรศการและส่วนการบริการดังต่อไปนี้.
๑. อาคาร 'สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี'.
เป็นอาคารศูนย์รวมส่วนบริการต่างๆ ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์และจำหน่ายบัตรเข้าชม ห้องประชุม และห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน.
๒. อาคาร 'กัลยาณิวัฒนา'.

พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงอยู่อำเภออะไร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดี ...

สิ่งใดได้ขุดพบที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบ้านเชียง

นอกเหนือไปจากโบราณวัตถุประเภทต่างๆ ทำจากวัสดุนานาชนิดที่ช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมและเทคโนโลยีแล้ว การขุดค้นที่บ้านเชียงยังพบกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ และเปลือกหอยด้วย ซึ่งทำให้นักโบราณคดีสามารถเข้าใจ และอธิบายถึงวิถีทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงนั้นได้ จากหลักฐานการใช้เหล็กและจากกระดูกควายที่พบ ...

พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงยุคสมัยใด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่เศษ จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 5,000-1,400 ปีมาแล้ว และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อน ...