การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

ต้องยอมรับความจริงว่าโลกของการศึกษามีการพัฒนาอยู่ตลอด ไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยี และธุรกิจต่าง ๆในอนาคต ดังนั้น การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนจะต้องมีความสอดคล้องกับแนวคิดของโลกในปัจจุบัน และอนาคต ที่จะต้องมีทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะในการสร้างอาชีพ และทักษะในการบริหารจัดการด้วย

สิ่งสำคัญ พวกเขาจะต้องมีไอคิว และคุณธรรม จริยธรรม ประกอบกัน

  • ชุดซีทรูเป็นเหตุ ผู้จัดประกวด มิสเวียดนาม เจอถล่มจนต้องขอโทษ
  • เปิดสเป็ก “รีโว่ อีวี” กระบะไฟฟ้า 100% สวย เฉียบ คม ราคาโดน
  • สีเสื้อมงคล 2566/2023 วันอะไรใส่สีไหน ดวงปัง เงินเข้าไม่หยุด

“ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว” รองคณบดีสถาบัน RSU Gen.ed. กล่าวว่าการเตรียมความพร้อมให้เด็กในศตวรรษที่ 21 ควรร่วมกันทั้งที่บ้าน และโรงเรียน เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาสมอง และร่างกายไปพร้อม ๆ กัน ส่วนการเรียนการสอนแบบบูรณาการควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้สมองทั้งซีกซ้าย ที่เกี่ยวกับการคิดอย่างมีเหตุผล และซีกขวาที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ และความรู้สึกไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล

“เนื่องจากปัจจุบันพบว่าการออกแบบหลักสูตรการเรียนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดการศึกษาในศตวรรษที่ 21อาทิ หลักสูตร International Baccalaureate Programme หรือ IB Programme (IB) เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ระดับที่ได้ถูกจัดตั้งโดยInternational Baccalaureate Organization (IBO) เป็นระบบการศึกษาที่ใช้แพร่หลายทั่วโลกมากกว่า 125 ประเทศ หลักสูตรมีระบบการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่เป็นที่ยอมรับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก”

“IB Programme แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.หลักสูตรการศึกษาระดับต้น (IB Primary Years Programme, PYP) สำหรับเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 3-12 ปี 2.หลักสูตรการศึกษาระดับกลาง (IB Middle Years Programme, MYP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 11-16 ปี และหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรนานาชาติ (IB Diploma Programme, IBDP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16-19 ปี

“ดังนั้น กิจกรรมเสริมสร้างความรู้แตกต่างกันไปตามบริบทของโรงเรียน และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ โดยระดับที่โตขึ้นจะเน้นความรู้ในด้านภาษาที่หนึ่ง ภาษาที่สอง สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ วิชาเลือกอื่น ๆ รวมถึงการเรียนรู้ด้านปรัชญา จริยธรรมประสาทสัมผัส ควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการด้วย”

“ดร.ทอแสงรัศมี” อธิบายต่อว่า องค์ประกอบ และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ คือ การสร้างทักษะชีวิต สำหรับเด็กทุกช่วงวัยได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีผู้ปกครอง ครู อาจารย์ คอยเป็นโค้ชช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย ทั้งยังช่วยชี้แนะ แต่ไม่ชี้นำ เพื่อเติมความมั่นใจอันเป็นต้นทุนให้กับเขามีทักษะชีวิตเพื่อเติบโตสู่โลกที่ซับซ้อนมากขึ้น

“เพราะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21ไม่ควรเรียนแยกวิชา เช่น วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ แต่ควรเรียนรวม และจะต้องประสานองค์ความรู้ สู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์จากการมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แบบนี้เด็กไทยจะมีพัฒนาการสู่การเป็นเด็กสองภาษาได้ และมีสมองที่เปิดรับภาษา หรือความรู้อื่น ๆ
ควบคู่กับความสามารถในการคิด คำนวณ ประมวลผล สู่การนำเสนอ ทั้งการพูดแสดงความคิดเห็น สรุปประเด็น และการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“เด็กปฐมวัยที่กำลังเติบโต และเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาที่มีการปรับตัวแล้วตามทักษะดังกล่าว เราจะเห็นปรากฏการณ์การออกแบบวิชาที่แปลก หรือวิชาที่ไม่คาดคิดมาก่อนในการเรียนระดับมหา’ลัย อาทิ วิชาด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ หรือวิชาชีพทางเลือก, วิชาด้านทักษะชีวิต, วิชาด้านการใช้ชีวิตในสังคม, ศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิต ซึ่งล้วนได้รับความสนใจจากแวดวงสังคม”

“นี่คือปรากฏการณ์การปฏิรูปการศึกษาที่บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษา ต้องหันมาให้ความสนใจวิชาเหล่านี้ มิใช่เป็นการสร้างกระแสทางการตลาดเพื่อดึงดูดเด็กให้เข้ามาเรียนวิชาแปลก ๆ แต่เป็นการตกผลึกจากทีมคณาจารย์ถึงทักษะชีวิตที่คนรุ่นใหม่ควรต้องมี และนำไปปรับใช้เพื่อการอยู่รอดในโลกปัจจุบันและอนาคตได้”

Advertisement

เพราะผลลัพธ์จากห้องเรียนยุคใหม่ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดกับตัวผู้เรียนเพียงประการเดียว แต่หากเป็นผู้สอน หรือโค้ชที่จะได้เรียนรู้นวัตกรรมความคิด ที่เกิดใหม่ในห้องเรียนนั้นด้วยเช่นกัน จนทำให้เกิดความตื่นตัวในการออกแบบกิจกรรมหลากหลาย และเข้าถึงเด็กยุคใหม่ที่จะเป็นประชากรในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ต่อไป

    การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน

        ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอน เช่น การกำหนดปัญหาที่สนใจและการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้

คำว่า “การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21” ย้ำให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ  และระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัว โดยไม่ใช่แค่การปฏิรูปเพียงครั้งคราว แต่ต้องเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  เพื่อตอบสนองความต้องการของเยาวชน สังคมและตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งผู้กำหนดนโยบายและบุคลากรด้านการศึกษาของไทยที่ผู้เขียนมีโอกาสได้รู้จักล้วนตระหนักว่า การศึกษาควรจะมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและสอดคล้องกับสังคมในอนาคต

แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านการเข้าถึงการศึกษาในระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา รวมทั้งมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา แต่ประเทศไทยยังคงประสบความท้าทายอีกหลายประการ เช่น นักเรียนจำนวนมากยังไม่มีทักษะพื้นฐานที่ควรจะมี ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและในระดับระหว่างประเทศ  หรืออัตราส่วนของเด็กที่ไม่ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษายังค่อนข้างสูง จึงทำให้เยาวชนจำนวนมากขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริง

การปรับปรุงระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพ โอกาส และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ  และด้วยแนวโน้มการเป็นสังคมผู้สูงอายุและสัดส่วนของประชากรในวัยทำงานที่ลดลงเรื่อย ๆ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะคือปัจจัยสำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต  ดังนั้น คุณภาพของระบบการศึกษา ตลอดจนสมรรถนะและทักษะของผู้สำเร็จการศึกษา จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

UNICEF Thailand/2016/Thuentap

แม้ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและการพัฒนารวมทั้งการปฏิรูประบบการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้นในไทยจะมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองต่อปัญหาข้างต้น  แต่ความท้าทายของไทยคือจะทำอย่างไรจึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในชั้นเรียนทั่วประเทศ และเราจะเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนให้มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนได้อย่างไร

ในขณะที่ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การคำนวนและการอ่านเขียนยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ในอนาคต นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ด้วย เพื่อให้พวกเขาเติบโตได้ในยุคแห่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ทักษะที่สำคัญดังกล่าวที่เราควรหันมาให้ความสำคัญ เช่น การปรับตัว การคิดเป็นระบบ การสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา และการทำงานร่วมกับคนอื่น ซึ่งเป็นทักษะที่นำไปใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ตามแนวโน้มปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนงานข้ามสาขาวิชาชีพที่หลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถในการนำทักษะที่มีไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ

การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะหลักสูตรการศึกษาคือกรอบที่กำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับนักเรียนทั่วประเทศ  ดังนั้น กระบวนการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาจึงควรจะนำไปสู่การปลูกฝังความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยมต่าง ๆ ที่เยาวชนจำเป็นต้องมี เพื่อให้พวกเขาเติบโตได้ ไม่ใช่แค่ในโลกปัจจุบัน แต่รวมถึงอนาคต

กระบวนการดังกล่าวควรจะอยู่บนพื้นฐานของผลการศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ด้านการพัฒนาสมรรถนะจากทั่วโลก รวมทั้งต้องตอบสนองต่อความคาดหวังและเป้าหมายในการพัฒนาของประเทศ  มันควรเป็นกระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วม ตอบสนองความต้องการของเยาวชน และสามารถพัฒนาทักษะที่พวกเขาต้องการให้เกิดขึ้นได้ โดยอาศัยวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน  ทั้งนี้ ภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ด้วย เพื่อให้การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษานำไปสู่การพัฒนาทักษะที่เป็นที่ต้องการของนายจ้างได้อย่างแท้จริง

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

UNICEF Thailand/2016/Thuentap

ความพร้อมของระบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและความเชื่อมั่นของครูที่จะปฏิบัติตามแนวทางใหม่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อความสำเร็จในการนำหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนไปปฏิบัติ  ดังนั้น เราจึงต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปหลักสูตรตั้งแต่ต้น เพื่อให้พวกเขาพร้อมที่จะเดินตามในขั้นตอนการปฏิบัติ  นอกจากนั้น ครูควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าใจแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน และเข้าถึงทรัพยากรและความรู้ใหม่ ๆ ในการสร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และการมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น โครงงานเพื่อการเรียนรู้ การวิจัยและการวิเคราะห์ และแบบฝึกหัดเพื่อฝึกฝนการแก้ไขปัญหา

กระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ควรได้รับการปฏิรูปไปพร้อมกับการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาและวิธีการเรียนการสอน เนื่องจากระบบการสอบและประเมินผลในระดับประเทศในปัจจุบันไม่ได้ถูกออกแบบมาภายใต้กรอบแนวคิดที่ต้องการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของผู้เรียน  ทั้งนี้ การประเมินผลควรจะเป็นการวัดสมรรถนะและความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ของนักเรียน และควรเป็นส่วนหนึ่งของโครงงานหรือกิจกรรมในชั้นเรียนที่เกิดขึ้นตลอดปีการศึกษา

องค์การยูนิเซฟยังสนับสนุนให้การปฏิรูประบบการศึกษานำไปสู่โอกาสที่เท่าเทียมด้วย เพื่อให้นักเรียนทั่วประเทศได้รับประโยชน์ โดยรัฐบาลต้องกำหนดกรอบให้มีการส่งครูที่มีคุณภาพไปประจำโรงเรียนที่มีความต้องการมากที่สุดก่อน โดยเฉพาะโรงเรียนที่ยังขาดแคลนที่นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ขาดโอกาส ซึ่งยังต้องการเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการศึกษาและการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้จริง มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นประโยชน์กับเฉพาะโรงเรียนที่มีความพร้อม โดยทิ้งให้โรงเรียนและนักเรียนที่ยังขาดแคลนไว้ข้างหลัง โดยที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่

บทความนี้เป็น 1 ใน 5 บทความขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เพื่อนำเสนอประเด็นหลัก 5 ด้านที่สำคัญต่อการลงทุนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมของประเทศไทยต่อไป

 

บทความอื่นๆ ในซีรี่ส์นี้

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

นโยบายห้าประการด้านเด็กและเยาวชนที่รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญ

ยูนิเซฟเชื่อว่าการโฟกัสไปที่ห้าแผนปฏิบัติสำคัญเพื่อเด็ก จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในวงกว้างขึ้น เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม และเป็นแนวทางที่ภาครัฐควรจะพิจารณา เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานเพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทย

อ่านต่อ...

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

ลดช่องว่างการดูแลเด็กปฐมวัยเพื่อเด็กไทยทุกคน

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กที่เกิดในประเทศไทยในวันนี้ คือภาระในอนาคตเมื่อเด็กกลุ่มนั้นเติบโตเข้าสู่วัยทำงาน เด็กเหล่านี้จะต้องแบกรับภาระของคนสูงอายุมากขึ้นเพราะประเทศไทยจะก้าวสู่ประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged-Society) โดยประมาณการในอนาคตจะมีอัตราพึ่งพิงของผู้สูงอายุ 1 คน ต่อคนวัยทำงานถึง 1.7 คน เทียบกับใน 9 ปีที่แล้วที่มีอัตราพึ่งพิงของผู้สูงอายุ 1 คนต่อคนวัยทำงานถึง 5 คนด้วยกัน

อ่านต่อ...

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

ประเทศไทยยังขาดความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็กในระดับชุมชน

ความรุนแรงต่อเด็กเป็นสิ่งที่แพร่หลายในสังคมไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2560 มีเด็กเกือบ 9,000 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้าย โดยส่วนใหญ่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หนำซ้ำตัวเลขนี้อาจเป็นเพียง ‘ยอดภูเขาน้ำแข็ง’ เนื่องจากกรณีที่เรารับทราบก็มักเป็นกรณีที่รุนแรงมาก ๆ เท่านั้น

อ่านต่อ...

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ อย่างไร

พัฒนาเยาวชนให้พร้อมรับมือกับอนาคตได้อย่างมั่นใจ

เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญคือการพัฒนาเยาวชนให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำที่จะพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศกำลังเผชิญกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในการเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ

การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 มีลักษณะเป็นอย่างไร

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ได้แก่การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นส่าคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม)และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถน่าความรู้ไป ประยุกต์ ...

รูปแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง

Technology) 1.เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญฯ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชา หลักที่เป็นจุดเน้นกับวิชาอื่นๆ 3. เน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจในเชิงลึก 4. ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการเรียนรู้จากสภาพจริง 5. ใช้แนวปฏิบัติดีเป็นสื่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสําคัญอย่างไร

สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในอดีตมาก โลกมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร สังคม การปกครอง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความรู้ นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและนำความรู้ที่ได้มาต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต

สาระการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21.
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี ... .
2. ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉลาดสื่อสาร.
3. ทักษะชีวิตและอาชีพ มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง.