ลักษณะ การขายออนไลน์เป็น อย่างไร

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

เมื่อโควิดสร้างผลกระทบอย่างหนักให้กับธุรกิจขนาดใหญ่และการจ้างงาน ส่งผลให้ “ลูกจ้าง” หลายคน “ตกงาน” แบบไม่ทันตั้งตัว ส่วนบางคนแม้ได้ไปต่อ แต่ก็ถูก “ลดเงินเดือน” ขณะที่รายจ่ายยังคงเดิม แต่เมื่อเงินในกระเป๋าสตางค์ลดลง อาชีพ “ขายของออนไลน์” กลายเป็นหนทางหนึ่งที่น่าสนใจในการหารายได้ต่อลมหายใจ

แต่การจะเริ่มต้นเป็น “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์” มือใหม่ให้ขายดี มีรายได้เพียงพอนั้นอาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ตั้งใจจริง

หากคุณตอบตัวเองได้ชัดเจนแล้วว่า อยากเริ่มต้นขายของออนไลน์อย่างจริงจัง ก็อย่ารอช้า Post Family จะพาคุณไปทำความรู้จักบทเรียนแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ฉบับ 101 เพื่อศึกษาว่าการเริ่มต้นขายของออนไลน์ ในเบื้องต้นต้องรู้อะไรบ้าง?

ชวนรู้ ข้อดี–ข้อเสีย ก่อนเริ่มธุรกิจ “ขายของออนไลน์”

การ ขายของออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นการดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าได้อย่างทั่วถึง สามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก จนวันนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 มีมูลค่าเติบโตสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท

แม้เป็นเรื่องจริงที่ว่า วันนี้ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดายเพราะมีแพลทฟอร์มมากมายให้เลือกเชื่อมต่อหาลูกค้าที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ แต่ความจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ อีคอมเมิร์ซ ถือเป็น Red Ocean หรือ “น่านน้ำสีแดง” ที่แข่งขันสุดดุเดือด แม้จะเข้าง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่เข้ามาจะประสบความสำเร็จ 

ดังนั้น ก่อนที่ “แม่ค้าออนไลน์” หน้าใหม่จะกระโดดสุดตัวลงสู่สนามนี้ ควรรู้ข้อดี-ข้อเสียในการทำธุรกิจ “ขายของออนไลน์” เสียก่อน ซึ่งเราสรุปมาให้รู้กัน ดังนี้

ลักษณะ การขายออนไลน์เป็น อย่างไร

สินค้าอะไรขายออนไลน์ ได้บ้าง?

คำตอบคือ.. สามารถขายได้ทุกอย่างที่ “ถูกกฎหมาย” ไม่ได้มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับความพอใจและเชื่อใจกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่อาจแบ่งให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ได้แก่

  • สินค้าที่จับต้องได้ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ เสื้อผ้าเด็ก ของเล่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม อาหารแห้ง อุปกรณ์ไอที เครื่องดนตรี สินค้าแฮนเมด อุปกรณ์แต่งบ้าน-แต่งรถ ฯลฯ
  • สินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น แอพพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ เพลง ไอเทมในเกม ฯลฯ
  • สินค้าด้านบริการ เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล ตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก บริการสปา เสริมสวย ฯลฯ

ลักษณะ การขายออนไลน์เป็น อย่างไร

7 ข้อเบื้องต้น เตรียมตัวเป็น “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์”

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ในลำดับถัดมาก็คือ การเตรียมตัวก่อนเปิด “ร้านค้าออนไลน์” ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง? เมื่อเปิดขายจริงจะได้ค้าขายไม่ติดขัด ช่วยให้ทำยอดขายได้ดี และลดโอกาสขาดทุน

1. กำหนดงบลงทุน และเลือกสินค้าที่จะขาย

“งบลงทุน” เป็นสิ่งแรกที่ต้องวางแผนงบการขายสินค้า เพราะจะเป็นตัวกำหนดให้เราใช้เงินลงทุนในงบที่กำหนด ป้องกันการใช้งบบานปลาย

สิ่งที่ควบคู่กันมาก็คือ การหาสินค้ามาขาย ควรเริ่มต้นจากความชอบของผู้ค้า และเช็กความต้องการของลูกค้าในตลาดด้วย รวมถึงมองหา “แหล่งสินค้า” ที่จะนำมา “ขายของออนไลน์” โดยสามารถหาซื้อได้จากหลายแหล่ง ซึ่งมีราคาและคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป จึงควรลงพื้นที่สำรวจสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีตรงกับความต้องการลูกค้ามากที่สุด

โดย “แหล่งสินค้า” ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมไปเสาะหาสินค้ามาขาย ได้แก่

ตลาดโรงเกลือ : เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการขาย “สินค้ามือสอง” หรือ “ของสะสม” ที่นี่เป็นแหล่งค้าส่งสินค้ามือสองขนาดใหญ่ ที่ขายในราคาถูก แม่ค้ามือใหม่สามารถไปหาซื้อและคัดสรรสินค้ามือสองคุณภาพดี แล้วนำมาขายต่อทำกำไรได้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ผ้าห่ม ของแต่งบ้าน ฯลฯ

ตลาดโบ๊เบ๊/สำเพ็ง/ประตูน้ำ : เป็นแหล่งค้าส่งในไทย ที่แม่ค้าหาซื้อของได้ในราคาถูก เหมาะกับผู้ที่ต้องการขายสินค้ามือหนึ่งจำพวกเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า ของกิ๊บช็อป อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ สินค้าตามเทศกาล (สงกรานต์, ฮาโลวีน, คริสต์มาส), เครื่องสำอาง, เครื่องเขียน ฯลฯ

OTOPToday : อีกหนึ่งแหล่งสินค้าที่ซื้อไปขายต่อทำกำไรได้ดี คือ สินค้าโอท็อป เหมาะกับแม่ค้ามือใหม่ที่อยากขายของแฮนด์เมด, สินค้าสุขภาพ, สมุนไพรอาหารเสริม สามารถลองเข้าไปเลือกดูสินค้าก่อนได้ คลิกที่นี่

VoucherToday : เป็นแหล่งขายสินค้ากลุ่มบัตรกำนัล (Voucher) ที่สามารถซื้อมาขายต่อทำกำไรได้เช่นกัน มีทั้งบัตรกำนัลสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ ของขวัญ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเป็นบัตรที่ใช้ชอปปิ้งตามห้างชื่อดังก็มี หากสนใจเข้าไปดูได้ คลิกที่นี่

อ่านเพิ่ม : เช็ก 10 หมวด ‘สินค้าขายดี’ รับกระแสช้อปปิ้งออนไลน์ช่วง ‘โควิด 19’

2. ช่องทางการขายสินค้า เลือกให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลาย เช่น ขายบน เว็บไซต์ ที่เปิดใหม่ขึ้นเอง ซึ่งแม้จะต้องลงทุนเพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง แต่ก็มีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการหน้าร้าน การแสดงผล รวมถึงฟังก์ชั่นที่ต้องการได้ตามที่ต้องการ

นอกจากนี้ยังสามารถขายผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง e-Marketplace เช่น Shopee, Lazada ก็สะดวกง่ายดาย หรือจะขายผ่าน Social Commerce อาทิ Facebook, IG, Line ที่เดี๋ยวนี้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้สามารถค้าขายบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้และเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

รวมไปถึงการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ประเภท E-Classified อาทิ kaidee.com โดยเลือกหมวดที่ต้องการแล้วเข้าไปประกาศซื้อขายได้ฟรีๆ เช่นกัน

ส่วนจะเลือกขายผ่านช่องทางไหนนั้น ก็ต้องศึกษาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และการเข้าถึงของลูกค้า เพื่อที่จะได้เลือกช่องทางการขายได้ตรงกับการใช้งานกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยแม้เราจะสามารถเลือกขายได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งช่องทาง แต่ก็ต้องประเมินกำลังของตัวเองด้วยว่า จะสามารถรองรับลูกค้าจากหลายช่องทางได้พร้อมกันหรือไม่ เพราะหน้าร้านมากขึ้นก็จะเท่ากับลูกค้าและจำนวนออเดอร์ที่มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

3. ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย

แม่ค้ามือใหม่ต้องให้ความสำคัญกับ “การตลาดออนไลน์” หรือการโปรโมทร้านค้าผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, Twitter, Instagram, Line หรือ YouTube เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการขายและการตลาด

เนื่องจากสื่อเหล่านี้สามารถข้าถึงคนจำนวนมากได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถโต้ตอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ทันที นับเป็นเครื่องมือที่คุ้มค่า และช่วยประหยัดต้นทุนการโปรโมทร้านได้มาก

โดยการทำการตลาดบนโซเชียลในยุคนี้ แพลตฟอร์มยอดนิยมคงหนีไม่พ้น “TikTok” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่กำลังมาแรงที่สุด ไม่เพียงสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

โดยมีข้อมูลจาก App Annie ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์แอปพลิเคชันทั้งจากระบบ iOS และ Google Play และวิเคราะห์เชิงข้อมูลการตลาด ระบุถึงการใช้งาน TikTok ในประเทศไทยว่า มีการเติบโตทั้งด้านจำนวนผู้ใช้งานและการใช้เวลาบนแพลตฟอร์ม

โดยเปรียบเทียบข้อมูลในเดือนมกราคม ของปี 2564 กับปี 2563 พบว่า ประเทศไทยมีการดาวน์โหลดแอปฯ TikTok เพิ่มสูงขึ้น 44% การใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนเพิ่มขึ้น 71% ขณะที่การใช้งานแต่ละครั้งเพิ่มสูงขึ้น 47%

สำหรับแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มนี้ สามารถเริ่มต้นศึกษาการโปรโมทธุรกิจผ่าน TikTok For Business คลิกที่นี่

4. บริหารจัดการ “เวลา” ตอบลูกค้ายิ่งเร็วยิ่งดี

ก่อนจะเริ่มขายออนไลน์จริง ควรเตรียมการและซักซ้อมเรื่องการบริหาร “เวลา” ให้ดี เนื่องจากการขายออนไลน์จะมีการซื้อ-ขายกันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ค้าต้องตั้งรับจุดนี้ให้ได้ เพื่อไม่ให้การค้ามาทำลายสมดุลชีวิตจนร่างกายพัง

ผู้ค้าออนไลน์ยังสามารถใช้เทคโนโลยี “แชทบอท” (Chatbot) ซึ่งเป็นโปรแกรมสื่อสารข้อความอัตโนมัติใน แจ้งข้อมูลเบื้องต้น เช่น ราคาและรายละเอียดสินค้า ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าโดยไม่ต้องมาคอยเฝ้าแชทแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกได้รับการตอบสนอง ไม่ถูกทิ้งขว้างจนกลายเป็นหันไปหาร้านอื่นแทน

นอกจากนี้ เรายังสามารถเขียนรายละเอียดให้ชัดเจนว่า สามารถรับออเดอร์ลูกค้าได้ช่วงเวลากี่โมงถึงกี่โมง และจะรีบตอบกลับเร็วที่สุดที่จะทำได้ เป็นต้น

5. ช่องทางการชำระเงิน ต้องให้ลูกค้าสะดวกที่สุด

ผู้ค้าควรจัดเตรียมช่องทางการชำระเงินให้มีความหลากหลาย เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าเวลาชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินปลายทาง, การโอนจ่ายเงินผ่าน e-Banking, การจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต, จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส, จ่ายผ่านบัญชีออนไลน์อื่น ๆ (PayPal, Rabbit LINE pay, mPay) รวมถึงควรระบุค่าธรรมเนียมในการจัดส่งให้ชัดเจนด้วย

อีกทั้งต้องมีบริการหลังการขายที่ดี กล่าวคือต้องใส่ใจลูกค้าและรับผิดชอบหากเกิดกรณีผิดพลาด เช่น หากส่งสินค้าผิดหรือสินค้าเสียหาย (จากต้นทางที่ร้าน) อาจรับผิดชอบโดยการโอนเงินคืนให้ลูกค้า หรือเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ฟรี เป็นต้น อย่าทำให้กลายเป็น “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เพื่อเป็นการมัดใจลูกค้าให้กลับมาอุดหนุนเราอีกในอนาคต

ลักษณะ การขายออนไลน์เป็น อย่างไร

6. เข้าใจการยื่นภาษีของ “ร้านค้าออนไลน์”

รู้หรือไม่? อาชีพ “ขายของออนไลน์” พ่อค้าแม่ค้าก็ต้อง “ยื่นภาษี” เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ค้าออนไลน์ที่มีรายได้ทางเดียวจากการขายของออนไลน์ หรือจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ขายของออนไลน์ควบคู่ไปด้วย ต่างก็ต้องยื่นภาษี 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 โดยจะต้องยื่นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้

  • รอบแรก : ยื่นภาษีครึ่งปี ช่วง ก.ค. – ก.ย. ของทุกปี นำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.
  • รอบที่ 2 : ยื่นภาษีปลายปี ช่วง ม.ค. – มี.ค. ของทุกปี โดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป (เช่น เงินได้ปี 2563 ต้องยื่นใน มี.ค.2564)

อ่านเพิ่ม : ‘ขายของออนไลน์’ ต้อง ‘ยื่นภาษี’ แบบไหน? เช็กวิธียื่นภาษีง่ายๆ จบไว ไม่ยุ่งยาก

7. จัดส่งสินค้าต้องเร็ว ราคาไม่แพง

การจัดส่งสินค้าก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาให้ดี ต้องเลือกระบบขนส่งสินค้าที่ส่งของได้เร็ว สะดวก มีบริการเสริมที่ดี ที่สำคัญคือต้องมีค่าส่งที่ไม่แพง เพื่อให้ “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์” ได้กำไรมากขึ้น อย่างเช่นการใช้บริการส่งสินค้ากับ “ไปรษณีย์ไทย” ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยให้ผู้ค้าออนไลน์ส่งสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและราบรื่นขึ้น ได้แก่

ลักษณะของการขายออนไลน์เป็นอย่างไร

การขายแบบออนไลน์ คือ การนำสินค้าไปวางขายผ่านช่องทางต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้า ได้แก่ ♠ การขายบน Website, E-Marketplace และ Social Media.

การขายออนไลน์เหมาะกับธุรกิจที่มีลักษณะอย่างไร

ข้อดีของธุรกิจออนไลน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่มีค่าเช่าร้านค้า ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาลูกค้า หรือค่าสินค้าที่จะนำมาสต็อกไว้ขาย การทำธุรกิจออนไลน์นั้นมีร้านค้าฟรี แฟนเพจฟรี ให้สามารถเปิดขายได้ง่าย แค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

รูปแบบของการขายออนไลน์มีอะไรบ้าง

ประเภทธุรกิจออนไลน์.
1.เว็บไซต์ขายสินค้า ... .
2.เว็บไซต์เพื่อการโฆษณา ... .
3.เว็บไซต์ข่าวสาร ... .
4.การทำ Blog. ... .
5.เว็บตลาดประกาศขาย ... .
1.ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ... .
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย ... .
3.เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก.

การขายออนไลน์มีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญ และประโยชน์ของ E-Commerce.
1. เพิ่มโอกาสทางการตลาด ขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากยิ่งขึ้น ... .
2. ลดต้นทุนในการจัดซื้อ ... .
3. สนับสนุนการซื้อ - ขาย ... .
4. ส่งเสริมการขายการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ... .
5. ลดการใช้ทรัพยากร.