Ram กับ rom ในโทรศัพท์ คืออะไร

คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ระหว่างเลือกซื้อมือถือแล้วไปสะดุดกับคำว่า ROM ในส่วนของสเปก ทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งที่เรียกว่า ROM นี้มันคืออะไร และเอาไว้ทำหน้าที่อะไรกันแน่ ซึ่งในวันนี้เราได้หาคำตอบมาให้แล้ว

ROM (รอม) ย่อมาจาก Read-Only Memory ซึ่งเดิมทีนั้นในอดีตเรารู้จักกันในรูปแบบของสื่อบันทึกข้อมูลอย่างแผ่น CD-ROM หรือ DVD-ROM ที่ถูกผลิตมาให้ไม่สามารถเขียนทับได้ อ่านได้อย่างเดียว (Read-Only) แต่ปัจจุบันที่มักถูกกล่าวถึงกันจะเป็น ROM ของโทรศัพท์มือถือ เป็นหน่วยความจำภายในเครื่องที่เก็บข้อมูลระบบปฏิบัติการไว้ โดยผู้ใช้จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ใด ๆ ได้ง่าย ๆ และถือเป็นคนละส่วนกับ Internal Storage ที่เป็นพื้นที่สำหรับแอปฯ และไฟล์ข้อมูลทั่วไป เช่น รูปภาพ วิดีโอ เป็นต้น

ทำไมหลายคนเรียกความจุมือถือว่า ROM ?

ถึงแม้ว่าว่า ROM จะเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลส่วนลึกของระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้มือถือไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงไฟล์ข้างในได้ แต่เนื่องจากมันใช้พื้นที่ร่วมกับความจุรวมของเครื่อง (Internal Storage) ทำให้หลายคนเรียกความจุตัวเครื่องสั้น ๆ ว่า ROM เช่น มือถือ ROM 64GB หรือ ROM 128GB

ในกรณีที่มือถือมี ROM หรือความจุเครื่องน้อยเกินไป ไม่พอใช้ เราสามารถเพิ่มความจุได้ด้วยการใส่ microSD card เพิ่ม ซึ่งโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นจะรองรับความจุ microSD ได้มากน้อยแตกต่างกัน แต่ถ้าหากเป็นมือถือรุ่นที่ไม่มีช่องใส่ microSD ก็แปลว่าไม่สามารถเพิ่มความจุใด ๆ ได้ นอกเสียจากจะซื้อเครื่องใหม่แล้วเลือกรุ่นที่มีความจุสูงขึ้น

RAM เป็น หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หมายความว่า CPU สามารถเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ใด ๆ ของหน่วยความจำ RAM ได้โดยตรง RAM เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ มันเก็บข้อมูล ชั่วคราว

RAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราว RAM เก็บข้อมูลไว้จนกว่าจะเปิดเครื่อง เมื่อพลังของ CPU ถูกปิดข้อมูลทั้งหมดใน RAM จะถูกลบ ข้อมูลที่ต้อง ดำเนินการในปัจจุบัน จะต้องอยู่ใน RAM ความจุของ RAM มีตั้งแต่ 64 MB ถึง 4 GB

RAM เป็นหน่วยความจำที่ เร็ว และคุ้ม ค่าที่สุด ของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำ แบบอ่าน - เขียน ของคอมพิวเตอร์ โปรเซสเซอร์สามารถอ่านคำแนะนำจาก RAM และเขียนผลลัพธ์ไปที่ RAM ข้อมูลใน RAM สามารถ แก้ไข ได้

RAM มีสองชนิดคือ RAM แบบคงที่ และ แบบไดนามิก RAM Static RAM เป็น หน่วยความจำ ที่ต้องการกระแสคงที่เพื่อเก็บข้อมูลไว้ข้างใน มัน เร็วกว่า และ แพง กว่า DRAM มันถูกใช้เป็น หน่วยความจำแคช สำหรับคอมพิวเตอร์ RAM แบบไดนามิก จำเป็นต้องรีเฟรชเพื่อเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ มัน ช้าลง และ ถูก กว่าแรมแบบคงที่

ความหมายของ ROM

ROM เป็น หน่วยความจำ แบบ อ่านอย่างเดียว ข้อมูลใน ROM สามารถอ่านได้โดย CPU เท่านั้น แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ CPU ไม่สามารถ เข้าถึงหน่วยความจำ ROM ได้โดยตรง ข้อมูลจะต้องถูกถ่ายโอนไปยัง RAM ก่อนจากนั้น CPU สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้จาก RAM

ROM เก็บคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการในระหว่างการ บูตเครื่อง (กระบวนการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์) เนื้อหาใน ROM ไม่สามารถแก้ไขได้ ROM เป็นหน่วยความจำ แบบไม่ลบเลือน ข้อมูลภายใน ROM จะคงอยู่แม้ว่าจะปิดการทำงานของ CPU

ความจุ ของ ROM นั้นค่อนข้าง เล็ก กว่าแรม แต่ ช้ากว่า และ ราคาถูก กว่าแรม ROM มีหลายประเภทดังนี้:

PROM : ROM ที่ตั้งโปรแกรมได้, มันสามารถแก้ไขได้เพียงครั้งเดียวโดยผู้ใช้

EPROM : ROM ที่ลบได้และสามารถตั้งโปรแกรมได้เนื้อหาของ ROM นี้สามารถลบได้โดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลตและ ROm สามารถโปรแกรมใหม่ได้

EEPROM : ROM ที่ลบด้วยระบบไฟฟ้าและสามารถตั้งโปรแกรมได้มันสามารถลบได้ด้วยไฟฟ้าและโปรแกรมใหม่ประมาณหมื่นครั้ง

เชื่อว่าหลายๆคน อาจจะเกิดอาการงง เมื่อดูสเปกมือถือแล้วพบว่ามีบอกขนาดของหน่วยความจำซึ่งมีทั้ง RAM, ROM และ Internal Memory แต่อาจไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วหน่วยความจำแต่ละแบบมันคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้เราก็เลยจะมาช่วยคลายข้อสงสัยนี้กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลองอ่านทำความเข้าใจกันได้เลย.

สวัสดีเพื่อน ๆ ผู้ติดตาม ninethaiphone ทุกท่านค่ะ 🙂 วันนี้เรามีบทความ How To คลายข้อสงสัย RAM และ ROM แตกต่างกันอย่างไร? มาฝากให้ได้ชมกัน ซึ่งเชื่อว่าผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนบางคนอาจจะเคยสงสัยกันว่า RAM และ ROM ที่เราได้ยินได้เห็นกันบ่อย ๆ นั้นคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง และแตกต่างกันอย่างไร พูดแล้วอย่ารอช้า เราไปชมรายละเอียดทั้งหมดกันเลยค่ะ

  • RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory คือ หน่วยความจำชั่วคราวของสมาร์ตโฟน เป็นส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม และความเร็วในการทำงาน ทำหน้าที่รับ-ส่ง และเป็นที่พักข้อมูล ระหว่างการใช้งานของเราและชิปประมวลผล เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่กำลังถูกใช้งานอยู่ ยิ่งมีหน่วยความจำ RAM มากจะยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น ยิ่งสามารถเปิดใช้งานหลายแอปฯ พร้อมกันได้มากขึ้น หากมี RAM น้อย ๆ จะทำให้สมาร์ตโฟนค้าง กระตุก ต้องดาวน์โหลดใหม่บ่อย ๆ
  • ROM (รอม) หรือ Read-only Memory คือ หน่วยความจำถาวรของสมาร์ตโฟนที่ติดมากับตัวเครื่อง เรียกง่าย ๆ ว่า ความจุภายในตัวเครื่องนั่นเอง จะเพิ่มเองไม่ได้ทีหลัง มีความจุตั้งแต่ 16GB, 32GB, 64GB, 128GB, 256GB และ 512GB ขึ้นอยู่กับว่าสมาร์ตโฟนที่เลือกนั้นอยู่ในระดับใด สำหรับ ROM ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, วิดีโอ, แอปพลิเคชั่น, ระบบปฏิบัติการ ฯลฯ แต่ถ้าอยากได้ความจุที่สูงกว่านี้ก็ต้องอาศัยเพิ่มด้วยการ์ดเสริมภายนอก หรือ microSD Card เอาค่ะ

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันหากต้องการซื้อสมาร์ทโฟนไว้ใช้งานสักเครื่อง ควรดูรุ่นที่ให้ RAM และ ROM มาสมเหตุสมผลหน่อย เพื่อเก็บแอปฯ  และการประมวลผลที่รวดเร็ว ใช้งานได้แบบไหลลื่น ไม่ทำให้เครื่องกระตุก ก็ควรมี RAM อย่างน้อย 4GB – 6GB และความจุอย่างน้อย 64GB – 128GB เป็นต้น

เอาไว้โอกาสหน้าเราจะมีบทความหรือทริคอะไรดี ๆ มาฝากกันอีก ฝากเพื่อน ๆ ติดตามชมกันด้วยนะคะ และหากใครมีคำถามข้อสงสัยใด ๆ หรืออยากให้แนะนำเรื่องไหนเพิ่มเติมก็ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลยค่ะ 😉

ROM กับ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

หากใครยังไม่เห็นภาพ ลองนึกภาพโต๊ะทำงานตัวหนึ่ง โดย RAM คือพื้นที่หน้าโต๊ะ ROM คือลิ้นชักเก็บเอกสารต่างๆ ส่วนคนที่นั่งอยู่ตรงโต๊ะทำงานตัวนั้นก็คือมือถือ เวลาที่ผู้ใช้เรียกใช้งานแอปพลิเคชัน หรือเรียกใช้ไฟล์ต่างๆ มือถือก็จะไปค้นหาไฟล์เหล่านั้นที่ถูกเก็บเอาไว้ในลิ้นชัก มาเตรียมไว้ที่หน้าโต๊ะ เพื่อให้ผู้ใช้หยิบเอกสารไป ...

ROM โทรศัพท์ช่วยอะไร

ส่วน ROM หรือ Read Only Memory หรือหลายคนจะเรียกว่าความจำในตัว มีหน้าที่จัดเก็บสิ่งที่มือถือประมวลผลไว้แล้ว เช่นรูป, เพลง, หรือจะเป็น Cache Memory ที่ประมวลผลค้างไว้ได้ ถ้าส่วนนนี้มีปริมาณที่น้อย อาจจะส่งผลให้เก็บข้อมูลได้น้อยลงด้วยเช่นเดียวกัน

ความจำเครื่องเรียกว่าอะไร

Ram (Random-access memory) หรือ แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ทั้งยังส่งผลต่อความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์ชนิดนั้นจะเป็นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่จำเป็นต้องอ่านและเขียนคำสั่งไปยังหน่วยความจำ

ใส่แรมเยอะ ดีไหม

คำตอบ การอัปเกรด Ram ช่วยให้คุณสามารถเปิดใช้งานโปรแกรมได้เยอะและเร็วขึ้น โดยเฉพาะสายเกมออนไลน์ที่ชื่นชอบเกมที่มีภาพกราฟิกสวย ๆ รับรองว่าหน่วยความจำที่สูงขึ้น ช่วยให้เล่นเกมได้ลื่นไหล ภาพไม่กระตุกแน่นอน สุดท้ายถ้าเพิ่ม Ram แล้วเกมกระตุกอาจต้องพิจารณาเพิ่ม CPU หรือการ์ดจอควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การเพิ่มแรมมีประสิทธิภาพ ...