การประสานสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

การทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตาเป็นความสามารถในการทำงานโดยใช้มือและตาไปพร้อมๆ กัน ตาเป็นตัวรับข้อมูล แล้วส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อประมวลผล และสั่งการให้มือของเราทำงาน ทักษะการประสานงานระหว่างมือกับตามีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัยกำลังโตและวัยเรียน รวมทั้งวัยผู้ใหญ่ซึ่งต้องใช้ทักษะนี้มากมายทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเราจึงต้องมั่นใจว่าทักษะด้าน Hand-Eye Coordination ได้ถูกพัฒนาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างของกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานประสานกันได้ดี (Fine-Motor Development Activities)

  • การเขียนหรือการจดบันทึก : เราใช้ตาของเราในการรับรู้ (Visual perception) และส่งข้อมูลเข้าสู่สมองเพื่อประมวลผล จากนั้นสมองจะสั่งการให้มือเขียนข้อมูลนั้นลงในกระดาษ ควบคุมวิธีการขยับมือเพื่อที่จะวาดรูปและเขียนตัวอักษร  นอกจากนี้กระบวนการมองเห็นยังช่วยให้เขียนได้อย่างถูกต้องอีกด้วย การเขียนที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำนั้นต้องอาศัยทักษะที่แข็งแรงและการฝึกฝน
  • การพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ด : เป็นการทำงานที่คล้ายกับการเขียน แม้ว่าการขยับมือจะแตกต่างกันแต่เหมือนกันตรงที่เราใช้สายตาในการรับรู้และส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อสั่งการและระบุจุดที่ผิดพลาดได้
  • การขับรถ : ในการขับรถต้องอาศัยทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา (Hand-Eye Coordination) เป็นสำคัญ เราใช้สายตาในการมองถนนและสังเกตสัญญาณจราจร จากนั้นสมองจะสั่งการให้มือบังคับพวงมาลัยไปในทิศทางที่เหมาะสม และจะต้องอาศัยการมองตลอดเวลา เพื่อให้รถอยู่ในเลนที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
  • กิจกรรมส่งเสริมร่างกาย (Boosting Activities) กีฬาเกือบทุกชนิดต้องอาศัยการทำงานประสานกันระหว่างตากับร่างกาย โดยสมองจะประมวลผลสิ่งที่เห็นและสั่งการร่างกายให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม ทักษะจะขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬา ไม่ว่าจะเป็นกีฬาที่ใช้มือกับตาอย่าง บาสเก็ตบอล, เทนนิส, แฮนด์บอล หรือกีฬาที่ใช้เท้ากับตาอย่าง ฟุตบอล, ซ็อคเกอร์, การวิ่ง เป็นต้น

เราสามารถพัฒนาทักษะ Hand-Eye Coordination (การทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา) ได้อย่างไร?

เราสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านนี้ให้ดีได้ด้วยโปรแกรมฝึกสมอง ซึ่ง Brain and Life Center สามารถช่วยให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และทักษะที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน

ท่านเคยอยากทราบหรือไม่ว่า บุคคลที่ท่านกำลังปฎิสัมพันธ์ด้วยนั้น กำลังคิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวท่าน? ความคิดเหล่านั้นมีค่ามากต่อท่านในฐานะ เป็นนักบริหารด้วยเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน และอาจจะมีเหตุผลดี ๆ อีกหลายอย่างเช่นกันที่ว่าท่านไม่สมควรที่จะต้องรู้ข้อคิดต่าง ๆ เหล่านั้น

“ช่างไร้สมรรถภาพเสียจริง เขาพยายามจัดให้ฉันทำงานที่เขาควรทำเองอีกแล้ว”

“ยิ้มกวนแบบนี้อีกแล้ว เธอดูท่าไม่สนใจฉันเท่าไหร่”

“เขาทำให้ฉันรู้สึกโง่เง่า และไร้ประโยชน์”

“เธอทำกับฉันเหมือนเด็ก มีโอกาสเมื่อใดก็จะต้องเป็นทีของฉันบ้างละ”

“เขาตั้งคำถามยังกับสงสัยทุกอย่างที่ฉันพูด”

“เธอครองเวทีพูดเสียคนเดียว แสดงให้เห็นชัด ๆ ว่าความคิดของฉันไม่มีประโยชน์เลย”

“การตีหน้าของเขา ทำให้ฉันสงสัยว่า เขาเข้าใจฉันอยู่หรือเปล่าหรืออาจจะไม่ได้ยินสิ่งที่ฉันกำลังพูดก็ได้”

“เธอโต้เถียงทุกอย่างที่ฉันพูด ฉันมักเป็นฝ่ายผิดเสมอและเธอก็ต้องเป็นฝ่ายถูกทุกเรื่อง”

นักบริหารเป็นพัน ๆ คน มักได้ยินการพูดว่าตนในลักษณะเดียวกันกับข้อความข้างบนเกือบทุกวัน แต่เป็นเพราะว่านักบริหารเหล่านั้นไม่สามารถเข้าถึงความคิดที่แฝงอยู่ในสมองของบุคคลผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผู้บังคับบัญชาเหล่านั้นได้ เขาจึงไม่รู้ตัวว่าทำไมเขาจึงต้องมีปัญหาดังกล่าว ที่จริงมีนักบริหารจำนวนมาก ไม่รับรู้ว่ามีปัญหาปรากฏอยู่เลย และในที่นี้จะกล่าวถึงนักบริหารที่ชาญฉลาดที่พร้อมด้วยวิชาความรู้ในด้านอุตสาหกรรมในปัจจุบันบางคน ในจำนวนนักบริหารประเภทดังกล่าว ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาการขาดประสบการณ์ ขาดพลังใจ ขาดปัญญา หรือขาดความตั้งใจจริงในการทำงาน แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดการสร้างและรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ได้ประสิทธิผลกับบุคคลอื่น ๆ ได้มีความพยายามสำรวจค้นหาสิ่งที่เป็นความจำเป็นที่บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งบริหารจะขาดเสียมิได้ และได้รับคำตอบที่ค่อนข้างจะคงที่และถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักบริหารก็คือ ความจำเป็นที่นักบริหารต้องสามารถเข้ากับคนอื่นได้ ท่านทั้งหลายคงไม่ประหลาดใจนัก ที่ได้ยินคำตอบเช่นนี้ และทั้ง ๆ ที่มีคำตอบอยู่แล้ว แต่ไฉนยังคงมีปัญหาดังกล่าวทับถมอยู่ในหมู่นักบริหารจำนวนมากมายเช่นปัจจุบัน

คำตอบที่เป็นสาเหตุหนึ่ง คือ นักบริหารต่าง ๆ มักไม่ได้รับการฝึกอบรมให้เป็นบุคคลที่สามารถสัมพันธ์อย่างดีกับผู้อื่นได้ ในปัจจุบันนักบริหาร จำนวนมากได้ศึกษาต่อหลังระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิศวกรรม หรือวิชาอื่น ๆ แต่การมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในวิชาเหล่านั้นมิได้แปลว่าบุคคลนั้น จะมีความเชี่ยวชาญอย่างปาฏิหาริย์ในเรื่องการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ได้และแม้แต่การได้รับความสำเร็จในสายวิชาการเป็นเวลาหลาย ๆ ปี ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าจะเชี่ยวชาญในการสร้างสัมพันธภาพเชิงบริหารได้เช่นกัน ดังนั้นนักบริหารจำนวนมากจึงอยู่ในลักษณะที่ไม่พร้อมที่จะจัดการกับปัญหาเรื่องคนเท่ากับที่ตนพร้อมในปัญหา ด้านเทคนิควิชาการ และถึงแม้ว่านักบริหารบางคนอาจจะมีความรู้เรื่องคนก็ยังไม่เคยคิดที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคน

ในโลกของธุรกิจนั้น งานบริหารจะถูกมองในแง่ของผลผลิตเสมอ ทำไมรึ? ก็เพราะว่าผลผลิตเป็นกุญแจบ่งบอกถึงความสำเร็จขององค์กร และบอกถึงอนาคตของตัวท่านในฐานะนักบริหาร ท่านเองมักจะประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาว่าเขาผลิตได้มากน้อยเพียงไร เพราะตัวท่านเองจะต้องถูกประเมินว่าได้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถผลิตได้มากน้อยเพียงไรเช่นกัน ระบบการประเมินผลด้านเดียวแบบนี้ ทำให้ไปเข้าใจเอาง่าย ๆ ว่าคนนั้นมีลักษณะเป็นเหมือนทรัพยากรเช่นเดียวกับวัตถุครุภัณฑ์หรือเงิน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ต้องเอามาใช้ประโยชน์เป็นผลผลิตให้กับบริษัทให้ใด้มากที่สุด พนักงานของบริษัทในทุกวันนี้จะไม่ทนทุกข์กับการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งจะไม่ส่งผลทางลบทั้งในชีวิตความเป็นอยู่ และผลประโยชน์ที่พึงให้ได้ ตามเป้าหมายของบริษัท นักบริหารที่ประสบความสำเร็จตระหนักดีว่า ถ้าจะให้พนักงานมีผลิตผลสูงสุดก็จะต้องให้พนักงานมีโอกาสอยู่ในสภาพแวดล้อมของงานที่สร้างให้เกิดความพอใจที่ได้สนองความต้องการส่วนตัว ด้วยเหตุนี้ นักบริหารจึงจำเป็นต้องตระหนักในเรื่องค่านิยม ความต้องการ ตลอดจนสาเหตุต่าง ๆ ของพฤติกรรมของพนักงานของตน พร้อมทั้งมีทักษะ ส่วนตัวในการสื่อสารกับพนักงานและปลุกใจให้พนักงานทำงานจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ ไม่มีความขมขื่นในพนักงาน

การผลิตงานเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของกงจักรการสร้างผลผลิต ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพในระยะยาว ท่านต้องได้รับผลสำเร็จในการผลิตงาน โดยเอาใจใส่ต่อความต้องการของบุคคลที่ทำงานให้ท่าน และที่ทำงานร่วมกับท่าน ที่จริงแล้ว การบริหารตามความหมายของคำ หมายถึง การทำงานให้เสร็จโดยอาศัยความเพียรพยายามของบุคคลอื่น ท่านอาจจะได้ผลตอบแทนในระยะสั้นด้วยการใช้คนและบังคับสั่งให้คนทำงาน แต่ในระยะยาวประสิทธิภาพของท่าน หรืออาชีพของท่านอาจจะอยู่ในภาวะอันตราย ความรู้สึกต่อต้านและความคับแค้นใจที่เป็นผลสืบเนื่องอาจจะค่อย ๆ แสดงออกให้ปรากฏ ทั้งโดยเปิดเผยและโดยพลังเงียบ ซึ่งก่อให้เกิดความล้มเหลวในฐานะนักบริหาร

ภาพเปรียบเทียบที่นิยมใช้สาธิตแสดงกงจักรการสร้างผลผลิต เป็นลักษณะ ๒ ด้าน คล้ายจักรยาน ๒ ล้อ ความรู้เรื่องเทคนิควิชาการก็ดี และความรู้เรื่องคนก็ดี น่าจะแปรรูปความคิดเป็นล้อจักรยาน ๒ ล้อ ความรู้เรื่องเทคนิควิชาการเป็นเสมือนล้อหลัง ซึ่งเป็นล้อที่เคลื่อนจักรยานให้เดินไปข้างหน้า ล้อหลังส่งแรงขับให้จักรยานหมุนไปได้ทุกแห่ง ย่อมเห็นได้ชัดว่า การบริหารเชิงเทคนิคและวิธีการเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนล้อหน้าของจักรยานคือความรู้เรื่องคน ล้อหน้าจะทำหน้าที่หมุน นำและพาล้อหลังให้หมุนไปในทางที่ท่านต้องการ ท่านสามารถจะมีความชำนาญเชี่ยวชาญตามแบบล้อหลังได้ทั้งหมดในโลกนี้ แต่ถ้าคนไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนด้วย ท่านก็คงไปไหนไม่ได้ไกล และนี่คือคำอธิบายทั้งหมดเกี่ยวกับการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ หรือปฏิสัมพันธ์ (Interactive Management)

ไม่ว่าท่านจะมีความทะเยอทะยานหรือสมรรถภาพสูงส่งปานใด ท่านคงไม่สามารถเป็นนักบริหารที่มีประสิทธิภาพได้ถ้าขาดความรู้เรื่อง การสร้างและรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่มีประสิทธิผลกับผู้อื่น ท่านต้องรู้วิธีการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น จนกระทั่งบุคคลเหล่านั้นปรารถนาที่จะทำงานด้วยกับท่านและยอมรับในตัวท่านแทนที่จะปฏิเสธท่าน

การกระทำเช่นนี้หมายความว่า ท่านกลายเป็นบุคคลหลักลอยและต้องมีผู้อื่นคอยนำทางโดยยึดถือเอาความต้องการและความปรารนนาของผู้อื่นเป็นหลักในการให้บริการ หรือว่าท่านน่าจะหายุทธวิธีที่สำคัญซึ่งสามารถหยุดการสิ้นเปลืองในการใช้บุคคลอื่น หรือทำให้ท่านบริการเฉพาะบุคคลที่สร้างความชอบพอให้แก่ท่านเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไม่ใส่ใจในบุคคลอื่น ๆ เลย เช่นนั้นหรือคำตอบต่อข้อคำถามทั้งหมดนี้มีอยู่คำเดียวคือ “ไม่ใช่”

ความหมายที่ถูกต้องก็คือ ท่านควรจริงใจที่จะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่แข็งแกร่งเป็นมิตร ซื่อตรง และไว้วางใจกันและกันกับทุกคนที่ท่านทำงานด้วยตั้งแต่เจ้านาย ลูกน้อง และเพื่อนนักบริหารด้วยกัน ในตำแหน่งผู้บริหารท่านย่อมต้องยอมรับโดยอัตโนมัติในหน้าที่รับผิดชอบ ๒ ประการ คือ

๑. ปฏิบัติงานด้านเทคนิควิชาการให้ดีที่สุดในทุกงานที่ได้รับมอบหมายและ

๒. ต้องปฏิสัมพันธ์กับทุกคนจนสุดความสามารถ

กงจักรการสร้างผลผลิต

การประสานสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

บทความนี้เขียนขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือท่านนักบริหารตามหน้าที่รับผิดชอบในข้อ ๒ เป้าหมายจึงอยู่ที่การพัฒนาทักษะ การบริหารงานเชิงประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยวิธีการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ตัวท่าน สู่ผู้อื่น และสู่องค์กรโดยส่วนรวม

วิธีประสานสัมพันธ์ในการบริหารคน

งานวิจัยที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพมักให้ข้อเสนอแนะว่าบุคคลที่สุขภาพจิตดีจำเป็นต้องได้รับการยกย่องนับถือและต้องมีโอกาสได้แสดงความรู้สึกว่าตนมีสมรรถภาพและมีเสรีภาพในขณะที่กำลังดำเนินชีวิตตามเป้าหมาย ที่ตนผูกพันอยู่ แต่นับว่าโชคร้ายที่ผลงานวิจัยด้านการบริหารเชิงเทคนิค วิธีการชี้ให้เห็นว่าลักษณะการทำงานภายใต้การชี้แนะและเน้นความสนใจที่ผลผลิตมักจะทำให้เกิดสถานการณ์ที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนต้องพึ่งผู้อื่น ต้องสุภาพถ่อมตน ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยไม่ค่อยได้ใช้ความสามารถ ที่สำคัญ ๆ ในการพัฒนาตนเอง การทำงานของเขาจะมุ่งให้ความสนใจ ที่ความต้องการของผู้บริหารและขององค์กร แทนที่จะสนองความต้องการของตนเอง และผลก็คือทุกคนจะจบลงด้วยความรู้สึกโกรธ เครียด ทุกข์ใจ และได้ผลผลิตต่ำกว่าความสามารถ ภายใต้สภาพการต่างๆ เหล่านี้ พนักงานจะพยายามปรับตนเองด้วยการขอลาออก หรือแสดงตนด้วยกลวิธานปกป้องตนเอง (Defensive Mechanism) เช่น ทดแทนสิ่งทีขาด (อาจใช้วิธีฝันกลางวัน ก้าวร้าวหรือต่อต้าน) หรือเป็นปฏิปักษ์อย่างเปิดเผยต่อตัวผู้บริหารและระบบการทำงานทั้งหมด

ยิ่งถ้าพนักงานลาออก หรือเลือกใช้กลวิธานในการปกป้องตนเอง เป็นวิธีการปรับตัวหรือปิดบังความโกรธเครียด ฝ่ายบริหารยิ่งยากที่จะมองเห็นปัญหาที่ก่อตัวขึ้น ถ้ามีการต่อต้านอย่างเปิดเผยผู้บริหารเชิงเทคนิค วิธีการ มักจะมีวิธีตอบรับด้วย “การแก้ใขสิ่งผิด” เช่น การเพิ่มการควบคุม การลงโทษรุนแรงขึ้น หรือปฏิบัติการอย่างอื่นที่ยิ่งจะสั่งสมความโกรธเครียดให้มากขึ้น ผลก็คือยิ่งเพิ่มความห่างไกล ความไม่ไว้วางใจ และความทุกข์ ให้กับทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครชนะ!

ปรัชญาในการบริหารด้วยการประสานสัมพันธ์นี้ สร้างขึ้นเพื่อเอาชนะปัญหาบางประการเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารและพนักงานต่าง ๆ เหล่านี้ แม้ว่าแนวความคิดดังกล่าวไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่วิธีการประสานความคิดเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้วิธีนี้มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ซึ่งตั้งอยู่บนแนวปรัชญาที่ว่า การจัดการเชิงบังคับหรือการใช้ประโยชน์จากบุคคลอื่น ๆ เพื่อตนเอง ย่อมไม่ส่งผล ทั้งในแง่สุขภาพหรือกำไร แนวปรัชญานี้เชื่อว่าบุคคลที่ทำงานได้ประสิทธิผล นั้นเป็นเพราะเขาเข้าใจและรู้สึกได้รับความเข้าใจจากผู้บริหาร ไม่ใช่เพราะถูกบังคับโดยวิธีจัดการจากเบื้องบน เป็นการหมุนแนวคิดเพื่อช่วยให้บุคคลเข้าใจกระบวนการมากกว่าที่จะบังคับให้ปฏิบัติตาม กระบวนการและรูปแบบนี้มีหลักสำคัญอยู่ที่สัมพันธภาพอันเกิดจากข้อผูกพันแห่งความซื่อสัตย์และจริงใจต่อกัน ตาราง ๑-๑ ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์และการบริหารเชิงเทคนิควิธีการ

สนใจที่องค์กรหรือสนใจที่พนักงาน ในการบริหารเชิงเทคนิค วิธีการ นักบริหารให้ความสนใจส่วนใหญ่ที่งาน แทนที่จะสนใจพนักงาน

แรงจูงใจระดับแรกอยู่ที่การทำงานสำเร็จโดยไม่คำนึงถึงค่าของคน พฤติกรรมที่แสดงออกไม่ว่าจะกล่าวด้วยวาจาหรือไม่ มักจะมุ่งไปที่ความเร่งด่วน ความ รีบร้อน และการบังคับสั่งการ

ส่วนนักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ จะใช้บทบาทของผู้ให้คำปรึกษา เป็นที่ปรึกษาและผู้แก้ปัญหา การช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพิจารณาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติตลอดจนรู้ว่าจะลงมือปฏิบัติอย่างไร ถือเป็นความสำคัญอันดับแรกของนักบริหารประเภทนี้ ส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งที่กล่าวและไม่กล่าวด้วยวาจาล้วนแล้วแต่มีจุดหมายอยู่ที่การให้ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น ความอดทน ความเห็นอกเห็นใจ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลที่ได้รับจากการบริหารในรูปแบบใหม่นี้ คือสัมพันธภาพที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจ ความเปิดเผยและความใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งเป็นสัมพันธภาพที่เรียกได้ว่า ชนะและชนะเท่านั้น

ตาราง ๑-๑ ความแตกต่างระหว่างการบริหารเชิงเทคนิควิธีและการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

เชิงเทคนิควิธี (Technical)

เชิงประสานสัมพันธ์ (Interactive)

๑. สนใจที่องค์กรสนใจที่พนักงาน๒. บอกกล่าวอธิบายและรับฟัง๓. สร้างพลังอำนาจสร้างภาวะผูกพันธ์๔. สนใจงานสนใจบุคคล๕. ไม่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยน๖. คุกคามความต้องการสนองความต้องการ๗. สร้างความกลัวและความเครียดสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจ

บอกกล่าวหรืออธิบายและรับฟัง นักบริหารเชิงเทคนิควิธี มักครองบทสนทนาแต่ฝ่ายเดียว ไม่ค่อยจะถามให้ฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงบทบาท นอกจากจะถามเพื่อแสดงความสุภาพในประเด็นที่สมควร ตรงกันข้ามในด้านของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ จะมีการเน้นความสำคัญที่การแก้ปัญหาด้วยการอภิปรายและรับฟังความคิดเห็น ฟังผลสะท้อนกลับจากกันและกัน นักบริหารแบบนี้เป็นผู้มีความรู้มีสมรรถภาพและมีความเชื่อมั่นในการใช้ทักษะการสื่อสารด้วยการตั้งคำถาม การฟังและการสะท้อนกลับ

สร้างพลังอำนาจหรือสร้างกาวะผูกพัน อำนาจและอิทธิพล

ในการบริหาร คือคำ ๒ คำหลักสำหรับดำเนินงานของนักบริหารเชิงเทคนิค วิธีการ “จงทำตามวิธีของฉัน มิฉะนั้นจะเจอดี’’ “ผู้บริหารคือนักคิด’’ “พนักงานคือนักทำ” “ฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายตัดสินใจในที่นี้” คำกล่าวต่าง ๆ นี้ มักได้ยินกันจนชินจากนักบริหารเชิงเทคนิคซึ่งหมายความว่าผู้บริหารทำ หน้าที่ควบคุม ชักจูง และบังคับสั่งให้พนักงานกระทำตามตัวอักษรที่ฝ่าย บริหารขอร้องเดี๋ยวนี้ ๆ ไม่ว่าพนักงานจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม แม้ว่าวิธีการเช่นนี้อาจจะใช้ได้ผลในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็ก่อให้เกิดความไม่พอใจกับคนงานที่พร้อมที่จะต่อต้านอย่างเงียบ ๆ ซึ่งยากจะสังเกตุเห็นได้ หรืออาจลาออกเมื่อมีโอกาส

การผสมผสานอย่างได้ประสิทธิผลระหว่างวัตถุประสงค์ระยะสั้น และระยะยาว เป็นตราประจำตัวของนักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ทั้งหลาย นักบริหารประเภทนี้ จะยอมให้พนักงานมี “ห้องหายใจ” เพื่อแก้ปัญหาด้วยตนเองในระยะเวลาพอสมควร ในปัจจุบันการใช้อำนาจสั่งการทันที มีความหมายสำคัญไม่เท่ากับการสร้างคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล แม้ว่าการใช้วิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลานานกว่านิดหน่อย เพื่อที่จะได้ผลทางบวกจากพนักงาน แต่ก็เป็นวิธีที่สร้างความขมขื่นน้อยกว่า และได้รับความไว้วางใจและความมีนํ้าใจดีต่อกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานตลอดจนมีขวัญที่ดีขึ้นในระยะยาว และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ในการทำงานร่วมกันเป็นคณะ

สนใจงานหรือสนใจบุคคล  การส่งผลผลิตให้เข้าเป้าตามกำหนดเวลา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารเชิงเทคนิควิธีการมากกว่าการพัฒนาบุคคล วิธีการเช่นนี้มักทำให้เกิดความคับแค้นใจในหมู่พนักงานซึ่งจะใช้ความมุมานะพยายามในการทำงานเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ให้ความสนใจที่ตัวบุคคล ปัญหาของพนักงาน และ/หรือความต้องการของพนักงานมีความสำคัญเท่า ๆ กับงาน เป้าหมายสูงสุดของนักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ คือการสร้างสัมพันธภาพกับพนักงานในลักษณะที่ทำให้พนักงานมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานได้สำเร็จบรรลุเป้าหมายขององค์กรตามพลังความสามารถของแต่ละบุคคล

ไม่ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยน นักบริหารเชิงเทคนิควิธี มักมีวิธีการปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีเดิมตลอดเวลากับพนักงานที่ต่าง ๆ กัน

นักบริหารประเภทนี้ไม่ค่อยจะรับรู้ในความหลากหลายของวิถีชีวิต ความหลากหลายในความต้องการ ตลอดจนปัญหาของพนักงานใต้บังคับบัญชา ที่มีลักษณะต่างๆ กัน  นักบริหารเชิงเทคนิควิธี มักจะไม่รับรู้และไม่ได้สังเกตเห็นพฤติกรรมที่บ่งบอกความจำเป็นของแต่ละบุคคล หรือที่เป็นความต้องการที่บีบคั้นอยู่ชั่วขณะ หรือความต้องการภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันขณะนั้นของพนักงานของตน

การยืดหยุ่นเป็นทักษะแม่บทที่เป็นที่นิยมใช้อยู่ในหมู่นักบริหารเชิง ประสานสัมพันธ์ นักบริหารประเภทนี้ใช้วิธีการยืดหยุ่นในการสื่อสัมพันธ์ กับทุกลักษณะชีวิตที่ต่าง ๆ กันของพนักงานของตน การบริหารงานของนักบริหารประเภทนี้ คือการปรับเปลี่ยนวิธีการให้เข้ากับพนักงาน แต่ละคน ในแต่ละสถานการณ์ นักบริหารเชิงประสานลัมพันธ์มีธรรมชาติที่สามารถรับรู้และเข้าถึงจิตใจของสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชา สื่อให้ทราบจะด้วยวาจาหรือที่มิได้กล่าวด้วยวาจาก็ตาม และเมื่อรับรู้แล้วก็มีความตั้งใจและสามารถเปลี่ยนวิธีการและเป้าประสงค์ได้หากมีความจำเป็น

คุกคามความต้องการหรือสนองความต้องการ เมื่อท่านบอกคนบางคนว่าท่านทราบปัญหาของเขาและลงมือให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา โดยท่านไม่ได้รับฟังคำโต้ตอบแต่ประการใด ย่อมหมายความว่า บุคคลผู้นั้นมีแนวโน้มที่จะปกป้องตนเอง ปิดบังและรู้สึกขมขื่น การปฏิสัมพันธ์ ในขณะนั้นจะมีลักษณะเหมือนทำสงครามอยู่ในสถานการณ์ที่ชิงแพ้ ชิงชนะกัน พนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อสนเทศได้โดยเสรีกับผู้บริหารภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าว และมักจะก่อให้เกิด “บรรยากาศอึมครึม” (ฉาบฉวย) ซึ่งทำให้ผู้บริหารขาดสติได้ และเป็นที่แน่ชัดว่าวิธีการนี้ไม่ใช่สัมพันธภาพที่มีประสิทธิผล

ในการบริหารงานเชิงประสานสัมพันธ์ ผู้บริหารมักเจนจัดในการ รวบรวมข้อสนเทศเพื่อช่วยพนักงานอย่างเปิดเผยและจริงใจที่จะค้นหาความ ต้องการและปัญหาของแต่ละบุคคล ด้วยวิธีการเช่นนี้ พนักงานจะมองสัมพันธภาพในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือ จะมีแต่ความไว้วางใจกัน ความเชื่อมั่นกัน และความเปิดเผยต่อกัน แผ่กระจายอยู่ทั่วไปในลักษณะ

สังคมที่ชนะและชนะเช่นนี้ ยิ่งกว่านั้นพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมมีส่วนร่วมโดยทั่วถึงในกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับผู้บริหาร วิธีเช่นนี้ เปิดทางให้พนักงานเกิดภาวะผูกพันธ์เป็นส่วนตัวที่จะต้องนำแผนลงสู่การปฎิบัติ

สร้างความกลัวและความเครียดหรือสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจ พฤติกรรมทั้ง ๖ ลักษณะที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป็นการปลูกฝังให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอาศัยความกลัวและความเครียดหรือความไว้วางใจ และความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ในการบริหารเชิงเทคนิควิธีนั้น มีระดับความกลัวและการปกป้องตนอยู่ในขั้นสูงมาก ทั้งผู้บริหารและพนักงานต่างก็มีเกมเล่นต่อกัน การบริหารกลายเป็นกระบวนการชักจูงและการบังคับควบคุมมากกว่าการแก้ปัญหาและการอำนวยความสะดวก สัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารและพนักงานเลวลง จนทำให้สภาพการปกป้องตนเองและการไม่ไว้วางใจกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ในทางกลับกัน การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์นั้นมีลักษณะความไว้วางใจ การยอมรับและการเข้าใจกันเป็นตัวเกณฑ์ปกติ กระบวนการสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชามีลักษณะเปิดเผย ซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา มีการแลกเปลี่ยนข้อสนเทศกันอย่างเปิดเผยและปัญหาต่าง ๆ ก็ได้รับการแก้ไขอย่างนิ่มนวล และไม่ว่าจะมีการตัดสินใจอย่างไร หรือไม่ ทั้งผู้บริหารและพนักงานต่างฝ่ายต่างมีความรู้สึกที่ดีงามต่อกัน และประสานสัมพันธ์กันด้วยดี ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะทั้งคู่

การประสานสัมพันธ์หมายถึงอะไร

3. การประสานสัมพันธ์ (Co - ordination) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวได้ อย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานสอดคล้องกันระหว่าง ตา มือ เท้า

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพคืออะไร มีอะไรบ้าง

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-Related Physical Fitness) 1. สัดส่วนร่างกาย (Body Composition) 2. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และการหายใจ (Cardiorespiratory Endurance) 3. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) 4. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) 5. ความอ่อนตัว (Flexibility)

สมรรถภาพทางกลไกมีองค์ประกอบกี่ข้อ

สมรรถภาพทางกล หรือสมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬาได้ดี มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ดังนี้ ความคล่อง ( Agility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมได้

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ มีอะไรบ้าง

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ (skill-related physical fitness) เป็นสมรรถภาพ ทางกาย ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนให้เกิดระดับความสามารถและทักษะในการแสดงออกของ การเคลื่อนไหว และการเล่นกีฬามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยสมรรถภาพ ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ...