การควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ คืออะไร อธิบาย

                   สรุปการควบคุมกลยุทธ์ เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนในการวางแผนกลยุทธ์ ดังนั้นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบต้องเข้าใจ ไม่เช่นนั้นการควบคุมจะไม่เป็นประโยชน์กับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ และอาจก่อให้เกิดผลเสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่องค์กร

การประเมินกลยุทธ์ (Evaluation of Strategy) เป็นงานสำคัญที่มีผลต่อเนื่องถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลยุทธ์  ซึ่งจะให้ผลโดยตรงกับการดำรงอยู่ขององค์การ  ดังนั้นผู้บริหารจะต้องการทำการประเมินกลยุทธ์  เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ขององค์การ  การที่ผู้บริหารจะตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ใดในการดำเนินงานจะต้องทำการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก  เพื่อให้แน่ใจว่าทางเลือกนั้นจะเกิดประโยชน์แก่องค์การทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  ตัวอย่างเช่น  หากองค์การต้องการใช้กลยุทธ์เจริญเติบโตการเร่งขยายองค์การอาจทำให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมทรัพยากรมนุษย์  การตัดสินใจเลือกกลยุทธ์การทำกำไรอาจส่งผลเสียในระยะยาวหากองค์การไม่มีผลิตภัณฑ์หรือตลาดเป้าหมายที่มีคุณภาพมารองรับในอนาคต  หรือการเลือกกลยุทธ์ฟื้นฟูโดยการลดจำนวนพนักงานอาจเกิดปัญหาที่ร้ายแรงจากการประท้วงของพนักงานที่ไม่พึงพอใจหากแต่ละฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้  เป็นต้น  ดังนั้นจึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าทางเลือกขององค์การเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหรือมีความเสี่ยงในระดับที่ธุรกิจสามารถรองรับได้

เพื่อให้กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การประสบความสำเร็จ  โดยที่การควบคุมกลยุทธ์มีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้

1. ช่วยให้ผู้บริหารตรวจสอบและประเมินการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติว่าบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการหรือไม่เพียงใด

2. ช่วยผู้บริหารในการกำหนดแนวทางการปรับตัว  การแก้ปัญหา  และพัฒนาการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ช่วยผู้บริหารประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์  เพื่อทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงขึ้น

ซึ่ง Ram Charan (1982) กล่าว้ถึงเป้าหมายของการควบคุมกลยุทธ์ 7 ประการดังต่อไปนี้

1. ประเมินความเที่ยงและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจ  โดยตรวจสอบกับเป้าหมายขององค์การความสามารถในการจัดหาทรัพยากร  และกรอบความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Framework)

2. เพื่อสร้างความแน่ใจว่าผู้จัดการในทุกระดับมีความเข้าใจในธุรกิจ

3. ประเมินข้อดี-ข้อเสียที่เกิดจากการดำเนินกลยุทธ์  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้จัดการ

4. สร้างสัญญาระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้จัดการระดับต่างๆ  โดยฝ่ายบริหารจะมีข้อผูกพันที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงาน  ขณะที่ผู้จัดการจะดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่ต้องการ

5. เพื่อให้การเจรจาประเด็นเชิงกลยุทธ์  การจัดสรร  และการบูรณาการกลยุทธ์ระหว่างหน่วยงานภายในองค์การมีความ
สอดคล้องกัน

6. เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจและการรับรู้ต่อการดำเนินงานขององค์การแก่พนักงาน

7. เพื่อประเมินความสามารถในด้านความคิด  แรงจูงใจ  และทัศนคติของผู้บริหาร

ถึงแม้การควบคุมกลยุทธ์จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเชิงกลยุทธ์  แต่การควบคุมกลยุทธ์ก็เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลยุทธ์  เนื่องจากการตรวจสอบและการประเมินกลยุทธ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับว่ากระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มีความเหมาะสมและการดำเนินงานราบรื่นเพียงใด  ประการสำคัญการควบคุมกลยุทธ์ช่วยให้ผู้บริหารมั่นใจว่าการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติสามารถบรรลุผลตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมกลยุทธ์ มีอะไรบ้าง

ในการควบคุมการปฏิบัติการตามแผนกลยุทธ์นั้น สามารถจัดแบ่งการควบคุมออกได้ เป็น 2 ลักษณะ คือ การควบคุมการด าเนินงาน (Operations Control) และการควบคุมการ ปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Implementation Control) ซึ่งการควบคุมแต่ละลักษณะอธิบายได้ ดังนี้ การควบคุมการปฏิบัติ การควบคุมสมมติฐาน การตรวจตรากลยุทธ์

การควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ คืออะไร

การควบคุม กำกับ และการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นงานของผู้บริหารองค์การที่จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริง (Actual ...

การควบคุมกลยุทธ์คืออะไร

การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) เป็นการควบคุมทางการจัดการที่มีลักษณะพิเศษที่ให้ความสำคัญกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินกระบวนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ การดำเนินการมีประสิทธิภาพเพียงใดและควรต้องปรับปรุงอย่างไร

Evaluation and Control คืออะไร

5. การควบคุมและการประเมินกลยุทธ์ (Strategy Evaluation and Control) หมายถึง การติดตามและตรวจสอบ (Monitoring) วิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทาง ปรับปรุง และพัฒนาให้กลยุทธ์ที่กำลังดำเนินอยู่เกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์จริง เพื่อองค์การจะได้คุณค่าสูงสุดจากการดำเนินงานตลอดจนทำการประเมินผลจากการดำเนินกลยุทธ์ว่าประสบผลสำเร็จดังที่ ...