การ ที่ ประเทศไทย กํา หน ด ให้ เลิกใช้สาร CFC ในการผลิต สินค้า เป็นการ ปฏิบัติ ตาม ข้อตกลง ใด

ถาม - ตอบ

7. เกิดรูรั่วโอโซนเหนือทวีปอาร์กติกหรือไม่?

"การลดลงของโอโซนเหนือทวีปอาร์กติก (Arctic Ozone Depletion) พบตอนปลายฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ เดือนมกราคม-มีนาคม ถึง 6 ปีภายใน 9 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 20-25 % น้อยกว่าบริเวณขั้วโลกใต้ทวีปแอนตาร์กติกที่เรียกรูรั่วโอโซน"

ความแตกต่างของ 2 บริเวณขั้วโลกเกิดจากรูปแบบของอากาศ กรณีฤดูหนาวของซีกโลกเหนือคล้ายกับในซีกโลกใต้ คือเกิดการแยกขอบเขตโดยลม ซึ่งอุณหภูมิต่ำพอที่จะเกิดเมฆขั้วโลก อย่างไรก็ตามลักษณะสมมาตรของทวีปจะน้อยกว่าแอนตาร์กติกผลคือระบบอากาศในระดับกว้างจะต้านกับกระแสลม ทำให้เกิดความไม่เสถียรหรือไม่อยู่นิ่งๆเหมือนกับขั้วโลกใต้เมฆขั้วโลกเกิดน้อยกว่าแต่ความเย็นยังมีอยู่บ้างในช่วงเดือนมีนาคม เมื่อมีแสงแดดทำให้มีการสูญเสียโอโซนเช่นกันหลายปีที่ผ่านมาพบว่าฤดูหนาวเหนืออาร์กติกเย็นผิดปกติเทียบกับ 30 ปีก่อนการเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการสูญเสียโอโซนมากขึ้น รวมทั้งปริมาณการทำลายโอโซนได้เพิ่มขึ้นมากอย่างไรก็ตามภาวะทางอุตุนิยมวิทยาก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจดี ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นอีกในปีที่จะมาถึงการสูญเสียโอโซนจะมีต่อไปอีก แต่เป็นไปได้ ที่จะมีลักษณะย้อนกลับมาของโอโซนเช่น 10 ปีก่อน ซึ่งเป็นที่คาดว่าการสูญเสียโอโซนในอาร์กติกจะน้อยลงไป

8. การสูญเสียโอโซนทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตที่พื้นเพิ่มขึ้นหรือไม่?

"การสูญเสียโอโซนทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตที่พื้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าโอโซนเป็นตัวดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต"

ดวงอาทิตย์ปล่อยรังสีหรือพลังงานในช่วงกว้าง รวมทั้งที่อยู่ในรูปรังสีอัลตราไวโอเลตพลังงานสูงด้วยประมาณ 2 % บางส่วนคือ UV-B* ที่มีเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเช่น ผิวหนังไหม้เกรียม มะเร็งผิวหนัง และโรคตา ปริมาณรังสี UV ที่ได้รับขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งบนพื้นโลก ปริมาณโอโซนในบรรยากาศ เมฆ และมลภาวะ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การไม่มีเมฆ หรือมลภาวะในขณะที่โอโซนสูญเสียไป ทำให้รังสี UVเพิ่มขึ้นที่พื้นโลกการลดลงของโอโซนมากสุดในรอบ 15 ปี ที่ผ่านมาที่พบเหนือทวีปแอนตาร์กติกช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคมที่เกิดรูรั่วโอโซนพร้อมกับการตรวจวัดรังสี UVกับโอโซนพร้อมกันในหลายสถานีพบว่ารังสี UV มีมากเกินระดับปกติในเมือง San Diego, California ซึ่ง ดวงอาทิตย์ทำมุมสูงกับแนวราบในบริเวณที่มีการสูญเสียโอโซนน้อย เป็นการยากที่จะตรวจสอบว่า UV-B เพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจแนวโน้มของรังสี UV-B ที่สัมพันธ์กับโอโซนที่ลดลง เพราะความซับซ้อนในกรณีเมฆ มลภาวะและสภาวะของเครื่องมือที่ใช้เป็นเวลาหลายปี เป็นต้น ราวปลายทศวรรษ 1980 ยังไม่ค่อยมีเครื่องมือที่ถูกต้องเที่ยงตรงสำหรับตรวจวัด UV-B มากนัก ดังนั้นข้อมูลจากสถานีในเมืองที่เก่าแก่ และไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะด้านอาจทำให้ข้อมูลเชื่อถือได้ยาก โดยเฉพาะการตรวจควบคู่หาความต่างของสภาวะเมฆ หรือมลภาวะยังไม่ค่อยมีขณะที่ การตรวจในสถานีที่ห่างไกลแหล่งชุมชน ปราศจากมลภาวะ จะเป็นการตรวจคุณภาพสูงการลดลงของโอโซนจึงจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของ UV-B

ภาพแสดงการตรวจวัดที่ขณะท้องฟ้าแจ่มใสจาก 6 สถานี แสดงให้เห็นว่าโอโซนที่ลดลงทำให้รังสี UV-B เพิ่มขึ้น

9. การสูญเสียโอโซนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

"การสูญเสียโอโซนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้หลายทางแต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก"

โอโซนในบรรยากาศมีผลกระทบต่อสมดุลย์อุณหภูมิของโลก 2 ด้าน คือการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจะทำให้บรรยากาศสตราโตสเฟียร์อบอุ่นขึ้น และยังดูดกลืนรังสีอินฟราเรดที่ปลดปล่อยจากผิวโลก เป็นที่เก็บความร้อนจากชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ดี ดังนั้นผลกระทบจากความผันแปรไปของโอโซน จึงขึ้นอยู่กับความสูงที่มันอยู่ โอโซนที่สูญเสียไปเนื่องจากก๊าซที่ประกอบด้วยคลอรีน และโบรมีนโดยมนุษย์ในสตราโตสเฟียร์ตอนล่างทำให้ผิวโลกเย็นลง ในทางกลับกันคาดว่าโอโซนจะเพิ่มขึ้นที่บริเวณผิวพื้นหรือโทรโพสเฟียร์ เพราะว่ามลภาวะในอากาศทำให้โลกอุ่นขึ้นหรือปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) การเปรียบเทียบผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโอโซนกับก๊าซในบรรยากาศชนิดอื่น ถือเป็นการยากที่จะคำนวณได้ถูกต้อง จากรูป กราฟแท่งทึบแทนอุณหภูมิที่เปลี่ยน แท่งสีขาวแทนความเปลี่ยนแปลงโอโซน พบว่า CO2 ที่เพิ่มขึ้นทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมากสุดซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ เช่นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบัน CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น 30 % เทียบกับ 50 ปีก่อน ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ มีผลดังกราฟเช่น มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFCs) โอโซนผิวพื้น (Tropospheric Ozone) โอโซนในบรรยากาศสตราโตสเฟียร์(Stratospheric Ozone) ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกก็มีผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโอโซนเช่นกัน เพราะโอโซนได้รับอิทธิพลจากภาวะทางอุตุนิยมวิทยา และโดยความเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในบรรยากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสิ่งสำคัญคือสตราโตสเฟียร์ ที่เย็นมากที่สุด และยังคงเป็นเช่นนี้เป็นเวลานาน เป็นสิ่งกระตุ้นการสูญเสียโอโซนโดยเฉพาะเขตขั้วโลก ในปัจจุบันขนาดและขอบเขตของการเย็นลงจะทำให้ชั้นโอโซนกลับคืนสภาพเดิมช้าออกไปอีก

11. ชั้นโอโซนจะกลับคืนสภาพหรือไม่ ถ้ากลับคืนจะเป็นเมื่อใด?

"การสูญเสียโอโซนเกิดจากสารประกอบคลอรีน และโบรมีนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นคาดว่าจะค่อยๆ หายไปประมาณกลางศตวรรษที่ 21 เมื่อสารประกอบเหล่านี้ค่อยๆ หายไปจากบรรยากาศโดยขบวนการตามธรรมชาติ"

ความสำเร็จอันนี้เกิดจากข้อตกลงระหว่างประเทศในการหยุดผลิตและใช้สารทำลายโอโซน การปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเต็มที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ในการฟื้นฟูชั้นโอโซนได้ด้วยการดำเนินการต่างๆ ที่สำคัญๆ โดยย่อ ดังนี้

ปี ค.ศ.1981 มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงศักยภาพของคลอรีนและโบรมีนในการทำลายชั้นโอโซน

ปี ค.ศ. 1985 มีอนุสัญญาเวียนนาสำหรับพิทักษ์ชั้นโอโซน (Vienna Convention)

ปี ค.ศ. 1987 มีพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Montreal Protocol)

ปี ค.ศ. 1990 มีการแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ณ กรุงลอนดอน (London Amendment) ให้มีการเลิกผลิตและใช้สารทำลายโอโซน (CFCs, Halons) ภายในปี 2000 ในประเทศพัฒนาและ 2010 ในประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มมาตรการควบคุมสารตัวอื่นคือ CCl4 ภายในปี ค.ศ. 2000 และ Methyl Chloroform ภายในปี ค.ศ.2005 ในประเทศพัฒนา ปัจจุบันมีสมาชิกให้สัตยาบันแล้วจำนวน 136 ประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย

ปี ค.ศ. 1992 มีการแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ณ กรุงโคเปนฮาเกน (Copenhagen Amendment) โดยเปลี่ยนเวลาเลิกผลิต และใช้สารทำลายโอโซนให้เร็วขึ้นจากปี ค.ศ. 2000 เป็น 1996 สำหรับประเทศพัฒนา เพิ่มสารควบคุม ไฮโดรโบรโมฟลูออโรคาร์บอน (HBFCs) และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) สารทดแทนชั่วคราวซึ่งมีศักยภาพในการทำลายโอโซนต่ำ รวมทั้ง Methyl Bromide เข้าไปด้วย ปัจจุบันมีสมาชิกให้สัตยาบันแล้วจำนวน 101 ประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย

ปี ค.ศ. 1995 มีการแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ณ กรุงเวียนนา (Vienna Amendment) เกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น กำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 10 ปี ให้ประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการ ตามพันธกรณีของสารควบคุมกลุ่มสาร CFCs Halons CCl4 และ Methyl Chloroform รวมถึง ให้ใช้ปริมาณ Methyl Bromide ตามตัวเลขปี ค.ศ.1994 เป็นเกณฑ์

ปี ค.ศ. 1997 มีการแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ณ นครมอนทรีออล (Montreal Amendment) เกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมอื่นๆ เช่นการควบคุม Methyl Bromide ให้ลดลง 25 % 50% 75% 100% ภายในปี 1999 2001 2003 และ 2005 ตามลำดับ สำหรับประเทศพัฒนาให้ลดลง 20 % และ 100% ในปี ค.ศ. 2005 และ 2015 ตามลำดับในประเทศกำลังพัฒนา

ปี ค.ศ. 1999 มีการแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ณ กรุงปักกิ่ง (Beijing Amendment) เกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ควบคุมสารโบรโมคลอโรมีเทน และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

คลอรีนและโบรมีนเริ่มลดลงในปี ค.ศ. 1995 เพราะว่าต้องใช้เวลา 3-6 ปีในการคลุกเคล้ากับอากาศที่ผิวพื้น และขึ้นไปในบรรยากาศจากนั้นปริมาณคลอรีนจะเริ่มคงที่และลดลงอย่างช้าๆ ด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเต็ม ที่จะทำให้ชั้นโอโซนในบรรยากาศกลับคืนมาในสภาพปกติประมาณกลางศตวรรษที่ 21 การกลับคืนอย่างช้าๆ เทียบกับการถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดย CFCs เพราะต้องอาศัยเวลาในขบวนการตามธรรมชาติที่จะสลายคลอรีน และโบรมีนจากบรรยากาศ อายุของ CFCs ส่วนมากอยู่ในช่วง 50 ถึงหลายร้อยปี อย่างไรก็ตามอนาคตของชั้นโอโซนยังขึ้นกับองค์ประกอบอื่นนอกจากสารประกอบคลอรีนและโบรมีนด้วย เช่น มีเทน ไนตรัสออกไซด์ อนุภาคซัลเฟต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงเหตุนี้ชั้นโอโซน ดูเหมือนจะไม่เหมือนกับช่วงก่อนทศวรรษ 1980 นัก ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการค้นพบลักษณะการสูญเสียไปโอโซนและข้อตกลงต่างๆ จะช่วยให้การรักษา และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ รูปแสดงปริมาณคลอรีนและโบรมีนในอดีตและโปรเจคชั่นทำนายผลหากไม่มีพิธีสารมอนทรีออลและการแก้ไขต่างๆ แล้ว CFCs และสารทำลายโอโซนอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นในบรรยากาศ ปริมาณ คลอรีนและโบรมีนเทียบกับปี ค.ศ. 1980 จะเป็น 10 เท่าประมาณในปี ค.ศ. 2050 ตรงกันข้ามการมีข้อตกลงต่างๆ จะให้ผลการปล่อยสารทำลายโอโซนเป็นไปตามเส้นประดังรูป