สาระการเรียนรู้แกนกลาง คืออะไร

Successfully reported this slideshow.

Your SlideShare is downloading. ×

หลักสูตรแกนกลาง

สาระการเรียนรู้แกนกลาง คืออะไร

  1. 2. สรุปหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2551 การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติ ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก ไม่ว่าจะหลักสูตรใดก็ตาม หากนำไปใช้แล้วพบว่ามีข้อจำกัดบางประการก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลังการนำไปใช้ระยะหนึ่ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีปัญหาบางประการ เช่น ด้านตัวชี้วัดหรือคุณลักษณะความรู้ความสามารถของผู้เรียนภายหลังจากเรียนจบแต่ละช่วงชั้นแล้วยังขาดความชัดเจน อีกทั้งครูผู้สอนโดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากไม่สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ได้
  2. 3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ .2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 1 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนใน แต่ละระดับ
  3. 4. นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ .) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม
  4. 5. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2544 ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. เพิ่มวิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและปรับจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้สถานศึกษาจัดทำวิสัยทัศน์ของหลักสูตรในระดับสถานศึกษา แต่ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ในระดับชาติ ทำให้เป้าหมายทิศทางของการจัดการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพ ในการปรับปรุงจึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรในระดับชาติขึ้นเพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ดังนี้
  5. 6. " หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ " โดยมีจุดมุ่งหมายพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย การมีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
  6. 7. 2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิมไม่มีการกล่าวถึงสมรรถนะ หลักสูตรใหม่ เพิ่มสมรรถนะสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕ ด้าน คือ ๑ ) ความสามารถในการสื่อสาร ๒ ) ความสามารถในการคิด ๓ ) ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔ ) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕ ) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยครูผู้สอนต้องปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
  7. 8. 3. ปรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรเดิมไม่มีการกล่าวถึง หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย ๑ ) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒ ) ซื่อสัตย์สุจริต ๓ ) มีวินัย ๔ ) ใฝ่เรียนรู้ ๕ ) อยู่อย่างพอเพียง ๖ ) มุ่งในการทํางาน ๗ ) รักความเป็นไทย ๘ ) มีจิตสาธารณะ สถานศึกษาสามารถกําหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมได้โดยมุ่งพัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
  8. 9. 4 . ปรับตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู์ ปฏิบัติได์ รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนใน แต่ละระดับชั้นตัวชี้วัดนําไปใช้ในการกําหนดเนื้อหา จัดทําหน่วยการเรียนรู้การจัดการสอนเป็นเกณฑ์สําคัญสําหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป .1 - ม .3 ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม .4- ม .6 โดยการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา เพราะเดิมมีการกำหนดมาตรฐานช่วงชั้นกว้าง ๆ แล้วให้โรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละปีเอง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีความแตกต่างระหว่างหลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นอย่างมาก
  9. 10. 5. การกำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล โดยคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดหลักสูตรใหม่มี 8 กลุ่มสาระ และ 67 มาตรฐาน 6. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ เสริมให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยสร้างจิตสํานึก อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์
  10. 11. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัย เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี เช่น ลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุมหรือชมรมกิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ เช่นกิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ การมุ่งเน้นแต่ละระดับป .1- ป .6 เน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคํานวณ การคิดพื้นฐานการติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและพื้นฐานการเป็นมนุษย์ เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ
  11. 12. 7. เวลาเรียน ป .1- ป .6 จัดการเรียนเป็นรายปี เรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง กําหนดให้กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนทั้ง 3 กิจกรรมในชั้นป . 1- ม .3 ปีละ 120 ชั่วโมง และกําหนดให้สถานศึกษาจัดสรรเวลากิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ ในขั้น ป .1- ป .6 รวม 60 ชั่วโมง ( ปีละ 10 ชั่วโมง ) การจัดการเรียน รู้เป็นกระบวนการสําคัญนําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติผู้สอนต้องพยายามคัดสรรการเรียนรู้โดยช่วยให้ ผู้เรียนเรียนผ่านสาระที่กําหนดไว้ในหลักสูตรประกอบด้วย 1. หลักการจัดการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล และการพัฒนาสมองเน้นให้ความรู้และคุณธรรม 2. กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดการผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนา ผู้สอนต้องทํา ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ แล้วพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
  12. 13. 8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียนการประเมินตามตัวชี้วัดจะสะท้อนสมรรถนะผู้เรียน การประเมินมี 4 ระดับ คือ ๑ ) ชั้นเรียน ๒ ) สถานศึกษา ๓ ) เขตพื้นที่การศึกษา ๔ ) ชาติ การประเมินในชั้นเรียนจะประเมินโดยครู ผู้เรียน เพื่อน หรือผู้ปกครองก็ได้ต้องใช้เทคนิคประสบการณ์หลากหลายและสม่ำเสมอ เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการ บ้านการใช้แบบทดสอบ ฯลฯ
  13. 14. 9. เกณฑ์การวัดและการประเมินผลการเรียนผู้สอนต้องคํานึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน เก็บข้อมูลสม่ำเสมอและต่อเนื่องระดับประถมศึกษาผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม้น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนดผู้เรียน ต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการตัดสินผลจะให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือร้อยละก็ได้ การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ระดับ ดีเยี่ยม ดี และ ผ่านการประเมินกิจกรรมและพัฒนาผู้เรียน ผ่านไม่ผ่านการรายงานผลการเรียน ต้องรายงานให้ ผู้ปกครองทราบ เป็นระยะๆ อย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง
  14. 15. อ้างอิง http://learners.in.th/blog/art6/286286

สาระการเรียนรู้แกนกลางมีความสำคัญอย่างไร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การ ...

การเรียนรู้แกนกลางคืออะไร

หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักสูตรในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรแกนกลางมี องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง โครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน ซึ่งระบุการจัดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรม ...

สาระการเรียนรู้แกนกลาง มีอะไรบ้าง

สาระการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับการศึกษา การจัดเวลาเรียน โครงสร้างเวลาเรียน การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้

หลักสูตรแกนกลางเป็นแบบไหน

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล