พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คืออะไร

พ.ร.บ. ไซเบอร์ ฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีมาตรการในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากการบุกรุกโจมตีไซเบอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

กฎหมายฉบับนี้ถูกบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนซึ่งมีภารกิจหรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศรวมทั้งสิ้น 8 กลุ่ม ได้แก่ ด้านความมั่นคงของรัฐ, ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ, ด้านการเงินการธนาคาร, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม, ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์, ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค, ด้านสาธารณสุข และด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนดเพิ่มเติม

พ.ร.บ. ไซเบอร์คืออะไร?

พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดย พ.ร.บ. นี้ มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562  โดยมีสาระสำคัญคือแนวทางในการจัดการ การป้องกัน การรับมือ และการลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลากรและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการให้ความรู้และความตระหนักถึงภัยไซเบอร์อีกด้วย พ.ร.บ. ไซเบอร์

ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้มีประกาศจัดตั้งคณะกรรมการ 3 คณะได้แก่ 

  1. คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กมช. (National Cyber Security Committee : NCSC) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่เสนอนโยบาย จัดทำแผนแม่บท กำหนดมาตรฐานและแนวทางส่งเสริมพัฒนา ยกระดับทักษะความรู้ของเจ้าหน้าที่ ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ถูกกำหนดแล้ว
  2. คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ กกม.  มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน      มีหน้าที่ดูแลและดำเนินการเพื่อรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับร้ายแรง กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการประเมินความเสี่ยง การตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น 
  3. คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ กบส. มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ทำหน้าที่ดูแลงานด้านการบริหารงานทั่วไป

ทั้งสามคณะทำงาน จะทำหน้าที่ดูแลโครงสร้างบริการพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ 8 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านความมั่นคงของรัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติก ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข และด้านอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพิ่มเติม

ครอบคลุมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตาม พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ ด้วยบริการจากเรา
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ที่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้ง 8 กลุ่มต้องปฏิบัติตามอยู่ที่หมวดที่ 3 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ นโยบายและแผน การบริหารจัดการ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ ครอบคลุมตั้งแต่มาตรา 41 – 69 สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการได้ดังนี้

มีการกำหนดโครงสร้างและแนวทางการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
มีการกำหนดนโยบาย แผนงาน และกรอบการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
จัดทำแผนการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
มีการทดสอบด้านความมั่นคงปลอดภัย ค้นหาช่องโหว่ และทดสอบเจาะระบบ CII ที่สำคัญ
จัดทำแผนการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ รวมไปถึงแนวทางปฏิบัติ และการเฝ้าระวังทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
มีกลไกหรือขั้นตอนสำหรับเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ทั้งระดับไม่ร้ายแรง ระดับร้ายแรง และระดับวิกฤต
มีการตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ตรวจอิสระภายนอก
มีการประสานงานกับหน่วยงานควบคุมและกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
มีการพัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน
สร้างความตระหนักด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

จากปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายทั้งต่อระดับปัจเจกชนและระดับประเทศ ซึ่งนานาประเทศต่างให้ความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อรับมือกับปัญหาภัยคุกคามดังกล่าวอย่างมาก จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

THAI-PDPA ให้คำปรึกษาและบริการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.ฯ แบบครบวงจร

เพื่อให้องค์กรและบริษัท ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดเตรียมบุคลากร กระบวนการ และเครื่องมือในการดำเนินการสอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แม้ว่ากฎหมายอาจจะยังไม่ได้ประกาศใช้ในขณะนี้ แต่เราเปิดให้คำปรึกษาและบริการปกป้องข้อมูลตาม พ.ร.บ.ฯ แบบครบวงจร เพราะควรเตรียมพร้อมในกระบวนการ การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับ กฎหมายใหม่อีกจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของสมาชิกในองค์กรและการจัดการข้อมูลของฝ่ายบริหารในองค์กรของคุณ

สำหรับบริษัทและองค์กรที่กำลังเป็นกังวลว่าจะเตรียมบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยีอย่างไรให้พร้อมรองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในเดือนพฤษภาคมนี้ THAI-PDPA เปิดให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญแบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยี Data Protection Services ที่แนะนำให้ไปประยุกต์ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลพนักงานและลูกค้า

ผู้ที่สนใจใช้บริการ Data Protection Services ของ THAI-PDPA สามารถติดต่อฝ่ายขายที่ดูแลคุณหรือฝ่ายการตลาดได้ที่เบอร์ 0-2860-6659 หรืออีเมล