Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง

ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์
(Thai AirAsia X)

Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
IATA
XJ
ICAO
TAX
รหัสเรียก
EXPRESS WING
ก่อตั้งพ.ศ. 2557 (8 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1]
สะสมไมล์BIG [2]
ขนาดฝูงบิน8
จุดหมาย10
สโลแกนใคร ใคร...ก็บินได้ (Now Everyone Can Fly Xtra Long)
บริษัทแม่บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)[3]
สำนักงานใหญ่222 ท่าอากาศยานดอนเมือง อาคารส่วนกลาง ชั้นที่ 3 ห้องเลขที่ 3200 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10210
บุคลากรหลักธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ [4]
เว็บไซต์http://www.airasia.com

ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ (อังกฤษ : Thai AirAsia X, IATA: XJ, ICAO: TAX, Callsign: EXPRESS WING) เป็นสายการบินระยะไกลต้นทุนต่ำสายการบินแรกของประเทศไทย จากการร่วมลงทุนของสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย และ สายการบิน แอร์เอเชีย เอกซ์ โดยให้บริการเที่ยวบินประจำจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เริ่มให้บริการครั้งแรกในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - โซล (อินช็อน) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557[5] และขยายเส้นทางบินสู่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว (นะริตะ) และ โอซะกะ (คันไซ) ในเวลาต่อมา

ด้วยกระแสการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในปี พ.ศ. 2558 จึงทำการขยายเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) และจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทำให้กรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น (JCAB) ได้ประกาศแจ้งไม่อนุมัติการเพิ่มความถี่และเส้นทางบินใหม่ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และการเปลี่ยนขนาดของอากาศยานสัญชาติไทยเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น มีผลตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 แต่หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับการอนุญาตจากกรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถทำการบินได้ในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ที่จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไปได้ ผ่านความร่วมมือของสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ (D7) เข้ามาให้บริการแทน และได้ขอเปลี่ยนแปลงหมายเลขเที่ยวบินจาก XJ เป็น D7 เป็นการชั่วคราว แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ยังไม่กลับมาสู่สภาวะปกติ จึงต้องทำการระงับการบินเป็นชั่วคราวในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

หลังจากที่ให้บริการสู่ประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อประเทศไทยกำลังเป็นที่นิยมจากตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน จึงได้เริ่มทำการขยายเปิดเส้นทางใหม่สู่ประเทศจีน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เซี่ยงไฮ้ (ผู่ตง) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จากนั้นในปี พ.ศ. 2559 ได้ขยายเส้นทางบินตรงสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เตหะราน (อิหม่ามโคไมนี) ประเทศอิหร่าน เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - มัสกัต ประเทศโอมาน ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 หลังจากนั้นไม่นานด้วยเหตุที่ตลาดนักท่องเที่ยวและการเดินทางไปท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นอาจยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เส้นทาง เตหะราน ประเทศอิหร่าน จึงได้ปิดให้บริการลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในเวลาต่อมาไม่นานเส้นทาง มัสกัต ประเทศโอมาน ก็ได้ปิดให้บริการลงด้วยในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ทางเว็บไซต์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปลดธงแดงให้กับสายการบินภายในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) จึงกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561 ล่าสุดได้เปิดเส้นทางไปยัง บริสเบน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562

จุดหมายปลายทางของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์[แก้]

  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศไทย
    • กรุงเทพฯ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลัก[1]
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศญี่ปุ่น
    • โตเกียว - ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ
    • โอซะกะ - ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ
    • ซัปโปะโระ - ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ (หยุดทำการบินชั่วคราว)
    • นาโงยะ - ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ (หยุดทำการบินชั่วคราว)
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศเกาหลีใต้
    • โซล - ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศจีน
    • เซี่ยงไฮ้ - ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง (หยุดทำการบินชั่วคราว)
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศจอร์เจีย
    • ทบิลีซี - ท่าอากาศยานนานาชาติทบิลิซิ (เริ่มทำการบิน ตุลาคม พ.ศ. 2565)
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศออสเตรเลีย
    • ซิดนีย์ - ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ (เริ่มทำการบิน ธันวาคม พ.ศ. 2565)
    • เมลเบิร์น - ท่าอากาศยานทัลลามารีน (เริ่มทำการบิน ธันวาคม พ.ศ. 2565)

จุดหมายปลายทางของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ในอดีต[แก้]

  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศไทย
    • กรุงเทพฯ - ท่าอากาศยานดอนเมือง ฐานการบินหลักจนถึง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565[1]
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศอิหร่าน
    • เตหะราน - ท่าอากาศยานนานาชาติอิหม่ามโคไมนี
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศโอมาน
    • มัสกัต - ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศออสเตรเลีย
    • บริสเบน - ท่าอากาศยานบริสเบน
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศญี่ปุ่น
    • ฟุกุโอกะ - ท่าอากาศยานฟุกุโอกะ (เปลี่ยนไปทำการบินโดยไทยแอร์เอเชีย)
  • Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
    ประเทศจีน
    • เทียนจิน - ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่
    • หนานชาง - ท่าอากาศยานนานาชาติหนานชางฉางเป่ย
    • เสิ่นหยาง - ท่าอากาศยานนานาชาติเสิ่นหยางเถาเซียน

ฝูงบิน[แก้]

ดูบทความหลักที่ : รายชื่อเครื่องบินของไทยแอร์เอเชียเอกซ์

ฝูงบินของสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564[6]

ฝูงบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์
เครื่องบินประจำการสั่งซื้อความจุผู้โดยสารหมายเหตุ
PYรวม
แอร์บัส A330-343 3 - 12 365 377
2 - 367 367 ซื้อจาก China Eastern Airlines
1 - 367 367 ซื้อจาก Singapore Airlines
แอร์บัส A330-941 2 - 12 365 377
รวม 8 -

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ไทยแอร์เอเชีย
  • รายชื่อเครื่องบินของไทยแอร์เอเชีย
  • รายชื่อเครื่องบินของไทยแอร์เอเชียเอกซ์

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 Chua2022-04-26T07:13:00+01:00, Alfred. "Thai AirAsia X marks return to service with Japan, South Korea relaunch". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  2. http://www.airasia.com/th/th/big/big-loyalty.page
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-30. สืบค้นเมื่อ 2014-09-23.
  4. Bloomberg Bussinessweek: Bijleveld, CEO of Thai AirAsia
  5. [1]
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-16. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.

สายการบินในกลุ่มแอร์เอเชีย

ภูมิภาค

แอร์เอเชีย · ไทยแอร์เอเชีย · อินโดนีเซียแอร์เอเชีย · แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ · แอร์เอเชียเซสต์ · แอร์เอเชียอินเดีย · แอร์เอเชียเจแปน

ระยะไกล

แอร์เอเชีย เอกซ์ · ไทยแอร์เอเชียเอกซ์ · อินโดนีเซียแอร์เอเชียเอกซ์

Airasia กับ airasia x ต่าง กัน ยัง ไง
สายการบินในประเทศไทย

บริการเต็มรูปแบบ

  • การบินไทย (ประจำชาติ)

ต้นทุนต่ำ

  • นกแอร์
  • ไทยแอร์เอเชีย
  • ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
  • ไทยไลอ้อนแอร์
  • ไทยเวียดเจ็ทแอร์

ภูมิภาคและเช่าเหมาลำ

  • บางกอกแอร์เวย์ส
  • การบินไทยสมายล์

ขนส่งสินค้า

  • เอพีไอคาร์โกแอร์ไลน์
  • เค-ไมล์ แอร์

อดีต

  • แอร์อันดามัน
  • แอร์ฟีนิคซ์
  • แอร์สยาม
  • แอนเจิลแอร์ไลน์
  • เอเชียแอตแลนติกแอร์ไลน์
  • ซิตี้แอร์เวย์
  • แฮปปี้แอร์
  • บิสิเนสแอร์
  • เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์
  • กานต์แอร์
  • นิวเจนแอร์เวย์ส
  • ภูเก็ตแอร์
  • วัน-ทู-โก
  • โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์
  • อาร์แอร์ไลน์
  • พีบีแอร์
  • อาร์แอร์ไลน์
  • เอสจีเอแอร์ไลน์
  • สยามแอร์
  • สกายสตาร์แอร์เวย์
  • โซล่าแอร์
  • ไทยแอร์คาร์โก
  • เดินอากาศไทย
  • ไทยแปซิฟิกแอร์ไลน์
  • ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์
  • ไทยสกายแอร์ไลน์
  • ไทยไทเกอร์แอร์เวย์
  • ไทยเจ็ทส์
  • ยู แอร์ไลน์
  • วิสดอมแอร์เวย์
  • นกสกู๊ต