จริยธรรมและจรรยาบรรณต่างกันอย่างไร

จึงสรุปได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม หมายถึง คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจโดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็น ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความถูกต้องในความประพฤติอันหมายความถึง การกระทำอย่างมีเสถียรในขอบเขตของมโนธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๓ : อ้างในจำนงอาศิรวัจ, ๒๕๓๐) ที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม ทั้งนี้คำนี้บางทีก็ใช้คู่กันว่าคุณธรรมจริยธรรม องค์ประกอบสำคัญที่สร้างพฤติกรรมทางจริยธรรม คือการกำหนดหลักจริยธรรมในสังคม ยกย่องคุณค่าของความประพฤติและการครองตนอยู่ในครรลองของความประพฤติที่ดีงามด้วยจิตสำนึกมโนธรรมของตนเองอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาจริยธรรม ต้องพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นใน ตัวบุคคล ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รู้จักควบคุมตัวเอง ขัดเกลากิเลส ลดความเห็นแก่ตัว ลด เลิก ละความโลภ โกรธ หลง เพื่อลดการมองตนเองเป็นใหญ่ สภาพของการพัฒนาคุณธรรมที่ผลิตคนดีมีคุณธรรมจุดเริ่มต้นที่การฝึกใจของตนเองให้อยู่ในกรอบของคุณงามความดี เมื่อฝึกตนดีแล้วย่อมพาตนไปสู่ชีวิตที่ดีในที่สุด

ประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องเหมาะสม ตามที่แต่ละอาชีพได้วางหลักไว้ให้เป็นจรรยาบรรณ ถ้าหากกระทำผิดย่อมมีความผิด

2.
ช่วยควบคุม และส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำนึกในหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ตนทำ

3.
ส่งเสริมและช่วยควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีปริมาณ และคุณภาพที่เชื่อถือได้มีบริการที่ดี และปลอดภัย

4.
ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม ไม่ทุจริตต่อหน้าที่ สามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

5.
ส่งเสริมให้ประกอบอาชีพประเภทต่างๆ มีความสำนึกว่าการประกอบอาชีพที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ตรงไปตรงมา เป็นกุศล สังคมยกย่อง

6.
จรรยาบรรณช่วยพิทักษ์สิทธิ์ และหน้าที่ของผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ ตามกฎหมาย เมื่อเราทราบถึงความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพแล้ว ทำให้เราสามารถปรับตัวเราเอง ให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องในการดำเนินวิชาชีพนั้นๆ ขณะเดียวกัน จะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่าง ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายควบคุมวิชาชีพ ซึ่งมีรายละเอียด คือ
-
จรรยาบรรณวิชาชีพ เกิดจากความต้องการของกลุ่ม ผู้ที่อยู่ภายในวงวิชาชีพนั้นเอง ที่ร่วมกันสร้างจรรยาบรรณ สำหรับวิชาชีพของตนขึ้นมาควบคุมกันเอง มิใช่ข้อบังคับจากรัฐเหมือนกฎหมาย
- จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นอุดมคติที่สูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย กฎหมายเป็นเพียงข้อบังคับที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แต่จรรยาบรรณวิชาชีพเป็นเพียงกฎระเบียบ อุดมคติของแต่ละวิชาชีพย่อมสูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยทั่วไปกฎหมายเป็นข้อบังคับ ไม่ให้คนฝ่าฝืนที่จะทำผิดเพื่อเอาเปรียบ และทำลายความสงบสุขของสังคม ห้ามทำร้ายกัน ถ้าใครฝ่าฝืนก็ถือว่าผิดกฎหมาย ไม่มีการบังคับว่าต้องช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น แต่จรรยาบรรณหรืออุดมคติกำหนดไว้ให้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
- จรรยาบรรณวิชาชีพเกิดจากความสมัครใจ ของผู้อยู่ในวิชาชีพนั้น โดยผู้อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน สร้างจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพของตนเองขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อควบคุมกันเอง ผู้ใดไม่เห็นด้วยและไม่สมัครใจ จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพก็สามารถกระทำได้ โดยไม่ทำงานวิชาชีพนั้น หยุดปฏิบัติวิชาชีพนั้น ต่างกับกฎหมายตรงที่บังคับว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ภายใต้กฎหมายแม้ว่าไม่สมัครใจ ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนั้นๆ ก็ตาม

-
จรรยาบรรณวิชาชีพต่างจากจริยธรรมหรือศีลธรรม ศีลธรรม จรรยาเป็นหลักควบคุมความประพฤติของทุกคนทั่วๆ ไป โดยรากฐานมาจากลัทธิ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ส่วนจรรยาบรรณวิชาชีพ ใช้สำหรับควบคุมความประพฤติ และเป็นแนวปฏิบัติสำหรับบุคคล เฉพาะกลุ่มในวิชาชีพเดียวกันเท่านั้น

คุณธรรม (Moral)  และจริยธรรม  (Ethics) ในทัศนะของจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความหมายดังต่อไปนี้

คุณธรรม หมายถึง หลักจริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีคุณงามความดีภายในจิตใจอยู่ในขั้นสมบูรณ์จนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความยินดี (ประภาศรี สีหอำไพ, 2543)

คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์มากมายและมีโทษน้อย(ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2538)

จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติที่มีธรรมะเป็นตัวกำกับ  จริยธรรมก็คือ ธรรมที่เป็นไปธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ( พระเทวินทร์ เทวินโท, 2544)

จริยธรรม ในความหมายของ สุนทร โคตรบรรเทา (2544) กล่าวว่า ถ้าจะตีความแคบ ๆจริยธรรมคงหมายถึง ศีลธรรมประการหนึ่งและคุณธรรมอีกประการหนึ่งรวมเป็นสองประการ   ด้วยกัน 

นอกจากนี้ วริยา ชินวรรโณ (2546) ได้ประมวลความหมายของคำว่า จริยธรรม ตามที่บุคคลต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ ดังนี้

พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินทปัญโญ) กล่าวว่า จริยธรรมเป็นสิ่งพึงประพฤติ จะต้องประพฤติ ส่วนศีลธรรม นั้น คือสิ่งที่กำลังประพฤติอยู่หรือประพฤติดีแล้ว 

วิทย์ วิศทเวทย์ อธิบายว่า จริยธรรมคือความประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์

สาโรช บัวศรี ให้ความหมายของจริยธรรมว่า คือ หลักความประพฤติที่อบรมกิริยาและปลูกฝังลักษณะนิสัยให้อยู่ในครรลองของของคุณธรรมหรือศีลธรรม 

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวว่า จริยธรรม คือสิ่งที่คนในสังคมเกิดความเชื่อถือซึ่งมีตัวตนมาจากปรมัตถสัจจะ

ก่อ สวัสดิพาณิชย์ กล่าวว่า จริยธรรม ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม

ดวงเดือน พันธุมนาวิน  (2538)  กล่าวว่า คำว่า จริยธรรม นั้น หมายถึง ระบบการทำความดีละเว้นความชั่ว ซึ่งเป็นระบบที่หมายถึงสาเหตุที่บุคคลจะกระทำหรือไม่กระทำ และผลของการกระทำและไม่กระทำ ตลอดจนกระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ด้วย สำหรับความหมายของจริยธรรมในการทำงาน ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538) กล่าวว่า คือ ระบบการทำความดีละเว้นความชั่ว ในเรื่องซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การทำงาน เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน และผลงานตลอดจนเกี่ยวข้องกับผู้รับผลประโยชน์หรือโทษจากผลงานนั้น ๆ

จากความหมายของทั้งสองคำดังกล่าว พบว่ามีความใกล้เคียงกันเป็นอย่างมากจึงมักเป็นคำที่ใช้คู่กัน แต่อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าการมีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในการทำงานหรือการประกอบวิชาชีพจะส่งผลให้บุคคลมีความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม

จรรยาบรรณหมายถึง

            จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม จากการสัมมนาของสำนักงานคณะกรรม การศึกษาแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้สรุปนิยามไว้ว่าจริยธรรม คือแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์

หรือ จรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์

คุณธรรมและจริยธรรมมีความหมายว่าอย่างไร

- คุณธรรม แปลวา สภาพคุณงามความดี - จริยธรรม แปลวา ธรรมที่เปนขอประพฤติปฏิบัติศีลธรรม กฎศีลธรรม

คุณธรรมและจรรยาบรรณมีความสำคัญอย่างไร

จรรยาบรรณจึงมีความสําคัญเพราะเป็นพืนฐานแนวทาง ต่อการปฏิบัติงานในอาชีพทุกอาชีพ ซึง จรรยาบรรณจะช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในองค์ก รในแต่ละบทบาทหน้าที ช่วยให้การปฏิบัติ หน้าที การทํางานเป็นไปโดยถูกต้อง รวมทังทําให้องค์กรมีความสามัคคีและปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมี ความสุขทําให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางาน นอกจากนันจรรยาบรรณจะ ...

ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติหมายถึงอะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎแห่งศีลธรรม

ข้อแตกต่างระหว่าง กฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณ แตกต่างกันอย่างไร

- จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นอุดมคติที่สูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย กฎหมายเป็นเพียงข้อบังคับที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แต่จรรยาบรรณวิชาชีพเป็นเพียงกฎระเบียบ อุดมคติของแต่ละวิชาชีพย่อมสูงกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยทั่วไปกฎหมายเป็นข้อบังคับ ไม่ให้คนฝ่าฝืนที่จะทำผิดเพื่อเอาเปรียบ และทำลายความสงบสุขของสังคม ห้ามทำร้ายกัน ถ้าใครฝ่าฝืนก็ ...