อุตสาหกรรมดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“สถาบันไอเอ็มซี” สำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลประเทศไทยให้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า (depa) เริ่มจากการสำรวจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และขยายมาเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

“สถาบันไอเอ็มซี” สำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลประเทศไทยให้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า (depa) ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี เริ่มจากการสำรวจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และขยายมาเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้งสั่งซื้อสินค้า ดูหนังฟังเพลง และส่งอาหาร

วิธีสำรวจข้อมูลอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทีมผู้สำรวจค้นหาข้อมูลรายได้บริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนในหมวดธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรมดิจิทัล รวมถึงนำตัวเลขนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาคำนวณมูลค่าอุตสาหกรรม รวมถึงสำรวจข้อมูลจำนวนจ้างงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมบริษัทต่างๆ เพื่อประมาณการจำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมทั้งสามที่ทีมไอเอ็มซีได้สำรวจแล้ว ดีป้ายังให้หน่วยงานอื่นสำรวจมูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ได้สำรวจมูลค่าอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งหากนำมูลค่าอุตสาหกรรมทั้ง 5 ด้านมารวมกัน จะพบว่า ช่วงปี 2564 อุตสาหกรรมดิจิทัลบ้านเรามีมูลค่าสูงถึง 1.58 ล้านล้านบาท ขยายตัว 14.33% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สะท้อนอัตราการเติบโตมาก และอาจสวนทางกับหลายๆ อุตสาหกรรมที่ชะลอตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์โควิด

ตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมทำให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการใช้ดิจิทัลกันอย่างมากและอุตสาหกรรมโตขึ้นทุกภาคส่วน ทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ โทรคมนาคม อุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงสุดคือ บริการดิจิทัล เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 37.76% มีมูลค่า 346,693 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่โตขึ้น 20.14% มีมูลค่า 386,892 ล้านบาท อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เติบโตขึ้น 13.04% มีมูลค่า 163,877 ล้านบาท และอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ เติบโตขึ้นน้อยที่สุดที่ 7% มีมูลค่า 42,065 ล้านบาท

นอกจากนี้ เราพบว่า สังคมไทยกำลังเข้าสู่บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้คนใช้งานแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ (e-Retail) รับชมสื่อออนไลน์ และใช้บริการขนส่ง (e-Logistics) มากขึ้น ซึ่งตลาดที่เติบโตชัดเจนคือ e-Logistics เช่น บริการสั่งอาหาร ถือเป็นตลาดที่มีการขยายตัวมากกว่า 57% เช่นเดียวกับ e-Retail ที่เติบโต 44%

ตลาดฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ พบว่า นำเข้าคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเพิ่มจาก 3.94 ล้านเครื่องในปี 2563 เป็น 5.89 ล้านเครื่องปี 2564 แม้แต่อุปกรณ์อย่างพรินเตอร์ที่เคยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนลดลง แต่ก็พบว่าปีที่แล้วมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าสู่สังคมดิจิทัลของไทย รวมถึงการล็อกดาวน์ และการทำงานจากระยะไกล (Work from Home)

ส่วนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ มูลค่า 66,093 ล้านบาท โตขึ้น 12.50% และบริการซอฟต์แวร์มีมูลค่า 97,784 ล้านบาท โตขึ้น 13.40% ในด้านซอฟต์แวร์มีมูลค่านำเข้าจากต่างประเทศสูง 40,153 ล้านบาท ทั้งพบว่า มูลค่าซอฟต์แวร์แบบคลาวด์ (Cloud) ที่ใช้งานผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ได้ยืดหยุ่น เติบโตมากกว่าแบบ On-Premise ที่เป็นรูปแบบเดิมๆ สะท้อนว่าผู้คนเริ่มสามารถทำงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่อยู่ที่ใดก็ได้

หากพิจารณาจำนวนบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมทั้งสาม พบว่า มีถึง 525,278 คน แบ่งเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะจำนวน 311,051 คน ซอฟต์แวร์ 129,544 คน และ บริการดิจิทัล 84,683 คน แต่ตัวเลขบุคลากรส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไอที ดังเช่น ในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์จะเป็นพนักงานการขายหรือพนักงานผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่โตมาก ทำให้สร้างการจ้างงานให้กับคนในอาชีพอื่นจำนวนมาก เช่น พนักงานส่งของ หรือพนักงานออนไลน์เป็นจำนวนมาก

แม้ตัวเลขอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยรวมโตค่อนข้างดีมาก แต่ถ้าพิจารณาถึงข้อมูลที่สำรวจจากรายได้ของบริษัทที่มีจำนวนสองหมื่นกว่าบริษัท แบ่งเป็น บริษัทด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 12,046 บริษัท ด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ 9,658 บริษัท และด้านอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล 523 บริษัท จะพบว่า บริษัทในอุตสาหกรรมมากกว่า 90% จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีการจ้างงานในบริษัทโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 10 คน

รายได้อุตสาหกรรมดิจิทัลส่วนใหญ่จึงมาจากจำนวนบริษัทที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก มีบริษัทเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน

ปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมดิจิทัลในบ้านเรา ไม่โตขึ้นไปได้มากกว่านี้ อยู่ที่บุคลากรด้านไอที ซึ่งยังมีจำนวนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคนเก่งๆ ที่มีการแย่งตัวในบริษัทขนาดใหญ่ และเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้บริษัทไม่โตและพัฒนาได้ต่อเนื่อง บริษัทขนาดเล็กก็หาบุคลากรที่มีความสามารถได้ยาก เมื่อขาดบุคลากรก็ต้องปิดตัวไป เห็นชัดว่า โอกาสอุตสาหกรรมดิจิทัลกำลังมีแต่ปัญหา ทุกคนเห็นคล้ายกัน คือเรายังขาดบุคลากร

โจทย์การเร่งพัฒนาบุคลากรด้านนี้ โดยเฉพาะคนที่ต้องมารองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง เอไอ บล็อกเชน บิ๊กดาต้า และเมตาเวิร์ส ยังจำเป็น ถ้าอยากเห็นอุตสาหกรรมดิจิทัลบ้านเราโตยิ่งขึ้น และลดพึ่งพานำเข้าเทคโนโลยี บริการจากต่างประเทศ และถ้าเรามีจำนวนบุคลากรที่มีคุณภาพมากพอ ไทยสามารถเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลได้

เรากำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก อันเนื่องมาจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่ชาญฉลาดและทันสมัยยิ่งกว่าเดิม จนได้รับการขนานนามว่าเป็นยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลหรือ Industry 4.0 นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Industry 4.0 ไม่ใช่แค่การลงทุนในเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิวัติวิธีดำเนินงานและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้วย เพราะมีแค่ธุรกิจที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบเท่านั้นที่จะสามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่เหนือคู่แข่ง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าได้

กว่าจะเป็น Industry 4.0 มีวิวัฒนาการอย่างไร และเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0 มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

อุตสาหกรรมดิจิทัล มีอะไรบ้าง

วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมจาก Industry 1.0 ถึง 4.0

ก่อนจะถึงยุค Industry 4.0 โลกของเราผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนวิธีการผลิตจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็นเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำและพลังงานน้ำ
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้โรงงานสามารถพัฒนาสายการผลิตที่ทันสมัย เพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างยิ่งใหญ่
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 คือ การปฏิวัติดิจิทัลที่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาดิจิทัลขั้นสูง มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในกระบวนการผลิตแทนที่แรงงานมนุษย์ด้วยระบบอัตโนมัติซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 คือ ยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อฐานข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการผลิตและบริการ ทำให้โรงงานมีกระบวนการผลิตที่ชาญฉลาดมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Internet of Things ปัญญาประดิษฐ์ และระบบ Automation ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองตามโปรแกรมที่มนุษย์ควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องจักรให้สามารถผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตได้มากขึ้น

เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0

อุตสาหกรรมดิจิทัล มีอะไรบ้าง

Internet of Things (IoT)

Internet of Things (IoT) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Smart Factory ในยุค Industry 4.0 โดยเครื่องจักรในโรงงานจะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์อัจฉริยะพร้อมระบุที่อยู่ IP จึงช่วยให้เครื่องจักรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกลไกเหล่านี้ทำให้สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสายการผลิตจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายธุรกิจ อีกทั้ง Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Cloud Computing

การประมวลผลแบบ Cloud Computing เป็นรากฐานสำคัญของ Industry 4.0 เพราะช่วยเชื่อมต่อความต้องการทั้งด้านการผลิต การบูรณาการด้านวิศวกรรม Supply Chain การขายและการบริการให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ข้อมูลจำนวนมากที่จัดเก็บไว้บนระบบ Cloud ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการใช้งานและการเติบโตของธุรกิจในแต่ละช่วงได้

AI และ Machine Learning

AI และ Machine Learning ช่วยให้ทุกธุรกิจใช้ประโยชน์จากปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นได้อย่างเต็มที่ ไม่จำกัดแค่ในโรงงานเท่านั้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยในการคาดการณ์และวางแผนระบบอัตโนมัติให้กับการดำเนินงานทางธุรกิจและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น การใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสินทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงข้อมูลรูปแบบการใช้งานของแต่สินทรัพย์ มาคาดการณ์ด้วยการสร้างอัลกอริธึมให้ระบบเกิดการเรียนรู้โดยสามารถระบุช่วงเวลาที่สินทรัพย์นั้นๆ มีแนวโน้มที่จะพังระหว่างกระบวนการดำเนินงานได้ ช่วยให้ธุรกิจวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ล่วงหน้า ป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Augmented Reality (AR)

เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) รองรับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น การเลือกชิ้นส่วนในคลังสินค้าและการส่งคำแนะนำการซ่อมแซมผ่านอุปกรณ์พกพา ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถแจ้งข้อมูลแบบทันทีหรือเรียลไทม์ให้แก่พนักงาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการตัดสินใจแก้ปัญหาและวางแผนขั้นตอนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cybersecurity

การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดและมีผลกระทบต่อเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology: OT) ได้แก่ Malware Phishing Spyware และการละเมิดความปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ Industry 4.0 จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ IT และ OT ด้วยการวางระบบ Cybersecurity เพื่อช่วยป้องกันโรงงานและสายการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย และอาจทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงักหรือเกิดความเสียหาย

Digital Twin

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ Industry 4.0 ทำให้ผู้ผลิตสามารถสร้าง Digital Twin หรือแบบจำลองเสมือนของกระบวนการผลิตในโรงงานและ Supply Chain โดยดึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT อุปกรณ์ Programmable Logic Control (PLC) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสามารถใช้ Digital Twin เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต ปรับปรุง Workflow และออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการจำลองกระบวนการผลิต หรือใช้ทดสอบการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเพื่อหาวิธีลดเวลาหยุดทำงานและปรับปรุงกำลังการผลิต

สรุป

Industry 4.0 คือยุคสมัยใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการเชื่อมต่อระหว่างกันของเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เช่น Internet of Things (IoT), Cloud Computing, AI, AR, Machine Learning, Cybersecurity และ Digital Twin เพื่อใช้เทคโนโลยีต่างๆ สร้าง Smart Factory ที่มีกระบวนการผลิตอัจฉริยะ พร้อมสร้างระบบนิเวศแบบองค์รวมและการเชื่อมต่อทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นด้านการผลิตและการจัดการ Supply Chain

ปัจจุบัน Industry 4.0 ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกบริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับเปลี่ยนทั้งด้านกระบวนการผลิต การทำงานร่วมกับคู่ค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ และบุคลากร นับจากนี้ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงาน และเพิ่มพูนทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับ Industry 4.0 ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสและการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อุตสาหกรรมดิจิตอลคืออะไร

อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามพลวัตรของเทคโนโลยี โดยนิยาม และขอบเขตได้วิวัฒนาการและขยายมาจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เดิม และสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในครั้งนี้ จะนิยามอุตสาหกรรมค่อนข้างกว้าง หมายถึง “อุตสาหกรรมการผลิต และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ...

เทคโนโลยีดิจิตอล มีอะไรบ้าง

11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล.
AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ... .
IoT หรือ Internet of Thing. ... .
Big data. ... .
Blockchain. ... .
5G. ... .
3D printing. ... .
Robots. ... .
Drone โดรน.

เศรษฐกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) คือเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(หรือเรียกว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทันยุคสมัย) เป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป กระบวนการผลิตการด าเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดินรวมทั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ...

เศรษฐกิจดิจิทัลมีพื้นฐานมาจากอะไร

เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ