หน้าที่ของการจัดการทางการเงินคืออะไร

การจัดการทางการเงินอาจถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่หรือหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไรค่าใช้จ่ายเงินสดและเครดิตเพื่อให้ "องค์กรมีวิธีที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างน่าพอใจที่สุด" [1]หลังมักจะกำหนดให้เป็นการเพิ่มมูลค่าของ บริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นผู้จัดการการเงิน[2] (FM) เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รายงานโดยตรงต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งมักเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (FD); ฟังก์ชั่นถูกมองว่าเป็น'พนักงาน'และไม่'เส้น'

บทบาท

โดยทั่วไปการจัดการทางการเงินเกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นโดยเน้นที่สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนและการจัดการความผันผวนของสกุลเงินต่างประเทศและวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ซึ่งมักจะผ่านการป้องกันความเสี่ยง (ดูการเงินขององค์กร§การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน ) ฟังก์ชั่นนอกจากนี้ยังมีรายละเอียดวันต่อวันจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพของเงินทุนและทำให้คาบเกี่ยวบริหารเงิน นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับระยะยาวการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการเงินที่มุ่งเน้นการ IA โครงสร้างเงินทุนการจัดการรวมถึงการระดมทุนงบประมาณเงินทุน (จัดสรรทุนระหว่างหน่วยธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์) และนโยบายการจ่ายเงินปันผล ; หลังเหล่านี้ในองค์กรขนาดใหญ่เป็นโดเมนของ " การเงินขององค์กร " มากกว่า

งานเฉพาะ:

  • กำไรสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อต้นทุนเท่ากับรายได้ร่อแร่นี่คือวัตถุประสงค์หลักของการจัดการทางการเงิน
  • การรักษากระแสเงินสดให้เหมาะสมเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นของการจัดการทางการเงิน จำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายประจำวันเช่นค่าวัตถุดิบค่าไฟฟ้าค่าจ้างค่าเช่าเป็นต้นกระแสเงินสดที่ดีทำให้ บริษัท อยู่รอดได้ ดูการคาดการณ์กระแสเงินสด
  • การลดต้นทุนเงินทุนในการจัดการทางการเงินสามารถช่วยให้การดำเนินงานได้รับผลกำไรมากขึ้น
  • การประมาณความต้องการเงินทุน: [3]ธุรกิจต่างๆทำการคาดการณ์เกี่ยวกับเงินทุนที่จำเป็นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังนั้นจึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของการระดมทุนได้ การประมาณจะขึ้นอยู่กับงบประมาณเช่นงบประมาณการขาย , งบประมาณในการผลิต ; เห็นนักวิเคราะห์งบประมาณ
  • การกำหนดโครงสร้างเงินทุน : โครงสร้างเงินทุนเป็นวิธีที่ บริษัท จัดหาเงินทุนให้กับการดำเนินงานโดยรวมและการเติบโตโดยใช้แหล่งเงินทุนที่แตกต่างกัน [4]เมื่อประมาณการความต้องการของเงินแล้วผู้จัดการการเงินควรตัดสินใจว่าจะใช้หนี้และตราสารทุนรวมทั้งประเภทของหนี้ด้วย

ความสัมพันธ์กับสาขาการเงินอื่น ๆ

การเงินสองด้านทับซ้อนกันโดยตรงกับการจัดการทางการเงิน: (i) การเงินการจัดการเป็นสาขาการเงิน (วิชาการ) ที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของการบริหารจัดการของเทคนิคทางการเงิน (ii) การเงินขององค์กรส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณเงินทุนระยะยาวและโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า

การจัดการการลงทุนที่เกี่ยวข้องคือการจัดการสินทรัพย์ระดับมืออาชีพของหลักทรัพย์ต่างๆ(หุ้นพันธบัตรและหลักทรัพย์ / ทรัพย์สินอื่น ๆ ) ในบริบทของการจัดการทางการเงินฟังก์ชั่นนี้อยู่กับคลัง โดยปกติแล้วการจัดการตราสารระยะสั้นต่างๆที่เหมาะสมกับข้อกำหนดการจัดการเงินสดและสภาพคล่องของ บริษัท ดูการจัดการธนารักษ์§ฟังก์ชั่น

คำว่า "การจัดการทางการเงิน" หมายถึงกลยุทธ์ทางการเงินของ บริษัท ในขณะที่การเงินส่วนบุคคลหรือการจัดการชีวิตทางการเงินหมายถึงกลยุทธ์การจัดการของแต่ละบุคคล วางแผนทางการเงินหรือการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเป็นมืออาชีพที่เตรียมแผนทางการเงินที่นี่

ดูสิ่งนี้ด้วย

  • การจัดการทางการเงินสำหรับบริการไอทีการจัดการทางการเงินของทรัพย์สินและทรัพยากรด้านไอที
  • Financial Management Serviceซึ่งเป็นสำนักงานของกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาซึ่งให้บริการทางการเงินสำหรับรัฐบาล
  • การจัดการทางการเงินที่ผิดพลาด

อ้างอิง

  1. ^ "ฮาวเวิร์ดและ Opton, การเงินธุรกิจและการจัดการทางการเงิน" อัพฟิน่า. สืบค้นเมื่อ2015-11-04 .
  2. ^ ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ,สำนักงานสถิติแรงงาน
  3. ^ นักวิเคราะห์งบประมาณสำนักสถิติแรงงาน
  4. ^ "นิยามโครงสร้างเงินทุน | Investopedia" . Investopedia . สืบค้นเมื่อ2015-11-04 .

อ่านเพิ่มเติม

  • Lawrence Gitman และ Chad J.Sutter (2019). หลักการบริหารการเงินฉบับที่ 14 สำนักพิมพ์แอดดิสัน - เวสลีย์ ISBN  978-0133507690
  • ไคลฟ์มาร์ช (2552). Mastering Financial Management , Financial Times Prentice Hall ไอ 978-0-273-72454-4
  • James Van Horne และ John Wachowicz (2009) พื้นฐานของการจัดการทางการเงิน , 13th ed., Pearson Education Limited ไอ 9705614229

สวัสดี ครับ

วันนี้เป็นวันแรกที่เราเขียนเรื่องการบริหารด้านการเงิน เพราะน้องๆ และเพื่อนๆ หลายท่านอยากให้อธิบายเกี่ยวกับการบริหารด้านการเงินสำหรับองค์กร และ บริษัททั่วไปเพื่อนำไปใช้ในการปฎิบัติให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น เราก็ยินดีที่จะรับมาดำเนินการให้ตามที่เสนอมาครับ  ซึ่งในบทความหลังๆ ต่อไปจากนี้ จะมีความยากมากขึ้น และอาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับการคำนวณด้วยครับ ขอให้โปรดติดตามต่อไปเรื่อยๆ นะครับ

ความหมายของการบริหารการเงิน 

การบริหารการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงินเช่นการจัดซื้อ และการใช้ประโยชน์จากเงินทุนขององค์กร ซึ่งใช้หลักการบริหารงานทั่วไปของทรัพยากรทางการเงินขององค์กร

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. การตัดสินใจลงทุนรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (เรียกว่า Capital budgeting) การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการลงทุนที่เรียกว่าการทำงานด้านการตัดสินใจลงทุนเช่นเดียวกัน และจะมีความสำคัญๆ อย่างมากสำหรับบริษัท หรือ องค์กรที่มีเงินสดเยอะๆ ในแต่ละเดือน หรือ ไตรมาส แต่เป็นเงินสดแบบหมุนเวียนเร็ว การบริหารงานแบบลงทุนระยะสั้น จะมีความสำคัญๆ อย่างมาก
  2. การตัดสินใจทางการเงิน  จะเป็นการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ  ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ และค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของเงินทุนที่ใช้ในการบริหาร เช่น เป็นเงินกู้ระยะยาว หรือ ระยะสั้น  หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดหวังที่จะได้รับ เป็นต้น
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน  ผู้จัดการฝ่ายการเงินมีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการกระจายการลงทุน และการบริหารผลกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนเหล่านั้น  ซึ่งกำไรสุทธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
    • เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น และ อัตราการจ่ายเงินปันผลจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และเป็นธรรม
    • กำไรสะสมขององค์กร จะต้องพิจารณาให้มีปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอสำหรับการวางแผนการขยายงานในอนาคตขององค์กร หรือ บริษัท โดยจะต้องมีการพิจารณาร่วมกับฝ่ายการตลาด  ฝ่ายการผลิต และ ผู้บริหารระดับสูง 

วัตถุประสงค์ของการจัดการทางการเงิน 

การจัดการทางการเงินมักจะมีความกังวลโดยทั่วไปเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุน เช่น การกู้ยืม หรือ การควบคุมการใช้จ่ายของเงินทุน ซึ่งสามารถแบ่งวัตถุประสงค์การจัดการทางการเงินออกเป็น ดังนี้

  1. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า คุณมีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจหรือบริหารงานได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
  2. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ เข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผลตอบแทนด้านเงินปันผลที่เพียงพอและคุ้มค่ากับการลงทุน
  3. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า การลงทุนในโครงการต่างๆ หรือ กิจการต่างๆ ภายในองค์กร และบริษัทฯ เป็นไปอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการเบิกจ่ายเงินไปใช้
  4. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า เงินทุนที่มีอยู่ถูกใช้ในธุรกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามมาตรฐานการลงทุนทางการเงิน และได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
  5. การบริหารเงินเพื่อให้แน่ใจว่า แผนการลงทุนต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์อย่างยากเย็นแสนเข็ญ ได้ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ และได้รับผลตอบแทนคุ้มกับการวางแผนไว้ล่วงหน้า มีความถูกต้องแม่นยำ หรือ มีความผิดพลาดในส่วนใด จะได้นำกลับมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการวางแผนทางการเงินในครั้งต่อๆ ไป

ฟังก์ชั่นของการจัดการทางการเงิน

  1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน : ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะเป็นผู้ทำหน้าที่พยากรณ์และทำการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามผลตอบแทนทางการเงินขององค์กร หรือ บริษัท และจะต้องบริหารค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางการเงิน ให้มีความเหมาะสม กับปริมาณเงินทุนขององค์กร หรือ บริษัท
  2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน : เมื่อผู้จ้ดการฝ่ายการเงินได้ทำการวางแผนการลงทุน ในองค์ประกอบต่างๆ ด้วยสัดส่วนทางการเงินที่ชัดเจน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนในธุรกรรมทางการเงินในแต่ละประเภท
  3. แหล่งที่มาของเงินทุน : สำหรับการเพิ่มเงินกองทุนของบริษัทฯ มีทางเลือกมากมาย เช่น
    • การขายหุ้นสามัญบริษัท  
    • การขายหุ้นกู้ระยะกลาง และระยะยาว
    • การกู้ยืมธนาคาร และสถาบันการเงิน
  4. แผนการลงทุนของบริษัทฯ :  ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการลงทุนในธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่มีความเหมาะสม ปลอดภัย และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
  5. การบริหารกำไรส่วนเกินต่างๆ : ผู้จัดการฝ่ายการเงินจำเป็นจะต้องมีการวางแผนบริหารเงินทุนของบริษัท หรือ องค์กร ที่เป็นกำไรส่วนเกินที่เป็นทั้งระยะสั้นๆ และระยะกลาง เช่น บริษัท ABC ทำธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดดำเนินการ 24 ชั่วโมง ทำให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามาในกิจการเป็นจำนวนมาก เพราะมีหลายสาขา ผู้จัดการฝ่ายการเงินมีหน้าที่ต้องบริหารการลงทุนด้านเงินสดที่มีมากและคงอยู่ในระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความปลอดภัยเพราะเป็นเงินทุนระยะสั้น
  6. การควบคุมทางการเงิน : ผู้จัดการทางการเงินไม่เพียงแต่ต้องวางแผนทางการเงินภายในองค์กร หรือกิจการเท่านั้น แต่จะต้องมีเครื่องมือที่สำคัญๆ สำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์อัตราเงินสดไหลเข้า และ อัตราเงินสดไหลออก ของกิจการให้ได้ด้วยความแม่นยำ ถูกต้องตามช่วงเวลาต่างๆ

สุดท้ายนี้ขอเตือนผู้จัดการฝ่ายการเงิน และนักวางแผนทางการเงินทุกๆ ท่านๆ ให้พัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่สามารถตรวจจับสภาพคล่องทางการเงินของกิจการท่าน ให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ และสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า เพราะองค์กรส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงิน และการวางแผนการลงทุนในโครงการต่างๆ ผิดพลาดไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่เสียไป เกิดจากขาดการเปรียบเทียบการลงทุนในธุรกรรมอื่นๆ หรือ การขาดเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เพียงพอ เป็นต้น  ก็ขออธิบายเพียงสั้นๆ สำหรับการเริ่มต้นไว้เพียงเท่านี้ก่อน และจะขออธิบายรายละเอียดในครั้งต่อๆ ไป ครับ

ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข ประสบแต่ความโชคดี พบมิตรที่ดี

เอกกมล เอี่ยมศรี

ผู้เรียบเรียง

http://www.interfinn.com 

https://eiamsri.wordpress.com 

กุมภาพันธ์ 23, 2013 - Posted by | Financial Management | Financial Management