สงครามครั้งใดสําคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่า

Authorกิตติ โล่ห์เพชรัตน์
Titleไทยรบพม่า : สงครามครั้งสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ / กิตติ โล่ห์เพชรัตน์, เรียบเรียง
Imprint กรุงเทพฯ : ก้าวแรก, 2556
Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
Descript 203 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 21 ซม

SUMMARY

"มันแสนสี่ กูเจ็ดหมื่น หาญยืนสู้ ให้มันรู้ ว่ากูน้อย ไม่ถอยหนี ดาบต่อดาบ เลือดต่อเลือด เชือดร่างพลี แผ่นดินนี้ เพื่อลูกหลาน ขานถึงกู" บทกลอนนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจอันเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของนักรบไทย ที่มีในยามศึกสงคราเก้าทัพ ที่ต่างสละชีพปกป้องบ้านเมืองให้รอดพ้นจากสงคราครั้งยิ่งใหญ่นี้ มหายุทธสงครามเก้าทัพ คือเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ที่เกิดขึ้นในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรสยามกับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ เพียง 3 ปี (พ.ศ. 2328) สงครามเก้าทัพเป็นศึกชี้ชะตาแห่งสยามประเทศ เป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งที่คนไทยมิควรลืมเลือน หนังสือเล่มนี้ได้บอกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามไทย โดยเน้นไปที่สงครามเก้าทัพ ผู้เขียนเลือกนำเรื่องราวที่คิดว่าน่าสนใจและน่าจะถูกต้องมานำเสนอ โดยนำมาร้อยเรียงจากมุมใดมุมหนึ่ง เนื้อหาที่กล่าวไว้อาจจะไม่ตรงกับความจริงหรือผิดเพี้ยนไปเมื่อนำไปเปรียบเทียบเคียงกับหลักฐานอีกทีหนึ่ง อย่างเช่น ปีศักราช ตามหลักฐานต่างๆ ที่อาจจะแตกต่างกัน หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณผ่านเรื่องราวของมหาศึกสงครามเก้าทัพ ที่ทรงปกป้องรักษาเอกราชของชาติไทย -- คำนำผู้เรียบเรียง

CONTENT

ประวัติศาสตร์สงครามไทย -- สาเหตุของการเกิดสงครามเก้าทัพ -- การจัดกำลังและยุทธวิธีการรบ -- มหาศึกสงครามเก้าทัพ -- บทวิเคราะห์และเหตุการณ์หลังสงครามเก้าทัพ -- สงครามต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ -- ประวัติบุคคลสำคัญในศึกสงครามเก้าทัพ -- กลยุทธ์ในศึกสงคราม -- พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ในการสงคราม

SUBJECT


  1. ไทย -- ประวัติศาสตร์
  2. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  3. 2325-
  4. สงครามเก้าทัพ

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor) 959.303 ก674ท CHECK SHELVES
สงครามครั้งใดสําคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่า
Interlibrary Loan Request
Central Library (5th Floor) 959.303 ก674ท CHECK SHELVES
สงครามครั้งใดสําคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่า
Interlibrary Loan Request

ไทย-พม่ารบกันมากว่า ๓๐๐ ปี สั่งเสียครั้งสุดท้ายสมัย ร.๔! ตีเชียงตุงหวังได้สิบสองปันนา!!

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2562 11:14   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่เราเปิดประเทศต้อนรับตะวันตกทุกชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างไทย-พม่าอีกจนได้ ซึ่งเป็นสงครามเดียวในรัชกาลนี้ เป็นสงครามครั้งที่ ๔๔ ระหว่างไทยกับพม่า และเป็นครั้งสุดท้ายที่รบราฆ่าฟันกันตลอดมากว่า ๓๐๐ ปี

สงครามครั้งนี้ไม่ใช่พม่าเป็นฝ่ายบุกเข้ามาเหมือนส่วนใหญ่ที่รบกัน แต่ไทยบุกขึ้นไปเหนือสุดจนถึงเมืองเชียงตุง ตามคำขอของราชวงศ์เชียงรุ้งที่อพยพหนีพม่ามาขอความช่วยเหลือจากไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้งนั้นประเทศราชในมณฑลพายัพพากันอาสาไปตีเชียงตุง จึงโปรดให้กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนยกขึ้นไปในปี ๒๓๙๒ แต่ยกไปไม่พร้อมกันทั้งยังขาดเสบียงจึงต้องเลิกทัพกลับมา จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเสด็จสวรรคต เรื่องตีเมืองเชียงตุงจึงค้างอยู่
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าฟ้าแสนหวีได้มีสาส์นมากราบทูลว่า การจลาจลวุ่นวายในเมืองเชียงรุ้งนั้นสงบลงแล้ว ขอพระราชทานอนุญาตให้เจ้านายเชียงรุ้งที่มารอฟังข่าวอยู่ที่กรุงเทพฯถึง ๓ ปี และมีครอบครัวมาคอยอยู่ที่เมืองน่านและเมืองหลวงพระบางซึ่งอยู่ในความปกครองของไทยก็มีมาก ให้กลับคืนบ้านเมือง และเจ้าเมืองเชียงรุ้งจะถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ปีครั้งอย่างประเทศราชอื่นต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชดำรัสว่า ราชวงศ์เชียงรุ้งกับบริวารหนีภัยมาพึ่ง เมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วใครประสงค์จะกลับไปก็ตามใจสมัคร ส่วนการจะตีเมืองเชียงตุงและเรื่องที่จะผูกพันกับเชียงรุ้งต่อไปอย่างไรนั้น ก็โปรดฯให้เสนาบดีปรึกษาหารือกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเหตุที่พระองค์ไม่ทรงบัญชาเรื่องนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเห็นว่า การทำศึกสงครามเป็นวิชาที่พระองค์ไม่มีโอกาสได้ทรงศึกษามาเลย

ส่วนเรื่องเมืองเชียงรุ้งนั้น คงทรงเห็นเหมือนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโหล ซึ่งเคยมีพระราชดำริมาก่อนว่า เมืองลื้อสิบสองปันนาเคยขึ้นกับพม่าและจีน และอาศัยไทยเป็นที่พึ่งเมื่อถูกพม่าหรือจีนเบียดเบียน แต่ก็ยากที่ไทยจะไปช่วยได้ เพราะหนทางไกลกันและกันดารมาก แต่จะทรงปฏิเสธก็ยาก

เผอิญในตอนนั้นอังกฤษตีเมืองพม่าเป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าพม่าคงจะมาช่วยเชียงตุงไม่ได้ เสนาบดีทั้งหลายจึงกราบทูลให้ถือโอกาสไปตีเชียงตุง เมื่อได้เชียงตุงแล้วก็จะได้สิบสองปันนาด้วยไม่ยาก แต่การตีครั้งนี้ควรให้มีกองทัพกรุงเทพฯขึ้นไปควบคุมกองทัพมณฑลพายัพด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงบัญชาตามมติคณะเสนาบดี ให้เกณฑ์คนหัวเมืองพายัพ ๑๐,๐๐๐ จัดเป็น ๒ ทัพ ให้เจ้าพระยายมราช (นุช บุณยรัตพันธ์) คุมทัพหน้าไปทางเชียงใหม่ ๑ กองทัพ กับกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นจอมพล คุมทัพหลวงไปทางเมืองน่านอีกทาง สมทบกันเข้าตีเชียงตุง กองทัพที่ยกไปครั้งนี้ตีหัวเมืองรายทางได้ตลอด จนเข้าล้อมเมืองเชียงตุง แต่ก็ฝ่ากำแพงเมืองเข้าไปไม่ได้ จนขาดแคลนเสียงอาหาร ต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักที่เชียงแสน

ในขณะนั้นได้มีการจัดทัพแบบยุโรปขึ้นในกรุงเทพฯแล้ว คณะเสนาบดีเห็นว่าเชียงตุงอ่อนกำลังลงแล้ว ควรจะเพิ่มกำลังทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าตีเชียงตุงให้ได้ในฤดูแล้งปี ๒๓๙๖ แต่ตอนนั้นพม่าสงบศึกกับอังกฤษแล้วจึงส่งกำลังมาเสริมทางเชียงตุง แต่ฝ่ายไทยไม่รู้ อีกทั้งกองทัพเจ้าพระยายมราชยังยกไปไม่ทันกำหนด กองทัพของกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเลยต้องเผชิญกับกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่า ต้องถอยทัพกลับมา สงครามไทย-พม่าที่ยืดเยื้อมากว่า ๓๐๐ ปีจึงสิ้นสุดลงในครั้งนี้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นที่ไทยตีเมืองเชียงตุงไม่สำเร็จ ก็เพราะไปทำสงครามในดินแดนของข้าศึก ซึ่งไทยไม่รู้จักภูมิประเทศ ทั้งยังประมาทไม่ขวนขวายในการสืบสวนหาข้อมูลให้สมกับกระบวนพิชัยสงคราม แต่ถึงแม้จะตีเมืองเชียงตุงได้ก็คงรักษาไว้ไม่อยู่ ด้วยเป็นดินแดนที่ห่างไทยแต่ใกล้พม่ามากกว่านั่นเอง