ลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณเป็นอย่างไร

จำนวนผู้เข้าชม: 0

โปรดให้คะแนนสื่อการเรียนรู้

ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ

ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีลักษณะอย่างไร

หากพิจารณาโดยรวมๆแล้วควรกล่าวได้ว่าการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นก็อาจสามารถนำ เอาระเบียบวิธีบางอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ (ในข้างต้น) มาใช้อยู่ด้วยเช่นกัน (โดยเฉพาะเมื่อเราตัดสินว่ากระบวนการวิจัย หรือการแสวงหาความรู้ที่เป็นระบบนับเป็นวิทยาศาสตร์ และ การวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างหนึ่งก็มีความเป็น วิทยาศาสตร์) แต่กระนั้นก็ตามการวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากการ วิจัยเชิงปริมาณอยู่พอสมควร ดังจะได้กล่าวต่อไป

ในที่นี้นักวิจัยเชิงคุณภาพจากตะวันตกหลายคน เช่น  John W. Creswell หรือ Rice and Ezzy ได้ให้ความเห็นไว้ในลักษณะเดียวกันว่า

“           การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความเข้าใจบนพื้นฐานของ ระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ ในกระบวนการนี้นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นองค์รวม วิเคราะห์ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด และดำเนินการศึกษาสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ”หรือของ Rice and Ezzy ที่กล่าวว่าการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการวิจัยที่ ให้ความสำคัญกับการตีความหมาย มุ่งทำความเข้าใจกับกระบวนการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความหมายที่สลับซับซ้อนและ ละเอียดอ่อน จุดมุ่งหมายของการวิจัยแบบนี้อยู่ที่กรองเอาข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์หรือ การกระทำ โดยคงไว้ซึ่งบริบทของเหตุการณ์หรือการกระทำเหล่านั้น…”

ดังที่นักวิชาการตะวันตกทั้ง ๓ ได้กล่าวไว้ การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นเรื่องของข้อมูล ประสบการณ์เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงคุณภาพในสายตาของนักวิชาการข้างต้นนั้นก็ยังไม่ ใช่เทคนิควิจัยที่สามารถใช้ได้ตลอดกาล แต่ยังต้องอาศัยทฤษฎีอื่นๆที่หลากหลายมาใช้ในการศึกษาวิจัยร่วมด้วยเช่น ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology)  ทฤษฎีปฏิสังสรรค์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism) หรือจิตวิทยา (Psychology) ทฤษฎีการศึกษาวิจัยทางวัฒนธรรม (Cultural Studies) เป็นต้น ทั้งนี้ทฤษฎีวิจัยที่นำมาใช้ร่วมนั้นก็อาจมีเทคนิควิธีการบางอย่างที่คล้าย คลึงกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย

เมื่อกล่าวถึงลักษณะกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นพบว่ามีนักวิชาการจำนวนมาก ที่ได้เรียบเรียงไว้ให้ศึกษากันอย่างกว้างขวาง โดยสรุปแล้วแบ่งได้เป็น ๑๐ ขั้นตอนกล่าวคือ

๑)  การวิจัยเชิงคุณภาพต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ 

นับเป็นกุญแจที่สำคัญอย่างแรกของการวิจัยประเภทนี้ โดยที่ผู้วิจัยจะต้องไม่เข้าไปควบคุมตัวแปร ตั้งสมมติฐาน หรือคาดเดาผลการวิจัยไว้ล่วงหน้า ฯลฯ แต่จะต้องปล่อยให้สถานการณ์ต่างๆดำเนินไปเองโดยธรรมชาติทุกขั้นตอนแม้แต่ใน การเก็บข้อมูล

๒)  การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่อิงตรรกะแบบอุปนัย 

หมายถึงในการวิจัยนั้นผู้วิจัยจะต้องพยายามใส่ใจต่อข้อมูลทุกด้านที่ได้มา อย่างกว้างขวางทั้งในทางลึกและทางกว้าง เพื่อจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาปะติดปะต่อหาความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของประเภท รูปแบบ และมิติอย่างเป็นธรรมชาติ และโดยไม่มีการตั้งธงไว้ว่าจะให้เป็นไปเพื่อการทดสอบสมมติฐานและทฤษฎีใดๆ

๓)  การวิจัยเชิงคุณภาพคือการมุ่งทำความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม 

การมุ่งทำความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวมนั้น หมายถึงการมุ่งศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสนามวิจัยอย่างเป็นเหตุเป็นผล กันอิงอาศัยกัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เพียงเป็นการสรุปว่าแต่ละส่วนเป็นความสัมพันธ์กันในเชิง เหตุผลเพียงอย่างเดียว แต่อาจต้องพิจารณาไปถึงว่าแต่ละส่วนนั้นล้วนเป็นฟันเฟืองที่ประกอบกัน (ซึ่งซับซ้อนยิ่งไปกว่าความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลเพียงอย่างเดียว)

๔)  การวิจัยเชิงคุณภาพต้องมุ่งใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก

ข้อมูลเชิงคุณภาพที่กล่าวถึงได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การอธิบายแนวคิดแบบเจาะลึก ตรงประเด็นของผู้ให้ข้อมูลที่เป็น Key Informant ที่สำคัญและของชุมชนในสนามวิจัย

๕)  การติดต่อโดยตรงและการมีส่วนร่วมกับประชากรกลุ่มเป้าหมายคือหัวใจของการวิจัยเชิงคุณภาพ 

ในส่วนนี้ผู้วิจัยที่เลือกเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมโดย ตรงกับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสนามวิจัย (อันสืบเนื่องมาจากข้อที่ ๔) หรือเข้าไปสัมผัสกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสนามวิจัย ในที่นี้ตัวผู้วิจัยเองจึงมีฐานะเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ โดยมีวิจารณญาณ ทักษะความชำนาญและประสบการณ์ในการสังเคราะห์วิเคราะห์ข้อมูลเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญในการแปลผลการวิจัยออกมาให้เป็นรูปธรรมผ่านการพรรณนาความด้วย

๖)  การมุ่งทำความเข้าใจในปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังศึกษาในลักษณะที่ เป็นพลวัตเป็นความสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ

หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจอยู่เสมอว่าในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ นั้นการเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค (ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สังเกตปรากฏการณ์ ผู้บันทึกปรากฏการณ์โดยไม่พยายามที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงใดๆ หากแต่ควรบันทึกข้อมูล ทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างเป็นกลางโดยทั่วถึงและรอบด้านให้มากที่สุด)

๗) การมุ่งให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบหรือกรณีศึกษาเฉพาะต่างๆอย่างเท่าเทียม เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้การวิเคราะห์ผลการวิจัยประสบความสำเร็จ

ในที่นี้หมายถึงการที่ผู้วิจัยเชิงคุณภาพจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆที่ พิจารณาดูแล้วว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ (เช่น ผู้คน ชุมชน หรือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจนำมาใช้ประกอบการศึกษาเฉพาะกรณีได้ เช่น ปรากฏการณ์ของคนขอหวยตามต้นไม้ที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันในชุมชนที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์ของการทรงเจ้าเข้าผีของชุมชนรากหญ้าในท้องถิ่นต่างๆเปรียบเทียบ กับการเสี่ยงเซียมซีของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร ฯลฯ การไม่ละเลยต่อรายละเอียดเหล่านี้และการนำรายละเอียดเหล่านี้มาช่วย วิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้การวิจัยที่ดำเนินการ อยู่ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๘) การมุ่งให้ความสำคัญกับบริบทของสิ่งที่ศึกษาต่างๆในมิติที่แตกต่างกัน 

อย่างไรก็ตามในบางครั้งผู้วิจัยอาจพบว่าข้อมูลที่ค้นพบต่างๆในสนามวิจัยนั้น อาจมีความคล้ายคลึงกันหรือเป็นไปในทางเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วการค้นพบข้อมูลนั้นอาจไม่ได้ให้นัยยะที่เหมือนกันตาม ที่ผู้วิจัยคิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในบางครั้งการนำข้อค้นพบบางอย่างที่ดูว่ามีความคล้าย คลึงกัน (ตามข้อ ๗) ก็อาจให้คำตอบที่แตกต่างกันออกไปได้ ทั้งนี้เพราะการตีความหรือการวิเคราะห์ใดๆนั้นก็ยังจำเป็นต้องอาศัยการ พิจารณาบริบทที่แตกต่างกันออกไปทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ เงื่อนไขด้านเวลา สถานที่ ฯลฯ ได้เช่นกัน (แล้วแต่กรณี) ดังนั้นในขณะที่ผู้วิจัยต้องให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบหรือกรณีศึกษาเฉพาะ ต่างๆอย่างเท่าเทียมแล้วก็ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงมิติที่แตกต่างกันของสิ่ง เหล่านั้นด้วยเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ “หลุมพรางของการวิจัยเชิงคุณภาพ” ได้

๙) การวิจัยเชิงคุณภาพต้องออกแบบการวิจัยให้ยืดหยุ่น 

การออกแบบการวิจัยที่ยืดหยุ่นนี้เป็น “คุณลักษณะพิเศษ” อย่างหนึ่งของการใช้เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ (ซึ่งในกรณีนี้ต้องถือว่าตรงกันข้ามกับการวิจัยเชิงปริมาณด้วย) เพราะโดยธรรมชาติของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นต้องการความยืดหยุ่นอย่างยิ่งใน การทำงาน เนื่องจากตามปรกติแล้วสนามวิจัย (Field Study) ของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมักจะมีความเคลื่อนไหว(หรือหรือมีลักษณะที่เป็น พลวัต)อยู่เสมอ ดังนั้นการออกแบบการวิจัยให้มีความยืดหยุ่น รองรับต่อความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานั้นถือเป็นสิ่งที่จำ เป็นมากในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ซึ่งประโยชน์ของการที่ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยให้ยืดหยุ่นนั้นมีหลาย ประการ เช่น ทำให้ได้ข้อมูลที่ลงลึกได้มากที่สุด ทำให้สามารถติดตามหรือค้นหาข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่ๆในสนามวิจัยได้โดยอิสระ อันจะทำให้ผลการวิจัยที่ออกมามีคุณค่าและมีสีสันได้มาก

๑๐) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือวิจัยที่หลากหลายและตัวผู้วิจัยคือเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย 

ในข้อนี้อาจถือเป็นความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการ วิจัยเชิงคุณภาพก็ได้ เพราะดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการวิจัยเชิงปริมาณนั้นค่อนข้างให้ความสำคัญ กับ “เครื่องมือวิจัย” ที่แน่นอน (เช่นกำหนดสถิติที่จะใช้ในการวิจัยที่แน่นอน กำหนดตัวแปรต้น – ตัวแปรตามที่แน่นอน กำหนดกลุ่มประชากรที่แน่นอน ฯลฯ) แต่สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพกลับให้ความสำคัญกับ “ความยืดหยุ่นของเครื่องมือวิจัย” การสามารถปรับเปลี่ยนหรือใช้เครื่องมือวิจัยให้หลากหลายเพื่อให้สามารถเก็บ ข้อมูลในสนามวิจัยมาให้มากที่สุด ลึกซึ้งที่สุดหรือหลายมิติมากที่สุด อย่างไรก็ตามในการวิจัยเชิงคุณภาพก็ยังคงยืนยันอยู่เสมอว่าตัวผู้วิจัยเองก็ ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัยประเภทนี้ (ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญกับการตัดสินใจ วิจารณญาณและความสามารถส่วนตัวของผู้วิจัยนั่นเอง)

ที่มา  www.vcharkarn.com

การวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะอย่างไร

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ทาในสถานการณ์ที่เป็น ธรรมชาติใช้วิธีการศึกษาและเครื่องมือในเก็บข้อมูลที่หลากหลาย เครื่องมือที่ส าคัญที่สุดคือนักวิจัยเอง ... ข้อเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพอยู่ที่การพรรณนารายละเอียด ของสิ่งที่ศึกษา มุ่งท าความเข้าใจพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมภายใน บริบทต่างๆ

การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยแบบใด จงอธิบาย

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ: (QUANTITATIVE RESEARCH) เป็นวิธีการค้นหาความรู้และความจริง โดยอาศัย ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณ มีการออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา • ใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้

ลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นอย่างไร

ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่มีขนาด ไม่สามารถวัดออกมาได้ เป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตของการรับรู้ทางความรู้สึก และสัมผัสเท่านั้น เช่น สี กลิ่น รส

แนวคิดใดเป็นพื้นฐานของการวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น