โคลงโลกนิติ มีความเป็นมาอย่างไร

โคลงโลกนิติ มีความเป็นมาอย่างไร

Show

ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นโคลงสี่สุภาพ บางบทมีภาษาบาลีกำกับด้วย จำนวน ๕๙๓ บท
ที่มา มาจากโลกนิติ(โล-กะ-นิ-ติ) เป็นคัมภีร์สอนของอินเดียโบราณ นีติ แปลว่า แนวทางในการดำเนินชีวิต โลก แปลว่า ชาวโลกหรือมนุษย์ คัมภีร์โลกนีติจึงหมายถึง หนังสือคำสอนที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อให้ประชาชนอ่านและรู้สุภาษิตต่างๆ และตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นตัวอย่างของโคลงสุภาพจารึกไว้ที่แผ่นศิลาประดับผนังศาลาพระมณฑป ๔ หลัง เมื่อคราวปฏิสังขรวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม
ประวัติผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ เจ้าจอมมารดานิ่ม (สกุล บุญหลง) พระนามเดิมพระองค์เจ้า(ชาย)มั่ง ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๓๖ ทรงเป็นหลานตาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (หน ต้นสกุล บุญหลง) ซึ่งมีนามที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าเจ้าพระยาคลัง(หน) ผู้มีฝีมือในการแต่งหนังสือจนได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกในรัชกาลที่๒ ได้ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์และสืบเนื่องมาถึงรัชการที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ จนสิ้นพระชนม์ พระกรณียกิจด้านวรรณกรรมเรื่องสำคัญๆได้แก่
๑.โคลงโลกนิติ
๒.โคลงภาพต่างๆ
๓ โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทร์
๔.ฉันท์สังเวยพระมหาเศวตฉัตร
๕.ฉันท์กล่อมมงคลคเชนทรชำนิเผือกพลาย
๖.ฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธบุษยรัตน์
๗.คำฤษฎี

๑.สอนให้ทำความดี
สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเอง
ถอดคำประพันธ์
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสาเหตุที่มา ผู้กระทำความดีย่อมได้รับผลดีตอบแทน ส่วนผู้ทำชั่ว ก็ย่อมได้รับผลชั่วที่ได้กระทำ เหมือนสนิมเหล็กที่กัดกร่อนตัวเอง
๒.สอนให้มีความเพียรในการศึกษาเล่าเรียน
ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น นักเรียน
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร ผ่ายหน้า
คนเกียจเกลียดหน่ายเรียน วนจิต
กลอุทกในตะกร้า เปี่ยมล้นฤามี
ถอดคำประพันธ์
นักปราชญ์เป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียรแม้ทำกิจการใดที่ยากก็ย่อมสำเร็จ (ทั่งคือแท่งเหล็กขนาดใหญ่) แต่คนเกียจคร้านการเรียนทำสิ่งใดก็ไม่สำเร็จเหมือนกับการตักน้ำใส่ในตะกร้า(อุทก หมายถึง น้ำ)

คุณค่าของเรื่อง
๑.คุณค่าทางด้านคติธรรมและคำสอน
โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีประเภทคำสอนที่มีสาระคำสอนที่กว้างขวางครอบคลุมความรู้สึกนึกคิดและชีวิตความเป็นอยู่ของชนทุกกลุ่ม คือ ผู้รู้หรือผู้มีปัญญา คนดี คนพาล ผู้เป็นมิตร สตรี ผู้ปกครอง รวมทั้งคำสอนทั่วไป
๒.คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีทีใช้ถ้อยคำสำนวนที่ไพเราะและมีความหมายลึกซึ้งคมคายด้วยกลวิธีการประพันธ์ต่อไปนี้
๑.นำธรรมชาติใกล้ตัวมาใช้เป็นความเปรียบเทียบ เช่นนำก้านบัวที่สามารถบอกความลึกของน้ำและหย่อมหญ้าที่สามารถบอกสภาพของดินมาเปรียบกับกิริยามารยาทของคนเราที่สามารถพิจารณาได้จากการอบรมเลี้ยงดู
๒.ใช้คู่เปรียบตรงข้าม ทำให้เห็นความหมายที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด เช่น
รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง

๓.ใช้คำเข้าใจง่าย ไม่ค่อยมีคำศัพท์ยากทำให้เข้าใจเนื้อคำสอนได้รวดเร็ว เช่น
รู้น้อยกว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ

๔.เล่นคำซ้ำต้นบาท ทำให้เกิดความไพเราะและเน้นย้ำความหมายเช่น
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง- เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤามี

ลักษณะโคลงสี่สุภาพ

โคลงโลกนิติ มีความเป็นมาอย่างไร

ลักณะโคลงสี่สุภาพ


เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
— ลิลิตพระลอ

แบบทบทวน
๑.หากเราจะคบเพื่อน เราควรนำบทประพันธ์ใดจากเรื่องมาใช้เป็นแบบอย่าง
๒.ในการทำความดีของคนเรานั้นในโคลงโลกนิติเปรียบเทียบกับสิ่งใด เพราะ…..
๓.ในโคลงโลกนิติบทใดที่สอนให้เราเป็นคนที่มีวาจาอ่อนหวาน
๔.โคลงโลกนิติบทใดที่เกี่ยวข้องกับสำนวนที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”

ที่มา หนังสือเรียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐานม.๑ วรรณคดีวิจักษ์

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

โคลงโลกนิติเป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโดยลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด)เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป

โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านหนังสือแบบเรียนในสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งใน หนังสืืิอดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน
ประวัติ

โคลงโลกนิติเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท และ พระไตรปิฎก เป็นต้น มาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. 2374 ก็มีดำริให้จารึกวิชาการสาขาต่างๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติของเก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน

จำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น 408 บท แต่ที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี 435 แผ่น (รวมโคลงนำ 2 บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติมเพื่อให้พอดีกับ

รวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์โดยกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เพื่อใช้เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียน โดยนำโคลงที่สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระไว้ 408 บท ที่ปรากฏในต้นฉบับสมุดไทย (รวมโคลงนำ 2 บท โคลงส่งท้าย 2 บท แ

หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์โคลงโลกนิติที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ร่วมกับโคลงโลกนิติสำนวนเก่าที่มีการค้นพบเป็นจำนวนมากจากหอพระสมุดวชิรญาณ พร้อมระบุคาถาอันเป็นที่มาของโคลง และจัดรวบรวมกันเป็นชุดๆ ได้โคลงภาษิตรวม 593 ชุด จำนวน 911 บท (ไม่รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 2 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2460

เป็นฉบับที่คณะกรรมการคัดสรรและเผยแพร่วรรณกรรมของชาติ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ นำต้นฉบับ หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง และ ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ มาสอบทาน แก้ไขอักขระ ตัดโคลงที่ซ้ำซ้อน เพิ่มเติมคาถา จัดทำคำอธิบายศัพท์ และจัดหมวดหมู่ใหม่ในโคลงบางชุด ทำให้ได้โคลงภาษิตรวม 594 ชุด จำนวน 902 บท (รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 4 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543