นาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่ให้อะไร

�ô��ҹ����ԡҡ�͹�ʴ��������
1. ��ͤ����ͧ��ҹ�Т���ʴ����ѵ��ѵԷѹ�շ�����Ѻ������
2. �����ʵ� ��ͤ�������������Դ�����ع�ç�ҧ�ѧ�� ��ͤ������������Դ�����������������������µ�ͺؤ�ŷ�����, �������Ѿ��,
�ٻ�Ҿ�������������������Ǫ������Ҿ����͹Ҩ�� ���͡�з��֧ʶҺѹ�ѹ�繷����þ ��������駡�з���Ѻ�Դ�ͺ����ͧ
����Ѻ�Դ�ͺ����ѧ�� ����ٻ�Ҿ ���͢�ͤ�����觼š�з���ͺؤ����� ����ҹ�����������������´������˹�ҷ��
���͵���Ѻ��Ǽ���зӼԴ����
3. ��Ҫԡ����ʵ��������ҹ�� �Ҩ�١���Թ��շҧ�����¨ҡ������������
4. ���͹حҵ����ա���ɳ��Թ���� � ������ ��駷ҧ�ç��зҧ����
5. �ء�����Դ����繢�ͤ������ҧ����������������������駡�з������䫵� �ҧ���䫵� kroobannok.com �������ǹ����Ǣ�ͧ�� ������
6. �ҧ����ҹ��ʧǹ�Է���㹡��ź��з����������������ѹ�� ������ͧ�ա�ê��ᨧ�˵ؼ��� �����Ңͧ������繹�鹷�����
7. �ҡ������ٻ�Ҿ ���͢�ͤ���������������� ��س����ҷ�������� [email protected] ���ͷӡ��ź�͡�ҡ�к�����

 ** ����Ҫ�ѭ�ѵ���Ҵ��¡�á�зӼԴ����ǡѺ���������� �.�.����**

������㹤�������дǡ ���ͧ�ҡ��һ��ʺ�ѭ��
�ռ���ʵ��ͤ����������������������������繨ӹǹ�ҡ
��ٺ�ҹ�͡�ͷ����֧�ͤ������������Ҫԡ
��س��������к���͹�ʴ�������繤�Ѻ��Ѥ���Ҫԡ����

นาฏศิลป์ไทย จัดเป็นศิลปะการแสดงอันเต็มไปด้วยความงดงาม , อ่อนช้อย อีกทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับประเทศไทยมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะต้องมีองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดงเต็มไปด้วยความงดงามสมบูรณ์ ได้แก่

นาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่ให้อะไร

ลีลาท่าทางร่ายรำ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีเอกลักษณ์ คือ เป็นการแสดงที่มีท่าทางร่ายรำสวยงาม ด้วยการประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ ให้เป็นระเบียบแบบแผน ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราว รวมทั้งสื่อความหมายในการแสดง เช่น ระบำพรหมาสตร์ คือ ท่าทางร่ายรำแบบนางฟ้า เป็นต้น

จังหวะใช้ในการแสดง

จังหวะคือการฝึกขั้นพื้นฐาน ที่ใช้แสดงนาฏศิลป์ โดยผู้แสดงนาฏศิลป์ จะต้องทำความเข้าใจกับจังหวะ , ดนตรี อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถร่ายรำ ออกท่าทางได้ถูกต้องตามจังหวะ ถ้าคุณแสดงไม่ถูกต้องตามจังหวะ จะทำให้การแสดงไม่สวยงาม

ดนตรีใช้ประกอบการแสดง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงเพื่อประกอบการแสดง โดยบทเพลงที่ใช้บรรเลงเพลง จะต้องนำมาประกอบกับกิริยาท่าทางของแต่ล่ะตัว โดยตัวละครสามารถแบ่งออกเป็น หน้าพาทย์ธรรมดากับหน้าพาทย์ชั้นสูง ส่วนใหญ่แล้วจะบรรเลงด้วยไม่มีเนื้อร้อง นอกจากนี้การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ จะต้องบรรเลงโดยดูจากความหมายและอารมณ์ของตัวละครในบริบทนั้นๆด้วย

คำร้องหรือเนื้อร้อง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะประกอบด้วยชุดการแสดงที่มีทั้งบทร้องและไม่มีบทร้อง ซึ่งการแสดงแบบมีเนื้อร้องจะทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น โดยทางผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องประดิษฐ์ให้มีความเหมาะสมกับคำร้อง เพื่อให้ผู้แสดงถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างถูกต้องและมีความสวยงามอีกด้วย เช่น ระบำดาวดึงส์ ที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความยินดีปรีดา เป็นต้น

แต่งกาย – แต่งหน้า

การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะเป็นการแสดงที่มีความสวยงามและบ่งบอกถึงความเป็นไทย จึงทำให้การแสดงมีเอกลักษณ์ เช่น การแสดงโขนซึ่งมีการแต่งกายอันงดงาม มีโขนที่นำมาสวมศีรษะพร้อมตกแต่งลวดลายประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างวิจิตร โดยโขนก็จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของตัวละคร

อุปกรณ์ใช้ประกอบการแสดง

อุปกรณ์จัดเป็นองค์ประกอบนาฏศิลป์ที่มีความสำคัญอีกหนึ่งชนิดหนึ่ง ที่ทำให้การแสดงมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ แต่อย่างไรก็ตามการแสดงนาฏศิลป์ไทยในบางชุด อาจไม่มีอุปกรณ์ประกอบก็ได้ หากแต่บางชุดก็มีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเข้ามา ทำให้การแสดงมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น รำฟ้อนเทียน มีอุปกรณ์สำคัญ คือ เทียน โดยจะนิยมแสดงในช่วงกลางคืน แสงเทียนที่สว่างไสวท่ามกลางความมืด จะทำให้การแสดงมีความงดงามมาก

ใบความรู้

ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ คือ ศิลปะการร้องรำทำเพลง ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต
และมีแบบแผน ให้ความรู้ ความบันเทิง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรือง ของชาติได้เป็นอย่างดี


ความเป็นมาของนาฏศิลป์

             นาฏศิลป์ หรือศิลปะแห่งการแสดงละครฟ้อนรำนั้น มีความเป็นมาที่สำคัญ 4 ประการคือ

            1. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้ปรากฏออกมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายเป็นสำคัญเริ่มตั้งแต่

            1.1 มนุษย์แสดงอารมณ์ตามธรรมชาติออกมาตรง ๆ เช่น การเสียใจก็ร้องไห้ ดีใจก็ปรบมือหรือส่งเสียงหัวเราะ

1.2 มนุษย์ใช้กริยาอาการเป็นการสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้น กลายเป็นภาษาท่า เช่น กวักมือเข้ามาหาตัวเอง

1.3 มีการประดิษฐ์คิดท่าทางให้มีลีลาที่วิจิตรบรรจงขึ้น จนกลายเป็นท่วงทีลีลาการฟ้อนรำที่งดงามมีลักษณะที่เรียกว่า “นาฏยภาษา”หรือ “ภาษานาฏศิลป์” ที่สามารถสื่อความหมายด้วยศิลปะแห่งการแสดงท่าทางที่งดงาม

2. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีต่าง ๆ ที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อบูชาสิ่งที่ตนเคารพตามลัทธิศาสนาของตน ต่อมาจึงเกิดเป็นความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา โดยจะเริ่มจากวิงวอนอธิษฐาน จนมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า ต่าง ๆ การเล่นดนตรี การร้องและการรำ จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เทพเจ้าเกิดความพอใจมากยิ่งขึ้น

3. เกิดจากการเล่นเลียนแบบของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในขั้นต้นของมนุษย์ ไปสู่การสร้างสรรค์ศิลปะแบบต่าง ๆ นาฏศิลป์ก็เช่นกันจะเห็นว่ามนุษย์นิยมเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์เองสังเกตจาก เด็ก ๆ ชอบแสดงบทบาทสมมุติเป็นพ่อเป็นแม่ในเวลาเล่นกัน เช่น การเล่นตุ๊กตา การเล่นหม้อข้าวหม้อแกง หรือเลียนแบบจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทำให้เกิดการเล่น เช่น การเล่นงูกินหาง การแสดงระบำม้า ระบำกาสร ระบำนกยูง ( ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล : ม.ป.ป. )

4. เกิดจากการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ หลังจากการหยุดพักจากภารกิจประจำวัน เริ่มแรกอาจเป็นการเล่านิทาน นิยาย มีการนำเอาดนตรีและการแสดงท่าทางต่าง ๆ ประกอบเป็นการร่ายรำจนถึงการแสดงเป็นเรื่องราว

ใบความรู้

ประวัตินาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ไทย คือ ศิลปะแห่งการร่ายรำที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย จากการสืบค้นประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย และวัฒนธรรมไทย จากหลักฐานที่ยืนยันว่านาฏศิลป์มีมาช้านาน เช่นการสืบค้นในหลักศิลาจารึกหลักที่ 4 สมัยกรุงสุโขทัย พบข้อความว่า “ระบำรำเต้นเล่นทุกวัน” แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยที่สุด นาฏศิลป์ไทย มีอายุไม่น้อยกว่ายุคสุโขทัยขึ้นไป

            สรุปที่มาของนาฏศิลป์ไทยได้ดังนี้

1. จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงและความรื่นเริงของชาวบ้าน ภายหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งไม่เพียงเฉพาะนาฏศิลป์ไทยเท่านั้น ที่มีประวัติเช่นนี้ แต่นาฏศิลป์ทั่วโลกก็มีกำเนิดจากการเล่นพื้นเมืองหรือการละเล่นในท้องถิ่น เมื่อเกิดการละเล่นในท้องถิ่น การขับร้องโต้ตอบกันระหว่างฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ก็เกิดพ่อเพลงและแม่เพลงขึ้น จึงเกิดแม่แบบหรือวิธีการที่พัฒนาสืบเนื่องต่อ ๆ กันไป

2. จากการพัฒนาการร้องรำในท้องถิ่นสู่นาฏศิลป์ในวังหลวง เมื่อเข้าสู่วังหลวงก็มีการพัฒนารูปแบบให้งดงามยิ่งขึ้น มีหลักการ และระเบียบแบบแผน ประกอบกับพระมหากษัตริย์ไทย ยุคสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นกวีและนักประพันธ์ ดังนั้นนาฏศิลป์รวมทั้งการดนตรีไทย จึงมีลักษณะงดงามและประณีต เพราะผู้แสดงกำลังแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง และต่อหน้าพระมหากษัตริย์ผู้ที่มีความสามรถในเชิงกวี ดนตรี และนาฏศิลป์เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่ากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงเปี่ยมล้นด้วยความสามารถด้านกวี ศิลปะอย่างแท้จริง บางองค์มีความสามารถด้านดนตรีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะยุครัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยได้แสดงให้โลกได้ประจักษ์ถึงความสามารถด้านนี้ กวีและศิลปะ เช่น รัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีจนเป็นที่ยอมรับของวงการดนตรีทั่วโลก

เอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทย

1. มีท่ารำอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย ตลอดจนใช้ลีลาการเคลื่อนไหวที่ดูสอดคล้องกัน

            2. เครื่องแต่งกายจะแตกต่างกับชาติอื่น ๆ มีแบบอย่างของตนโดยเฉพาะ ขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร เครื่องแต่งกายบางประเภท เช่นเครื่องแต่งกายยืนเครื่อง การสวมใส่จะใช้ตรึงด้วยด้ายแทนที่จะเย็บสำเร็จรูป เป็นต้น

3. มีเครื่องประกอบจังหวะหรือดนตรีประกอบการแสดง ซึ่งอาจมีแต่ทำนองหรือมีบทร้องผสมอยู่

4. ถ้ามีคำร้องหรือบทร้องจะเป็นคำประพันธ์ ส่วนมากแล้วมีลักษณะเป็นกลอนแปด สามารถนำไปร้องเพลงชั้นเดียว หรือสองชั้นได้ทุกเพลง คำร้องนี้ทำให้ผู้สอนหรือผู้รำกำหนดท่ารำไปตามบทร้อง

ใบความรู้

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะที่รวมศิลปะทุกแขนงเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ โขน ละครรำ ระบำ การละเล่นพื้นเมือง

1. โขน

เป็นศิลปะของการรำ การเต้น แสดงเป็นเรื่องราว โดยมีศิลปะหลายรูปแบบผสมผสานกัน ลักษณะการแสดงโขนมีหลายชนิด ได้แก่ โขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก ซึ่งโขนแต่ละชนิดมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งสำคัญที่ประกอบการแสดงโขน คือ บทที่ใช้ประกอบการแสดงจากเรื่องรามเกียรติ์ การแต่งกายมีหัวโขน สำหรับสวมใส่เวลาแสดงเพื่อบอกลักษณะสำคัญ ตัวละครมีการพากย์ เจรจา ขับร้อง และดนตรีบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ ยึดระเบียบแบบแผนในการแสดงอย่างเคร่งครัด

            ประเภทของโขน

            โขน เป็นศิลปะการแสดงที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมขนบธรรมเนียม

ประเพณี ทำให้เกิดรูปแบบของโขน หลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะองค์ประกอบของการแสดง ดังนี้

1. โขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงกลางสนาม ใช้ธรรมชาติ เป็นฉากประกอบ นิยมแสดงตอนที่มีการทำศึกสงคราม เพราะจะต้องใช้ตัวแสดงเป็นจำนวนมาก และต้องการแสดงถึงการเต้นของโขน การเคลื่อนทัพของทั้งสองฝ่าย การต่อสู้ ระหว่างฝ่ายพระราม พระลักษณ์ พลวานร กับฝ่ายยักษ์ ได้แก่ ทศกัณฑ์

            2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นโขนที่มีวิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง หากเปลี่ยนสถานที่แสดงบนโรง มีราวไม้ไผ่ขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง สำหรับตัวโขน นั่งแสดง รูปแบบของการแสดงดำเนินเรื่องด้วยการพากย์และเจรจา

            3. โขนโรงใน เป็นการนำเอารูปแบบการแสดงโขนโรงนอก มาผสมผสานกับการแสดงละครใน ที่มีการขับร้อง และการร่ายรำของผู้แสดง ดำเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา มีการขับร้อง ประกอบท่ารำ เพลงระบำผสมผสานอยู่ด้วย

4. โขนหน้าจอ ได้แก่ โขนที่ใช้จอหนังใหญ่เป็นฉากประกอบการแสดง กล่าวคือ มีจอหนังใหญ่เป็นฉาก ที่ด้านซ้ายขวาเขียนรูปปราสาท และพลับพลาไว้ทั้งสองข้าง ตัวแสดงจะออกแสดงด้านหน้าของจอหนังดำเนินด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง รวมทั้งมีการจัดระบำ ฟ้อนประกอบด้วย

            5.  โขนฉาก เป็นรูปแบบโขนที่พัฒนาเป็นลำดับสุดท้าย กล่าวคือเป็นการแสดงในโรง มีการจัดทำฉาก เปลี่ยนไปตามเรื่องราวที่กำลังแสดง ดำเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา และขับร้อง ร่ายรำประกอบคำร้องมีระบำ ฟ้อนประกอบ

2. ละคร
             คือ การแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว มุ่งหมายก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนาน เพลิดเพลิน หรือเร้าอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ดู ตามเรื่องราวนั้น ๆ ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวคิดคติธรรมและปรัชญา จากการละครนั้น

            ประเภทของละครไทย

ละครไทยเป็นละครที่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นละครไทยจึงมีรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ ประเภทดังต่อไปนี้

1.ละครรำ

2. ละครร้อง

3. ละครพูด

3. การละเล่นพื้นเมือง

             การละเล่นพื้นเมืองเป็นการละเล่นในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน  แบ่งออกเป็น
ภาคกลางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน แต่ละภาคจะมีลักษณะเฉพาะในการแสดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์  ประเพณี  ศาสนา  ความเชื่อและค่านิยม  ทำให้เกิดรูปแบบการละเล่นพื้นเมืองขึ้นหลายรูปแบบ  ได้แก่ รูปแบบการแสดงที่เป็นเรื่องราวของการร้องเพลง  เช่น เพลงเกี่ยวข้าว  เพลงบอก  เพลงซอ หรือรูปแบบการแสดง เช่น ฟ้อนเทียน  เซิ้งกระหยัง ระบำตารีกีปัส
ซึ่งแต่ละรูปแบบนี้จะมีทั้งแบบอนุรักษ์ปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ดำรงอยู่สืบไป

ใบความรู้

นาฏยศัพท์

            นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และสื่อความหมายกันในวงการนาฏศิลป์ไทย

นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ

    1. 1. หมวดนามศัพท์  หมายถึง ท่ารำสื่อต่างๆ ที่บอกอาการของท่านั้นๆ
                      1.1  วง เช่น วงบน วงกลาง

    2.     1.2  จีบ เช่น จีบหงาย จีบคว่ำ จีบหลัง

    3.     1.3  ท่าเท้า เช่น ยกเท้า ประเท้า กระดก

    4. 2.  หมวดกิริศัพท์ คือ ศัพท์ที่ใช้ในการปฏิบัติอาการกิริยา แบ่งออกเป็นศัพท์เสริมและศัพท์เสื่อม
                        2.1  ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เสริมท่วงทีให้ถูกต้องงดงาม  เช่น  ทรงตัว  ส่งมือ เจียง  ลักคอ  กดไหล่ ถีบเข่า เป็นต้น

    5.      2.2  ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกท่ารำที่ไม่ถูกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและต้องแก้ไขท่วงทีของตนให้เข้าสู่ระดับ เช่น วงล้า วงตัก วงล้น รำเลื้อย รำลน เป็นต้น

                   3. หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด คือ ศัพท์ที่นอกเหนือจากนามศัพท์ กิริยาศัพท์ ซึ่งจัดไว้เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด มีดังนี้

                      เหลี่ยม หมายถึง ระยะเข่าทั้งสองข้างแบะออก กว้าง แคบ มากน้อยสุดแต่จะเป็นท่าของพระ หรือนาง ยักษ์ ลิง เหลี่ยมที่กว้างที่สุด คือเหลี่ยมยักษ์

                      เดินมือ หมายถึง อาการเคลื่อนไหวของแขนและมือ เพื่อเชื่อมท่า

                       แม่ท่า หมายถึง ท่ารำตามแบบมาตรฐาน เช่น แม่บท

                       ขึ้นท่า หมายถึง ท่าที่ประดิษฐ์ให้สวยงาม แบ่งออกเป็น

    1.               ก. ขึ้นท่าใหญ่ มีอยู่ 4 ท่า คือ
                                  1) ท่าพระสี่หน้า แสดงความหมายเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่
                                   2) ท่านภาพร แสดงความหมายเช่นเดียวกับพรหมสี่หน้า
                                  3) ท่าเฉิดฉิน แสดงความหมายเกี่ยวกับความงาม
                                   4) ท่าพิสมัยเรียงหมอน มีความหมายเป็นเกียรติยศ

    2.              ข. ขึ้นท่าน้อย มีอยู่หลายท่าต่างกัน คือ
                                    1) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบัวบาน อีกมือหนึ่งจีบหลัง
                                    2) ท่ายอดต้องต้องลม  

    3.             3) ท่าผาลาเพียงไหล่
                              4) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบน อีกมือหนึ่งตั้งวงกลาง เหมือนท่าบังสุริยา
                              5) ท่าเมขลาแปลง คือมือข้างที่หงายไม่ต้องทำนิ้วล่อแก้ว

                   พระใหญ่ – พระน้อย หมายถึง ตัวแสดงที่มีบทสำคัญพอๆ กัน พระใหญ่ หมายถึงพระเอก เช่น
      อิเหนา  พระราม   ส่วนพระน้อย มีบทบาทเป็นรอง เช่น สังคามาระตา พระลักษณ์
                  นายโรง หมายถึง พระเอก เป็นศัพท์เฉพาะละครรำ
                   ยืนเครื่อง หมายถึง แต่งเครื่องละครรำครบเครื่อง
                   นางกษัตริย์ บุคลิกท่วงทีเรียบร้อย สง่ามีทีท่าเป็นผู้ดี

                  นางตลาด ท่วงทีว่องไว สะบัดสะบิ้งไม่เรียบร้อย เช่น นางยักษ์ นางแมว เป็นต้น


      ภาษาท่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด ส่วนมากใช้ในการ

      แสดงนาฏศิลป์และการแสดงละครต่างๆ ภาษาท่าแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. 1. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ไป มา เรียก ปฏิเสธ

  2. 2. ท่าทางที่ใช้แทนอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ

  3. 3. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง

                การร่ายรำท่าต่างๆ นำมาประกอบบทร้องเพลงดนตรี โดยมุ่งถึงความสง่างามของลีลาท่ารำ และจำเป็นต้องอาศัยความงามทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทเรียน บทพากย์ และเพลงดนตรีพันทางนาฏศิลป์เรียกว่า การตีบท หรือการรำบท

ใบความรู้

เรื่อง รำวงมาตรฐาน

ประวัติรำวงมาตรฐาน

             รำวงมาตรฐาน เป็นการแสดงมาจากรำโทน  เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน    แต่เดิมรำโทนก็เล่นกันเป็นวงการเปลี่ยนจากรำโทนเป็นรำวงก็ยังคงรูปลักษณ์เดิมไว้ส่วนที่พัฒนาคือท่ารำ จัดให้เป็นท่ารำไทยพื้นฐานอย่างง่ายๆ สู่โลกสากล เรียนรู้ง่าย เป็นเร็ว สนุก และเป็นแบบฉบับของไทยโดยแท้ ทางด้านเนื้อร้องได้พัฒนาในทำนองสร้างสรรค์ รำวงที่พัฒนาแล้วนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน เนื้อเพลงในรำวงมาตรฐานมีทั้งหมด 10 เพลง แต่ละเพลงจะบอกท่ารำ (จากแม่บท) ไว้ให้พร้อมปฏิบัติ

ชื่อเพลงรำวงมาตรฐานและท่ารำที่ใช้

                        ชื่อเพลง

ท่ารำ

   1. งามแสงเดือน
  2. ชาวไทย

   3. รำมาซิมารำ

   4. คืนเดือนหงาย

   5. ดวงจันทร์วันเพ็ญ

  6. ดอกไม้ของชาติ

   7. หญิงไทยใจงาม

   8. ดวงจันทร์ขวัญฟ้า

9.  ยอดชายใจหาญ

10. บูชานักรบ

 1. สอดสร้อยมาลา

 2. ชักแป้งผัดหน้า

 3. รำส่าย

 4. สอดสร้อยมาลาแปลง

5. แขกเต้าเข้ารัง

6. รำยั่ว

7. พรหมสี่หน้า, ยูงฟ้อนหาง

8. ช้างประสานงา, จันทร์ทรงกลดแปลง

9. (หญิง) ชะนีร่ายไม้ (ชาย) จ่อเพลิงกาฬ

10. เที่ยวแรก (หญิง) ขัดจางนาง

                      (ชาย) จันทร์ทรงกลด

      เที่ยวสอง (หญิง) ล่อแก้ว

                      (ชาย) ขอแก้ว

ลักษณะท่ารำแบบต่างของรำวงมาตรฐาน

         

            รำส่าย                       สอดสร้อยมาลา                ชักแป้งผัดหน้า              แขกเต้าเข้ารัง

               

         ช้างประสานงา,                     รำยั่ว                        ขัดจางนาง             สอดสร้อยมาลาแปลง

     จันทร์ทรงกลดแปลง                                               จันทร์ทรงกลด

                            

                               ชะนีร่ายไม้ จ่อเพลิงกาฬ                              พรหมสี่หน้า

ใบความรู้

เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

             นาฏศิลป์ไทย เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างและสั่งสมภูมิปัญญามาแต่โบราณ เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอารยประเทศของชาติไทยที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน นานาประเทศในโลกต่างชื่นชนนาฏศิลป์ไทยในความงดงามวิจิตรบรรจง เป็นศิลปะที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอด แนวทางในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

            1. การอนุรักษ์รูปแบบ หมายถึง การรักษาให้คงรูปดังเดิม เช่น เพลงพื้นบ้านก็ต้องรักษาขั้นตอนการร้อง ทำนอง การแต่งกาย ท่ารำ ฯลฯ หรือหากจะผลิตขึ้นใหม่ก็ให้รักษารูปแบบเดิมไว้

            2. การอนุรักษ์เนื้อหา หมายถึง การรักษาในด้านเนื้อหาประโยชน์คุณค่าด้วยวิธีการผลิต
การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา เช่น เอกสาร และสื่อสารสนเทศต่างๆ

            การอนุรักษ์ทั้ง 2 แบบนี้ หากไม่มีการสืบทอดและส่งเสริม ก็คงไว้ประโยชน์ในที่นี้จะขอนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมเพื่ออนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย ดังนี้

            1. จัดการศึกษาเฉพาะทาง ส่งเสริมให้มีสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์จัดการเรียนการสอน เพื่อสืบทอดงานศิลปะด้านนาฏศิลป์ เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันเอกชน องค์กรของรัฐบางแห่ง ฯลฯ

            2. จัดการเรียนการสอนในขั้นพื้นฐาน โดยนำวิชานาฏศิลป์จัดเข้าในหลักสูตรและเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนทุกระดับ ตามระบบที่ควรจะให้เยาวชนได้รับรู้เป็นขั้นตอนตั้งแต่อนุบาล – ประถม มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ตลอดจนสถาบันการศึกษาทุกระดับ จัดรวบรวมข้อมูลต่างๆ
เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า และบริการแก่ชุมชนได้ด้วย

            3. มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งวิทยุ    โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
โดยนำศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นการสร้างบทบาทของความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จัก

            4. จัดเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน โดยทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

            5. ส่งเสริมและปลูกฝังมรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายในครอบครัว ให้รู้ซึ้งถึงความเป็นไทยและอนุรักษ์รักษาเอกลักษณ์ไทย

ใบความรู้

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

             นาฏศิลป์ไทย เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างและสั่งสมภูมิปัญญามาแต่โบราณ เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอารยประเทศของชาติไทยที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน นานาประเทศในโลกต่างชื่นชนนาฏศิลป์ไทยในความงดงามวิจิตรบรรจง เป็นศิลปะที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอด

แนวทางในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

  1. 1. การอนุรักษ์รูปแบบ หมายถึง การรักษาให้คงรูปดังเดิม เช่น เพลงพื้นบ้านก็ต้องรักษาขั้นตอนการร้อง ทำนอง การแต่งกาย ท่ารำ ฯลฯ หรือหากจะผลิตขึ้นใหม่ก็ให้รักษารูปแบบเดิมไว้

  2. 2. การอนุรักษ์เนื้อหา หมายถึง การรักษาในด้านเนื้อหาประโยชน์คุณค่าด้วยวิธีการผลิต การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา เช่น เอกสาร และสื่อสารสนเทศต่างๆ

                การอนุรักษ์ทั้ง 2 แบบนี้ หากไม่มีการสืบทอดและส่งเสริม ก็คงไว้ประโยชน์ในที่นี้จะขอนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมเพื่ออนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย ดังนี้

  1. 1. จัดการศึกษาเฉพาะทาง ส่งเสริมให้มีสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์จัดการเรียนการสอน เพื่อสืบทอดงานศิลปะด้านนาฏศิลป์ เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันเอกชน องค์กรของรัฐบางแห่ง ฯลฯ

  2. 2. จัดการเรียนการสอนในขั้นพื้นฐาน โดยนำวิชานาฏศิลป์จัดเข้าในหลักสูตรและเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนทุกระดับ ตามระบบที่ควรจะให้เยาวชนได้รับรู้เป็นขั้นตอนตั้งแต่อนุบาล – ประถม มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ตลอดจนสถาบันการศึกษาทุกระดับ จัดรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า และบริการแก่ชุมชนได้ด้วย

  3. 3. มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ โดยนำศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นการสร้างบทบาทของความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จัก

  4. 4. จัดเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน โดยทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

  5. 5. ส่งเสริมและปลูกฝังมรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายในครอบครัว ให้รู้ซึ้งถึงความเป็นไทยและอนุรักษ์รักษาเอกลักษณ์ไทย

    ใบงาน

    นาฏศิลป์ไทย


    คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1. 1. นาฏศิลป์ไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

      ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………