หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด

เหตุการณ์

พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่อาฬวกยักษ์ว่าด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ

ฆราวาสธรรม 4 คือ

1. สัจจะ คือ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง

2. ทมะ คือ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา

3. ขันติ คือ ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย

4. จาคะ คือ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว 

  หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา
     หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำไปปฏิบัติ ได้แก่
    ๑. อิทธิบาท ๔
     อิทธิบาท ๔หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ
         ๑.๑ ฉันทะ  ความพอใจในงานที่ทำหรือในสิ่งที่จะศึกษาเล่าเรียน
         ๑.๒ วิริยะ  ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
         ๑.๓ จิตตะ  ความเอาใจใส่ในการทำงาน ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ
         ๑.๔ วิมังสา  ความคิดรอบคอบ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่ควรแก้ไขหรือควรเพิ่มเติมอะไรซึ่งจะทำให้งานนั้นดีขึ้น
     หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลกัน นั่นคือ ความพอใจทำให้เกิดความขยันหมั่นเพียร ซึ่งทำให้เกิดความเอาใจใส่ และมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงานนั้นและความเอาใจใส่นี้เองจะทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำไปแล้วว่าดีหรือยัง มีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ทัน

*การปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ นั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ประการ จึงจะทำให้งานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ*

     

๒. ฆราวาสธรรม ๔
     ฆราวาสธรรม ๔ หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ มี ๔ ประการ คือ
         ๒.๑ สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ ความซื่อตรงต่อกัน
คนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรมีความซื่อสัตย์ต่อกันทั้งกาย วาจาและใจ จะทำให้เกิดความไว้วางใจกัน ร่วมมือกันพัฒนาครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะที่เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เราจึงควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ พี่น้อง และสมาชิกทุกคนในบ้าน เช่น ไม่พูดปด มีความตั้งใจที่จะทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ เป็นต้น
          ๒.๒ ทมะ คือ การข่มใจ การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
คนเราเมื่ออยู่ด้วยกัน ย่อมจะมีความขัดแย้งกันบ้าง สิ่งใดที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา เราควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ไม่ควรแสดงกิริยาอาการโต้แย้งออกมาทันที ถ้าเราสามารถข่มใจและพิจารณาปัญหาให้เข้าใจแล้ว เราก็สามารถแก้ปัญหานั้นด้วยความสงบเรียบร้อย
          ๒.๓ ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี อดทนต่อความยากลำบาก
การอดทนต่อความยากลำบากทางกาย อดทนต่อการพูดจาไม่สุภาพ และอดกลั้นจิตใจห้อยู่ในความสงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น ถ้าเรามีขันติในเรื่องต่าง ๆ แล้วจะทำให้เราอยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข
          ๒.๔ จาคะ คือ การเสียสละ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
เราอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรสละสิ่งของ แบ่งปันของกินของใช้ให้กันและกันตามสมควรแก่ฐานะ การแบ่งปันกันจะทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ

     ๓. พรหมวิหาร ๔
     พรหมวิหาร หมายถึง หลักความประพฤติอันเสริฐมี ๔ ประการ คือ
          ๓.๑ เมตตา  ความรัก ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข
          ๓.๒ กรุณา  ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อิ่นให้พ้นทุกข์
          ๓.๓ มุทิตา  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีความสุข
          ๓.๔ อุเบกขา  ความวางใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง โดยพิจารณาว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว

หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด

ฆราวาสธรรม หมายถึง ธรรมะของฆราวาส หรือ ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน

ฆราวาส หมายถึง ผู้ครองเรือน บางทีเรียกว่า คฤหัสถ์ หมายถึง บุคคลที่มิใช่นักบวชหรือพระสงฆ์ที่มีอาชีพแตกต่างกัน เช่น ชาวนา ชาวไร่ พ่อค้า ข้าราชการ นักศึกษา เป็นต้น

ฆราวาสธรรม 4 ประการ
1. สัจจะ (ความซื่อสัตย์)
2. ทมะ (การฝึกตน)
3. ขันติ (การอดทน)
4. จาคะ (การบริจาค/การเสียสละ)

1. สัจจะ (ความซื่อสัตย์)
สัจจะ ในฆราวาสธรรม 4 หมายถึง ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ด้วยกายจริง คือ ประพฤติด้วยความสุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง วาจาจริง คือ พูดความจริง และใจจริง คือ มีความจริงใจ

ลักษณะของสัจจะ
– มีความจริง คือ เป็นเรื่องจริง
– มีความตรง คือ ประพฤติสุจริตในกาย วาจา และใจ
– มีความแท้ คือ ไม่เหลวไหล ไม่ล้อเล่น

หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด

ชูชกโกหกพรานป่า เรื่องสาร

สัจจะ 5 ประการ
1. จริงต่อการงาน หมายถึง ทำอะไรต้องทำจริง ตั้งใจทำ ทำด้วยความมุ่งมั่นให้งานนั้นสำเร็จ และเกิดประโยชน์จริง
2. จริงต่อหน้าที่ หมายถึง ทำจริงในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเรียกว่า “หน้าที่” ไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่หละหลวม ไม่หลีกเลี่ยง เอาใจใส่ต่องานหรือหน้าที่เพื่อให้งานนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี
3. จริงต่อวาจา หมายถึง รักษาวาจาตามที่ได้ตกลงกันไว้มิให้คลาดเคลื่อน พูดจริงทำจริง คนที่กล่าววาจาเท็จต่อตนเองจะไปจริงต่อคนอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นคนไม่จริงต่อวาจาก็คือ คนที่ไม่จริงต่อตนนั่นเอง
4. จริงต่อบุคคล หมายถึง จริงใจต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น จริงใจต่อมิตรสหาย จริงต่อญาติมิตร เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า “ซื่อตรง” ถ้าจริงต่อผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านาย เรียกว่า “สวามิภักดิ์” แต่ถ้าจริงต่อผู้มีพระคุณ เช่น บิดา มารดา ครูอาจารย์ เรียกว่า“กตัญญูกตเวที”
5. จริงต่อความดี หมายถึง มุ่งประพฤติความดีจนเป็นนิสัย ต่อหน้าประพฤติเช่นไรแม้ลับหลังก็ประพฤติเช่นนั้น มุ่งทำความดีเพื่อความดี อย่าทำความดีเพื่อให้ได้ลาภยศสรรเสริญหรือเพื่อวัตถุอื่นใด

อานิสงส์ของการมีสัจจะ
1. เป็นผู้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
2. เป็นผู้มีความหนักแน่น มั่นคง
3. เป็นผู้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
4. ผู้อื่นเคารพยกย่อง
5. ผู้อื่นเชื่อถือ และยำเกรง
6. สมาชิกในครอบครัวมีความสุข และมีความมั่นคง
7. เป็นผู้ได้รับเกียรติ และมีชื่อเสียง

โทษของการขาดสัจจะ
1. เป็นผู้ไม่มีความรับผิดชอบ
2. หาความเจริญในหน้าที่การงานไม่ได้
3. เป็นคนไม่น่าเชื่อถือ
4. ไร้ชื่อเสียง และเกียรติยศ

2. ทมะ (การฝึกตน)
ทมะ ในฆราวาสธรรม 4 หมายถึง การฝึกฝน การฝึกตน ให้มีการปรับปรุงตัวทั้งในด้านจิตใจ และการกระทำ ด้วยปัญญาเพื่อปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องในหน้าที่การงานหรือสิ่งที่กระทำอยู่นั้น

ทมะ เป็นธรรมที่มุ่งเน้นให้ใช้สติใคร่ครวญ และไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะกระทำการใดๆ โดยต้องคำนึงอยู่เสมอว่า มีประโยชน์มากกว่าโทษหรือมีดีมากกว่าชั่วจึงจะกระทำ โดยเฉพาะการเอาชนะความโกรธ เพราะเมื่อความโกรธเกิดขึ้นย่อมส่งผลให้จิตใจขุ่นมัว ผิวพรรณเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดผลเสียแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ เพราะผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถไม่รู้ธรรม ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี สามารถฆ่าได้แม้กระทั่งบิดามารดาของตน ผู้ที่ถูกความโกรธเข้าครอบงำย่อมเสียทรัพย์ เสื่อมลาภยศ หาที่พึ่งพิงได้ยาก ไร้ญาติขาดมิตร

หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด

ทมะ แบ่งเป็น 2 ประการ คือ
1. การฝึกฝนตนเอง เป็นความมุ่งหมายเพื่อสะกดกลั้น ฝึกฝน อบรมจิตใจของตนให้มีสภาพจิตใจดีขึ้น ให้เข้มแข็งมากขึ้น ฝึกข่มความรู้สึกเพื่อให้พร้อมกับสถานการณ์ต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นต้องข่มใจไม่ให้แสดงอาการรวนเร หวาดหวั่น เช่น ไม่พลั้งเผลอสติด่าว่าออกมาโดยไม่มีสติยับยั้งหรือ ข่มความประหม่าเมื่อต้องพูด หรือ แสดงออก

อีกอย่างหนึ่ง ทมะนี้ ในความหมายที่ลึกซึ้งทางพระ หมายถึง การรู้จักฝึกอินทรีย์ (กายและใจ) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยอำนาจของคุณธรรม ไม่ให้เป็นไปตามกำลังของกิเลสหรือความชั่วช้า การฝึกใจให้มีทมะ คือ การรู้จักใช้สติให้มาก เพื่อข่มความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ และหาทางพัฒนาใจตนเองให้มั่นคงขึ้นด้วยวิธีการฝึกจิตใจ เช่น ฝึกสมาธิ ฝึกนั่งกรรมฐาน เป็นต้น

2. การข่มใจตนเอง คือ การยับยั้ง และรู้จักควบคุมจิตใจของตนไม่ให้ติดอยู่ในวังวนแห่งอบายมุขแห่งโกธะ คือ ความโกรธ โมโหร้าย โลภะ คือ ความทะยานอยากที่จะนำไปสู่การสนองความต้องการของตนในทางสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศีลธรรม และโมหะ คือ ความหลงกับความสุขที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่ยั่งยืนนั้น

อานิสงส์ของการมีทมะ
1. เป็นผู้รักการฝึกฝนตนอย่างสม่ำเสมอ
2. เป็นผู้มีสมาธิ มีความรอบคอบ
3. ไม่บาดหมาง และไม่มีศัตรู
4. เป็นผู้มีความสามารถในการงาน
5. เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ

โทษของการขาดทมะ
1. เป็นผู้ไม่รู้จักการฝึกฝนตน
2. เป็นผู้มีโทสะง่าย
3. ไม่เจริญในหน้าที่การงาน
4. มักเป็นศัตรูกับผู้อื่น
5. เป็นผู้เข้ากับคนอื่นหรือสังคมไม่ได้

3. ขันติ (ความอดทน)
ขันติ ในฆราวาสธรรม 4 หมายถึง ความอดทน อดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรค รวมถึงอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาทางใจ อาทิ ความยากลำบากในการงาน คำด่าทอจากผู้อื่น ซึ่งความอดทนนี้ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่
1. ความอดทน อดกลั้นต่อความยากลำบากตรากตรำทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นทางกายภาพ อาทิ ความร้อน ความหนาว ความหิวกระหาย และความเหนื่อยล้า
2. ความอดทน อดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย อาทิ ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทุกข์ทรมาน ก็รู้จักอดทนอดกลั้นเอาไว้ ไม่สร้างความทุกข์เพิ่มขึ้นอีก
3. ความอดทน อดกลั้นต่อความเจ็บใจอันเกิดขึ้นทางจิตภาพ อาทิ วาจาส่อเสียด ถ้อยคำด่าว่าหยาบคายหรือคำกล่าวล่วงเกินก่อให้เกิดความเสียหาย สร้างความขุ่นเคืองใจอันไม่พึงปรารถนา
4. ความอดทน อดกลั้นต่อพลังอำนาจบีบคั้นของกิเลส ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ความอดทนอดกลั้นต่อกิเลสทั้งปวงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตที่ดีงาม

ระดับขันติ
1. ขันติระดับต่ำ ได้แก่ ความอดทนต่อความร้อน และความหนาวตามธรรมชาติ อดทนเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเกิดทุกขเวทนา
2. ขันติระดับสูงสุด ได้แก่ ความอดทนต่อแรงบีบคั้นของกิเลส ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งคอยบีบคั้นเผาผลาญจิตใจ อำนาจของกิเลสนั้น หากเราเคยสังเกตดูเวลาที่ราคะเข้าครอบงำจิตใจจะทราบได้ว่า มันมีพลังอำนาจที่รุนแรงมาก ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นเพื่อจะไม่กระทำตามใจที่อยาก การบีบคั้นของกิเลสสามารถแสดงตัวตนออกมาได้หลายแนวทาง อาทิ การเกิดความรักความเกลียด ความอิจฉาริษยาหรือความกลัว ความวิบัติพลัดพราก ความไม่สมปรารถนาหรือความผิดหวัง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบีบคั้นที่กัดกร่อนจิตใจอย่างถึงที่สุด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความอดทนขั้นสูงสุด

อานิสงส์ของการมีขันติ
1. เป็นผู้รู้จักใช้ความอดทน และมีความอดทนต่ออุปสรรค และปัญหาต่างๆ
2. ทำงานได้สำเร็จ และมีประสิทธิภาพ
3. สามารถปกครองบริวารได้ดี
4. เป็นผู้ไม่มีศัตรู
5. เป็นที่น่านับถือ และผู้อื่นให้ความเคารพ

โทษของการขาดขันติ
1. เป็นผู้มีจิตท้อแท้ง่าย ไม่มีความเข้มแข็ง
2. ทำงานไม่สำเร็จ
3. ปกครองบริวารไม่ได้
4. มักมีศัตรูในทุกแห่ง
5. เป็นผู้ที่ผู้อื่นไม่ให้ความเคารพ นับถือ
6. เสื่อมในทรัพย์ได้ง่าย

4. จาคะ (การบริจาค/ความเสียสละ)
จาคะ ในฆราวาสธรรม 4 หมายถึง การบริจาคหรือความเสียสละจากความสุข และผลประโยชน์ของตน รวมถึงการละจากกิเลส ทำให้เป็นผู้มีความใจกว้าง รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และพร้อมที่จะเผชิญกับความทุกข์ร่วมกับผู้อื่น

จาคะมีความหมายกว้างกว่าทาน เนื่องจากจาคะ คือ การสละทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม โดยไม่สนใจว่าจะมีผู้รับหรือไม่และมีความหมายโดยนัยทั้งในระดับโลกียะ และโลกุตระ

หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด

ในระดับโลกียะเป็นการเสียสละ การให้ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ทั้งในแง่วัตถุ และสิ่งที่เป็นนามธรรม ส่วนในระดับโลกุตระเป็นการสละในความยึดมั่นถือมั่น ความไม่ดีต่างๆ ที่อยู่ในจิตใจ ดังนั้นความเสียสละจึงมี 2 นัยด้วยกัน
1. การเสียสละวัตถุสิ่งของ ได้แก่ ทรัพย์สิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่เกินกำลังความสามารถของตน
2. การเสียสละสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น สละกิเลส สละความเห็นแก่ตัว สละอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดีต่างๆ ซึ่งการฝึกฝนให้มีจาคะย่อมทำให้จิตใจคลายความยึดมั่นถือมั่น และมีความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ทำให้มีความสุขด้วยใจของตนเอง มีจิตที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งอื่นใดมีความสุขได้แม้จะต้องสูญเสียอะไรบางสิ่งไป

การยึดในหลักแห่งจาคะนั้น ความเมตตากรุณานับเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนให้จาคะเกิดขึ้น เพราะผู้ให้ย่อมสละได้ซึ่งความรัก ความเมตตากรุณา และความปรารถนาดีต่อผู้รับ ส่งผลให้ผู้ให้มีความสุขได้ด้วยใจของตน ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ว่า ผู้มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจาคะย่อมได้รับความสุขใน ภพนี้และภพหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย

อานิสงส์ของการมีจาคะ
1. เป็นผู้มีจิตเมตตา รู้จักการให้ การเสียสละ
2. ได้รับสิ่งตอบแทนจากผู้อื่นได้ง่าย
3. เป็นผู้ที่คนอื่นให้ความเคารพ นับถือ
4. ปกครองบริวารได้ง่าย
5. คนรอบข้าง คนในครอบครัวมีความสุข

โทษของการขาดจาคะ
1. เป็นคนมีความตะหนี่
2. ผู้อื่นติฉินนินทา
3. ไม่มีผู้คบหา
4. การงานหรือาชีพไม่เจริญก้าวหน้า
5. ไม่มีผู้ช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยาก

ประโยชน์ของฆราวาสธรรม 4
1.สัจจะ ผู้อื่นให้ความเคารพเชื่อถือ เพราะเป็นผู้มีความจริงใจ รักษาคำพูด ไม่โลเลเพราะผู้ยึดมั่นในสัจจะย่อมสามารถจะปฏิบัติหน้าที่อย่างได้ผลทันเวลา และประสบความสำเร็จได้
2.ทมะ ทำให้คนเราอยู่ร่วมกันกับคนอื่นในสังคมอย่างมีความสุข ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันโดยง่าย และรู้จักหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งหลายได้ เพราะรู้จักใช้สติเข้าข่ม ไม่หุนหันวู่วามโดยง่าย
3.ขันติ จะทำให้หลีกเลี่ยงจากความเสื่อมจากเหตุต่างๆ เพราะมีจิตใจเข้มแข็ง มั่นคงอดทน อดกลั้น ไม่มัวเมากับสิ่งเย้ายวนต่างๆ เป็นหลักประกันในการสร้างฐานะและชีวิตตนเองการอดทนดังกล่าวเป็นความอดทนเพราะเกิดจากสิ่งเย้ายวนใจที่ได้พบเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรสและได้สัมผัส
4.จาคะ เมื่อรู้จักการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น นั่นหมายความว่า เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ สังคมจะมีความสุขธรรมะ

หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างความสงบสุขในสังคม หากคนในสังคมทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมนี้แล้ว ย่อมอำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ปฏิบัติตามทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า ก่อให้เกิดความสุขสวัสดี มีความราบรื่นในการดำเนินชีวิต และยังทำให้องค์กรต่างๆ ตลอดจนสังคมเกิดความสงบเรียบร้อย และยังพบว่าหลักพุทธธรรมในข้อนี้ยังสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เพิ่มเติมจาก ร้อยตำรวจเอกนิธินันท์ ( 2552)(1)

เอกสารอ้างอิง

หลักธรรม ซื่อตรง ข่มจิต อดกลั้น ขยันเสียสละ เป็นหลักธรรมใด