อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาว่าจักรวาลหรือบางส่วนของจักรวาลทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมุติฐานจากการสังเกตในตอนแรก จากนั้นก็ทดสอบสมมุติฐานด้วยการสังเกตเพิ่มเติมและทดลองเพื่อที่พวกเขาจะได้ประเมินผลและยืนยันหรือปฏิเสธสมมุติฐาน นักวิทยาศาสตร์ทำงานในมหาวิทยาลัยหรือไม่ก็ในสถาบันภาคเอกชนหรือรัฐบาล ถ้าคุณอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์บ้างล่ะก็ คุณก็จะได้อยู่ในเส้นทางการทำงานที่แสนยาวนานแต่เติมเต็มและน่าตื่นเต้นมากเลยทีเดียว

  1. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    1

    ช่วงมัธยมปลายให้เรียนวิชาที่จำเป็นต่อการเรียนวิทยาศาสตร์. ช่วงมัธยมปลายให้เรียนสายวิทย์ – คณิตแล้วเรียนต่อในช่วงปริญญาตรี คุณควรเรียนวิชาที่สอนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่คุณต้องใช้ในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ การเรียนวิชาเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการต่อยอดในอนาคต

    • คุณจะต้องถนัดวิชาคณิตศาสตร์ด้วย นักวิทยาศาสตร์กายภาพต้องใช้ความรู้คณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพีชคณิต แคลคูลัส และเรขาคณิตวิเคราะห์ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยานั้นใช้ความรู้คณิตศาสตร์น้อยกว่า และนักวิทยาศาสตร์ทุกคนก็ต้องมีความรู้ในวิชาสถิติเป็นอย่างดีด้วย
    • ช่วงมัธยมปลายให้ลองไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ คุณจะได้ทำโปรเจ็กต์ที่เข้มข้นมากกว่าที่คุณทำในคาบเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป

  2. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    2

    เริ่มจากการเรียนวิชาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัย. แม้ว่าต่อไปคุณจะมีสาขาวิชาที่คุณถนัดโดยเฉพาะ แต่คุณก็ต้องเรียนวิชาพื้นฐานในสาขาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์เพื่อให้คุณมีความรู้พื้นฐานในแขนงต่างๆ ของวิทยาศาสตร์ และได้เรียนรู้วิธีการสังเกต ตั้งสมมุติฐาน และทดลองที่เฉพาะเจาะจง นอกจากนี้คุณอาจจะเลือกวิชาเลือกตามสาขาวิชาที่สนใจหรือค้นหาสาขาใหม่ๆ ที่คุณสนใจเพื่อช่วยให้คุณสามารถเลือกสาขาวิชาได้ อีก 1 หรือ 2 ปีคุณค่อยเรียนวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่งแบบเจาะจงไปเลย

    • ทักษะภาษาต่างประเทศสัก 1 หรือ 2 ภาษาอาจมีประโยชน์กับคุณด้วยเช่นกัน เพราะคุณจะสามารถอ่านบทความวิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษที่ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทยได้ การเรียนภาษาต่างประเทศที่สำคัญ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และรัสเซียก็ช่วยให้คุณอ่านบทความเก่าๆ ที่ไม่ได้แปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้เช่นกัน

  3. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    3

    เลือกวิชาเอกในสาขาวิชาที่คุณหลงใหล. หลังจากที่คุณได้ชิมลางและคุ้นเคยแล้วว่าอาชีพนี้จะนำพาคุณไปในทิศทางไหน ก็ให้เลือกวิชาเอกที่เฉพาะเจาะจงได้เลย จะเป็นอะไรดีล่ะ วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์จิตวิทยา วิทยาศาสตร์พันธุกรรม หรือวิทยาศาสตร์การเกษตรดีล่ะ

    • ถ้าคุณอยากเรียนหรือถ้ามหาวิทยาลัยที่คุณเรียนไม่มีตัวเลือกที่ตรงกับความสนใจของคุณ คุณก็อาจจะรอไปเรียนอะไรที่เจาะจงในภายหลัง (ซึ่งก็คือระดับปริญญาโทและปริญญาเอก) วิชาเอกทั่วไปอย่างเอกเคมีก็โอเคเหมือนกัน

  4. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    4

    ฝึกงานในมหาวิทยาลัย. การเริ่มสร้างเครือข่ายและเริ่มทำงานให้เร็วที่สุดนั้นดีที่สุด ติดต่ออาจารย์สักคนเพื่อสอบถามเรื่องการฝึกงาน ชื่อของคุณอาจจะไปปรากฏอยู่ในบทความที่ทีมตีพิมพ์ด้วยก็ได้

    • วิธีนี้การันตีว่าคุณมีประสบการณ์การทำแล็บ 100% ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเรียนต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งการหางานที่จริงจังกว่านั้นด้วย เพราะมันแสดงให้เห็นว่าคุณจริงจังกับการเรียนในระดับปริญญาตรีและมีความเข้าใจว่าตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง

  5. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    5

    ฝึกทักษะการเขียน. ในฐานะนักวิทยาศาสตร์คุณต้องมีทักษะการเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ดีเพื่อให้ได้ทุนวิจัยและเพื่อตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับมัธยมและวิชาการเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยจะช่วยให้คุณมีทักษะการเขียนที่ดีขึ้น

    • อ่านวารสารวิทยาศาสตร์อยู่เสมอและอัปเดตความรู้ในสาขาวิชาของคุณ อีกไม่นานผลงานของคุณก็จะไปปรากฏอยู่ในวารสารเหล่านั้นด้วย ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบพื้นฐานของบทความวิทยาศาสตร์ที่ดี

    โฆษณา

  1. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    1

    เรียนต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก. แม้ว่าตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจะมีตำแหน่งสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จบปริญญาโทเป็นอย่างน้อยและมักจะจบปริญญาเอกด้วย หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกมักจะวางหลักสูตรเพื่องานวิจัยที่มีความแรกเริ่มและการพัฒนาทฤษฎีขึ้นมาใหม่ การทำงานร่วมกับอาจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ และอาจจะใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยด้วย หลักสูตรปริญญาโทส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 ปีและ 4 – 6 ปีสำหรับปริญญาเอกหรืออาจจะนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานวิจัย

    • ถึงตอนนี้คุณต้องเลือกสาขาวิชาที่ตัวเองเชี่ยวชาญแล้ว ซึ่งควรเป็นสาขาวิชาที่เจาะจงมากๆ และช่วยให้คุณได้ศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจง วิธีนี้จะทำให้งานของคุณแตกต่างจากคนอื่นมากขึ้นและทำให้สาขาวิชาที่คุณต้องแข่งขันกับคนอื่นแคบลง

  2. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    2

    ขอฝึกงานวิจัยที่ไหนก็ได้. การเรียนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีนั้น คุณจะต้องมองหาโอกาสการฝึกงานในสาขาที่คุณสนใจเป็นพิเศษ เพราะจำนวนอาจารย์ที่ทำงานในสาขาวิชาเดียวกันกับที่คุณสนใจก็จะค่อนข้างน้อย ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องออกไปหาจากที่อื่น

    • โดยทั่วไปอาจารย์และมหาวิทยาลัยที่คุณศึกษาอยู่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากๆ ในการหาว่า มีการฝึกงานแบบไหนและที่ไหนบ้าง ขอข้อมูลจากเครือข่ายที่คุณสร้างเพื่อหาที่ที่ตรงกับความสนใจของคุณพอดี

  3. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    3

    เข้าร่วมหลักสูตรหลังปริญญาเอก. หลักสูตรหลังปริญญาเอกจะเป็นการฝึกอบรมเพิ่มเติมในสาขาวิชาใดก็ตามที่คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในฐานะนักวิทยาศาสตร์ แต่เดิมหลักสูตรหลังปริญญาเอกนั้นมีระยะเวลา 2 ปี แต่ปัจจุบันหลักสูตรเหล่านี้ใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปีและอาจจะนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและปัจจัยอื่นๆ

    • นอกจากหลักสูตรหลังปริญญาเอกแล้ว หลังจากนี้คุณก็จะต้องทำวิจัยหลังปริญญาเอกอีกประมาณ 3 ปี ถ้าคุณนับว่าคุณต้องใช้เวลาเรียนปริญญาตรี 4 ปี ปริญญาโทและปริญญาเอกรวมกันอีกประมาณ 6 – 8 ปี และทำวิจัยอีก 3 ปี ก็เท่ากับว่าคุณจะต้องใช้เวลา 13 – 15 ปีติดต่อกันถึงจะได้ทำงานจริงๆ ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาเป็นสิ่งที่คุณต้องตระหนักให้เร็วที่สุด

  4. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    4

    อัปเดตความรู้อยู่เสมอ. ในช่วงทศวรรษของการอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการศึกษาเพิ่มเติม (และหน้าที่การงานในระดับที่สูงขึ้น) คุณควรอัปเดตความรู้ในสาขาวิชาของคุณและพบปะกับผู้อื่นด้วยการไปสัมมนาและอ่านวารสารที่เป็นงานวิจัยที่มีนักวิชาระดับเดียวกันหรือสูงกว่าเป็นผู้ตรวจสอบ วิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพียงชั่วพริบตาเดียวคุณก็อาจจะล้าหลังได้

    • ในสาขาวิชาที่ค่อนข้างแคบ (และในบางสาขาวิชาที่ใหญ่กว่า) คุณจะรู้จักชื่อทุกชื่อที่อยู่ในวารสาร การอ่านวารสารจะทำให้คุณรู้ว่า คุณควรขอความช่วยเหลือหรือความอนุเคราะห์ในการทำวิจัยกับใครเมื่อถึงเวลานั้น

  5. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    5

    ทำวิจัยต่อไปและมองหางานประจำ. นักวิทยาศาสตร์จะทำโปรเจ็กต์หรือทดลองไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ สิ่งนี้เป็นความจริงเสมอไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงไหนของบันไดอาชีพก็ตาม แต่หลังจากทำวิจัยหลังปริญญาเอก คุณก็น่าจะต้องทำงาน โอกาสการทำงานโดยทั่วไปแล้วก็ได้แก่ :

    • ครูวิทยาศาสตร์ อาชีพนี้ก็ค่อนข้างตรงไปตรงมาอยู่แล้วและอาจจะไม่ต้องเรียนสูงนักเสมอไป (แล้วแต่ว่าคุณอยากจะสอนในระดับไหน) ในบางพื้นที่และสาขาวิชา คุณอาจจะต้องมีหน่วยกิตวิชาการศึกษาด้วย
    • นักวิทยาศาสตร์วิจัยคลินิก นักวิทยาศาสตร์หลายคนทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ หรือภาครัฐ เริ่มจากการเป็นผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิกก่อน ในตำแหน่งนี้คุณจะได้ทำงานเกี่ยวกับการทดลองทางคลินิก ซึ่งก็คือการทดลองยาที่เพิ่งคิดค้นขึ้นมาใหม่ คุณจะต้องรวบรวมข้อมูลและติดตามการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนการทดลองที่วางไว้ จากนั้นคุณก็จะต้องทำการวิเคราะห์โปรเจ็กต์อะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ (เช่น วัคซีน) หรือบางครั้งก็ต้องทำงานร่วมกับคนไข้ แพทย์ หรือนักเทคนิคเกี่ยวกับการดำเนินงานในห้องทดลอง
    • อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์หลายคนอย่างน้อยในที่สุดมีเป้าหมายคือการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและเป็นอาจารย์ประจำ ซึ่งเป็นงานที่รายได้ไม่น้อย มั่นคง และมีผลต่อชีวิตคนอื่นมากมาย แต่ก็รู้ด้วยว่ามันอาจจะต้องใช้เวลาหลายทศวรรษกว่าจะไปถึงจุดนั้น

    โฆษณา

  1. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    1

    ขี้สงสัย. นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็เพราะว่าโดยพื้นฐานแล้วพวกเขาสงสัยเกี่ยวกับโลกรอบตัวและสงสัยว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในโลกใบนี้ทำงานอย่างไร ความสงสัยนี้ทำให้พวกเขาศึกษาสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้และเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร แม้ว่าการศึกษานั้นจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะสำเร็จก็ตาม

    • สิ่งที่มาคู่กับความสงสัยก็คือ ความสามารถในการปฏิเสธความคิดที่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอและเปิดกว้างให้กับความคิดใหม่ๆ บ่อยครั้งที่สมมุติฐานเริ่มแรกนั้นไม่ได้เกิดจากหลักฐานจากการสังเกตและการทดลองในภายหลัง และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ล้มเลิกไป

  2. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    2

    อดทนต่อการไต่บันไดอาชีพ. อย่างที่บอกไปแล้วสั้นๆ ในข้างต้นว่า การเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้น ใช้เวลานาน มีไม่กี่อาชีพที่ใช้เวลานานกว่านี้ แม้ว่าคุณจะกำลังเรียนอยู่ คุณก็ต้องมีงานวิจัยที่ทำไว้แล้วด้วย ถ้าคุณเป็นคนประเภทชอบความสุขแบบเร่งด่วน งานนี้ก็อาจจะไม่ใช่งานที่เหมาะกับคุณ

    • งานบางงานต้องการแค่วุฒิปริญญาตรีหรือบางครั้งก็ปริญญาโท ถ้าคุณไม่อยู่ในสถานะที่จะใช้เวลาเป็นสิบปีโดยที่ไม่ต้องทำงานได้ ทางเลือกเหล่านี้ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นเดียวกัน

  3. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    3

    ขยันและมุ่งมั่น เพราะอาชีพของคุณมันหนัก. ว่ากันว่า "ถ้าพิจารณาเรื่อง IQ ทักษะด้านปริมาณ และชั่วโมงทำงานแล้ว งานในสาขาวิทยาศาสตร์อาจเป็นงานที่มีค่าแรงต่ำที่สุดเลยก็ว่าได้" สิ่งที่คำพูดนี้ต้องการจะสื่อก็คือเส้นทางที่ยาวนานกว่าจะประสบความสำเร็จและช่วงระหว่างนั้นคุณก็จะไม่มีชีวิตที่หรูหรา อะไรหลายๆ อย่างมันจะหนักหนาอยู่สักระยะหนึ่ง

    • คุณจะต้องเจอกำหนดส่งงานที่บ่อยครั้งไม่เป็นไปตามเวลาของคุณ และต้องทำงานเมื่อไหร่ก็ตามที่งานบอกว่าคุณจำเป็นต้องทำ ทุกสิ่งทุกอย่างรวมกันทำให้การเป็นนักวิทยาศาสตร์เป็นงานที่หนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ไปให้ได้ตลอด

  4. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    4

    จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่เสมอ. หลักๆ แล้วสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำก็คือหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านวารสารที่มีนักวิชาการระดับเดียวกันหรือสูงกว่าเป็นผู้ตรวจสอบ เข้าร่วมการสัมมนา หรือการทำงานเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ผลงานก็ตาม คุณจะเรียนรู้อยู่เสมอ ฟังดูเหมือนวันอังคารธรรมดาๆ เหรอ แปลว่าคุณอาจจะมาถูกทางแล้ว

  5. อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

    5

    อดทน สังเกต และคิดนอกกรอบ. ไม่มีงานของนักวิทยาศาสตร์คนไหนที่ทำเสร็จภายใน 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 เดือน และหลายครั้งไม่แม้กระทั่งใน 1 ปี ในหลายกรณี เช่น การทดลองทางคลินิก คุณจะไม่ได้ผลการทดลองจนกว่าจะผ่านไปแล้ว หลายปี ซึ่งเป็นอะไรที่น่าท้อใจมาก นักวิทยาศาสตร์ที่ดีจะต้องรู้จักอดทน

    • ทักษะการสังเกตก็เป็นทักษะที่จำเป็นเช่นเดียวกัน ในช่วงหลายปีที่รอผล คุณต้องมองหาการเปลี่ยนแปลงที่เล็กที่สุดในสิ่งที่คุณคาดว่าจะเห็นอยู่เสมอ ดวงตาของคุณต้องจดจ่อและพร้อมตลอดเวลา
    • และในส่วนของการคิดนอกกรอบนั้น ให้นึกถึงตอนที่แอปเปิลหล่นใส่หัวนิวตันหรือตอนที่อาร์คีมีดีสกระโดดลงอ่างน้ำและเข้าไปแทนที่น้ำ คนส่วนใหญ่จะไม่คิดอะไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ แต่คนเหล่านี้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่คนอื่นไม่เห็นในเวลานั้น ในการพัฒนาความรู้ของมนุษย์นั้น คุณจะต้องคิดต่าง

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (ACRP) มอบประกาศนียบัตรรับรองแก่ผู้ประกอบอาชีพวิจัยทางคลินิก ได้แก่ ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิกที่ได้รับการรับรอง ผู้บริหารจัดการงานวิจัยทางคลินิกที่ได้รับการรับรอง และแพทย์ผู้ร่วมดำเนินการศึกษา พอคุณสอบได้แล้วก็พร้อมที่จะทำงานต่อไปได้เลย

โฆษณา

คำเตือน

  • เนื่องจากจำนวนนักศึกษาปริญญาเอกที่ต้องการตำแหน่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและในบริษัทต่างๆ มีมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่มีความมุ่งมั่นที่จะไปทางด้านนั้นมักจะพบว่าตัวเองต้องเข้าศึกษาหลังปริญญาเอกอีกมากมายกว่าจะได้ตำแหน่งประจำ
  • โดยทั่วไปแล้วการเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้นต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก โอกาสที่จะล้มเหลวนั้นมีมากพอๆ กับโอกาสที่จะสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณต้องพร้อมรับผลอย่างที่มันเป็น

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,727 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

นักวิทยาศาสตร์ เป็นอาชีพไหม

ในยุคปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้รับปริญญาในสาขาทางวิทยาศาสตร์และทำงานที่มีสายอาชีพในภาคส่วนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น สถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม รัฐบาล และองค์กรไม่แสวงหากำไร

นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

(๑) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูล และร่วมดำเนินการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ (๒) วิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ของ วัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์วัด เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

นักวิทยาศาสตร์ดียังไง

ข้อดีของสายอาชีพนี้ก็คือคุณจะเป็นคนที่คิดเป็นและมีเหตุผลในทุกๆเรื่องและมันจะช่วยพัฒนาตัวคุณเองให้เป็นคนที่ช่างสังเกตมากขึ้น และอีกทั้งยังสร้างความตื่นเต้นให้กับคุณเพราะคุณจะพบเห็นสิ่งที่อัศจรรย์อยู่สม่ำเสมอเนื่องจากเรื่องของวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่กระตุ้นให้คุณคิดและรู้สึกกับสิ่งที่คุณตรวจสอบไปด้วย คุณจะรู้ลึกซึ้งมาก ...

งานด้านวิทยาศาสตร์ คืออะไร

ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพื่อพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา