การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร

เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง ถือว่าเป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อการชลประทาน มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นลักษณะทำนบคันดิน หรือเรียกว่าเป็นเขื่อนดินก็ได้ สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ

ปัจจุบันกรมชลประทานร่วมกับกรม ศิลปากรได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่ ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ 10 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 400,000 ลูกบาศก์เมตร
ความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีต จึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างตีนเขากิ่วอ้ายมาถึงตีนเขาพระบาทใหญ่ อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณเขาถึง 17 โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ภูเขาทั้งสองลูกนี้ (เขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา) อยู่ในทิวเขาหลวงด้านหลังตัวเมืองเก่าสุโขทัย ลึกเข้าไปในทิวเขานี้เป็นซอกเขาอันเป็นต้นกำเนิดของทางน้ำเรียกว่า "โซกพระร่วงลองขรรค์"
สำหรับชื่อเขื่อนสรีดภงค์ นั้นมีที่มาจาก ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่เขียนไว้ว่า "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้" จะเห็นว่ามีคำกล่าวถึง สรีดภงส ซึ่งคงหมายถึงทำนบชลประทานแห่งนี้นั้นเอง

ที่ตั้ง เขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร

http://sadoodtasukhothai.com/content/เขื่อนสรีดภงค์-หรือ-ทำนบพระร่วง-เขื่อนโบราณสมัยสุโขทัย

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
 

ในบรรดาเมืองเก่าของไทย สุโขทัย ที่มีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 ถือว่าเป็นเมืองโบราณที่มีการวางผังเมืองได้ดีที่สุดโดยเฉพาะในเรื่องการวางผังเมืองเพื่อจัดการปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งหรือน้ำหลากก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับกรุงเก่าสุโขทัย ถ้าใครเคยไปเที่ยวเมืองเก่าแห่งนี้จะพบว่า สุโขทัยมีทั้งคันดินกั้นน้ำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่รู้จักกันดีว่า ทำนบพระร่วง ไปจนถึงการขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตระพัง ตลอดจนการขุดคูคลองรอบเมือง ไปจนถึงการใช้น้ำดื่มจากบ่อบาดาล แน่นอนว่าเหล่านี้ไม่ใช่สระน้ำ คูคลองเพื่อภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่สระน้ำ คูคลองเหล่านี้คือแหล่งเก็บน้ำอย่างดีในยามแล้ง ขณะที่ยามน้ำฝนหลากก็ช่วยชะลอไม่ให้น้ำท่วมเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
ผลจากพายุเตี้ยนหมู่ทำให้คูคลองสระน้ำรอบเมืองเก่าน้ำปริ่ม แต่น้ำยังไม่ท่วมโบราณสถาน (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร

หากย้อนในด้านภูมิศาสตร์ ตัวเมืองเก่าสุโขทัยนั้นตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำยมซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ราว 12 กิโลเมตร ถือว่าค่อนข้างไกล และดูเหมือนจะไม่สะดวกสบายนักในการลำเลียงสินค้า หรือใช้คมนาคมเดินทางไปยังเมืองอื่นๆ แต่นั่นกลับเป็นข้อดีในเรื่องของการป้องกันภัยธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วม ส่วนข้อเสียก็คือการเลือกสร้างเมืองบนที่ดอนที่มีความสูงขึ้นมาจากพื้นที่ลุ่มริมน้ำ อีกทั้งระดับความลาดเอียงในเมืองเก่าสุโขทัยยังมีความสูงถึง 3-4 เมตร ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ หมายความว่า ชาวสุโขทัยโบราณต้องคิดค้นระบบการจัดการน้ำธรรมชาติให้มีเหลือใช้ในฤดูแล้งให้ได้ทั้งในแง่ดื่มกินและใช้ในการเกษตร รวมทั้งต้องคิดเผื่อไปถึงช่วงฤดูน้ำหลาก ต้องวางผังเมืองให้เชื่อมระบบการจัดการน้ำ เพื่อให้สามารถมีน้ำกิน น้ำใช้ หรือแม้แต่ใช้น้ำในการเดินทาง การขนส่งสินค้าจากที่ดอนสู่ลำน้ำยมให้ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเมืองเก่าสุโขทัยถึงได้รับการยกย่องว่ามีระบบการวางผังเมืองและการจัดการน้ำที่ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาเมืองโบราณของไทย โดยแบ่งระบบการจัดการน้ำได้ดังนี้

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
ผลจากพายุเตี้ยนหมู่ทำให้คูคลองรอบเมืองเก่าน้ำปริ่ม แต่น้ำยังไม่ท่วมโบราณสถาน (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

คูเมืองและกำแพงเมืองเพื่อการส่งน้ำ

คูเมืองและกำแพงเมืองสุโขทัยวางตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคันดินเป็นกำแพง 3 ชั้น และคูน้ำ 3 ชั้น ทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันข้าศึกและเป็นคันบังคับส่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ โดยเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองเสาหอด้านทิศตะวันตกมายังบริเวณคูเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีท่อเชื่อมน้ำสู่คูเมืองชั้นใน ทั้งนี้ในการบูรณะปรับปรุงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ. 2521-2531ได้ขุดพบท่อน้ำดินเผาขนาดต่างๆ ใกล้ขอบสระและคูน้ำที่อยู่ล้อมรอบวัดเสมอๆ เช่น วัดพระพายหลวง วัดมหาธาตุ วัดเชตุพน นอกจากนี้การสร้างกำแพงเมืองสุโขทัยถึง 3 ชั้น สันนิษฐานว่าก็เพื่อให้กำแพงเมืองทำหน้าที่เหมือนฝายหรือเขื่อนป้องกันน้ำเข้าท่วมเมืองในฤดูน้ำหลาก ให้กำแพงและคูเมืองมีประโยชน์มากไปกว่าการป้องกันข้าศึกศัตรู

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
พายุเตี้ยนหมู่ทำให้ตัวเมืองสุโขทัยน้ำท่วมแต่อุทยานประวัติศาสตร์ยังไม่ได้รบผลกระทบ (อัพเดทภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 / ภาพโดย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

ตระพัง และเทคนิคการทดน้ำใช้ยามแล้ง

ภายในเมือง สุโขทัย มีสระเก็บกักน้ำ หรือ ตระพัง เป็นระบบการดึงน้ำจากคูเมืองมาใช้ในชุมชน โดยพบประมาณ 175 สระ เฉพาะตระพังที่จุน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 300 ลูกบาศก์เมตรมีมากถึง 80 สระ กระจายไปตามชุมชนต่างๆ  ตระพังที่สำคัญ ได้แก่ ตระพังทอง ตระพังเงิน  ตระพังสอ ส่วนตระพังใหญ่สุดคือ ตระพังตะกวน ซึ่งถ้าน้ำเต็มความจุของตระพังขนาดใหญ่ก็จะไหลไปตามท่อสู่ตระพังขนาดเล็ก  อีกทั้งยังพบว่ามีการออกแบบคลองส่งน้ำจากบริเวณเมืองชั้นในให้สามารถผันน้ำจากตระพังด้านในมาสู่ตระพังบริเวณตัวเมืองรอบนอก รวมทั้งมีการขุดพบลำรางส่งน้ำเป็นท่อสังคโลกเรียกว่า ท่อพระร่วง ส่งน้ำจากด้านนอกเข้าไปในตัวเมืองเพื่อขังเก็บในตระพังใหญ่เล็กเพื่อใช้ตลอดทั้งปี โดยตระพังขนาดใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่

  • ตระพังเงิน อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 52 เมตร ยาว 253 เมตร ลึก 3 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 39,468 ลูกบาศก์เมตร
  • ตระพังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 175 เมตร ยาว 800 เมตร ลึก 3 เมตร เก็บกักน้ำได้ 96,375 ลูกบาศก์เมตร เกาะกลางเป็นที่ตั้งของวัดตระพังทอง
  • ตระพังตะกวน  อยู่ทางทิศเหนือของตระพังเงินและวัดมหาธาตุ มีขนาดกว้าง 216 เมตร ยาว 417 เมตร ลึก 3 เมตร รับน้ำได้ 222,504 ลูกบาศก์เมตร เกาะกลางเป็นที่ตั้งของวัดสระศรี
  • ตระพังสอ อยู่ทางทิศเหนือของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง มีขนาดกว้าง 56.75  เมตร ยาว 218 เมตร ลึก 3 เมตร กักเก็บน้ำได้ 37,114 ลูกบาศก์เมตร

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
สรีดภงส์ในวันที่ได้รับน้ำฝนเต็มจากพายุเตี้ยนหมู่ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 (ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย )

สรีดภงส์ พื้นที่เก็บกักน้ำยามแล้ง

สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง คือวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของ สุโขทัย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ได้ให้คำอธิบายว่า สรีดภงส์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ทำนบ ซึ่งในการสำรวจของกรมศิลปากรพบซากทำนบโบราณ 2 แห่ง คือ สรีดภงส์ 1 และ สรีดภงส์ 2 ตั้งอยู่ห่างจากกำแพงเมือง 3 กิโลเมตร และ 7.6 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มาจากเขาประทักษ์ เขาค่าย เขาเจดีย์งาม โดยแหล่งน้ำจากภูเขาจะไหลลงมาเป็นลำธารที่เรียกว่า โซก มาเก็บไว้ที่สรีดภงส์ และจากนั้นจัดการระบายน้ำจากสรีดภงส์ไปตามคลองต่างๆ อีกครั้งเพื่อดึงน้ำมาใช้ในตัวเมืองสุโขทัย โดยน้ำจะถูกบังคับให้ไปเลี้ยงคูเมืองโดยรอบและกักเก็บน้ำไว้ตามตระพังต่างๆ เพื่อให้ชาวเมืองมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
การสร้างระบบชลประทานในสมัยสุโขทัยเพื่ออะไร
คลองเสาหอ กำลังระบายน้ำจากสรีดภงส์
(ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย )

บ่อน้ำซึม เพื่อการดื่มกินอย่างชื่นใจ

นอกจากวางระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำหลากและให้มีกินยามน้ำแล้งแล้ว ชาว สุโขทัย โบราณยังมีการขุดบ่อน้ำซึมหรือบ่อบาดาลที่เรียกว่า ตระพังโพย เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร แปลว่า บ่อมหัศจรรย์ (น่าจะหมายถึงบ่อบาดาลที่มีน้ำซึมจากใต้ดินตลอดปีเป็นเรื่องมหัศจรรย์) เป็นบ่อที่ให้น้ำสะอาดและเย็นชื่นใจจากใต้ดิน บ่อน้ำซึมนี้มีการขุดใช้อย่างแพร่หลาย พบมากถึง 198 บ่อ โดยบ่อน้ำซึมใต้ดินเหล่านี้มีลักษณะเป็นบ่อกลม กรุด้วยศิลาแลง อิฐ และบางแห่งมีหินก่อเสริมตรงปากบ่อ กระจายตัวอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของเมือง ซึ่งจากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่า ไม่เคยมีการพบหลักฐานเกี่ยวกับการขุดบ่อน้ำซึมใช้จำนวนมากเช่นนี้จากเมืองโบราณอื่นๆ ในประเทศไทยมาก่อน นั่นสามารถยืนยันได้ว่าระบบการสุขาภิบาลของชาวสุโขทัยนั้นก้าวหน้ากว่าสังคมอื่นๆ เช่นเดียวกับการจัดการระบบน้ำและชลประทาน