การเขียนประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายในการเขียนเพื่ออะไร

9923101 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์มีความแตกต่างจากลักษณะของการเขียนทั่วไป โดย การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์อันดี เพื่อให้ได้รับความนิยม ความเชื่อถือ ศรัทธา ความร่วมมือ และการสนับสนุนจากกลุ่มคนเป้าหมาย อันจะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรดำเนินงานไปได้ด้วยดี มีความราบรื่น จนสามารถประสบความสำเร็จ


บทที่ 2 หลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเป็นกิจกรรมหลักที่นักประชาสัมพันธ์ทุกคนควรมีทักษะ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการผลิตสารสำหรับสื่อทุกประเภทที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อการถ่ายทอดความรู้สึก ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ ข่าวสาร โดยใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีแนวคิดหลักเกี่ยวกับงานเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ ประเด็นอะไรที่ต้องการนำเสนอ และประเด็นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ ใคร จุดอ่อน จุดแข็งของเรื่องคืออะไร แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่าง และเขียนให้เข้าใจง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อนึ่งแนวคิดหลักนี้เพื่อนำเอาสิ่งที่มีอยู่ มาทำให้อยู่ในรูปของงานเขียนที่ประสบความสำเร็จ


บทที่ 3 การเขียนข่าวแจกและภาพข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์

การเขียนข่าวแจกและภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ นับเป็นภารกิจสำคัญของการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงาน ที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญที่สามารถมองประเด็นข่าวได้อย่างชัดเจน สามารถแตกประเด็นข่าวให้สอดคล้องกับการพิจารณาของสื่อมวลชนในแต่ละแขนง เพื่อให้สามารถเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ได้หลากหลายช่องทาง เพราะต้องยอมรับว่าข่าวและภาพข่าวที่ส่งไปนั้นไม่ใช่ว่าจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เสมอไป จึงจำเป็นที่นักประชาสัมพันธ์ต้องศึกษาวิธีการเขียนข่าวที่ดีทั้งในส่วนของโครงสร้าง และรูปแบบของการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์


บทที่ 4 การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์นอกจากทำการเสนอข่าวสารแล้ว ยังมีความสำคัญในด้านการเผยแพร่ความรู้ ความจริง ข้อคิดเห็นเพื่อสร้างความศรัทธาไปสู่ประชาชน โดยสามารถให้รายละเอียดได้ลึกซึ้งมากกว่าข่าวแจก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการนำเสนอเหมือนข่าว สามารถแต่งแต้มอารมณ์ด้วยลีลาการเขียนได้ สามารถสอดแทรกความคิดของผู้เขียนได้ เป็นการนำเสนอความคิดเห็นและทัศนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านโดยทั่ว ๆ ไป


บทที่ 5 การเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นงานเขียนรูปแบบหนึ่งที่สามารถให้ความรู้สาระ และความเพลิดเพลินในการอ่านพร้อม ๆ กันไป จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้สารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์สามารถเผยแพร่ได้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ หากแต่ในบทนี้จะนำเสนอการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น


บทที่ 6 การเขียนบทรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์

วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีข้อได้เปรียบกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น ๆ หลายประการ อาทิ สามารถเสนอข่าวได้รวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ มีราคาที่ถูกกว่าวิทยุโทรทัศน์ สามารถออกอากาศเสนอข่าวได้ทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น สามารถใช้ได้บ่อยครั้งในการส่งสารถึงผู้ฟังวิทยุ ในแง่การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้น บางครั้งนักประชาสัมพันธ์อาจต้องรับหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงาน นักประชาสัมพันธ์จึงควรที่จะต้องรู้จักสื่อวิทยุและสถานีวิทยุในระบบต่าง ๆ อย่างพอสมควร เพื่อผลในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ และใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ที่มีแต่ความรวดเร็วและไร้พรมแดน


บทที่ 7 การเขียนบทรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์

ปัจจุบันวงการวิทยุโทรทัศน์ได้มีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งแง่ของเทคโนโลยีการผลิต และรูปแบบการจัดรายการ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยิ่งมีความตื่นตัวมากเป็นพิเศษ เมื่อมีการเปลี่ยนระบบจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล ที่เรียกว่า วิทยุ-โทรทัศน์ดิจิทัล (digital broadcasting) คือการส่งผ่านภาพ และเสียงโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูง ภาพ และเสียงคมชัด สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ทำให้ได้คุณภาพของภาพ และเสียงคมชัดมากขึ้น


บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนในเอกสารและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อมวลชนที่ได้กล่าวไปแล้ว อาทิ การเขียนข่าวแจก ภาพข่าวแจก บทความ สารคดี ยังมีการเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์ ที่จะกล่าวถึงในบทนี้ คือ การเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ


บทที่ 9 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่

การทำงานประชาสัมพันธ์ในกระแสโลกยุคใหม่นั้น ต้องดำเนินการให้สอดคล้องเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในวงการสื่อได้นิยามคำว่าสื่อใหม่ (new media) ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารข่าวสารข้อมูล เพื่อใช้ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรได้ โดยสื่อใหม่มีจุดเด่น คือ ช่วยลดต้นทุน มีเทคนิคการนำเสนอที่ดี อาทิ รูปภาพ วีดีโอ คำคม หรืออินโฟกราฟิกที่มีความน่าสนใจ สื่อสารได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย วัดผลได้ ประชาชนมีส่วนร่วม และสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดทั้งพื้นที่ และเวลา


Comments


การเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายในการเขียนเพื่ออะไร

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์มีความแตกต่างจากลักษณะของการเขียนทั่วไป โดย การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์อันดี เพื่อให้ได้รับความนิยม ความเชื่อถือ ศรัทธา ความร่วมมือ และการสนับสนุนจากกลุ่มคนเป้าหมาย อันจะทำให้การดำเนิน ...

การเขียนประชาสัมพันธ์มีประโยชน์อย่างไร

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมาย 6 ประการ คือ การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบ การเขียนเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับ การเขียนเพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และการเขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด

การเขียนมีความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์อย่างไร

ความสำคัญของการเขียนประชาสัมพันธ์ ๑.ช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทันต่อเหตุการณ์ และสภาพสังคม ๒.ช่วยเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ๓.ช่วยสร้างความสำพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับประชาชน ๔.ช่วยทำให้องค์กร สินค้า หรือบริการเป็นที่รู้จักของประชาชน

วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็นการติดต่อสื่อสารจาก องค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและ ประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง