บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

June 8, 2017

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

เราคงได้ยินกิตติศัพท์ของบิทคอยน์และศักยภาพทางการตลาดของมันมาอย่างดี สำหรับผู้ที่สนใจและศึกษาในตัวบิทคอยน์คงจะทราบว่าบิทคอยน์นั้นตั้งอยู่บนระบบที่เรียกว่าบล็อกเชน ในบทความนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานบล็อกเชนในอีกรูปแบบที่ไม่ใช่แค่การสร้างสกุลเงินดิจิตอล สิ่งนี้เรียกว่า “Smart Contract”

Smart Contract คืออะไร

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

Smart Contract แปลตรงตัวคือ “สัญญาอัจฉริยะ” สำหรับคำว่า “สัญญา” ในที่นี้ อาจจะเป็นสัญญาการว่าจ้าง สัญญาการซื้อขาย หรือเอกสารของทางการ สิ่งนี่เริ่มจากการที่มีชายคนหนึ่งนามว่า Nick Szabo เป็นผู้เสนอไอเดียว่า บล็อกเชนสามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร ทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และมันยังโกงไม่ได้อีกด้วย เพราะทุกคนในบล็อกเชนจะเป็นพยานว่าสัญญานี้เกิดขึ้นและบรรลุจริงๆ

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย

Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์เบื้องหลัง Ethereum วัย 22 ปี ได้นิยาม Smart Contract เอาไว้ว่า มันคือการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์หรือเงินตราเข้าไปในตัวโปรแกรม และโปรแกรมนี้จะทำงานด้วยตัวของมัน และ ณ จุดจุดหนึ่งมันจะทำการเช็คเงื่อนไขว่า สินทรัพย์นี้ควรจะถูกส่งต่อไปที่ใคร หรือควรจะถูกโอนคืนกลับไปให้เจ้าของ

บล็อกเชนกับสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อธิบาย
Smart Contract เปรียบเสมือนตู้กดน้ำ เราใส่เงินไปจำนวนหนึ่งที่เพียงพอกับราคาของน้ำที่เราจะต้องการจะซื้อ ตู้กดน้ำก็จะปล่อยเครื่องดื่มนั้นออกมาให้เรา และจะเก็บเงินจำนวนนั้นไป ถ้าเงินนั้นเกิน ก็ทอนกลับมาให้เรา หรือถ้าเราใส่เงินยังไม่พอ ตู้น้ำก็จะยังไม่ให้สินค้ากับเรา และเรายังเลือกที่จะขอเงินคืนได้โดยการกดปุ่ม หรือเมื่อรอถึงระยะเวลาหนึ่งมันจะดีดเหรียญคืนออกมาให้เอง

พอจะเห็นภาพเปรียบเทียบไปแล้ว มาทำความเข้าใจความเป็นจริงเลยดีกว่า การทำงานของ Smart Contract คือ คุณเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยโค้ดนี้จะบอกว่า ถ้าเกิด….แล้วจะเกิด…… จากนั้นนำชุดคำสั่งโค้ดนี้ไปใส่ไว้ในบล็อกเชน สัญญาอัจฉริยะนี้ก็จะพร้อมทำงาน

ตัวอย่าง: อพาร์ทเมนต์อัจฉริยะ

ผมมีอพาร์ทเมนต์ไฮเทคอยู่ที่หนึ่ง ประตูทุกๆบานในอพาร์ทเมนต์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อรับข้อมูลได้ว่าจะยอมให้ผู้พักอาศัยที่มีคีย์การ์ดที่ถูกต้องถึงจะผ่านเข้าห้องไปได้หรือไม่ และผู้อยู่อาศัยแต่ละคนจะมีคีย์การ์ด หรืออาจะเป็นแอปมือถือที่เอาไว้ใช้กับประตูเพื่อเข้าห้อง

พอถึงวันที่ต้องจ่ายค่าเช่า ผู้อยู่อาศัยสามารถทำการโอนบิทคอยน์หรือสกุลเงินอื่นๆไปที่ address ที่กำหนดไว้ของแต่ละห้อง ตัวโค้ด Smart Contract ที่ดูแลเรื่องนี้จะทำการตรวจสอบว่า มีเงินเข้ามาเป็นจำนวนนี้ซึ่งถูกต้องตามจำนวนที่ต้องจ่าย ตัวบล็อกเชนก็จะบันทึกการจ่ายครั้งนี้ไว้ และประตูก็จะยังสามารถูกเปิดด้วยคีย์การ์ดนั้นอยู่

แต่ถ้าคุณจ่ายเงินช้ากว่ากำหนด Smart Contract ก็จะทำงานในวันสุดท้ายที่ต้องจ่ายเงิน และสั่งล็อคห้องที่ค้างชำระ ไม่ให้ใช้คีย์การ์ดของลูกค้าในการเข้าห้องได้ บล็อกเชนและ Smart Contract เข้ามาช่วยลดภาระหน้าที่ของผู้ดูแลอพาร์ทเมนต์นี้ เขาแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยด้วยซ้ำ

ตัวอย่าง: การทำใบขับขี่

ผมต้องการจะต่อใบขับขี่ของผม กรมขนส่งได้ส่งข้อสอบมาให้ทำแบบออนไลน์ หลังจากทำสำเร็จ Smart Contract จะทำการเช็คว่าผลสอบผ่านเกณฑ์หรือไม่ และถ้าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลการสอบครั้งนี้ก็จะบันทึกไว้

ลำดับต่อไป ผมโอนบิทคอยน์ให้กับกรมขนส่งเป็นค่าเอกสาร Smart Contract เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า สอบผ่าน และจ่ายเงินครบ ถือว่าบรรลุสัญญาที่ถูกตั้งไว้ ก็จะทำการส่งใบขับขี่ให้ผม แต่ไม่ใช่ใบขับขี่แบบเป็นบัตรหรือกระดาษนะ มันคือใบขับขี่ดิจิตอลที่อาศัยอยู่บนบล็อกเชนเช่นกัน

ทุกคนจะเห็นว่าผมได้ใบขับขี่ใหม่แล้วอย่างถูกต้อง และสามารถเห็นได้ว่าใบขับขี่ผมยังใช้งานได้อยู่ ถ้าเกิดผมโดนเรียกตรวจเมื่อไร ผมก็หยิบแอปมือถือที่ทำการดึงข้อมูลใบขับขี่ของผมออกมาจากบล็อกเชนให้คุณตำรวจดู

ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องไปต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอทำใบขับขี่อีกแล้ว เราเพียงแค่ใช้ซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ที่จำลองการขับรถจริงแล้วให้ผู้คุมสอบตรวจดูจากระยะไกล ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

ตัวอย่าง: รถเช่าอัตโนมัติ

ผมมีรถยนต์ไฮเทคคันหนึ่งที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและระบบบล็อกเชนได้ ผมจอดมันทิ้งไว้ในที่สาธารณะ หวังให้มีคนมาเช่า เมื่อมีลูกค้าผู้สนใจ ลูกค้าคนนี้แค่เลือกปลายทาง และโอนเงินบิทคอยน์มาให้ address ที่ผูกกับรถคันนี้

Smart Contract จะทำการตรวจสอบและยินยอมให้ประตูเปิด เพื่อให้ลูกค้าคนนี้ขึ้นไปนั่งบนรถ เผอิญรถคันนี้เป็นรถรุ่นล่าสุดของ Tesla ลูกค้าของเราไม่จำเป็นต้องทำอะไร นั่งเฉยๆ เดี๋ยวรถคันนี้จะขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติไปยังที่หมายให้คุณเอง

บล็อกเชนที่สนับสนุน Smart Contract

1. บิทคอยน์ ถูกออกแบบมาให้ประมวลผลการแลกเปลี่ยน แต่ก็สามารถประมวลผลการแลกเปลี่ยนเอกสารในแบบของ Smart Contract ได้บ้าง

2. Side Chain เป็นบล็อกเชนที่ขนาบข้างกับบิทคอยน์ และจะเน้นการใช้งาน Smart Contract

3. NXT เป็นบล็อกเชนสำหรับ Smart Contract โดยทางผู้พัฒนาจะสร้างสัญญามาให้แล้วแบบสำเร็จรูป เราใช้ได้แค่นี้ เขียนเพิ่มเติมเองไม่ได้

4. Ethereum เป็นบล็อกเชนที่ถูกออกแบบมาเพื่อ Smart Contract คุณสามารถเขียนโค้ดเพื่อออกแบบ Smart Contract ของคุณยังไงก็ได้ แลกกับการค่าใช้จ่ายเป็นสกุลเงิน Ethereum สำหรับการประมวลผล Smart Contract นั้นๆ

ปัญหาของ Smart Contract

Smart Contract นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่สุดโต่งมากๆ อาจจะมากกว่าบิทคอยน์ซะด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ได้แค่แลกเงินกันผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว เรากำลังแลกเอกสาร แลกตัวตน แลกทรัพย์สิน เรียกได้ว่า แทบจะแลกเปลี่ยนกันได้เกือบทุกอย่าง และการแลกเปลี่ยนนี้ก็โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ด้วย แต่ถ้าเกิดว่าโค้ดใน Smart Contract มันมีปัญหาล่ะ? ถ้าเกิดสมมติจ่ายตังพอแล้ว แต่ Smart Contract ไม่ทำงาน ถ้าเป็นคนทั่วไป เราคงไปฟ้องศาลได้ แต่นี่เราคงฟ้องอะไรกับระบบบล็อกเชนไม่ได้ แล้วถ้าความผิดพลาดทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินมหาศาลหรือถึงขั้นเสียชีวิตล่ะ? รัฐบาลจะจัดการการใช้ Smart Contract อย่างไรไม่ให้เป็นผลเสียกับประชาชน? คำถามและอุปสรรคมากมายเหล่านี้ กำลังรอการถูกแก้ไขเพื่อให้ Smart Contract เป็นจริง

ในตอนนี้ Smart Contract อาจจะยังไม่ออกมาโลดแล่นในบล็อกเชนอย่างเต็มตัว เหล่าผู้พัฒนาและผู้ที่มีไอเดียเจ๋งๆกำลังขัดเกลาให้มันดียิ่งขึ้น เพือนำนวัตกรรมใหม่นี้มาเปลี่ยนชีวิตในทุกๆวันของคุณ แล้วคุณล่ะครับ พร้อมรับมือ เจ้า Smart Contract แล้วหรือยัง

Blockchain กับ Smart Contract มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

Smart Contract เกิดมาจาก Nick Szabo ที่เป็นผู้เสนอไอเดียว่า Blockchain สามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร โดยทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และการ Hack ข้อมูลทำได้ยาก

บล็อกเชนกับบิทคอยน์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

- Block chain คือ ไฟล์ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการฝากถอนเงินของทุกๆคน - Bitcoin คือ ธนบัตร หากเป็นธนาคาร ธนาคารจะบันทึกข้อมูลคุณไว้ในระบบของธนาคาร แต่ว่าระบบของ Bitcoin จะถูกบันทึกไว้ในระบบชื่อว่า “Block Chain” ซึ่ง Block Chain จะมีข้อมูลของทุกรายการธุรกรรม ที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด

Blockchain คืออะไรและมีอะไรบ้าง

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำ ...

บล็อกเชน มีความสําคัญอย่างไร

เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นกลไกฐานข้อมูลขั้นสูงที่เปิดรับการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาเนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้ ...