ภาษากับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

   ๑. ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย

   ๒. ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ   ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา)  และวรรณคดีลายลักษณ์

   ๓. ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

   ๔. ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา

   ๕. ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

   ๖. ภาษาสะท้อนให้เห็นลักษณะและวิถีชีวิตของชนในชาตินั้นๆ

   ๗. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทำให้คนในชาตินึกถึงความเป็นชาติเดียวกัน   เป็นพวกเดียวกัน

มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของภาษา การใช้ภาษาในสังคมไทย ภาษากับวัฒนธรรม ภาษากับวัฒนธรรมด้านค่านิยมหรือรสนิยม ทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อภาษารวมถึงภาษากับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

    หนังสือ "ภาษากับสังคม" เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษากับสังคม (Language and Society) ผู้เขียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าว โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของภาษา การใช้ภาษาในสังคมไทย การแปรของภาษาตามปัจจัยทางสังคม การเปลี่ยนแปลงของภาษา สถานการณ์การใช้ภาษาในสังคมไทย และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ปรากฏการณ์ทางภาษาเชื่อมโยงกับบริบทของสังคมในชีวิตประจำวันผ่านบทเรียนเรื่องภาษากับสังคมนี้ได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ต่อไป

บทที่ 1 ธรรมชาติภาษาของมนุษย์
บทที่ 2 การใช้ภาษาในสังคมไทย
บทที่ 3 การแปรของภาษาตามปัจจัยทางสังคม
บทที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
บทที่ 5 สถานการณ์การใช้ภาษาในสังคมไทย
บทที่ 6 ภาษากับวัฒนธรรม
บทที่ 7 ภาษากับวัฒนธรรมด้านค่านิยมหรือรสนิยม
บทที่ 8 ทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อภาษา
บทที่ 9 ภาษากัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ISBN: 9786165382847 (ปกอ่อน) 144 หน้าขนาด: 170 x 240 x 8 มม.น้ำหนัก: 230 กรัมเนื้อในพิมพ์: ขาวดำชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์สำนักพิมพ์: โอเดียนสโตร์, สนพ.เดือนปีที่พิมพ์: --/2016

สินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน

บทความ
ภาษากับสังคม
ภาษาสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก ที่ใดมีสังคมที่นั่นต้องมีภาษาสังคมหมายถึงกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน ประกอบด้วยตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน และมีวัฒนธรรมร่วมกัน มนุษย์จำเป็นต้องมีภาษาเพื่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่นในสังคม มีเรื่องจริงว่ามีผู้พบเด็กที่เกิดในที่ที่ไม่ใช่สังคมมนุษย์ เช่นในป่า หรือถูกขังไว้ลำพัง และเติบโตขึ้นโดยไม่เคยพบมนุษย์คนอื่น เด็กเหล่านั้นไม่พูดภาษาอะไรเลย แสดงว่ามนุษย์จะพูดภาษาได้เมื่ออยู่ในสังคม หากไม่มีสังคมก็ไม่มีภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในสังคม คนในสังคมใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร จุดประสงค์ของการพูดหรือการเขียนคือเพื่อบอกให้คนอื่นรู้ข้อเท็จจริงความต้องการ ความรู้สึก ความคิดเห็น ฯลฯ ของตน ดังนั้นการศึกษาภาษาการเรียนการสอนภาษา ตลอดจนการตัดสินความถูกความผิดของภาษา จึงต้องพิจารณาปริบททางสังคม
นอกจากภาษาจะสื่อสารสิ่งต่างๆที่ผู้พูดต้องการแล้ว ภาษายังสื่อความหมายทางสังคมด้วย กล่าวคือบ่งบอกสถานภาพหรือภูมิหลังของคนที่พูด เช่นคำว่า คะ ค่ะ โดยปรกติสื่อว่าผู้พูดเป็นผู้หญิง ถ้าคนใดออกเสียงคำว่าพ่อ เป็น “ป้อ” ก้หมายความว่าคนนั้นเป็นคนภาคเหนือ ออกเสียง ร้อน เป็น“ฮ่อน”หรือ “ฮ้อน” ก็หมายความคนนั้นเป็นคนภาคอีสาน และถ้าออกเสียง งู เป็น “ฮู” แสดงว่าผู้พูดนั้นแป้นคนภาคใต้ ถ้าผู้พูดใช้คำว่า เห่อ เว่อ แสดงว่าผู้พูดเป็นวัยรุ่นหรือใช้ภาษาแบบวัยรุ่น ลักษณะภาษาอย่างนี้แสดงความหมายทางสังคม ซึ่งสื่อเพื่อใช้รู้ว่าผู้พูดเป็นเพศใด มาจากถิ่นใด หรืออายุรุ่นใด เป็นต้น
ความหลากหลายของภาษา การมีภาษาต่างกันจำนวนมากในสังคม เกิดขึ้นได้ในสังคมทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ชนชาติหรือชาติพันธ์ต่างๆมีวัฒนธรรมต่างกันมักพูดภาษาต่างกันด้วย ในสังคมไทยก็มีความหลากหลายของภาษา เนื่องจากมีกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆหลายกลุ่ม ภาษาที่ใช้พูดจึงมีมากมายหลายภาษาถ้ามองมุมที่แคบลงไปอีก คือมองไปในภาษาแต่ละภาษา ก็มีความหลากหลายของภาษาในลักษณะอื่นอีก
ความหลากหลายของภาษาจึงอาจพิจารณาได้เป็น 2 ทาง คือ
1.การที่สังคมหรือชุมชนใดก็ตามมีภาษาจำนวนมาก
2. การที่ภาษาใดภาษาหนึ่งมีรูปแบบการใช้หลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันหรือมีความหลากหลายในตัวของภาษาแต่ละภาษานั่นเอง
ความหลากหลายของภาษาที่เน้นในที่นี้คือความหลากหลายการที่ภาษาใดภาษาหนึ่งมีรูปแบบการใช้หลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันหรือมีความหลากหลายในตัวของภาษาแต่ละภาษานั่นเอง เพราะจะเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง ความหลากหลายดังกล่าวนี้พบในภาษาทุกภาษา ภาษาอังกฤษเป็นตัวอย่างที่ดีของภาษาที่มีความหลากหลายของภาษามาก เพราะเป็นภาษาที่มีผู้ใช้จำนวนมากและกระจายไปทั่วโลก
ภาษาไทยก็มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน ภาษาถิ่นต่างๆ เช่น ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน และภาษาถิ่นใต้มีความต่างกันใสบางลักษณะ แสดงว่าภาษาไทยมีความหลากหลาย ในทำนองเดียวกัน ภาษาไทยที่ผู้ใช้มีอายุต่างกัน อาชีพต่างกัน ฐานะในสังคมต่างกัน ความรู้ต่างกัน ฯลฯ
ก็มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ภาษาไทยที่ทำหน้าที่ต่างกัน เช่น ภาษาวิชาการ ภาษากฎหมาย ภาษาโฆษณา ภาษานวนิยาย ก็เป็นตัวอย่างแสดงความหลากหลายของภาษาไทยทั้งสิ้น

เขียนโดย jalunee075 ที่20:57

ภาษากับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร