ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

ฝากเงินไว้ที่ไหน ได้ผลตอบแทนเยอะที่สุด

ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ คงเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี แต่ถ้าอยากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และมีความเสี่ยงไม่มาก จะไปลงทุนที่ไหนดี?

เราได้ทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างเงินฝากประจำ ตราสารหนี้ระยะสั้น และตราสารหนี้ระยะกลางให้ได้เห็นกัน ตามตารางด้านล่างนี้เลย

ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

ข้อมูล ณ วันที่ 20 มี.ค. 62

*อัตราผลตอบแทนเงินฝากประจำเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี

**เสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ

***คุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 สถาบันการเงิน ตั้งแต่ 11 ส.ค. 63 เป็นต้นไป

****อัตราผลตอบแทนอันดับ 1 ของกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นและตราสารหนี้ระยะกลาง ย้อนหลัง 3 ปี จาก https://www.finnomena.com/fund/ranking

สนใจลงทุนกับ FINNOMENA คลิกเลย ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

https://www.finnomena.com/nter-exclusive/

รายละเอียดกองทุน TMBUSB

https://www.finnomena.com/fund/tmbusb

รายละเอียดกองทุน TMBABF

https://www.finnomena.com/fund/tmbabf

ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

ผู้เขียน

ผลตอบแทนของการฝากเงินคืออะไร

Get Wealth Soon

มีความเชื่อว่าถ้าหากเราเป็นคนที่พร้อมจะเปิดใจให้กับเรื่องการออมเงิน การลงทุน และมีการวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง จะสามารถเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยมาก่อน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝากของเราอย่างไร ?

โดยปกติ เมื่อ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม เมื่อ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่เท่ากับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลอย่างไรกับเราและเศรษฐกิจ

การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาของสินค้าหรือบริการโดยรวมหรือที่เรียกว่า ‘อัตราเงินเฟ้อ’

อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลอย่างไรกับเรานั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นผู้กู้เงินหรือผู้ฝากเงิน

ถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง หากเราเป็นผู้กู้เงิน ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะลดลง แต่หากเราเป็นผู้ฝากเงิน เราจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากน้อยลง

ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับลดลง เรามีแนวโน้มจะกู้เงินเพิ่มขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยถูกลง นอกจากนี้ เรามีแนวโน้มจะฝากเงินน้อยลง และจะนำเงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนมากขึ้น

หากเราเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ความมั่งคั่งของเรามากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำจะทำให้ประชาชนหันมาลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น ผู้ที่ถือครองสินทรัพย์จึงมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย

โดยสรุป เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับลดลงคนจะใช้จ่ายมากขึ้น ในทางกลับกัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นคนจะใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการต่อไป ตามหลักอุปสงค์และอุปทาน

ดังนั้น หากเราต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย เราต้องประเมินว่าคนมีแนวโน้มจะใช้จ่ายเท่าไร การผลิตสินค้าและบริการมีแนวโน้มมากหรือน้อยกว่ากำลังการผลิต แล้วจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสม

หากคนใช้จ่ายน้อยเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นน้อยหรือลดลง เศรษฐกิจจะชะลอตัวและการจ้างงานลดลง ในกรณีนี้ ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง

หากคนใช้จ่ายมากเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วและร้อนแรงเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น เงินเฟ้อสูงขึ้นมากจนมูลค่าของเงินลดลง หรือเกิดวิกฤตฟองสบู่แตกทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ ธนาคารกลางอาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการใช้จ่าย ช่วยให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงเกินไปได้

อ่านเพิ่มเติม

การส่งผ่านนโยบายการเงิน