จังหวะของดนตรีไทยมีอะไรบ้าง

ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว  

               แต่จริงๆ แล้ว การที่จะรู้ว่าเพลงใดเป็นเพลงบรรเลงในจังหวะใด สามารถสังเกตได้จากเสียง “ฉิ่ง” และ “กลอง” ซึ่งเรียกว่า จังหวะ “หน้าทับ” ที่ปรากฏในแต่ละห้องเพลงเป็นสำคัญ 

               เพลงไทยจะมีการแบ่งห้องเพลงออกเป็นเลขคู่ (ตามคติทางพุทธศาสนา) ใน 1 ชุดหรือ1แถว จะมี 8 ห้อง,หรือ 4 ห้อง   โดยแต่ละห้องจะมี 4 จังหวะ แต่ละจังหวะคือ 1 ตัวโน็ต   ดังนั้น เสียงฉิ่งที่จะปรากฏในเพลงแต่ละอัตราจังหวะ ก็จะแสดงได้ดังนี้

จังหวะ 3 ชั้น      |  –  –   –  –  |  –  –  –  ฉิ่ง|  –   –   –  –   |  –  –  – ฉับ|
จังหวะ 2 ชั้น      |  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|
จังหวะชั้นเดียว    |  – ฉิ่ง  – ฉับ| – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|

               ทำนอง   เพลงไทยทุกเพลงจะใช้ทำนองหนึ่งเป็นทำนองหลักในการบรรเลง ( ทางฝรั่งเรียกว่า Theme หรือ Basic melody) ซึ่งจะบรรเลงโดยเครื่องดนตรีบางชิ้นสำหรับให้เป็นหัวใจหลักของวงเท่านั้น ไม่ได้บรรเลงโดย เครื่องดนตรีทุกชิ้น เช่นถ้าเป็นวงปี่พาทย์ ผู้ที่บรรเลงทำนองหลักนี้ก็คือ “ฆ้องวงใหญ่”   ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงทำนองหลักดังกล่าว โดยการแปรให้เป็นแนวเสียงและวิธีบรรเลงที่เหมาะกับบุคคลิกของตนเองประสานกันไป ซึ่งเรียกแนวการแปรนี้ว่า “ทาง” เช่น “ทางใน” – จะหมายถึงทำนองเพลงที่บรรเลงโดยแปรให้เป็นไปตามลักษณะเสียงของปี่ใน เป็นต้น

               สิ่งที่กำกับให้การแปรทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเหล่านี้เป็นไปในรอยเดียวกันก็คือ เครื่องประกอบจังหวะ อันได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง นั่นเอง

               มาตราเสียง    หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียง   ดนตรีไทยมีอยู่ 7 ขั้นหรือ 7 เสียง เทียบได้กับเสียงดนตรีสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)   แต่มีข้อแตกต่างคือ แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น ซึ่งต่างจากดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง -มี ไป ซอล-) ทำให้เสียงจากเครื่องดนตรีไทยเดิม ไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้   ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น

               การประสานเสียง  ในดนตรีไทยจะมีการประสานเสียง 2 อย่าง คือ การประสานเสียงภายใน – ซึ่งเกิดจากการสร้างเสียงไม่น้อยกว่า 2 เสียงพร้อมกันภายในของเครื่องดนตรีบางชนิด   เช่น ระนาด , ฆ้องวง,   ซอสามสาย,  ขิม.. ซึ่งมักใช้เสียงประสานที่เรียกว่า “ขั้นคู่เสียง” (interval) เป็นคู่แปด (เช่น โด ต่ำกับ โด สูง) หรือคู่ห้า (เช่น โด กับ ซอล)    แต่จะไม่ใช้คู่เจ็ด หรือคู่เก้า และการประสานเสียงภายนอก – อันเกิดจากเสียงเครื่องดนตรีต่างชนิด ซึ่งมีทางเสียงต่างกัน แต่บรรเลง (แปร)ในทำนองเดียวกัน ประสานกันไป   นอกจากนี้ยังมีเสียงจากเครื่องให้จังหวะต่างๆ (ฉิ่ง , กลอง..) อีกด้วย

จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กัน
ในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ

จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สามชั้น
จังหวะปานกลาง     ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สองชั้น
จังหวะเร็ว                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   ชั้นเดียว

               2.2
จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่งฉับสลับกันไป ตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง ตลอดเพลง บางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้ จังหวะฉิ่งนี้นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะ สามชั้น  สองชั้น  หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว

              2.3 จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจากทับ”  เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

 3. ทำนองดนตรีไทย
คือลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์   บทเพลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ เหมือนกันทุกชาติภาษา จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่เหมือนกัน เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่แตกต่างกัน ทำนองของดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความยาว ความกว้างของเสียง และระบบหลักเสียงเช่นเดียวกับทำนองเพลงทั่วโลก

                3.1 ทำนองทางร้อง  เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของเครื่องดนตรี และมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ทำนองทางร้องคลอเคล้าไปกับทำนองทางรับหรือร้องอิสระได้ การร้องนี้ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ

               3.2 ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวงดนตรี ซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” เดิมนิยมแต่งจากลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ และแปรทางเป็นทางของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงในแต่ละท่อน 2 ครั้งซ้ำกัน ภายหลังได้มีการแต่งทำนองเพิ่มใช้บรรเลงในเที่ยวที่สองแตกต่างไปจากเที่ยวแรกเรียกว่า “ทางเปลี่ยน

 4. การประสานเสียง
หมายถึง การทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกันเป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้

              4.1 การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียง พร้อมกันได้  โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่   (คู่คู่คู่คู่คู่และ
 คู่7)

             4.2 การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียงและความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลงเหมือนกันก็ตาม

             4.3การประสานเสียงโดยการทำทาง  การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของ  การบรรเลง

ประวัติ

      ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

       สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

       ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

        รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม

ลักษณะ

          ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (

จังหวะหลักของดนตรีไทยนิยมใช้เครื่องดนตรีอะไรประกอบจังหวะ

จังหวะ หมายถึง การแบ่งช่วงระยะความสั้น ยาว ของทำนองเพลง ให้มีสัดส่วนเท่าๆกัน โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และกลองต่างๆ เป็นเครื่องวัด แบ่งเป็นปรเภทได้ดังนี้

จังหวะของดนตรีไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1.3.8. จังหวะ หมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลงซึ่งดำเนินไปด้วยความสม่ำเสมอ ทุกระยะของส่วนที่แบ่งนี้คือ “จังหวะ” ดนตรีไทยแบ่งจังหวะออกเป็น 3 อย่าง คือ ก. จังหวะทั่วไป คือ จังหวะที่มีอยู่ในใจของผู้บรรเลง และผู้ขับร้อง ข. จังหวะฉิ่ง คือ การใช้ฉิ่งเป็นเครื่องตีบอกจังหวะ หนัก เบา ช้า เร็ว ถี่ห่าง ค. จังหวะหน้าทับ คือ การ ...

จังหวะของเพลงมีอะไรบ้าง

๑. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำาคัญในการบรรเลงและ ขับร้อง จังหวะสามัญที่ใช้กันในวงดนตรีจะมี๓ ระดับ คือ จังหวะช้า ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะสามชั้น จังหวะปานกลาง ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะสองชั้น จังหวะเร็ว ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะชั้นเดียว

เพลงไทยมีกี่จังหวะ

เพลงไทยจะมีการแบ่งห้องเพลงออกเป็นเลขคู่ (ตามคติทางพุทธศาสนา) ใน 1 ชุดหรือ1แถว จะมี 8 ห้อง,หรือ 4 ห้อง โดยแต่ละห้องจะมี 4 จังหวะ แต่ละจังหวะคือ 1 ตัวโน็ต ดังนั้น เสียงฉิ่งที่จะปรากฏในเพลงแต่ละอัตราจังหวะ ก็จะแสดงได้ดังนี้