ลักษณะการแต่งวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก เป็นแบบใด

 “ง่อก๊ก” เป็นอยู่อย่างนี้ไม่นานเท่าใด พอสิ้นพระเจ้าเล่าปี่พระเจ้าโจผีและพระเจ้าซุนกวนแล้ว เชื้อสายที่รับรัชทายาทสืบมาก็เสื่อมความสามารถลงด้วยกันทั้งสามก๊ก สุมาเจียวซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการวุยก๊กปราบจ๊กก๊กได้ก่อน แล้วสุมาเอี๋ยนลูกสุมาเจียวชิงราชสมบัติวุยก๊ก ตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่าราชวงศ์จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยนปราบง่อก๊กได้อีกก๊กหนึ่ง แผ่นดินจีนก็กลับรวมกันเป็นราชอาณาเขตเดียวกันสืบมา

��Ҿ���Ҿ�Ф�ѧ (˹) ���Ѻ¡��ͧ������ʹ������㹺�ôҡ�շ�駻ǧ ���¸���������Ѫ��ŷ�� � �����դ�������ö��㹡���觤ӻ�оѹ��ء������ �ҹ��ó��շ���繪���Ӥѭ����ش�ͧ��ҹ��� �ҹ�ž���Ǵ�èչ��о���Ǵ���ͭ

��Ҿ���Ҿ�Ф�ѧ �����ǧ���ԪԵ��Ѫ���¾����ҡ�ا������ �繺ص���Ҿ������ú�Թ������Թ������ (�ح��) ��з�ҹ���˭ԧ��ԭ �鹵�С���׺����ҷҧ�չ ������Ѻ�Ҫ��ä��駡�ا�������繹�´�ҹ���ͧ�ط�� ���駶֧�����ѵ���Թ��� ���Ѻ��ô��ѡ����繾���ҾԾѲ���� ��к�ô��ѡ����ش��������Ҿ���Ҿ�Ф�ѧ (˹) ���˹觨��ʴ�������� �֧����ѭ��������� �.�.���� ��Ѫ��ŷ�� � ��ҹ�繵鹵�С�� �ح -�ŧ

�ҹ�Ծ���ͧ��ҹ��� �͡�ҡ���Եྪþǧ �����㹤��駡�ا���������� �ѧ������� �ҪҸ��Ҫ ���˹Ҥөѹ�� �����������ͧ�ҡ� �������ѹ�êҴ� �ѳ�����áѺ�ѳ���ѷ��

เรื่องสามก๊กเป็นนิยายประวัติศาสตร์ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) อำนวยการแปลจาก เรื่อง “สามก๊กเอี้ยนหงี” (ซันกั๋วเอี่ยนอี้-นิยายสามก๊ก) ฉบับภาษาจีนซึ่ง ล่อกวนตง (หลัวก้วนจง) แต่ง  เม่าจงกัง (เหมาจงกัง)ปรับปรุงแก้ไข และเขียนคำแนะแนวทางอ่านเรื่องสามก๊ก โดยเรียกชื่อนิยายเรื่องนี้ว่า “สามก๊กจี่” เป็นเหตุให้พระเจนจีนอักษร(สุดใจ ตัณฑากาศ) ให้ข้อมูลไว้ในตำนานหนังสือสามก๊กว่า “หนังสือสามก๊กไม่ใช่เป็นพงศาวดารสามัญ จีนเรียกว่า “สามก๊กจี่” แปลว่าจดหมายเหตุเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือซึ่งนักปราชญ์จีนคนหนึ่งเลือกเอาเรื่องในพงศาวดารจีนตอนหนึ่งมาแต่งขึ้น โดยประสงค์จะให้เป็นตำราสำหรับศึกษาอุบายการเมืองแลสงคราม”  แต่ในปัจจุบันชื่อ “สามก๊กจี่” หมายถึงสามก๊กฉบับประวัติศาสตร์  ส่วนฉบับนิยายนิยมเรียกว่า “สามก๊กเอี้ยนหงี่” หรือ “สามก๊กจี่เอี้ยนหงี”นิยายสามก๊กภาษาจีนทุกฉบับแม้จะแปลงชื่อให้ต่างกันไป แต่ทุกชื่อมีคำว่า “สามก๊กจี่” อยู่ข้างหน้าเสมอ บางฉบับก็ใช้ชื่อ “สามก๊กจี่” เหมือนฉบับประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องสามก๊กกล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ปีที่สองของรัชกาลพระเจ้าเลนเต้ พ.ศ. 763 ถึงปีที่ 16 ของรัชกาลพระเจ้าจิ้นอู่ตี้(สุมาเอี๋ยน) พ.ศ. 823 ซึ่งรวมสามก๊กได้หมดเป็นเวลา 111 ปี เน้นเรื่องสงครามระหว่างจ๊กก๊ก(เล่าปี)  วุ่ยก๊ก(โจโฉ)  ง่อก๊ก(ซุนกวน) การเมืองการปกครอง ความเจริญและความเสื่อมของก๊กทั้งสามนี้เป็นหลัก

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหนังสือสามก๊ก. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 2538.

พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. สามก๊ก. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2544

มาลินี  ดิลกวณิช. “สามก๊ก จุดเริ่มสำคัญของการรับวรรณกรรมจีนสู่วงวรรณกรรมไทย.” ใน สามก๊กวรรณทัศน์. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 2536.

เจ้าฉีผิง. “สามก๊กจี่เอี้ยนหงี (ซันกั๋วจื้อเอี่ยนอี้).” ใน สารานุกรมวรรณคดีจีน. สำนักพิมพ์สารานุกรมจีน  สาธารณรัฐประชาชนจีน, 2529.

ล่อกวนตง(หลัวก้วนจง). สามก๊กเอี้ยนหงี (ซันกั๋วเอี่ยนอี้). ปรับปรุงโดย  เม่าจงกัง. สำนักพิมพ์ประชาชนมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน, 2529.

เสิ่นซินหลิน. ซันกั๋วเอี่ยนอี้เต่าตู๋ (แนะแนวทางอ่านนิยายสามก๊ก). สำนักพิมพ์วรรณกรรมโบราณมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน, 2543.

สามก๊ก (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า ๑๐ ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ยุคสมัยราชวงศ์หยวน บทประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ “หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา” โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ ๒ โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย

ลักษณะการแต่งวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก เป็นแบบใด

สามก๊กมีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน[๓] ภาพโดยรวมของสามก๊กกล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก ในปี พ.ศ. ๗๖๓ - พ.ศ. ๘๒๓ โดยจุดเริ่มต้นของสามก๊กเริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. ๗๒๖ ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง รวมทั้งการแย่งและช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นของก๊กต่าง ๆ อันประกอบด้วยวุยก๊กหรือก๊กเว่ย จ๊กก๊กหรือก๊กสู่ และง่อก๊กหรือก๊กหวู จนถึงการสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยน รวมระยะเวลาประมาณ ๖๐ ปี นอกจากนี้ สามก๊กยังเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับไซอิ๋ว ซ้องกั๋งและความฝันในหอแดง ซึ่งนักอ่านหนังสือจำนวนมากยกย่องสามก๊กเป็นบทเรียนตำราพิชัยสงครามภาคปฏิบัติ การบริหารและเศรษฐกิจ

ลักษณะการแต่งวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก เป็นแบบใด

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งจีนในขณะนั้นบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระส่ำระสาย เกิดการแตกแผ่นดินออกเป็นก๊กต่าง ๆ รวมสามก๊กด้วยกัน รวมทั้งมีการทำสงครามอันยาวนานนับ ๑๐๐ ปี และสุดท้ายจีนที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าก็กลับมารวมเป็นจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์จิ้นขึ้นปกครองประเทศจีนต่อ ภายหลังได้มีการชำระประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ ในอดีตในยุคนั้น โดยนักปราชญ์ชาวจีนชื่อตันซิ่ว (เฉินโซ่ว/Chen Sou)

บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๗๓ - พ.ศ. ๑๙๔๓ หลัว กวั้นจงในขณะที่เขากำลังทำงานเป็นกุนซือให้ก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง(ต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี) เขาได้นำซันกั๋วจือมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจือบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจือนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจือร้อยละ ๗๐ และแต่งเองร้อยละ ๓๐ โดยประมาณ

ลักษณะการแต่งวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก เป็นแบบใด

ในประเทศไทย สามก๊กได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์ ดังนั้นเมื่อนำสามก๊กของหลัว กวั้นจงซึ่งเป็นต้นฉบับ นำมาเปรียบเทียบเคียงกับภาษาไทยที่แปลโดย สังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นการแปลออกมาในรูปแบบของตำราพิชัยสงคราม หรือสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ หรือฉบับสามก๊ก ฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ จะเห็นว่าเนื้อและความหมายของบทประพันธ์ในหลายตอนมีคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการคลาดเคลื่อนของความหมายในสามก๊กนั้นเกิดจากผู้แปลโดยตรง อย่างไรก็ดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้ตัดสินให้ "สามก๊ก" เป็นวรรณคดีประเภทเรียงความยอดเยี่ยมประเภทนิทาน เสมอกับเรื่องราชาธิราช เนื่องจากมีการใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและทอดแทรกแฝงแง่คิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยถือว่าสามก๊กนั้น เป็นตำราสำหรับใช้ในการศึกษากลยุทธ์ในการทำสงครามและประวัติศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี

ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สามก๊กฉบับหลัว กวั้นจงได้มีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น และแปลพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช เพื่อให้คนไทยได้ใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม โดยมอบหมายให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นผู้อำนวยการแปลสามก๊ก มีความยาวทั้งสิ้น ๙๕ เล่มสมุดไทย ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไม่ได้แปลสามก๊กจากต้นฉบับทั้งหมด เนื่องจากการใช้สำนวน ภาษา และรูปแบบการแปลในตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง สามก๊กฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่งครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล มีจำนวน ๔ เล่มจบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และถูกนำมากล่าวถึงในบทละครนอกเรื่องคาวี ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ความว่า

เมื่อนั้นไวยทัตหุนหันมาทันตรึกอวดรู้อวดหลักฮักฮึกข้าเคยพบรบศึกมาหลายยกจะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรนเล่ห์กลเรานี้อย่าวิตกทั้งพิชัยสงครามสามก๊กได้เรียนไว้ในอกสารพัดย้ายกลับไปทูลพระเจ้าป้าว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัดค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัดจะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา                                       บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่องคาวี

ลักษณะการแต่งวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก เป็นแบบใด

ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เนื้อหาในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ที่มีการกล่าวถึงตำราพิชัยสงครามและสามก๊ก นับเป็นหลักฐานการยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้นเคยของชาวไทยที่มีต่อสามก๊ก และได้มีการค้นพบจดหมายเหตุในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งโปรดปรานบทร้อยแก้วของสามก๊กที่เป็นการแปลฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และกลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้มีพระราชดำริรับสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง เพื่อสำหรับนำไปใช้ในการบริหารราชการบ้านเมืองสืบต่อไป

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาชำระสอบทานต้นฉบับ แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือพระราชทานในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ต่อมาโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรได้ขอประทานอนุญาตจัดพิมพ์จำหน่าย ในชื่อ “หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา” ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ซึ่งสามก๊กที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหลังจากนั้น พิมพ์ตามต้นฉบับหนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภามาโดยตลอด จนกระทั่งมีการตรวจสอบและชำระสอบทานต้นฉบับอีกครั้ง ด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์ดอกหญ้ากับหอสมุดแห่งชาติ