เจตคติในการทํางาน มีอะไรบ้าง

เอาแต่ฝันถึงวันที่ตัวเองจะเจริญก้าวหน้า โดยที่ไม่แสวงหาความรู้ ไม่พัฒนาตัวเอง และเอาแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา โดยไม่วิ่งหาโอกาส

  • เมื่อเจออุปสรรค ก็ถอดใจง่าย ๆ เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอ

  • ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และไม่สนใจที่จะหาความรู้ในด้านอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากแวดวงที่เราอยู่

  • คิดไปเองว่าตัวเองไม่สามารถทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ทั้งที่จริงแล้วตัวเองอาจจะมีศักยภาพมากพอ เพียงแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ

  • กังวลไปกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และคิดถึงแต่เรื่องแง่ลบ

  • ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ได้สำคัญ และไม่ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

  • ทัศนคติของตัวเราเองนั้นมีพลังมากกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากทักษะและความเพียรพยายาม ทัศนคติก็สามารถเป็นตัวชี้วัดได้ว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่ หากตอนนี้เราเห็นเพื่อน ๆ ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้ขึ้นเงินเดือน แม้ใจหนึ่งจะยินดีกับคนเหล่านั้น แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกสงสัยปนน้อยใจว่าทำไมเราถึงยังไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอะไรบ้างเลย ทั้งที่เราทำงานมานานแล้ว ก็อาจจะถึงเวลาที่เราต้องมามองถึงทัศนคติในการทำงานของเราดูบ้าง เพราะในชีวิตการทำงาน เพียงแค่ทำงานกับบริษัทมาหลายปี ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เราก้าวหน้าได้เสมอไป แต่มันอยู่ที่ทัศนคติในการทำงานด้วย ซึ่งวันนี้ JobThai จะพาไปดูว่าทัศนคติแบบไหนบ้างที่น่าจะเป็นสาเหตุที่ฉุดรั้งไม่ให้คนทำงานประสบความสำเร็จแบบคนอื่น ๆ

    1. ขาดความขยันหมั่นเพียร  

    ไม่มีคนทำงานที่ประสบความสำเร็จคนไหนที่มัวแต่ฝันแล้วประสบความสำเร็จ พวกเขาเหล่านั้นต้องลงมือทำด้วย เพราะในการทำงานโดยทั่วไปหรือการก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามสายอาชีพ เราต้องใช้ทั้งทักษะความสามารถ ความรู้จากการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน และการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง คอยแสวงหาความรู้ใหม่ พัฒนาตัวเอง และถ้าเราต้องการที่จะประสบความสำเร็จ เราก็ต้องวิ่งเข้าหาโอกาสไม่ใช่รอให้โอกาสเข้ามาหาเอง

    2. ถอดใจง่าย ๆ  

    คนทำงานทุกคนมักจะเจอปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ซึ่งปัญหาเป็นอีกปัจจัยที่จะวัดความความสำเร็จของเรา บางคนเมื่อเจอปัญหาก็เลือกที่จะล้มเลิกและถอดใจ เพียงเพราะประเมินความสามารถของตัวเองต่ำเกินไป และคิดว่าไม่มีวันที่จะทำในสิ่งที่ยากหรือท้าทายได้ แต่เราต้องจำไว้ว่าไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จเมื่อไร อย่างไร แม้แต่บุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลกก็ล้วนต้องผ่านอุปสรรค ผ่านช่วงที่ท้อแท้ในการเผชิญกับปัญหามาแล้วทั้งนั้น แต่พวกเขาเลือกที่จะลุกขึ้นและก้าวต่อจนประสบความสำเร็จ

    3. ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ   

    การทำงานรูปแบบเดิม ๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การทำเรื่องเดิม ๆ โดยไม่สนใจแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือพัฒนาทักษะให้ชำนาญขึ้น ในเรื่องงานและเรื่องราวรอบตัว จะทำให้เราเสียเปรียบคนอื่น เพราะในขณะที่คนอื่น เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เรากลับไม่เกิดการพัฒนาเลย ซึ่งถ้าเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ก็เท่ากับว่าเรากำลังย่ำอยู่กับที่และไม่ก้าวหน้าไปไหน เมื่อชำนาญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ที่ต้องทำต่อไปคือแสวงหาทักษะในการทำงานหรือความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะกระตุ้นให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์และช่วยพัฒนาการทำงานของเรา

    4. จำกัดศักยภาพของตัวเอง (โดยไม่รู้ตัว)

    คงไม่มีใครรู้จักเราได้เท่าตัวเราเอง ซึ่งถ้าเราไม่เชื่อใจหรือเชื่อในศักยภาพตัวเอง เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรคก็จะทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ จนบางครั้งเราอาจตีกรอบความสามารถของตัวเองโดยไม่ตั้งใจ เช่นการคิดว่า “ฉันทำสิ่งนี้ไม่ได้” หรือ “สิ่งนั้นยากเกินไปสำหรับความสามารถของฉัน” ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้นาน ๆ เข้า เราก็จะไม่กล้าทำในสิ่งที่ไม่มั่นใจว่าจะทำได้ ทั้งที่จริงแล้วเราอาจมีศักยภาพเพียงพอสำหรับสิ่งนั้น แต่กลายเป็นคนปิดประตูสู่โอกาสในการก้าวหน้าด้วยตัวเอง

    5. มัวแต่คิดในแง่ลบ

    การที่เรามัวแต่มองทุกอย่างในแง่ลบ นอกจากจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นแล้ว ยังจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความกังวลไปกับทุกเรื่องรอบตัว หรือมองว่าทุกอย่างเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข ซึ่งจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม บางครั้งการคิดในแง่ลบยังอาจส่งผลให้เราเป็นคนคิดมาก และคิดล่วงหน้าไปแล้วด้วยซ้ำว่าสิ่งไม่ดีทั้งหลายอาจเกิดขึ้นได้ หากปัญหาเกิดขึ้น ให้เราลองตั้งสติแล้วค่อย ๆ ประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ ทิ้งเรื่องไม่ดีที่เป็นแง่ลบหรือเลือกจำเป็นบทเรียนดีกว่า

    6. ให้ความสำคัญผิดประเด็น

    การเสียเวลาไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายในระยะยาวของ อาจทำให้เส้นทางสู่ความสำเร็จของเราต้องหยุดชะงักหรืออาจจะช้าลง ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่จะทำให้เราไม่หลงทางขณะก้าวไปสู่เป้าหมายที่สำคัญในชีวิต ในขณะเดียวกันเราก็ต้องรู้ว่าจะต้องตั้งเป้าหมายอย่างไร และให้ความสำคัญกับสิ่งไหนก่อน-หลัง

    เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ลองประเมินตัวเองว่าพลาดตรงไหนหรือผิดเพราะอะไร ซึ่งไม่ใช่เพื่อตำหนิตัวเอง แต่เพื่อเรียนรู้และพัฒนาในงานต่อไปต่างหาก

  • อย่าเอาแต่วิจารณ์คนอื่น แต่ให้พยายามทำความเข้าใจ เพราะคนแต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าสามารถยอมรับกันและกันได้ การทำงานก็จะราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • อย่าเอาเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ได้สำคัญหรือส่งผลกระทบต่อเราในระยะยาว มาเป็นประเด็นจนส่งผลกระทบต่อวันทั้งวันของเรา

  • เมื่อเกิดความกลัวและความกังวลเนื่องจากต้องทำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่พร้อม ก็ให้ตั้งสติ และค่อย ๆ ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ช้าลง เพื่อเรียบเรียงความคิดของเราให้ดีขึ้น

  • การพยายามเปลี่ยนความคิดหรือนิสัย ไม่ใช่สิ่งที่จะทำสำเร็จในวันสองวัน แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและไม่ท้อหรือยอมแพ้

  • ถ้าพูดถึงเรื่องการทำงานแน่นอนว่าสิ่งที่คู่กันก็คือ “ปัญหาเรื่องงาน” ที่จะพาให้เราท้อแท้ ถอดใจ ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีมองปัญหาและวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป บางคนมองว่าปัญหานั้นเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการทำงาน ในขณะที่บางคนสนุกในการคิดหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อแก้ไข ซึ่งสิ่งเดียวที่ทำให้คนทำงาน 2คนนี้คิดต่างกันนั่นก็คือ “ทัศนคติ” ที่จะทำให้ปัญหาเล็ก-ใหญ่ที่กำลังเผชิญ นั้นกลายเป็นแค่เรื่องท้าทายที่ต้องเอาชนะให้ได้ 

    ซึ่งการสร้างทัศนคติทางบวกเริ่มต้นง่าย ๆ โดยการพูดกับตัวเองด้วยคำพูดที่ดีและสร้างสรรค์ แต่นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับอื่นอีก 5 ข้อที่ JobThai รวบรวมมาฝาก เพื่อทำให้คำว่า “ปัญหาในการทำงาน” สำหรับคุณ กลายเป็นคำว่า “ความท้าทายในการทำงาน” แทน

    1. แค่ประเมินก็พอ อย่าตำหนิตัวเอง

    การประเมินตัวเองเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนควรทำอยู่แล้ว เพื่อที่จะได้รู้ว่าการทำงานที่ผ่านมาของตัวเราเองได้อะไรมากกว่าตอนเริ่มต้นไหม ผิดพลาดอะไรบ้าง หรือควรแก้ไขตรงไหน แต่ไม่ใช่การตำหนิตัวเองในทุกอย่างที่ทำ อย่าคิดว่าเราทำอะไรก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ดี ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นแค่ยอมรับมัน เรียนรู้ และหาวิธีที่จะไม่ทำผิดซ้ำอีก เพียงแค่นี้ก็จะช่วยผลักดันให้เรามีทัศนคติที่ดีได้แล้ว

    ซึ่งเราอาจลองบอกกับตัวเองว่า “งานนี้เป็นงานที่ท้าทาย ไม่มีใครอยากให้ผิดพลาด แต่พอเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเรื่องดีที่เราจะได้เรียนรู้ว่าทำผิดตรงไหน คราวหน้าจะได้ไม่พลาดแบบเดิมอีก” แล้วลองคิดหาวิธีใหม่ ๆ ในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อไป

    2. มองคนอื่นแบบเข้าใจ

    เมื่อเข้าใจตัวเองแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจเพื่อนร่วมงานคนอื่นด้วย ซึ่งนั่นคือการไม่มองว่าตัวเราเองเท่านั้นที่ถูกเสมอ ทุกคนมีเหตุผลในการทำงานที่ต่างกันไป มองว่าแต่ละคนมีวิธีคิดและวิธีทำงานที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเราเรียนรู้และเข้าใจในความต่างนั้น ก็จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและทำงานได้อย่างสนุกมากขึ้น

    ความเห็นไม่ตรงกันสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานหรือการใช้ชีวิตทั่วไป และบ่อเกิดของปัญหาหลาย ๆ อย่างก็คือความคิดไม่ลงรอยกัน เพราะบางครั้งเราก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงกับอีกฝ่าย ซึ่งหากลองช่วยกันหาวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา นอกจากจะได้งานแล้วเรายังได้รู้จักทัศนคติและความคิดของคู่สนทนาคนนั้นมากขึ้นอีกด้วย

    3. อย่าให้เรื่องน่าหงุดหงิดมาทำลายวันที่ดี

    ทุกเช้าของเรานั้นสามารถเป็นวันที่ดีได้เสมอ หากเราไม่เอาเรื่องเล็กน้อยของวันก่อน เมื่อวานซืน หรือของเดือนที่แล้วมาคิดอยู่ตลอดเวลา เพราะนั่นหมายถึงเรายังไม่มูฟออนจากปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และสุดท้ายก็จะมีแต่เราที่เกิดอคติ เกิดความหงุดหงิด และทำลายวันที่กำลังจะดีของตัวเราเองไป 

    สิ่งที่ควรทำคือ ระลึกไว้เสมอว่าไม่นานเรื่องพวกนี้ก็จะผ่านไป ลองบอกกับตัวเองบ่อย ๆ ก็ได้ว่า “เรื่องน่าเบื่อน่าหงุดหงิดอาจเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ามันไม่ใช่เรื่องที่ส่งผลกระทบไปนานแสนนาน ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บมาคิดต่อ ใช้โอกาสนี้นี่แหละ เพื่อฝึกฝนทักษะการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต”

    4. กำจัดความกลัวด้วยความคิดที่ดี

    เป็นธรรมดาเมื่อเราได้รับมอบหมายงานมา ก็อาจเกิดความกลัว ความไม่มั่นใจ และไม่พร้อมที่จะรับโอกาสนั้น เมื่อเจอสถานการณ์นี้ เราควรโยนความคิดที่ว่าเราทำไม่ได้ออกไป คิดซะว่าสิ่งนี้คือ “โอกาสที่ท้าทายในการแสดงความสามารถ” แล้วเริ่มตั้งสมาธิ ทำทุกอย่างให้ช้าลงเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย ซึ่งการทำทุกอย่างให้ช้าลงยังสามารถลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดในตัวชิ้นงานได้อีกด้วย เมื่อทำสมาธิเรียบร้อยแล้วความคิดดี ๆ ของเราจะเริ่มกลับมาอย่างแน่นอน

    เราอาจพูดกับตัวเองว่า “เราทำได้ เราจะจัดการมัน” หรือ “เราจะต้องทำงานนี้ออกมาได้อย่างดีแน่นอน”เพียงเท่านี้ ความกลัวที่มีก็จะลดลงไปอย่างมากเลยทีเดียว 

    5. ย้ำความคิดในเชิงบวก ทำจนเป็นนิสัย

    การกระทำหรือพฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตเกิดจากการปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งต้องใช้เวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ กินน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน และแน่นอนว่าการ “ฝึกคิดเชิงบวก” ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกเช่นกัน ซึ่งการจะเปลี่ยนนิสัยที่เรายังไม่เคยทำภายใน 1-2 เดือน นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่หากเราคอยย้ำความคิดเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอ นิสัยของเราก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย ถึงทุกวันจะมีบททดสอบมากมายรอบตัวที่คอยมาเพิ่มความคิดในแง่ลบ ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ และมองเห็นข้อดีของสิ่งนั้นให้ได้

    แม้หลายคนอาจคิดว่า พูดกับตัวเองทุกวันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้หรอก แต่เชื่อเราสิว่าหากคุณฝึกทำเรื่อย ๆ จนเป็นนิสัยแล้ว ไม่ว่าปัญหาจะมากมาย หรือใหญ่สักแค่ไหน เราก็จะสามารถมองเห็นข้อดีของปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน และการทำงานของเราก็จะราบรื่นและไม่สามารถบั่นทอนจิตใจเราได้อีกต่อไป

    เจตคติที่ดีในการทำงานมีอะไรบ้าง

    เจตคติที่ดีในการท างาน หมายถึง การแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งในลักษณะชอบ พึงพอใจ สนใจ เห็นด้วย ต้องการปฏิบัติงานนั้น ๆ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความสุขในการท างาน หากพบปัญหาหรืออุปสรรคก็สามารถหาแนวทางแก้ ไขปัญหานั้นได้ ลักษณะนิสัยที่ดีในการท างาน เป็นผลมาจากการมีคุณธรรม จริยธรรม และ ...

    เพราะเหตุใดจึงมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ

    การมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับการประกอบ อาชีพ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ถึงเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ผลงานมี คุณภาพดีขึ้น ได้ผลกำไรมากขึ้น ความสำคัญของการสร้างอาชีพจึงมีความสำคัญดังนี้

    อาชีพที่สุจริตมีอะไรบ้าง

    อาชีพสุจริต หมายถึง การทางานที่ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน อาชีพสุจริต ตัวอย่างอาชีพสุจริต เช่น พยาบาล พ่อครัว พนักงานขับรถโดยสาร ช่างตัดผม ครูนักกีฬา นักดนตรี นักแสดง นักร้อง พนักงานบริษัท ลูกจ้าง

    เจตคติมีความหมายว่าอย่างไร

    สรุปได้ว่าเจตคติหมายถึงความเข้าใจ ความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆ หรือผู้คนหรือ วิธีการปฏิบัติที่เกิดจากสิ่งนี้คำศัพท์“ทัศนคติ” กับ “เจตคติ” ไม่มีนัยที่แตกต่างกันเมื่อหมายถึง “attitude” องค์ประกอบของเจตคติ