ผลงาน ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ในยุคหลังอยู่ในลัทธิศิลปะแบบใด

ผลงาน ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ในยุคหลังอยู่ในลัทธิศิลปะแบบใด

จากข่าวคราวภาพปริศนา ในการครอบครองของ อุ๊ หฤทัย ม่วงบุญศรี อดีตนักร้องชื่อดัง ที่คาดว่าเป็นผลงานของ วินเซนต์ แวนโก๊ะ โดยมีตรวจสอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ซึ่งในงานแถลงข่าว เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ทางสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฯ ระบุว่า จากการวิเคราะห์อายุของภาพตั้งแต่เส้นด้ายผ้าใบ สีที่ใช้ การลงแปรง สอดประสานบ่งชี้ว่า เป็นภาพเก่าเเก่ตั้งเเต่ช่วงที่แวนโก๊ะยังมีชีวิตอยู่ เเต่ไม่สามารถระบุได้ว่า ภาพดังกล่าวเป็นผลงานของเเวนโก๊ะหรือไม่

ขั้นตอนต่อไปก็คือการรวบรวมหลักฐานให้ Van Gogh Museum ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตรวจสอบและรับรอง และหากเป็นผลงานของแวนโก๊ะ ก็คาดว่าจะมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท โดย อุ๊ หฤทัย ได้เปิดเผยว่า ซื้อภาพดังกล่าวมาจากร้านขายเฟอร์นิเจอร์ยุโรปเก่า ที่ จ.นครปฐม ในราคาเพียง 1 พันบาท

โดยผลงานของแวนโก๊ะทุกๆ ชิ้น ถือว่าทรงคุณค่าและมีมูลค่าสูงลิบลิ่ว ซึ่งภาพที่ชื่อ Vase with Fifteen Sunflowers ของเขาเคยสร้างสถิติเป็นภาพวาดที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2530 (ค.ศ.1987) มีผู้ประมูลไปในราคา 39.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 1.2 พันล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ.2560 (ค.ศ.2017) ก็มีผู้ประมูลไปในราคา 73.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.2 พันล้าบาท)

ส่วนภาพที่มีมูลค่าสูงที่สุดของแวนโก๊ะ คือ Portrait of Dr. Gachet มีราคา 137.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (4.2 พันล้านบาท) โดยภาพดังกล่าวมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 18 ของโลกในปัจจุบัน

ผลงาน ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ในยุคหลังอยู่ในลัทธิศิลปะแบบใด

แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้ในทุกวันนี้ แวนโก๊ะจะได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกของโลก เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ แต่ตลอดชีวิตการสร้างสรรค์งานศิลปะของเขา กลับไม่ได้รับการยอมรับ อีกทั้งยังถูกดูหมิ่นดูแคลน และสามารถขายผลงานได้เพียงภาพเดียวเท่านั้น ในราคาถูกๆ

วินเซนต์ แวนโก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2396 (ค.ศ.1853) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นศิลปินในลัทธิ Post-Impressionism โดยจุดเด่นภาพวาดของเขา ก็คือฝีแปรงอันทรงพลังจนกลายเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งการใช้สีที่บ่งบอกสภาวะของอารมณ์ ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกพลุ่นพล่าน ในช่วงที่สภาพจิตใจเร้าร้อน หรือการใช้สีหม่นเศร้า ที่สะท้อนถึงความหดหู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ก็สั่นสะเทือนวงการศิลปะ จนทำให้ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงทุกวันนี้

ว่ากันว่า เขาสร้างสรรค์ผลงานทั้งภาพร่างดินสอ และสีน้ำมัน ไม่ต่ำกว่า 2 พันภาพ แต่ขายภาพได้เพียงภาพเดียวเท่านั้น ในราคาถูกๆ โดยก่อนที่แวนโก๊ะจะตัดสินใจเดินทางบนเส้นทางศิลปะอย่างเต็มตัว เขาเคยประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายในแกลเลอรีศิลปะ แต่แทนที่จะทำหน้าที่เหมือนพนักงานขายทั่วไป เขากลับบอกลูกค้าว่า “อย่าซื้อ” เมื่อเห็นว่าภาพที่ลูกค้าเลือก ไร้คุณค่าทางศิลปะ และเมื่อเรื่องนี้ถึงหูเจ้าของแกลเลอรี เขาก็ถูกไล่ออกในทันที

ผลงาน ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ในยุคหลังอยู่ในลัทธิศิลปะแบบใด

ต่อมาแวนโก๊ะ ก็เข้าศึกษาในวิทยาลัยศาสนา เพื่อที่จะเป็นนักบวช แต่เมื่อผลสอบออกมาไม่ดีนัก เขาจึงออกจากวิทยาลัย ผันตัวเองไปเป็นนักเทศน์ในชนบท ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำงานในเหมืองถ่านหิน และยอมใช้ชีวิตอย่างยากแค้นลำเค็ญร่วมกับชาวบ้าน โดยเขาแบ่งเงินและอาหารให้กับชาวบ้านจนเกือบหมด ส่วนตัวเองกินเศษขนมปัง ทำให้ต้องล้มป่วยลง เนื่องจากพิษไข้ และกินอาหารไม่เพียงพอ

แม้ชาวบ้านจะซาบซึ้งในความโอบอ้อมอารีของแวนโก๊ะ แต่ทางวัดกลับมองว่า เขามีพฤติกรรมที่ประหลาด จึงไม่แต่งตั้งให้เขาเป็นนักเทศน์ ทำให้แวนโก๊ะรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก กระทั่งเมื่ออายุ 20 ปี แวนโก๊ะก็ค้นพบว่า ศิลปะสามารถเยียวยาความเจ็บปวด ความทุกข์ทน ที่สร้างความทรมานให้กับเขาได้ หลังจากนั้นเขาก็มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างบ้าระห่ำ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยการปลดปล่อยความรู้สึกรุนแรงภายใน ออกมาเป็นภาพวาดจำนวนมากมายภายในระยะเวลาไม่กี่ปี โดยได้รับการช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายจาก ธีโอดอร์ ผู้เป็นน้องชาย

และต่อมาเขาก็ได้รู้จักกับ ปอล โกแกง (ศิลปินที่มีผลงานภาพวาดราคาสูงอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน) ก่อนจะกลายเป็นคู่หู ที่เช่าบ้านเพื่อวาดภาพร่วมกัน แต่ด้วยความที่ทั้งสองทะเลาะกันบ่อยครั้ง และเมื่อถึงจุดแตกหัก แวนโก๊ะก็เอามีดวิ่งไล่โกแกง ก่อนจะตัดหูของตัวเอง แล้วใส่กล่องของขวัญนำไปมอบให้กับโสเภณีที่ตนหลงรัก ทำให้โกแกงรู้สึกกลัว จึงตัดสินใจออกจากบ้านหลังนั้นในทันที

ผลงาน ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ในยุคหลังอยู่ในลัทธิศิลปะแบบใด

หลังจากนั้นอาการป่วยทางจิต ของแวนโก๊ะก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาก็ยังคงวาดภาพต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยภาพในช่วงสุดท้ายของชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวด หดหู่ และความรวดร้าวภายในอย่างยากจะบรรยาย กระทั่งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) เขาก็ตัดสินใจใช้ปืนยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา ขณะอายุ 37 ปี

ไม่เพียงแต่ผลงานศิลปะที่เขาวาดเท่านั้น ชีวประวัติของเขายังสร้างเเรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นแล้วรุ่นเล่า มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ล่าสุดก็คือภาพยนตร์เรื่อง Loving Vincent

ภาพจาก เพจ Vincent van Gogh