พิการแบบไหนถึงได้เบี้ยคนพิการ

เปิด 17 สิทธิคนพิการที่ทุกคนควรรู้ ตั้งแต่เรื่องเบี้ยยังชีพ ค่าเดินทาง รักษาพยาบาล ไปจนถึงการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับความพิการ เพราะคนพิการมีสิทธิที่ใช้ได้ตลอด คนพิการเป็นคนไทย ไทยแปลว่าอิสระ คนพิการต้องสามารถเข้าถึงสิทธิและใช้ชีวิตได้อิสระ คนพิการไม่ยอมไปเป็นทาสคุณหรอกจ่ะ ! 

พิการแบบไหนถึงได้เบี้ยคนพิการ

  1. จ้างงานคนพิการ

การจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 ที่ว่าด้วยเรื่องสถานประกอบการหรือหน่วยงานต้องจ้างผู้พิการในอัตราส่วน 100 : 1 คน และ มาตรา 35 หากไม่รับตามกำหนดตามมาตรา ม.33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุน โดยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ x 365 x จำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน ในกรณีไม่รับพนักงานตาม ม.33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุน หน่วยงานหรือสถานประกอบการอาจช่วยเหลือหรือจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่คนพิการได้

  1. เบี้ยคนพิการ

เบี้ยคนพิการ คนพิการจะได้รับเบี้ยคนพิการ 800 บาท/เดือน หากมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการ 1000 บาท/เดือน

  1. บริการล่ามภาษามือ 

ล่ามภาษามือ คนพิการทางการได้ยินและการสื่อสารมีสิทธิรับบริการล่ามภาษามือ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 

  1. ใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข

  2. สมัครงานหรือติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ 

  3. ร้องทุกข์การกล่าวโทษหรือพยาน ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น 

  4. เข้าร่วมประชุมอบรมหรือสัมมนา รวมทั้งเป็นผู้บรรยาย หน่วยงานหรือองค์กร เป็นผู้จัดซึ่งมี พิการทางการได้ยินเข้าร่วมด้วย 

  5. ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ ขอรับบริการสาธารณะได้แก่

  • ทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน เปิดแสดงตนอื่นๆตามกฎหมาย จัดนิติกรรมสัญญาและการขออนุมัติ การอนุญาตต่างๆ

  • ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย ให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานทางกฎหมาย นอกเหนือจากข้อ 3 การไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทต่างๆ

  • ขอรับบริการสาธารณะอื่นเพื่อความจำเป็นพื้นฐาน ของคนพิการและบุคคลในครอบครัว 

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการขอล่ามได้ (ที่นี่)

http://dep.go.th/Content/View/1343/2

  1. บริการผู้ช่วยคนพิการ (PA)

ผู้ช่วยคนพิการ (PA) คนพิการมีสิทธิที่จะได้รับบริการผู้ช่วยคนพิการ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคนพิการที่มีความจำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยคนพิการ อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ (ที่นี่)

          http://dep.go.th/Content/View/1339/1

  1. โควต้าลอตเตอรี่

โควต้าลอตเตอรี่ คนพิการสามารถรับฉลากกินแบ่งรัฐบาลไปขายได้ด้วยตนเองคนละไม่เกิน 6 เล่ม โดยลงทะเบียนกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือองค์กร มูลนิธิคนพิการที่ยื่นคุณสมบัติเป็นตัวแทนจำหน่าย 

เว็บไซต์กองสลาก https://www.glo.or.th/landing-page

  1. เงินกู้คนพิการ

เงินจาก “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เพื่อเป็นทุน เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ โดยบริการให้กู้ยืมนั้น คนพิการสามารถกู้ยืมเงินได้วงเงินไม่เกินรายละ 60,000 บาท หรือหากมากกว่าวงเงินให้รายละไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยและมีระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี 

  1. ปรับสภาพที่อยู่อาศัย

ปรับสภาพที่อยู่อาศัย คนพิการสามารถขอเงินเพื่อปรับสภาพภายในที่อยู่อาศัยไม่เกินคนละ 20,000 บาท โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ 4 ด้าน ประกอบด้วย ได้แก่ 1.ด้านความปลอดภัย 2.การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 3.การเตรียมการสำหรับในกรณีฉุกเฉิน และ 4.การจัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใช้สอย

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.thaihealth.or.th/Content/40654-%E0%B8%9E%E0%B8%81.%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20.html

  1. ค่าโดยสารอัตราพิเศษในการเดินทาง

สิทธิบริการค่าโดยสารอัตราพิเศษในการเดินทางด้วยระบบต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 

  2. รถไฟฟ้า BTS ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 

  3. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภทครึ่งราคา (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)

  4. บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภทครึ่งราคา (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)

  5. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคาสำหรับคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางร่างกาย เฉพาะเส้นทางการบินในประเทศ โดย และ ลดหย่อนค่าโดยสารร้อยละ 25 สำหรับผู้ช่วยเหลือคนพิการ 

  6. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดหย่อนค่าโดยสารค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท 50 % (ไม่รวมค่าธรรมเนียม) ใช้ได้เฉพาะช่วง 1 มิ.ย. – 30 ก.ย. ของทุกปี

  7. บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา  ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท

  8. แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ยกเว้นค่าโดยสารสำหรับคนพิการทุกประเภท *** โดยคนพิการต้องแสดงสมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการต่อเจ้าหน้าที่ และมีรายละเอียดเงื่อนไขต่างกัน กรุณาศึกษาเพิ่มเติม *** 

         อ่านรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่

http://www.1479hotline.org/archives/2318

  1. ส่งเสริมอาชีพ

คนพิการสามารถรับคำแนะนำในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง

  1. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

คนพิการสามารถใช้บริการอย่างครบวงจร และหากมีบัตรทอง (ท.74) สามารถใช้บริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่ง ทั้งการฟื้นฟู อาชาบำบัด วารีบำบัด

  1. เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี

คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาและอำนวยความสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 

  1. ลดหย่อนภาษีคนพิการและผู้ดูแล

หากคนพิการมีรายได้ไม่เกิน 190,000 บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นภาษี และผู้ดูแลสามารถลดหย่อนภาษีได้ปีละ 60,000 บาท/ปี

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/528.pdf

  1. ยืมอุปกรณ์กระทรวงดิจิตัล

ยืมอุปกรณ์กระทรวงดิจิตัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม การยืมอุปกรณ์ ICT ของภาครัฐ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ 1 ฉบับและสำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ 1 ฉบับ 

อ่านรายละเอียดเงื่อนไขและวิธีการได้ใน

https://www.nectec.or.th/ace2019/wp-content/uploads/2019/09/20190909_SS04_Wansiri.pdf

  1. ยืมอุปกรณ์การท่องเที่ยวและกีฬา

สำหรับคนพิการที่มีความจำเป็นพิเศษทางการศึกษา สามารถขอยืมอุปกรณ์พลศึกษา เช่น บ็อคเซีย ลูกบอลมีเสียง และลูกบาสเกตบอลมีเสียง

  1. อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ

หากคนพิการเข้ารับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสถานพยาบาลต้องจัดหาอุปกรณ์เทียม หรือเครื่องคนพิการให้ หากไม่มีให้เบิกจากศูนย์สิรินธร กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  1. งบสงเคราะห์

งบสงเคราะห์ เงินที่จัดหาให้คนพิการ เช่น เบี้ยคนพิการ,เงินในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย,การกู้ยืมเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรือการเข้ารับการศึกษารวมทั้งการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

คนพิการมีกี่ประเภท 2565

ประเภทความพิการมี 7 ประเภท 1. พิการทางการเห็น 2. พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3. พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4. พิการจิตใจหรือพฤติกรรม 5. พิการทางสติปัญญา 6. พิการทางการเรียนรู้ 7. พิการทางการออทิสติก

ประเภทความพิการ 4 คืออะไร

(1) ความพิการทางการเห็น (2) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (3) ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางรางกาย (4) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม (5) ความพิการทางสติปัญญา (6) ความพิการทางการเรียนรู้ (7) ออทิสติก

เบี้ยคนพิการได้เท่าไร

1. คนพิการอายุน้อยกว่า 18 ปี และมีบัตรคนพิการ จะได้รับ 1,000 บาท 2. คนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป มีบัตรคนพิการ จะได้รับ 800 บาท หากมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้เพิ่มอีก 200 บาทรวม 1,000 บาท 3. คนพิการที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 200 บาท และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามขั้นอายุ

พิการประเภทที่ 3คืออะไร

คือ คนที่มีความบกพร่องในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น มือ เท้า แขน ขา ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว เช่น การทานอาหาร การใส่เสื้อผ้า การพลิกตัว คนพิการทางการเคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ