อาหารชนิดใดเหมาะสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในร่างกาย หากเรามีสุขภาพหัวใจไม่ดี ร่างกายก็จะอ่อนแอลง จนเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ง่าย  โดยอาหารบำรุงหัวใจนั้น มักมีส่วนช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา มาดูตัวอย่างอาหารบำรุงหัวใจที่เป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลหัวใจของคุณให้แข็งแรงขึ้นกัน

  1. อาหารประเภทปลา ที่มีกรดโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาจะละเม็ด ปลาสำลี ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลากะพงขาว ซึ่งกรดโอเมก้า 3 จะเป็นกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อระบบการทำงานภายในร่างกาย โดยกรดไขมันเหล่านี้มีส่วนช่วยในการทำงานของหัวใจด้วยการช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความดันโลหิต ลดการจับตัวของลิ่มเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองลงนอกจากนี้ ในอาหารประเภทปลาส่วนใหญ่จะมีไขมันอิ่มตัวน้อย และดีต่อสุขภาพ ถึงแม้ปลาแต่ละประเภทอาจจะมีโอเมก้า 3 มากน้อยต่างกัน แต่การกินกลาก็จะทำให้เราได้รับโปรตีนคุณภาพดีอยู่แล้ว ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะน้ำมันจากปลาทะเล สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
  2. ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ ถั่ววอลนัต ถั่วพิสตาชิโอ ถั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แนะนำให้กินถั่วอบ หลีกเลี่ยงถั่วทอด เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับน้ำมันเข้าไปในร่างกายที่มากเกินไป ทานประมาณ 1 กำมือต่อวันก็เพียงพอ เพราะโดยธรรมชาติถั่วจะมีสารหรือไขมันไม่อิ่มตัวหลายประเภท ที่จะช่วยบำรุงหัวใจได้
  3. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ แบล็คเคอร์แรนท์ แบล็กเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ หรือกูสเบอร์รี่ ของโครงการหลวง ซึ่งก็ถือเป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่สามารถหาทานได้ โดยเฉพาะถ้าในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ถ้าได้ทานผลไม้ตระกูลนี้เป็นประจำ มักพบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยทาน  เพราะในผลไม้ตระกูลนี้มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี
  1. เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่น ลูกเดือย งาดำ ควินัว เมล็ดเจีย เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ซึ่งธัญพืชเหล่านี้จะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และมีไขมันดี ที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  1. ถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้ง 5 หมู่ คือ โปรตีน ,คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน , เกลือแร่และวิตามิน และอุดมไปด้วยสารอาหารที่บรรเทาอาการวัยทองในผู้หญิง ป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน และโรคมะเร็งหลายชนิด
  1. ผักหลากสี ผักมีแร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย โดยผักสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม 5 สี แต่ละสีก็มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป การทานผักให้หลากหลายและครบทั้ง 5 สีจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิต มะเร็งบางชนิด เป็นต้น อีกทั้งทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใส ชะลอความแก่ชราได้อีกต่างหาก

– ผักที่มีสีเขียว เช่น กะหล่ำปลีสีเขียว, บรอกโคลี, คะน้า, หน่อไม้ฝรั่ง, อะโวคาโด, แตงกวา, ผักโขม, ถั่วลันเตา
– ผักสีแดง เช่น มะเขือเทศ, กระหล่ำปลีแดง, พริกแดง, หอมแดง
– ผักผลไม้สีม่วงและสีน้ำเงิน เช่น มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีสีม่วง
– ผักสีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท, ฟักทอง, มันเทศ, มันฝรั่งหวาน, พริกสีเหลือง
– ผักสีขาว เช่น งาขาว, ขิง, กระเทียม, ผักกาดขาว, หัวไชเท้า, ดอกกะหล่ำ, ดอกแค, เห็ด

  1. ผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวานมาก ไม่ว่าจะเป็น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กีวี แก้วมังกร กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น มะละกอ สัปปะรด เนื่องจากผลไม้เหล่านี้มีเส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุสูง ช่วยบำรุงร่างกาย และช่วยลดไขมันในเลือด อีกทั้งปริมาณน้ำตาลก็ไม่สูงมาก
  1. ช็อกโกแลต โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต เพราะมีการศึกษามาแล้วว่า ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องของความดันโลหิต ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด รวมถึงช่วยลดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่ต้องเป็นช็อกโกแลตที่ทำมาจากโกโก้อย่างน้อย 60-70%เพราะฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพร่างกายที่ และสุขภาพหัวใจที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เสี่ยงเป็นโรคร้ายต่างๆ  การควบคุมพฤติกรรมการกิน ไม่กินตามใจปากจนเส้นเลือดตีบตัน  เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

 

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

                โรคหลอดเลือดหัวใจ หมายถึง โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่ตีบแคบอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง จากไขมันคอเลสเตอรอลจับบริเวณเซลล์กล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตัน จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก

                ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

      1. ความดันโลหิตสูง
      2. โรคเบาหวาน
      3. โรคอ้วน
      4. สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
      5. กรรมพันธุ์
      6. ความเครียด
      7. ภาวะหมดประจำเดือน
      8. ไม่ค่อยออกกำลังกาย
      9. ผู้ชายอายุ > 45 ปี ผู้หญิงอายุ > 55 ปี

                อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

      1. จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

การควบคุมอาหารประเภทไขมันจะช่วยลดและชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้

1.1 รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวลดลง กรดไขมันอิ่มตัวพบมากในไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น ปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และพบได้ในนม เนยชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ แฮม กุนเชียง

1.2 รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้เพียงพอ ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

1.3 รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงลดลง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมักพบในไขมันสัตว์ ขาหมู ข้าวมันไก่ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยกเว้นปลาทะเล เนื่องจากไขมันต่ำ อาหาร Fast food เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ รวมถึงเบเกอรี่ต่างๆ เช่น คุ้กกี้ เค้ก

      1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด หวานจัด โดยการเลี่ยงหรืองดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ซอสปรุงรส อาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้ดอง
      2. รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเป็นประจำ อาหารที่มีกากหรือใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการเกิดโรคหัวใจ ข้าวที่มีใยอาหารมาก ได้แก่  ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท จมูกข้าว

        อาหารชนิดใดที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรเลือรับประทานมากที่สุด

        ทานอาหารที่มีกากใยอาหาร : เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีส่วนช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ อาหารที่มีกากใยอาหารพบได้มากในธัญพืช ผักและผลไม้ที่รสไม่หวานมาก และเลือกทานข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือเป็นหลัก

        ผู้ป่วยโรคหัวใจกินอะไรได้บ้าง

        คำแนะนำ เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด.
        หลีกเลี่ยงอาหารทำให้ไขมันสูง Ÿ เลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและ ไขมันน้อย เช่น ปลา ไข่ เต้าหู้ ไก่ไม่ติดหนัง หรือ หมูเนื้อแดง ... .
        หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม § หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป / อาหารหมักดอง / อาหารแช่แข็ง ... .
        เน้นอาหารที่มีเส้นใย (Fiber) loading..

        ผ่าตัดหัวใจห้ามกินอะไรบ้าง

        1. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น 2. ควรงดชา กาแฟ และน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควรงดสูบบุหรี่ 3 หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน ทองหยิบ ทองหยอด ทุเรียน ลำไย เป็นต้น

        โรคหัวใจกินอาหารทะเลได้ไหม

        ควรกินปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ เพราะเป็นปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นสู่การเป็นโรคหัวใจ และนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันจากสัตว์ หรือน้ำมันจากการทอดอาหารซ้ำ