หนังสือเรียนเป็นสื่อประเภทใด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคาที่เกี่ยวกับ“สื่อสิ่งพิมพ์”ไว้ว่า “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน” “สื่อ หมายถึง ก. ทาการติดต่อให้ถึงกัน ชักนาให้รู้จักกัน น. ผู้หรือสิ่งที่ทาการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนาให้รู้จักกัน” “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทาให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสาเนา น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ” ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสาเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทาการติดต่อ หรือชักนาให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ”

สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ ตารา เอกสาร วารสารต่างๆ ที่ให้ความรู้ เนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ เช่น หนังสือเรียนภาษาไทย ป. 6 หรืออาจเป็นชุดภาพประกอบการศึกษา เช่น ภาพประกอบการศึกษาชุดอาหารไทย เป็นต้น และสามารถนามาใช้ในการศึกษาได้

หนังสือเรียนเป็นสื่อประเภทใด

ความเป็นมา

สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสาหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสาคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้มีหลาย ๆ สาเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสาคัญที่ทาให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จานวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธิหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนา เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนาเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

  1. หนังสือตำรา

เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียดชัดเจน อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน หนังสือตารานี้อาจใช้เป็นสื่อการเรียนในวิชานั้นโดยตรงนอกเหนือจากการบรรยายในชั้นเรียน หรืออาจใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบหรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมก็ได้ การใช้หนังสือในการเรียนการสอนนับว่ามีประโยชน์แก่ผู้เรียนทั้งในด้านการศึกษารายบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้อ่านในเวลาที่ต้องการ และในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสามารถใช้อ่านได้หลายคนและเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน

  1. แบบฝึกปฏิบัติ

เป็นสมุดหรือหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยมีเนื้อหาเป็นแบบฝึกหัดหรือแบบฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะหรือทดสอบผู้เรียน อาจมีเนื้อหาในรูปแบบคาถามให้เลือกคาตอบ หรือเป็นต้นแบบเพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามโดยอาจมีรูปประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น แบบคัดตัวอักษร ก ไก่ เป็นต้น

  1. พจนานุกรม

เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นคาศัพท์และคาอธิบายความหมายของคาศัพท์ แต่ละคานั้น โดยการเรียงตามลาดับจากอักษรตัวแจกถึงตัวสุดท้ายของภาษาที่ต้องการจะอธิบาย คาศัพท์และคาอธิบายจะเป็นภาษาเดียวกันหรือต่างภาษาก็ได้ เช่น คาศัพท์ภาษาอังกฤษและมีคาอธิบายเป็นภาษาไทย หรือทั้งคาศัพท์และคาอธิบายต่างก็เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น

  1. สารานุกรม

เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพื่ออธิบายหัวข้อหรือข้อความต่างๆ ตามลาดับของตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพื่อความรู้และการอ้างอิง โดยมีรูปภาพ แผนภูมิ ฯลฯ ประกอบคาอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  1. หนังสือภาพและภาพชุดต่างๆ

เป็นหนังสือที่ประกอบด้วยภาพต่างๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกันตลอดทั้งเล่ม ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือภาพที่พิมพ์สอดสีสวยงาม เหมาะแก่การเก็บไว้ศึกษาหรือเป็นที่ระลึก เช่น หนังสือภาพชุดพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือหนังสือภาพชุดทัศนียภาพของประเทศต่างๆ เป็นต้น

  1. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย

เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจานวนไม่มากนักเพื่อเผยแพร่ไปยังห้องสมุด สถาบันการศึกษาต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นเอกสารค้นคว้าข้อมูลหรือใช้ในการอ้างอิง

  1. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน (Microforms)

หนังสือที่เก่าหรือชารุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจานวนมากย่อมไม่เป็นที่สะดวกในการเก็บรักษาไว้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีเก็บสิ่งพิมพ์เหล่านี้ไว้โดยอาศัยลักษณะการย่อส่วนลงให้เหลือเล็กที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนำมาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนามาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีในการทาสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่

ก. ไมโครฟิล์ม (Microfilm)

เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์มที่มีความกว้างขนาด 16 หรือ 35 มิลลิเมตร โดยฟิล์ม 1 เฟรมจะบรรจุหน้าหนังสือได้ 1-2 หน้าเรียงติดต่อกันไป หนังสือเล่มหนึ่งจะสามารถบันทึกลงบนไมโครฟิล์มโดยใช้ความยาวของฟิล์มเพียง 2-3 ฟุต ตามปกติจะใช้ฟิล์ม 1 ม้วนต่อหนังสือ 1 เล่ม และบรรจุม้วนฟิล์มลงในกล่องเล็กๆ กล่องละม้วนเมื่อจะใช้อ่านก็ใส่ฟิล์มเข้าในเครื่องอ่านที่มีจอภาพหรือจะอัดสาเนาหน้าใดก็ได้เช่นกัน

 

ข. ไมโครฟิช (Microfiche)

เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x 6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบ แผ่นฟิล์มนี้จะมีเนื้อที่มากพอที่จะบรรจุหน้าหนังสือที่ย่อขนาดแล้วได้หลายร้อยหน้า ตัวอักษรที่ย่อจะมีสีขาวบนพื้นหน้าหนังสือสีดา สามารถอ่านได้โดยวางแผ่นฟิล์มลงบนเครื่องฉายที่ขยายภาพให้ไปปรากฏบนจอภาพสาหรับอ่านและจะอ่านหน้าใดก็ได้เลื่อนภาพไปมา และยังสามารถนาไปพิมพ์บนกระดาษและอัดสาเนาได้ด้วย

 

สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

– หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน

– วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนาเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กาหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน

– จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกาไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกาหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลาดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ แสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนาไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทาให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตารา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน หรือการศึกษา การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาในการเรียนการสอนนั้นจำแนกได้เป็น 3 วิธี คือ

  1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน
  2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ
  3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์

.จากวิธีการใช้สิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธีนั้น ผู้สอนสามารถนาสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไป หรือสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอนก็ได้ ทั้งนี้โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้

  1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตารา ใช้เพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียนตามหลักสูตร
  2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสาเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสาหรับใช้ในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ เทปเสียงสรุปบทเรียน และการสอนเสริม เป็นต้น
  3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบฝึกปฏิบัติ คู่มือเรียน ฯลฯ อาจใช้ร่วมกับสื่อบุคคลหรือสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ ได้
  4. สิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ที่มีคอลัมน์หรือบทความที่ให้ประโยชน์ ผู้สอนอาจแนะนาให้ผู้เรียนอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อนามาใช้อ้างอิงประกอบการค้นคว้า
  5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด เป็นการให้ความรู้ทางรูปธรรมเพื่อใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์ ทาให้ผู้เรียนเข้าใจเหตุการณ์เรื่องราวหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนขึ้น เช่น ภาพชุดชีวิตสัตว์ หรือภาพชุดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น (สานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 9 กันยายน 2553)
    หนังสือเรียนเป็นสื่อประเภทใด
    หนังสือเรียนเป็นสื่อประเภทใด
    หนังสือเรียนเป็นสื่อประเภทใด

ประโยชน์และคุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

1.สื่อสิ่งพิมพ์สามารถเก็บไว้ได้นาน สามารถนามาอ่านซ้าแล้วซ้าอีกได้

2.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ

3.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

4.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่จัดทาได้ง่าย โดยครูผู้สอนสามารถทาได้เองได้ มีวิธีทาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ใบงาน ใบความรู้ เป็นต้น

ข้อดีและข้อจากัดของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

ข้อดี

1.สามารถอ่านซ้า ทบทวน หรืออ้างอิงได้

2.เป็นการเรียนรู้ที่ดีสาหรับผู้ที่สนใจ

3.เป็นการกระตุ้นให้คนไทยรักการอ่าน

ข้อจำกัด

1.ผู้มีปัญหาทางสายตา หรือผู้สูงอายุอ่านไม่สะดวกในการใช้

2.ข้อมูลไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงทีได้

3.ผู้ไม่รู้หนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงได้

 

เอกสารอ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=431 (สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

ฉัตรสุดา หลาวรรณะและสิริภรณ์ แก้วมงคล.บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http:// http://www.talja.ob.tc/singpim.doc (สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

ประเภทของสื่อเพื่อการเรียนรู้มีกี่ประเภท

สื่อการเรียนการสอนแบ่ง ตามคุณ ลักษณะ ได้ 4 ประเภทคือ 1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ส ไลด์ แผ่น ใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่า ง ๆ และคู่ม ือ การฝึกปฏิบ ัต ิ 2. สื่อประเภทอุป กรณ์ ได้แ ก่ข องจริง หุ่น จำลอง เครื่องเล่น เทปเสียง เครื่องเล่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่น ใส อุป กรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

สื่อ 5 ประเภทมีอะไรบ้าง

ได้แก่ สื่อนิทรรศการ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง สื่อประเภทที่ก่อให้เกิดการคิดนึกเป็นสัญลักษณ์.
สื่อโสตทัศน์ ... .
สื่อมวลชน ... .
สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม.

การทำสื่อมีแบบไหนบ้าง

แบ่งได้เป็น 4 ประเภท สื่อประเภทวัสดุ ซึ่งได้แก่ สไลด์ ซีท หนังสือเรียน สิ่งพิมพ์ต่างๆ สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ หุ่นจำลอง ลูกโลก กระดาน เครื่องเล่นเสียง โทรทัศน์ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติงาน การเสนองานหน้าชั้น การจัดนิทรรศการ

สื่อเพื่อการศึกษา คืออะไร

ได้แก่ วัตถุ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์จริงที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสื่อที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เสนอปัญหา ขั้นการทดลอง และรวบรวมข้อมูล เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากสถานการณ์การเรียนการสอน ประสบการณ์จากสถานการณ์จำลองและหุ่นจำลอง