ขรัวอินโข่งเป็นภาพวาดลักษณะใด

ไขความลับ ภาพปริศนาธรรม “วัดบรมนิวาส” ผลงานจิตรกรรมแบบตะวันตกสุดวิจิตรของ “ขรัวอินโข่ง”

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2565 18:31   ปรับปรุง: 26 ก.ค. 2565 18:31   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เคยสงสัยบ้างไหมว่า จิตรกรรมฝาผนังตามศาสนสถานสำคัญต่างๆในโลกมีปริศนาอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า ? สำหรับเมืองไทย หนึ่งในเรื่องราวอันน่าค้นหาต้องลองเดินทางไป “วัดบรมนิวาส” เข้าไปไขความลับจิตรกรรมที่เรียกว่า “ปริศนาธรรม” ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงาน “ขรัวอินโข่ง” จิตรกรเอกแห่งยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นจิตรกรรมที่ใช้รูปแบบงานศิลปะแบบตะวันตกมาถ่ายทอดปริศนาธรรมของพุทธศาสนาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ


วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เดิมเรียกว่าวัดนอก บ้างเรียกว่าวัดบรมสุข เนื่องจากตั้งอยู่นอกเมืองในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2377 ครั้งยังทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

วัดตั้งอยู่ริมคลองมหานาค ซึ่งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองในสมัยก่อน จึงได้รับการสถาปนาเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี หรือวัดป่า คู่กับวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสี หรือวัดในชุมชน


พระอุโบสถ วางผังตามแบบโบราณตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยลดขนาดพระอุโบสถและบริเวณโดยรอบให้เล็กลง เป็นอาคารมีพาไลอย่างนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และทำมุขเด็จอย่างโบสถ์ในสมัยอยุธยา เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูนยกฐานสูง แนวเสาอยู่ด้านนอก หลังคาสองชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันมีลายปูนปั้นรูปมหามงกุฎล้อมด้วยลายดอกไม้ ซึ่งเป็นตราประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔


พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก นามว่า “พระทศพลญาณ” มีเศวตฉัตรกางกั้นอยู่เหนือองค์พระ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ “ขรัวอินโข่ง” พระสงฆ์ผู้เป็นจิตรกรเอกในสมัยนั้น วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งห้ามพลาดเมื่อมาเยือนวัดบรมนิวาส เพราะเป็นผลงานสุดวิจิตร แปลกใหม่ในยุคสมัยก่อนที่รื้อขนบธรรมเนียมงานจิตรกรรมไทยตามวัดวาอารามแบบเดิมๆ มาเป็นการใช้ศิลปะตามแบบอย่างของศิลปะตะวันตก ซึ่งหาชมได้ที่วัดบรมนิวาส และวัดบวรนิเวศ เท่านั้น


การเปลี่ยนแนวการเขียนภาพยังรวมถึงการเสนอความคิดในรูปแบบ “ปริศนาธรรม” แทนการเขียนพุทธประวัติ โดยจิตรกรรมภาพแบบตะวันตกของขรัวอินโข่ง เน้นสีหลักเป็นสีน้ำเงินและสีดำ ให้ความรู้สึกเย็น มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนีวิทยา (perspective) มีมิติของแสงและเงาเป็นภาพเหมือนจริง โดยภาพปริศนาธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน ผู้คนที่ปรากฏในภาพ และกิจกรรมต่างๆล้วนเป็นลายเส้นสีสันแบบศิลปะแบบตะวันตก

เอกลักษณ์เด่นของภาพเขียน มีการใช้จักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ โดยมีภาพดวงดาวทั้งหมด 8 ดวง ครบตามดาราศาสตร์ตะวันตกสมัยนั้น ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัส ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส โดยปรากฏภาพดวงอาทิตย์ด้านหลังพระประธาน เป็นศูนย์กลางระบบสุริยจักรวาล แทนเขาพระสุเมรุตามคติจักรวาลแบบไตรภูมิที่เป็นองค์ประกอบจักรวาลวิทยาของคนไทย จึงอาจกล่าวได้ว่า จิตรกรรมที่วัดบรมนิวาส คือ การจำลองระบบสุริยจักรวาลตามแบบวิทยาศาสตร์มาไว้ในประเทศไทยเป็นแห่งแรกก็ว่าได้

สำหรับ “ปริศนาธรรม”ภายในพระอุโบสถ มีจำนวนทั้งหมด 12 ภาพ ซึ่งหากมองดูอย่างผิวเผินก็คงมองว่าเป็นภาพวาดที่สวยงามแปลกตาศิลปะสไตล์ยุโรป แต่ทว่าแต่ละภาพแฝงปริศนาและหลักธรรมเข้าไปได้อย่างแนบเนียน การชมภาพเพื่อให้ได้อรรถรส จึงควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้น หรือมีผู้เชี่ยวชาญช่วยอธิบาย


ตัวอย่างปริศนาธรรมจากจิตรกรรม
สระดอกบัว
ภาพสระน้ำมีดอกบัวนานาพรรณชูช่ออยู่ในสระ มีดอกบัวใหญ่ดอกหนึ่งชูดอกสูงกว่าบัวดอกอื่นๆ มีผู้คนมาชมและดมกลิ่นหอมของดอกบัว ซึ่งเป็นหญิงชายชาวตะวันตก นั่งบ้างยืนบ้างอยู่ตามริมสระนั้น แฝงความหมายว่า ดอกบัวใหญ่เหมือนพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก และโผล่พ้นน้ำ มีคุณประเสริฐฟุ้งไปในทิศทั้งปวง กลิ่นดอกบัวใหญ่เหมือนพระธรรม เพราะเป็นของเกิดแต่พระพุทธเจ้า หมู่คนที่ชื่นชมดอกบัว เหมือนหมู่อริยเจ้าที่ได้พระธรรมพิเศษ ได้มรรคผลเพราะได้ฟังพระธรรมเทศนา


เรือกลางมหาสมุทร
ภาพเรือสำเภาอยู่กลางมหาสมุทรมีคลื่น ซึ่งเต็มไปด้วยเรือลำใหญ่และลำเล็กลำน้อย มีเรือขนาดเล็กกำลังจับวาฬ มีกลุ่มคนยืนชมอยู่ริมฝั่ง มองไปลิบๆอีกฟากมีเจดีย์ทรงมอญตั้งอยู่ แฝงปริศนาให้ตีความว่า เปรียบนายเรือสำเภาเป็นพระพุทธเจ้า นิพพานเหมือนฟากฝั่งตรงเจดีย์ ซึ่งว่ายไปถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าทรงเหมือนผู้สร้างเรือ ขนคนข้ามไปถึงฝั่งนั้น


จิตรกรรมด้านหลังพระประธาน
มีภาพดวงอาทิตย์ลอยโดดเด่นตำแหน่งมองเห็นเหนือพระประธานขึ้นไป เบื้องล่างฝั่งซ้ายมีภาพกลุ่มคนส่องกล้องดูดาว มีอาคารสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีหอนาฬิกา (ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าสื่อถึงมหานครลอนดอน ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลกยุคนั้น) ฝั่งขวามีภาพสถานีรถไฟที่รถไฟกำลังลอดใต้ซุ้มโค้งของสถานี มีผู้คนยืนรอสองข้างทางรถไฟ ภาพนี้เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนดวงอาทิตย์ขับไล่ความมืดหรืออวิชชาด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา เปรียบพระธรรมเป็นเมืองใหญ่และรถไฟ และเหล่าผู้โดยสารบนรถไฟคือพระสงฆ์

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

#########################################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


ขรัว อิน โข่ง มีชื่อเสียงจากการวาดภาพลักษณะใด

ขรัวอินโข่ง วาดภาพเหมือนจริง และด้วยวิธีวาดแบบทัศนียวิสัย 3 มิติ ทำให้ภาพเกิดความลึก การใช้สีแบบเอกรงค์ (monochrome) ที่ประสานกลมกลืนกัน ทำให้ภาพของขรัวอินโข่งมีบรรยากาศที่ชวนฝัน ทำให้ผู้ดูเกิดจินตนาการฝันเฟื่องตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นภาพวาดรูปต้นไม้ในป่า รูปต้นไม้และโขดเขาที่เพิงผาทางด้านผนังทิศเหนือ ด้านล่างที่มณฑป ...

จิตรกรรมของขรัวอินโข่งอยู่ในสมัยใด

****ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเพศบรรพชิต เป็นจิตรกรไทยคนแรกที่นำเอา เทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกมาใช้ ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธ

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ขรัวอินโข่ง ท่านเป็นใคร ขรัวอินโข่งเป็นศิลปินในช่วงเวลารัชกาลที่ 3-4 ท่านเป็นศิลปินที่อยู่ในสมณเพศ (พระ) เดิมทีท่านจะวาดภาพตามคตินิยมตามแนวคิดพุทธศาสนา แต่ว่าภายหลังได้มีการพัฒนาการวาดภาพออกมาเป็นภาพปริศนาธรรมที่ดูแล้วเกิดแนวคิดต่อไปอีกมากมาย ปัจจุบันเราสามารถเสพงานของท่านได้จากฝาผนังพระอุโบสถในวัดบวรนิเวศ

ขลัวอินโข่ง มีความสามารถทางศิลปะด้านใด

ผลงานของ “ขรัวอินโข่ง” จัดว่าเป็นมรดกทางศิลปกรรมชั้นเยี่ยมที่ทรงคุณค่าที่สุดในบรรดาจิตรกรสมัย รัตนโกสินทร์ ท่านเป็นเอกอัจฉริยะจิตรกรต้นแบบที่มีพรสวรรค์ในด้านการใช้สี การวางภาพและริเริ่มการเขียนภาพที่มีมิติ จนกล่าวได้ว่า “ขรัวอินโข่ง” เป็นศิลปินช่างเขียนชั้นบรมครูที่ฝากผลงานด้านจิตรกรรมไว้มากมายจนได้รับการ ยกย่องมาจนถึง ...