สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมแบบใด

บัดนี้มาถึงโอกาสสำหรับการบรรยายพิเศษที่มีชื่อเรื่องว่า “ธรรมะกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ประธานกองทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพได้กำหนดขึ้น โดยปรารภเกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

สังคมเป็นอย่างไรจึงแทบไม่มีใครพูดถึงในแง่ดี

เมื่อพูดถึงสถานการณ์ปัจจุบัน เวลานี้แทบจะไม่มีใครพูดในแง่ดีเลย มีแต่พูดในแง่ของความเสื่อมโทรม เรื่องของปัญหา เรื่องของความน่าเป็นห่วง น่าหนักใจทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงสังคมไทยเราเอง ก็จะพูดกันถึงลักษณะที่ไม่น่าสบายใจเป็นพิเศษ

ความจริง สภาพที่เสื่อมโทรมและมีปัญหานั้นได้มีไปทั่วโลก ไม่ใช่มีเฉพาะประเทศไทย เพราะสภาพของสังคมไทยและโลกทั้งหมด ปัจจุบันกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกว่า เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งเป็นคำที่องค์การสหประชาชาติประกาศออกมา เท่ากับเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วว่าเวลานี้สถานการณ์ของโลกอยู่ในภาวะเป็นปัญหา ไม่น่าพอใจ และจะต้องแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืน แต่ทำอย่างไรจะให้ยั่งยืนได้ก็ยังไม่ยุติ

สังคมไทยปัจจุบันนี้มีปัญหาอยู่มาก ยกตัวอย่างตามที่ได้ทราบจากสื่อมวลชน เช่น เมื่อ 2-3 วันมานี้ได้ฟังวิทยุกระจายเสียงเกี่ยวกับปัญหาโรคเอดส์ว่า ประเทศไทยได้มีคนติดโรคเอดส์มากนำหน้าประเทศอื่นทั้งหลาย ถึงแม้สถิติจะไม่เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ก็คงเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย รองลงไปได้แก่ประเทศกัมพูชาและอินเดียตามลำดับ

โรคเอดส์เป็นปัญหาที่น่าหนักใจ เพราะว่าบัดนี้ได้กลายมาเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนในสังคมไทย สถิติบอกว่าคนไทยตายด้วยโรคเอดส์ชั่วโมงละ 4 คน ทางภาคเหนือบางท่านพูดว่าตายเหมือนใบไม้ร่วง นี่ปี 2539 ยังตายมากขนาดนี้ ถ้าถึงปี 2540 จะตายมากขนาดไหน เมื่อ 3-4 ปี ก่อน ประเทศไทยมีการตายด้วยอุบัติเหตุเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงภาวะที่คนไทยขาดวินัย มีความประมาท ขาดสติ คือขาดธรรมมาก แต่บัดนี้โรคเอดส์ได้นำหน้าเหนืออุบัติเหตุไปแล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่หนักมาก คือเรื่องยาเสพติด ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก กรมตำรวจได้ออกสถิติมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในช่วงเวลา 9 เดือนนับจากเดือนมกราคม 2539 ตำรวจจับกุมผู้ทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเฉพาะยาม้าได้เกินกว่า 35,000 ราย นับจำนวนเม็ดได้ 24,000,000 เม็ด เทียบกับปี 2538 ในช่วงเวลา 9 เดือนเดียวกัน คือมกราคม ถึงกันยายน 2538 คดีเกี่ยวกับยาม้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 161 น่ากลัวมาก

ยาม้า เดี๋ยวนี้เรียกว่า ยาบ้า เป็นการแสดงถึงความรุนแรง และโทษก็เพิ่มขึ้นเป็นประหารชีวิตแล้ว เมื่อไม่กี่วันนี้ได้ยินข่าวจากวิทยุกระจายเสียงว่าในเรือนจำมีผู้ต้องโทษที่เกี่ยวกับยาเสพติดเป็นจำนวนร้อยละ 38 ซึ่งนับว่าสูงมาก สถิติเหล่านี้เอามาแสดงพอเป็นสังเขป

นอกจากนี้ยังมีเรื่องโสเภณีที่ว่าประเทศไทยกลายเป็นแดนธุรกิจบริการทางเพศ เมื่อปี 2535 หนังสือสารานุกรมฉบับหนึ่งของออกฟอร์ด (“prostitution,” Oxford Illustrated Encyclopedia of Peoples and Cultures, 1992) ได้พูดถึงกรุงเทพฯ ว่ามีโสเภณีจำนวน 200,000 คน ปี 2539 ข้อมูลจากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กเสนอไว้ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2539 และในหนังสือความฝันของแผ่นดินไทย ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีโสเภณีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี จำนวน 30,000 - 60,000 คน ซึ่งเป็นเรื่องที่แสดงถึงภาวะของสังคมที่เรียกว่าเสื่อมโทรม

ยังมีสถิติอื่นๆ ที่แสดงถึงภาวะที่ไม่พึงปรารถนาอีกมาก เช่น เงินนอกระบบที่แพร่สะพัดในสังคมไทย ซึ่งมีประมาณ 800,000,000,000 บาท ในเงินจำนวนดังกล่าวมีส่วนที่เกี่ยวกับระบบโสเภณีหรือธุรกิจบริการทางเพศ ประมาณ 400,000,000,000 - 500,000,000,000 บาท รองลงมาเป็นด้านการพนัน ประมาณ 100,000,000,000 บาท และรองลงมาอีกได้แก่ด้านยาเสพติด ซึ่งดูคล้ายกับว่ามีไม่มากนัก แต่อาจจะไปแฝงอยู่กับด้านอื่น เช่น โสเภณี และการพนัน เป็นต้น

ถ้ามองกว้างออกไปถึงธรรมชาติแวดล้อม คนไทยทำให้ป่าลดน้อยลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 20 เศรษฐกิจของประเทศไทยที่พูดกันว่าค่อนข้างตกต่ำ ในอดีตเคยเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วถึงขั้นเป็น “เสือ”มาแล้ว แต่ที่ว่าเจริญนั้นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแบบขายทุนเก่า คือไม่ใช่ธุรกิจแบบใช้ปัญญาสร้างสรรค์ ถ้าเป็นธุรกิจแบบขายต้นทุนเก่าก็ไม่น่าภูมิใจและไม่มั่นคง เศรษฐกิจที่ดีแท้ต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เศรษฐกิจขายทุนเก่า เช่น ขายทรัพยากรที่มีอยู่ ขายที่ดิน ขายแรงงานราคาถูก พอแรงงานราคาไม่ถูกแล้ว กิจการบางอย่างจากต่างประเทศก็หนีไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีค่าแรงถูกกว่า ตลอดจนขายแม้กระทั่งตัวคน เศรษฐกิจแบบนี้ไม่ปลอดภัยและไม่ยั่งยืน แต่น่าอดสูใจ

ในด้านการเมือง เวลานี้ก็พูดกันมากเรื่องปฏิรูปการเมือง ที่ต้องปฏิรูปการเมือง ก็เพราะว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ยังมีปัญหาต่างๆ มากในทุกระดับ แต่สำหรับพระสงฆ์เราถือกันว่าไม่อยากให้พูดเรื่องการเมือง ทางคณะสงฆ์ก็มีประกาศไม่ให้พระพูดเรื่องการเมือง แต่ที่ห้ามไม่ให้พระสงฆ์พูดเรื่องการเมืองนั้นหมายถึงพูดในแง่ของการเข้าเป็นฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ ที่เรียกว่าเล่นการเมือง แต่พระสงฆ์มีหน้าที่พูดการเมืองในแง่ของธรรม คือหลักการเมืองการปกครองว่า ทำอย่างไรการเมืองจึงจะเป็นไปด้วยดี การปกครองมีหลักการอย่างไร คนที่เข้ามาเล่นการเมืองควรมีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ในแง่นี้พระสงฆ์พูดได้ และเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ด้วย

รวมความว่าที่พูดมานี้ได้ปรารภเรื่องสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่าไม่น่าพอใจ เมื่อไม่น่าพอใจแล้ว จะนำธรรมมาใช้เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร

บรรยายพิเศษในงานทอดผ้าป่าสามัคคีกองทุนการศึกษาเพื่อสันติภาพ ณ หอประชุมพุทธมณฑล วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2539

๓.วิกฤตการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบการเมืองของ ไทยอันเป็นแบบแผน ของสังคมในการปกครองประเทศ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ขณะนี้การเมืองไทยมีปัญหาถึง ๘ ประการ คือ


๓.๑ ใช้เงินเป็นใหญ่
๓.๒มีการผูกขาดการเมืองโดยคนจำนวนน้อย
๓.๓ คนดีมีความสามารถเข้าไปสู่การเมืองได้ยาก
๓.๔ การทุจริตประพฤติมิชอบมีอยู่ในทุกระดับ
๓.๕ การเผด็จการโดยระบอบรัฐสภา
๓.๖ การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
๓.๗ การขาดประสิทธิภาพทางการบริหารและนิติบัญญัติ
๓.๘ การขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง


๔. วิกฤตการณ์ในระบบราชการ หมายถึง ระบบราชการอันเป็นเครื่องมือปัญหาสังคมไทยกลับกลายเป็นปัญหาเสียเอง เช่น ปัญหาความเสื่อมศักดิ์ศรีของระบบราชการ ทำให้คนดีคนเก่งหนีระบบราชการ ปัญหาคอรัปชั่นในวงราชการปัญหาคุณธรรม เป็นต้น
๕.วิกฤตการณ์ของการศึกษา หมายถึง การศึกษาของไทยอัน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของสังคมไทยกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง เช่นการเรียนแบบท่องจำเนื้อหาไม่ทันต่อความรู้ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ปัญหาการแก่งแย่งแข่งขัน ปัญหาระบบการศึกษา การบริหาร การกระจายโอกาสการศึกษา รวมถึงการศึกษาของสงฆ์ก็มีปัญหาด้วยประมวลสรุป

ถ้ามองถึงปัญหาของเยาวชนไทยจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติ แต่ผู้ใหญ่คาดหวังจะให้เขาเป็นคนดียิ่งขึ้นไปอีกและมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งมีปัญหา ซึ่งคำว่าจำนวนหนึ่งนี้เมื่อเทียบกับเยาวชนทั้งประเทศ เยาวชนที่มีปัญหาก็นับจำนวนเป็นล้านทีเดียว
จากลักษณะของเยาวชนไทยที่มีจำนวนมากเช่นนี้ หากจะทำความเข้าใจและให้ความสนใจเยาวชน ก็ควรเข้าใจว่าเยาวชนแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะสังคมอยู่แล้ว คือ

๑. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา โรงเรียนเริ่มตั้งแ ต่นักเรียนชั้นมัธยมเรื่อยไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวและสนใจเรื่องราวทั้งที่อยู่ใกล้ตัว ไกลตัว รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรรมและความสนใจหลากหลาย

๒. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชน ในหมู่บ้านหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง จะมีเยาวชนอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว เยาวชนเหล่านี้จะมีลักษณะที่หลากหลายปะปนกัน เยาวชนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานนอกบ้านแล้วกลับมาตอนเย็น บางกลุ่มทำงานช่วยพ่อแม่อยู่บ้าน บางกลุ่มอยู่บ้านเฉย ๆ บางกลุ่มก็เข้ามาอยู่ในชุมชนอย่างแอบแฝง ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะหลากหลาย มีตั้งแต่เยาวชนผู้นำรวมกลุ่มทำกิจกรรมให้แก่สังคมอย่างเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญของหมู่บ้านรองจากผู้ใหญ่รวมไปถึง พวกอยู่เฉย ๆ กินเหล้าเมายา ลักเล็กขโมยน้อย รวมไปถึงติดยาเสพติด และเรื่องอื่น ๆ ด้วย

๓. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานประกอบการ เยาวชนกลุ่มนี้มีตั้งแต่เด็กที่เพิ่งจบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วก็ เข้าไปรับจ้างขายแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนวัยกำลังหนุ่มสาว อายุระหว่าง ๑๘ ปี ไปจนถึง ๒๕ ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนเต็มตัว คนวัยหนุ่มสาวนี้จะไปทำงานรวมตัวกันอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ หรือเมืองอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพ ฯ ระยอง อยุธยา นครราชสีมา เป็นต้น เยาวชนดังกล่าวพื้นฐานความรู้ส่วนใหญ่จบแค่ ป. ๖ ต้องจากบ้านที่คุ้นเคยกับชีวิตชนบท แบบชาวไร่ชาวนามาใช้ชีวิตแบบอุตสาหกรรม ต้องทำงานตรงตามเวลาเข้าทำงาน เวลาเลิกงาน ได้ค่าจ้างที่ไม่มากทำงานหนัก ต้องทำงานนอกเวลาเพิ่มเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น อาหารการกินจำกัด ที่อยู่คับแคบ เวลาพักผ่อนน้อย ว่างเพียงวันอาทิตย์วันเดียว จะรีบออกไปเที่ยวพักผ่อนตามศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ มีปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางเพศ จับคู่อยู่กันแบบผัวเมียเร็ว มีลูก เกิดปัญหา เกิดการแตกแยก รวมถึงเรื่องปัญหายาเสพติด เป็นต้น

๔. เยาวชนในวัด กลุ่มนี้มีทั้งสามเณร รวมไปถึงเด็กวัดและคนอาศัยวัดอยู่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน บวชเณรเพื่อหนีความยากจนและเบื่อเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนผู้ใฝ่ดี แต่ขาดแคลนทุกอย่าง มีความเหงาว้าเหว่ทางใจ โดยเฉพาะเด็กวัด การขาดหรือความไม่เท่าเทียมคนอื่นทำให้ขาด ความมั่นใจ หรือมิฉะนั้นก็จะหันไปในทางที่ผิด

ปัญหาเยาวชนแยกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑. ปัญหาร่วม หมายถึง ปัญหาที่มีอยู่แล้ว สังคมสร้างปัญหา ผู้ใหญ่สร้างปัญหาเยาวชนอยู่ในสังคมก็ได้รับปัญหานั้น ซึ่งจะโทษเยาวชนคงไม่ได้ ปัญหาร่วมที่สำคัญจะยกตัวอย่างให้เห็น ดังนี้

๑.๑ ปัญหาเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนัน การกินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาทำขึ้นมา และผู้ใหญ่ก็ปฏิบัติกันอยู่แล้ว เยาวชนเห็นตัวอย่างก็กิน สูบและเสพเหมือนผู้ใหญ่
๑.๒ ปัญหาแหล่งบันเทิง ผับ บาร์ ดิสโก้เธค สถานอาบ อบ นวด ซ่อง สิ่งเหล่านี้มีทั่วไปในสังคมไทย แม้บางอย่างกฎหมายกำหนดไว้ในทางปฏิบัติก็มีการปล่อยให้เยาวชนเข้าเสพได้อย่างเสรี
๑.๓ ปัญหาเรื่องภาพยนต์โป๊ หนังสือโป๊ หรือเรื่องโป๊เปลือยร่างกาย เรื่องทางเพศดังกล่าว เยาวชนเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
๑.๔ ปัญหายาเสพติด ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน และอื่น ๆ สิ่งเสพติดดังกล่าวมีอยู่แล้วในสังคมและผู้ใหญ่ก็เสพอยู่แล้ว เยาวชนก็ทำได้เช่นกัน
๑.๕ ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ การโกงกิน คอรัปชั่นของนักการเมือง พ่อค้า ข้าราชการ รวมไปถึงเรื่องการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบสังคม สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั่วไป เยาวชนย่อมทำตามและสร้างปัญหาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

๒. ปัญหาเฉพาะของเยาวชน ปัญหาเฉพาะดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ แก่เยาวชนอีกมาก ลักษณะของปัญหาเกิดจากลักษณะเฉพาะของความเป็นเยาวชนนั่นเอง ซึ่งกล่าวแต่เพียงประเด็นสำคัญพอเป็น แนวพิจารณา ดังนี้

๒.๑ ปัญหาเฉพาะของเยาวชนอันเกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง ปัญหาอยากต่าง ๆ ที่กล่าวนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ เช่น อยากทดลองเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ทดลองเป็นคู่นอนกัน ทดลองขับรถแข่งกัน ยังมีการอยากทดลองขับแข่งรถ ยังมีการอยากการทดลองอย่างอื่นอีกมาก ล้วนให้เกิดปัญหาตามมาทั้งสิ้น
๒.๒ ปัญหาตามเพื่อนหรือปัญหาติดกลุ่ม ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ทำตามเพื่อนเป็นใหญ่จึงเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น เพื่อนเข้าบาร์ก็เข้าด้วย เพื่อนใส่กระโปรงสั้นก็ใส่ด้วย เพื่อนร้องเพลงฝรั่งก็ร้องด้วยเพื่อนกินไก่เค้นตักกี้ กินพิซ่า ก็ทำตามด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อน ๆ ไม่เข้าวัดก็ไม่เข้าด้วย
๒.๓ ปัญหาความว้าเหว่ ความเหงา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัยรุ่น เหงาเพราะขาดเพื่อนไม่ได้ มีอะไรไม่เท่าเพื่อน ทำให้ไม่พอใจในฐานะตัวเอง เกลียดพ่อแม่พาลหนีออกจากบ้านไปเข้ากลุ่มเพื่อน เหงาหรือว้าเหว่เพราะไม่มั่นใจในตัวเองก็ออกแสวงหาความมั่นใจทั้งในทางที่ถูกและทางที่ผิด ใครห้ามก็ไม่ฟังทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย
๒.๔ ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลาขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวทั้งจากสังคมแวดล้อม จากสังคม เช่น สนามกีฬาที่ออกกำลังกายไม่มี ที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มี ที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจไม่มี โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้
ด้านครอบครัวเช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ไม่เคยใกล้ชิดลูก ไม่เคยแนะนำกล่อมเกลาหรือเป็นตัวอย่างที่ดี เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการขาดความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ ประเพณี แนวปฏิบัติต่อตนเองและสังคม การขาดทั้งสองเรื่องดังกล่าวทำให้เยาวชนสร้างปัญหาให้ตัวเองและสังคม เพราะเยาวชนเป็นวัยที่กำลังใฝ่หาแบบอย่างจากผู้ใหญ่และจากสังคม

จุดอ่อน จุดแข็ง ของเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัตน์

๑. จุดแข็งของเยาวชนไทย

๑.๑ เป็นคนมีเหตุผล ความมีเหตุผลนี้จะทำให้พฤติกรรมกล้าถาม กล้าตอบ กล้าโต้เถียง ซึ่งผู้ใหญ่จะมองว่าหัวแข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ แต่ ลักษณะมีเหตุมีผลนี้เป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับโลก ปัจจุบัน อันเป็นยุคโฆษณา
๑.๒ เป็นตัวของตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองคืออยากทำอะไรก็ทำที่ตัวเองเห็นว่าดีถูกต้อง เช่น การยืน การพูด ถกเถียง การแต่งตัว แม้แต่การเข้าไปในวัด คุยกับพระ หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจความเป็นตัวของวัยรุ่นก็จะตำหนิหรือหาว่าไม่มีมารยาท ไม่มีสัมมาคารวะ
๑.๓ ความกล้า ความสนใจกว้างกว่า การก้าวทันวิทยาการใหม่ ๆ วัยรุ่นเป็นคนรุ่นใหม่จะกล้ามากกว่าเดิม กล้าเรียน กล้าทำงาน กล้าเป็นนักร้อง กล้าเป็นนางแบบ รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนท รู้ความเคลื่อนไหว ความเป็นไปต่าง ๆ ของสังคม และโลก ทั้งที่ใกล้และไกลตัว 

๒. จุดอ่อนของเยาวชนไทย

๒.๑ ความอ่อนแอในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยอันเนื่องมาจากชีวิตครอบครัว ลักษณะสังคมไทยเปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูกน้อยลง เยาวชนเข้าเรียนหนังสือในชีวิตอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่วัยเยาว์ โรงเรียนไม่สามารถอบรมกล่อมเกลาเยาวชนในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้เท่าเทียมกับพ่อแม่และชุมชน หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ วัด บ้าน โรงเรียน แยกส่วนกันไม่เป็นสังคมที่กลมกลืนกัน การหล่อหลอม อบรม สืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยก็อ่อนด้อยไป ยิ่งเยาวชนที่อยู่ในวัยทำงานต้องจากครอบครัวไปอยู่ต่างถิ่น อยู่ในสังคมโรงเรียน ยิ่งเกิดการแตกแยก ทั้งทางด้านจิตใจและการดำเนินชีวิต ความอ่อนแอในทางวัฒนธรรมทำให้ขาดจุดยืน ขาดความมั่นใจ ขาดการใคร่ครวญและรับหรือไม่รับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้ง่าย เกิดความสับสนในการดำเนินชีวิตแบบไทยที่เหมาะสมถึงสภาพปัจจุบัน เยาวชนจำนวนไม่น้อยเห่อเหิม ฟุ่มเฟือย หนักไม่เอาเบาไม่สู้ หลงวัตถุ หลงเงินตรา ก่อปัญหาให้ตัวเองและสังคม
๒.๒ ความว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว สับสนวุ่นวายทาง สภาพครอบครัว สภาพสังคมที่สับสน สภาพการแข่งขัน สภาพชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบ ทำให้จิตใจของเยาวชนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนวุ่นวาย ยิ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ติดเพื่อนพลอยทำให้ตัดสินใจอะไรพลาดพลั้งได้ง่าย ยิ่งประเภทพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกหรือครอบครัวมีปัญหา ครอบครัวแตกแยก หรือการออกไปทำงานต่างถิ่นยิ่งเสี่ยงต่อการตัดสินใจในทางที่ผิดก่อปัญหาต่อตัวเองและสังคม

จุดอ่อนของเยาวชนทั้ง ๒ ข้อ เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาที่น่าสังเกต ก็คือ เป็นเรื่องของจิตใจอันเป็นผลให้คนดำเนินชีวิตไปทั้งในทางชั่วและทางดี เรื่องการนำและอบรมทางใจนี้ พระสงฆ์ย่อมมีบทบาทสูงสุดอย่างไม่ต้องสงสัย

สังคมไทยเป็นสังคมอย่างไร

สังคมไทย (Thai Social) หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย มีขนบ ธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การด าเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย สังคมไทย หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การดำเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

สังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นสังคมประเภทใด

2. แนวโน้มด้านสังคม มีลักษณะสำคัญดังนี้ 2.1 คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องของสิทธิสตรีมากขึ้น สตรีจะมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น 2.2 แนวโน้มครอบครัวมีขนาดเล็กลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวระบบเครือญาติลดลง หน้าที่การอบรมเลี้ยงดูบุตร หรือการขัดเกลาทางสังคมลดลง

สังคมไทยในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง

1.ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา 2. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด มีการผ่อนปรนใน เรื่องต่าง ๆ 3. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ 4. ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก