เชื่อมสแตนเลสใช้ตู้เชื่อมแบบไหน

เหล็กกล้าสเตนเลสได้ถูกบัญญัติศัพท์ว่า เป็นโลหะผสมเหล็ก ซึ่งเติมโครเมียมอย่างน้อย 11.5% เมื่อออกซิเจนในอากาศทำปฏิกิริยากับโครเมียมในเนื้อ          สเตนเลส จะเกิดแผ่นฟิล์มบางแต่แน่นทึบของโครเมียมออกไซด์ก่อตัวบนพื้นผิวของเหล็กกล้าสเตนเลสทำให้สามารถต้านทานการกัดกร่อนและป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน  เหล็กกล้าสเตนเลสมี 5 ชนิด ขึ้นอยู่กับประเภทการเติมธาตุผสมอื่นๆ

ชนิดของเหล็กกล้าสเตนเลส

  1.  กลุ่มเหล็กกล้าสเตนเลสออสเตนนิติค (Austenitic)  – เป็นเกรดที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด โดยมีกลุ่ม 200 และ 300 ชนิด 304 เป็นชนิดสามัญมากที่สุด มีธาตุผสมที่เติมอยู่อันดับแรกคือโครเมียมและนิกเกิล
  2.  กลุ่มเหล็กกล้าสเตนเลสเฟอร์ริติค (Ferritic) – เป็นสเตนเลสที่แม่เหล็กดูดติด (magnetic) มีธาตุคาร์บอนผสม ปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักที่สำคัญอาจอยู่ระหว่าง 10.5%-27% และมีนิกเกิลเป็นส่วนผสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย ไม่สามารถทำให้แข็งขึ้นได้ ตัวแทนของกลุ่มนี้ คือ 405,409,403,422 และ 446
  3. กลุ่มเหล็กกล้าสเตนเลสมาร์เทนซิติค (Martensitic)  – เป็นสเตนเลสแม่เหล็กดูดติด (magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง มีโมลิบดีนัมเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ 0.2-1% ไม่มีนิกเกิล สเตนเลสตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching) และอบคืนตัว (Tempering) สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน และพบการใช้งานที่สำคัญในการผลิตเครื่องตัด อุตสาหกรรมเครื่องบินและงานวิศวกรรมทั่วไป ตัวแทนของกลุ่มนี้ คือ ชนิด 403,410,416, และ 420
  4. กลุ่มเหล็กกล้าสเตนเลสดูเพล็กซ์ (Duplex) – มีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอริติค และ  ออสเทนนิติค มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19-28% และโมลิบดีนัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่า5% พบว่ามีการใช้งานมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์ ระบบเลขหมายของเหล็กกล้าสเตนเลสกลุ่มนี้ไม่รวมในกลุ่ม 200,300 หรือ 400
  5. เหล็กกล้าสเตนเลสแข็งขึ้นจากการตกผลึก เติมธาตุผสมอย่างเช่น อลูมิเนียมซึ่งทำให้มีความแข็งเพิ่มขึ้นโดยการละลายและปฏิบัติทางความร้อนคือการบ่ม พวกมันยังถูกจัดแบ่งชั้นต่อไปในกลุ่มย่อย เป็นเหล็กกล้าสเตนเลสที่แข็งขึ้นจากการตกตะกอนมาร์เทนซิติค กึ่งออสเตนนิติค และออสเตนนิติค

ความสามารถในการเชื่อมได้ของเหล็กกล้าสเตนเลส

เหล็กกล้าสเตนเลสส่วนมากถูกพิจารณาว่ามีความสามารถเชื่อมได้ดีและอาจจะเชื่อมได้หลากหลายกระบวนการรวมถึงกระบวนการเชื่อมอาร์ค กระบวนการเชื่อมความต้านทาน การเชื่อมลำอิเล็กตรอนและลำเลเซอร์ การเชื่อมด้วยความเสียดทาน และการแล่นประสาน สำหรับทุกกระบวนการเชื่อมเหล่านี้ พื้นผิวรอยต่อและโลหะเติมใดๆจะต้องสะอาด สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวทางความร้อนของเหล็กกล้าสเตนเลสออสเตนนิติคมีมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน 50% และจะต้องพิจารณาสิ่งนี้เพื่อการบิดตัวน้อยที่สุด การนำกระแสไฟฟ้าและความร้อนต่ำ ตามธรรมดาเป็นประโยชน์ การทำรอยเชื่อมต้องการกระแสเชื่อมต่ำ เพราะความร้อนไม่ถูกนำออกจากรอยต่อเหมือนเหล็กกล้าคาร์บอน ในการเชื่อมความต้านทานสามารถจะใช้กระแสต่ำกว่าเพราะมีลักษณะความต้านทานสูงกว่า  เหล็กกล้าสเตนเลสซึ่งต้องการกรรมวิธีการเชื่อมพิเศษจะได้กล่าวในตอนต่อไป

1. เหล็กกล้าสเตนเลสเฟอร์ริติค

เหล็กกล้าสเตนเลสเฟอร์ริติค เติมโครเมียม 11.5 ถึง 30% และคาร์บอนจนถึง 0.20% และตัวทำเสถียรเฟอร์ไรท์จำนวนเล็กน้อย อะลูมิเนียม โคลัมเบียม ไทเทเนียม และโมลิบดีนัม พวกมันเป็นเฟอร์ไรท์ที่อุณหภูมิห้องทั้งหมด ดังนั้นไม่เปลี่ยนรูปไปเป็นออสเตนไนท์ และไม่สามารถทำให้แข็งได้ด้วยกรรมวิธีทางความรู้ กลุ่มนี้ประกอบด้วยชนิดสามัญมากกว่า 405, 409, 430, 442 และ 446 การเชื่อมเหล็กกล้าสเตนเลสเฟอร์ริติคจะต้องเลือกโลหะเติมที่ใช้ซึ่งตรงหรือมากกว่าระดับโครเมียมของโลหะฐาน ชนิด 409 เป็นลวดไส้ฟลักซ์และสามารถใช้เพื่อเชื่อมชนิด 402,410,414 และ 420 โดยทั่วไปเมื่อคาร์บอนต้องตรงกับคาร์บอนในเหล็กกล้า 420 จะต้องใช้โลหะเติมชนิด 420 ซึ่งสามารถหาได้เป็นลวดแกนตันและลวดไส้ฟลักซ์ หรือสามารถจะใช้โลหะเติมออสเทนนิติค ชนิด 308, 309 และ 310 เพื่อเชื่อมเหล็กกล้ามาร์เทนซิติคต่อพวกมันเอง หรือต่อเหล็กกล้าอื่นๆที่ต้องการความเหนียวตามที่เติมไว้

2.  เหล็กกล้าสแตนเลสออสเทนนิติค

เหล็กกล้าออสเทนนิติคผสม โครเมียม 16-26% แมงกานีสบวกนิกเกิล 10-24% และคาร์บอนจนถึง0.40% และธาตุอื่นๆสองสามอย่างจำนวนเล็กน้อย อย่างเช่น โมลิบดีนัม ไทเทเนียม โคลัมเบียม และแทนทาลัม สมดุลระหว่างโครเมียม และนิกเกิล + แมงกานีส ได้ถูกปรับตั้งเป็นธรรมดาเพื่อจัดให้โครงสร้างจุลภาคออสเทนไนท์ 90-100% โลหะผสมเหล่านี้ถูกพิสูจน์ลักษณะเด่นเฉพาะพิเศษโดยความแข็งแรงดีและความเหนียวดีสูง กลุ่มนี้รวมชนิด 302, 30+310, 316, 321 และ 3+7

การเชื่อมเหล็กกล้าสแตนเลสออสเทนนิติคจะต้องเลือกโลหะเติมให้ต้องตรงกับโลหะผสมส่วนมากจัดให้โครงสร้างจุลภาคกับเฟอร์ไรท์บางส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้อน ดังจะได้กล่าวต่อไป   เพื่อได้รับ สิ่งนี้คือใช้โลหะเติมชนิด 308 สำหรับสเตนเลสชนิด 302, 304 และ 321 จะต้องเชื่อมสเตนเลสอื่นให้ตรงกับโลหะเติมที่ตรงคุณสมบัติ และสามารถจะเชื่อมสเตนเลสชนิด 347 กับโลหะเติมชนิด 308L

*ชนิด 308L โลหะเติมเหล่านี้สามารถจัดหาได้ เป็นอิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์ ลวดแกนตันและลวดไส้ฟลักซ์
*ชนิด 321 สามารถจัดหาได้บนพื้นฐานจำกัดเป็นลวดแกนตันและไส้ฟลักซ์

3.เหล็กกล้าสเตนเลสทำให้แข็งโดยการตกผลึกมี 3 ประเภท ได้แก่

3.1 เหล็กกล้าสเตนเลสทำให้แข็งโดยการตกผลึกมาเทนซิติค – สามารถจะทำให้แข็งได้โดยการชุบจากอุณหภูมิที่กำลังเป็นออสเตนไนท์ [ประมาณ 19000F (10380C)] แล้วทำการบ่มระหว่าง 900 ถึง 11500F (482 ถึง 6210C) โดยเหตุที่เหล็กกล้าเหล่านี้เติมคาร์บอนน้อยกว่า 0.07% เนื่องจากมาร์เทนไซท์ไม่แข็งมากและการทำให้แข็งหลังได้รับจากปฏิกิริยาการบ่ม (การตกตะกอน) ตัวอย่างของกลุ่มนี้คือ 17.4PH, 15.5PH และ PH 13 Mo

3.2 เหล็กกล้าสเตนเลสทำให้แข็งโดยการตกผลึกกึ่งออสเตนนิติค จะไม่เปลี่ยนรูปไปเป็นมาร์เทนไซท์เมื่อเย็นตัวจากอุณหภูมิขณะที่เป็นออสเทนไนท์เพราะอุณหภูมิการเปลี่ยนรูปมาร์เทนไซท์ได้ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง เหล็กกล้าเหล่านี้ให้จะต้องปฏิบัติกำลังเป็นสภาพการณ์ ซึ่งประกอบของการให้ความร้อนในช่วงของ 1350 ถึง 17500F (732 ถึง 9540C) เพื่อคาร์บอนตกตะกอนและหรือธาตุผสมเป็นคาร์ไบด์หรือสารประกอบระหว่างโลหะ สิ่งนี้ก็กำจัดโลหะผสมจากการละลาย ด้วยเหตุนั้น ลดการสร้างภาวะที่มั่นคงของออสเตนไนท์ ซึ่งเพิ่มอุณหภูมิการเปลี่ยนรูปมาร์เทนไซท์ ดังนั้นจะได้รับโครงสร้างมาร์เทนไซท์บนการเย็นตัวถึงอุณหภูมิห้อง การบ่มเหล็กกล้าระหว่าง 850 และ 11000F (454 ถึง 5930C) จะลดความเค้นและอบคืน มาร์เทนไซท์ เพื่อ เพิ่มความเหนียว ความสามารถดัดงอ ความแข็ง และความต้านทานการกัดกร่อน ตัวอย่างของกลุ่มนี้คือ 17.7 PH, PH 15.7 Mo, และ AM 350

3.3 เหล็กกล้าสเตนเลสทำให้แข็งโดยการตกผลึกออสเตนนิติคภายหลังจากการอบจากอุณหภูมิขณะที่กำลังละลายยังเหลือออสเตนนิติค แม้ว่าภายหลังจำนวนจริงของงานเย็น พวกมันได้แข็งขึ้นโดยปฏิกิริยาการบ่มรวมถึงการปฏิบัติการละลายระหว่าง 1800 และ 20500F (982 ถึง 11210C) ทำการชุบด้วยน้ำหรือน้ำมันและทำการบ่มที่ 1300 ถึง 13500F (704 ถึง 7320C) จนถึง 24 ชั่วโมง ตัวอย่างของเหล็กกล้าเหล่านี้รวม A286 และ 17-10 P

4.เหล็กกล้าสเตนเลสดูเพล็กซ์

เหล็กกล้าสเตนเลสดูเพล็กซ์เป็นกลุ่มของเหล็กกล้าสเตนเลสที่ได้พัฒนาในปัจจุบันมากที่สุดและมีโครงสร้างจุลภาคของเฟอร์ไรท์และออสเตนไนท์จำนวนเท่ากันโดยประมาณ มีประโยชน์เหนือเหล็กกล้า สเตนเลสเฟอร์ริติคและออสเตนนิติคในแบบธรรมดา พวกมันให้ความแข็งแรงจุดครากสูงกว่าและต้านทานแตกร้าวการกัดกร่อนความเค้นมากกว่า โครงสร้างจุลภาคดูเพล็กซ์  ได้มาในเหล็กกล้าที่มีการเติมโครเมียม 21.25 % และนิกเกิล 5.7% โดยการทำให้ร้อนที่ 1832 ถึง 19220F (1000 ถึง 10500C) และตามด้วยการชุบน้ำ โลหะรอยเชื่อมของส่วนผสมนี้จะมีแนวโน้มที่เฟอร์ไรท์เป็นส่วนใหญ่เพราะเนื้อเติมจะแข็งตัวเป็นเฟอร์ไรท์และจะเปลี่ยนรูปบางส่วนไปเป็นออสเตนไนท์ ปราศจากการทำงานร้อนหรือการอบร้อน โดยเหตุที่ทำงานร้อนหรือการอบอ่อนเนื้อเติมรอยเชื่อมส่วนมากเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ โดยทั่วไปส่วนผสมของโลหะเติมได้รับการแก้ไขโดยการเพิ่มนิกเกิล 8.10% ดังนั้นโครงสร้างจุลภาคตามที่เชื่อมจะบรรจุออสเตนไนท์มากกว่า

สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล

สมบัติทางกายภาพ – แต่ละตัวของกลุ่มหลักของเหล็กกล้าสเตนเลสมี ความแน่น สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเนื่องจากความร้อน การนำความร้อน ความร้อนจำเพาะ ความต้านทานกระแสไฟฟ้า ความสามารถดูดแม่เหล็ก และช่วงการหลอม ค่าเหล่านี้จะต้องใกล้ชิดเพียงพอสำหรับความประสงค์งานวิศวกรรมมากที่สุด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนความสามารถ ทนความร้อนของสแตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ

  1. การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิก ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 1000 ๐C
  2. การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สแตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
  3. การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)

สมบัติทางกล – โดยทั่วไปจะ มีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง สแตนเลสให้ค่าที่เป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยู่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติค สเตนเลสไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Precipitation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง

การเลือกเหล็กกล้าสเตนเลส

การเลือกชนิดเฉพาะเหล็กกล้าสเตนเลสจะอยู่บนความต้องการอะไรโดยการใช้งาน ในกรณีส่วนมากการพิจารณาเบื้องต้น คือ ความต้านทานการกัดกร่อน ความต้านทานการหมองหรือความต้านทานการเติมออกซิเจนที่อุณหภูมิสูง ในส่วนเพิ่มเติมต่อความต้องการเหล่านี้ เหล็กกล้าสเตนเลสที่เลือกต้องมีสมบัติทางกลต่ำสุดบางอย่าง อย่างเช่น ความแข็งแรง ความเหนียว ดัดงอได้ และความแข็งแรงล้า ชนิดต่างๆและเกรดต่างๆของเหล็กกล้าสเตนเลสอาจจัดให้ความต้านทานการกัดกร่อนและสมบัติทางกลที่ต้องการ ในกรณีนี้การเลือกขั้นสุดท้ายจะต้องทำบนพื้นฐานของโลหะผสมที่จัดหาได้ ค่าใช้จ่ายต่ำสุด ซึ่งจะตรงกับความต้องการใช้งาน

การเลือกของโลหะเติม

โลหะเติมสำหรับการเชื่อมเหล็กกล้าสเตนเลสได้ถูกผลิตเป็นอิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์ (AWS A5.4) ลวดแกนโลหะและแกนตัน (AWS A5.9) ลวดไส้ฟลักซ์ (AWS A5.22) สิ่งต่างๆ อิเล็กโทรด ลวดแกนตัน ลวดแถบโลหะ และ ลวดไส้ฟลักซ์  ถ้าวัตถุเติมที่ตรงกันถูกต้องจัดหาไม่ได้ จะต้องใช้โลหะที่บรรจุโลหะเจือสูงกว่า มี เหล็กกล้าสเตนเลสออสเตนนิติคหลายชนิด ที่ซึ่งโลหะเติมที่ตรงกันไม่ได้มีการทำ ตัวอย่าง 201, 202, 205, 216, 301, 302, 304 และ 305 แนะนำวัตถุเติมสำหรับโลหะเจือฐาน เหล่านี้ เป็นโลหะเจือ บางตัวที่บรรจุโครเมียม และ นิกเกิลสูง ตัวอย่าง 3087 ถูกใช้สำหรับ 301, 302, 304 และ 305 และอาจจะใช้สำหรับ 201, 202, 205 และ 216 ถ้า 209, 219, 240 ไม่สามารถจัดหาได้

ถ้าสมบัติความแข็งแรงสูงสุด และ ความต้านทานการกัดกร่อนสูงสุดถูกกำหนดไว้สำหรับการใช้งาน จะต้องใช้โลหะเติมที่ตรงกัน หรือส่วนผสมเหมือนกันต่อโลหะฐาน สำหรับโลหะผสมพื้นฐานมาร์เทนซิติคหรือ กึ่งออสสเตนนิติค ต้องให้ชิ้นงานเชื่อมไว้ใน การละลายเต็มที่และปฏิบัติต่อความร้อนการบ่มถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ จะต้องปฏิบัติการละลายส่วนประกอบก่อนทำการเชื่อม แล้วทำปฏิบัติการบ่มหลังการเชื่อม เป็นข้อเสนอแนะที่เหล็กกล้าสเตนเลสทำให้แข็ง โดยการตกตะกอนออสเตนนิติค จะไม่ปฏิบัติต่อความร้อนภายหลังการเชื่อม เพราะปัญหาของการแตกร้าว

การเลือกของกระบวนการเชื่อม

การตัดสินใจเลือกประเภทของโลหะเติมที่จะใช้ จะขึ้นอยู่บนปัจจัยหลายอย่าง สิ่งเหล่านี้รวมถึงรูปของวัตถุเติมที่จะจัดหาได้ตามต้องการอุปสรรคการเชื่อมที่จัดหาได้ ขนาดของชิ้นงานเชื่อม และจำนวนชิ้นงานที่จะเชื่อม

1. การเชื่อมอาร์คโลหะที่ได้รับปกป้อง (SMAW)

อิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์ สามารถจัดหาได้ในส่วนผสมสเตนเลส ส่วนมากในช่วงของขนาด และสามารถจะใช้สิ่งเหล่านี้ ต่อรอยเชื่อมในความหนาจาก 0.05 นิ้ว ถึงหลายๆนิ้ว สแลกจากแต่ละรอยเชื่อมจะต้องกำจัดอย่างสมบรูณ์ก่อนการเติมรอยเชื่อมรอยต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงรูพรุน และ การกักขังสแลกไว้ อุปกรณ์การเชื่อมสำหรับอิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำสุด แต่อัตราการเติม คือ ต่ำที่สุดของกระบวนการอิเล็กโทรดสิ้นเปลืองทั้งหมด

2. การเชื่อมอาร์คใต้ฟลักซ์

การเชื่อมอาร์คใต้ฟลักซ์ (SAW) จะใช้เพื่อต่อชิ้นงานหนากว่า 0.5 นิ้ว ของเหล็กกล้าสเตนเลสออสเตนนิติกเป็นส่วนใหญ่ สำหรับสเตนเลสออสเตนนิติกในรอยเชื่อมไม่มีเฟอร์ไรท์ (ตัวอย่าง ชนิด 310 หรือ 330) การเชื่ออาร์คใต้ฟลักซ์จะหลีกเลี่ยงปัญหาการแตกร้าวร้อนได้ดีที่สุด โดยทั่วไปการเชื่อมสำเร็จได้ โดยการใช้กระแสตรงและอิเล็กโทรดจะอยู่ที่ขั้วบวก ส่วนกระแสสลับถูกใช้ในบางครั้ง สำหรับการหลอมลึกปานกลาง และมีความเสถียรอาร์คดี

3. การเชื่อมอาร์คโลหะแก๊สคลุม

ถ้าการใช้งานการผลิตพาดพิงถึงรอยต่อยาวในโลหะหนาโดยเทียบเคียงแล้วหรือชิ้นส่วนจำนวนมาก กระบวนการ GMAW กับลวดแกนตันหรือลวดแกนโลหะ อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด  ลวดแกนตันหรือลวดแกนโลหะจะจัดให้อัตราการเต็มเร็วที่สุด กระบวนการ GMAW แต่อุปกรณ์การป้อนลวด เครื่องเชื่อมและความต้องการสำหรับการปกป้องแก๊สเฉื่อย เพิ่มค่าใช้จ่ายของการใช้การเติมเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม มีความไม่ต้องการเพื่อกำจัดสแลกระหว่างรอยเชื่อม ลวดแกนตันและลวดแกนโลหะสามารถจะใช้แบบลัดวงจร แบบหยด และแบบพ่น ของปฏิบัติการอาร์ค ซึ่งให้ช่องกว้างของอัตราการเติม และระดับความร้อนเข้า ดังนั้นสามารถจะใช้ลวดแกนตันและลวดแกนกลวงสำหรับการเชื่อมช่องกว้างของความหนา การเชื่อมอาร์คโลหะแก๊สคลุมกับการถ่ายโอนแบบพ่นถูกใช้เพื่อชิ้นงานหนาเกิน 0.25 นิ้ว เพราะอัตราการเติมได้สูงกว่าการถ่ายโอนแบบอื่นๆ กรรมวิธีการเชื่อมเป็นเหมือนกันสำหรับออสเตนนิติกตามแบบธรรมดา และเหล็กกล้าสเตนเลส PH

4. การเชื่อมอาร์กอนไส้ฟลักซ์

ลวดไส้ฟลักซ์เป็นอุปกรณ์โดยพื้นฐานเช่นเดียวอุปกรณ์ป้อนลวดและแหล่งจ่ายพลังตามลวดแกนตันและลวดแกนโลหะ สามารถจะออกแบบลวดสำหรับใช้กับแก๊สปกป้อง(AWS Classification ExxxT-1) หรือไม่มีแก๊สปกป้อง(AWS Classification ExxxT-3)  แม้ว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่แนะนำสำหรับ GMAW มันถูกใช้อย่างสามัญกับการเชื่อมอาร์คไส้ฟลักซ์เพราะสแลกป้องกันโลหะจาก การเพิ่มคาร์บอน การใช้ของ ExxxT-3 กับแก๊สจะส่งผลในเฟอร์ไรท์สูง การใช้ของ ExxxT-1 ปราศจากแก๊สจะส่งผลในเฟอร์ไรท์เล็กน้อยหรือไม่มีเฟอร์ไรท์ และเป็นไปไม่ได้มีรูพรุนลวดแกนตัน ลวดแกนโลหะ และลวดไส้ฟลักซ์ มีประโยชน์เหนืออิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์ โดยธรรมชาติความต่อเนี่องของพวกมันในที่ไม่จำเป็นต้องหยุดการเชื่อม เพื่อเปลี่ยนอิเล็กโทรด

5. การเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สคลุม

การเชื่อมอาร์คทังสแตนแก๊สคลุมด้วยมือและอัตโนมัติถูกใช้บ่อยสำหรับการต่อเหล็กกล้าสเตนเลสตามแบบธรรมดาและ PH โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความหนาถึง 0.25 นิ้วตามปกติ DCEN ใช้กับเครื่องเชื่อมที่มีลักษณะพิเศษแรงดัน กระแส มีการตกบ่อย อย่างไรก็ตามบางครั้งใช้กระแสสลับเพื่อเชื่อมเหล็กกล้า เหล็กนั้นที่มีการบรรจุอะลูมิเนียม เพื่อใช้ปฏิกิริยาของการทำความสะอาดด้วยอาร์ค (Arc Cleaning Action)

การทำความสะอาด (CLEANING)

สำหรับรอยเชื่อมคุณภาพสูง รอยต่อจะต้องสะอาดและแห้ง (CLEAN AND DRY) ทางเลือกของการขัดแปรงกำลัง (POWER BRUSHING), การละลายไข (DEGREASING), การแช่ในกรด (PICKLING), การเจียระไน หรือ การเช็ดถูเล็กน้อย (GRINDING OR MORELY WIPING) ขึ้นอยู่บนชนิดและจำนวนของฝุ่น ข้อแนะนำเฉพาะบางอย่างคือ

เชื่อมสแตนเลสใช้อะไรเชื่อม

กระบวนการเชื่อมที่มักจะนำไปใช้ในการเชื่อมสแตนเลส.
การเชื่อมแบบอาร์คไฟฟ้า หรือเชื่อมธูปไฟฟ้า (MMAW/SMAW).
การเชื่อมแบบทิก หรือเชื่อมอาร์กอน (TIG/GTAW).
การเชื่อมแบบมิก-แม็ก หรือเชื่อมซีโอทู (MIG-MAG/GMAW).
การเชื่อมแบบฟลั๊กซ์คอร์ (FCAW).

ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เชื่อมสแตนเลสได้ไหม

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่างที่ช่างควรมีติดตัวไว้ เพราะมีประโยชน์ต่องานหลากหลายประเภท และมีข้อดีคือ ทำงานเชื่อมได้เร็ว และมีราคาไม่สูงจนเกินไป จุดเด่นของเครื่องนี้คือ ความสามารถในการเชื่อมงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานเหล็ก สเตนเลส และโลหะชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ลักษณะตัวเครื่องที่มีขนาดเล็ก ...

สแตนเลสใช้ลวดเชื่อมอะไร

ลวดเชื่อมสแตนเลส (Stainless steel) เป็นลวดเชื่อมที่เหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็กกล้าสแตนเลส โดยจะแบ่งเกรดการใช้งานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ ลวดเชื่อมสแตนเลส 308L = เหมาะสำหรับเชื่อมสแตนเลส เกรด 304L และ 308L เหมาะสำหรับใช้งานทั่วๆไป เช่น เชื่อมประตู เชื่อมรั้ว ใช้ในงานทำเฟอร์นิเจอร์

เชื่อมสแตนเลสใช้แก๊สอะไร

แก๊สปกคลุมที่แนะนำสำหรับการเชื่อมสแตนเลส ด้วยการถ่ายเทแบบ Short Circuit คือแก๊สผสมระหว่าง ฮีเลี่ยม อาร์กอน และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ในอัตราส่วน 90 – 7.5 – 2.5 % ตามลำดับ แก๊สชนิดนี้จะให้ลักษณะแนวเชื่อมตามที่ต้องการ แต่จะต้องควบคุมปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ให้ต่ำ เพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้านทานการกัดกร่อนของสแตนเลส และ ...